|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ออกโรงต้านเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น เผยหากเปิดเสรีทันที เสียหาย 3 แสนล้าน กระทบการจ้างงานกว่า 3 แสนคน ผู้บริหาร "ไทยรุ่งฯ" ชี้ เอสเอ็มอีชิ้นส่วนญี่ปุ่นได้ประโยชน์เต็มๆ ส่วนรายใหญ่ไม่มีผลเพราะลงทุนในไทยอยู่แล้ว ด้านผู้ผลิตเหล็กนัด หารือกำหนดท่าทีวันนี้ ยอมให้เฉพาะเหล็กที่ไทยผลิตไม่ได้ แต่ต้องมีโควตานำเข้า 5 กระทรวงเศรษฐกิจหลักนัดถกแนวทางเจรจาวันนี้
นายยงเกียรติ์ กิตะพาณิชย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า วานนี้ ( 2 พ.ค.) สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ได้ทำหนังสือไปยัง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และผู้ที่รับผิดชอบในการเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ชี้แจงให้เห็นถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย หากยอมลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนและรถยนต์ให้กับญี่ปุ่น กล่าวคือ จะต้องขาดดุลการค้ามากถึง 1.5-2.0 แสน ล้านบาทต่อปี และสูญเสียรายได้จากภาษีนำเข้า 1.2 แสนล้านบาทต่อปี ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า
"นอกจากนี้ ยังจะทำลายอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและยานยนต์ไทย 400-500 แห่ง และกระทบต่อการจ้างงานกว่า 3 แสนคน"
นายยงเกียรติ์กล่าวอีกว่า ข้ออ้างของญี่ปุ่นที่ว่า หากเปิดเสรีนำเข้าชิ้นส่วนและรถยนต์ขนาด 3000 ซีซี ขึ้นไปแล้วจะทำให้ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมากขึ้นนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะปัจจุบันญี่ปุ่นมีภาษีนำเข้าเป็น 0% อยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าในปี 2547 ที่ผ่านมา ไทยขาดดุลการค้านำเข้าชิ้นส่วนและยานยนต์จากญี่ปุ่น เป็นมูลค่ารวม 7.7 หมื่นล้านบาท (2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หากคิดอัตราการเติบโตของอุตฯ ยานยนต์ปีละ 10% จะส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าญี่ปุ่น จากการเปิดเสรีนำเข้า ชิ้นส่วนและรถยนต์มากถึงปีละ 1.5-2.0 แสนล้านบาทต่อปี
ส่วนการเปิดเสรีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) ขนาด 3000 ซีซีขึ้นไป และชิ้นส่วนยานยนต์จากญี่ปุ่น จะส่งผลให้ไทยสูญเสียรายได้จากเก็บภาษีประมาณปีละ 80,000 ล้านบาทต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 แสนล้านบาท ใน 3-4 ปีข้างหน้าเมื่อมีการเปิดเสรีนำเข้ารถยนต์ โดยคาดว่าจะมีการนำเข้ารถและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนคันต่อปี (รถคันละ 5-8 แสนบาท ภาษีลดลง 130-190%)
ไทยรุ่งชี้เอสเอ็มอี ญี่ปุ่นได้ประโยชน์
นายสมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วน และประธานกลุ่มไทยรุ่งยูเนียนคาร์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนและรถดัดแปลงไทยกล่าวว่า การเปิดเสรี ภาษีนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วน ยังทำให้วัตถุประสงค์ในการผลักดันไทยเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียในปี 2553 ของรัฐบาลไทยเปลี่ยนไป จากที่ตั้งเป้าหมายต้อง ผลิตรถยนต์ในไทยไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านคัน และต้อง สร้างมูลค่าเพิ่มชิ้นส่วนรถยนต์ไทยให้ได้ 70% ของมูลค่ารถยนต์ที่ผลิต จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 40-50%
"เมื่อเปิดเสรีนำเข้าชิ้นส่วนและรถยนต์ จะทำให้มีการนำเข้ามากขึ้น ขณะที่การผลิตชิ้นส่วนและรถยนต์ในไทยจะลดน้อยลง มูลค่าเพิ่มชิ้นส่วนที่ตั้งไว้ 70% ย่อมเป็นไปไม่ได้แน่นอน และจากการตรวจสอบ ฝ่ายญี่ปุ่นที่ผลักดันเรื่องนี้พบว่า เป็นเพียงกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดกลาง หรือเอสเอ็มอี ที่ไม่ได้เข้ามาลงทุนในไทย ฉะนั้นหากเปิดเอฟทีเอตามข้อเรียกร้องของทางญี่ปุ่น จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยของญี่ปุ่นสามารถส่งสินค้าเข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทยได้อย่างสบาย"
ดังนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนของญี่ปุ่นขนาดกลางนับพันแห่ง และผู้ผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นที่ยังไม่มีโรงงานผลิตในไทย จะได้ประโยชน์จากการเปิดเอฟทีเออย่าง มหาศาล เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาผลิตในไทย แต่สามารถส่งมาขายโดยไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของญี่ปุ่น และส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในไทยแล้วไม่ได้สนใจเรื่องนี้เท่าไรมากนัก การที่สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Automobile Manufacturers Association : JAMA) อ้างว่าจะมีการย้ายการลงทุนจากไทย หากไม่ยอมลดภาษีนำเข้าหมวดอุตฯยานยนต์ในข้อตกลงเอฟทีเอ น่าจะเป็นเพียงแค่การข่มขู่เท่านั้น เพราะการปฏิบัติจริงทำไม่ได้อยู่แล้ว
นายยงเกียรติ์กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาผลได้เสียจากการเปิดเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ในหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ ทางสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จึงเห็นว่าไทยไม่ได้รับประโยชน์แต่อย่างใด แต่ ทั้งนี้ทางสมาคมทราบดีว่า การเปิดเจรจาเปิดเอฟทีเอ จะต้องมองในภาพรวม ซึ่งทางสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ เห็นด้วยที่หากเปิดเอฟทีเอแล้วทำให้ประเทศไทยได้ รับประโยชน์สูงสุดและก็พร้อมปฏิบัติตาม เพียงแต่ ไม่ต้องการให้เปิดเสรีโดยทันทีตามข้อเรียกร้องของทางญี่ปุ่น ขอให้มีระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการเตรียมตัวแข่งขัน
"สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไม่นำหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ไปไว้ในกลุ่มสินค้าเร่งด่วน (harvest list) แต่ควรจะนำไปไว้ในกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหว (sensitive list) เป็นระยะเวลา 10-15 ปี หรือหากจำเป็นต้องเปิดตาม เงื่อนไข ขอให้เป็นอัตราภาษีลดเป็นขั้นตอน (Normal TAX) เช่นเดียวกับอาฟต้า แต่ขอสงวนหมวดสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ 5 รายการ ให้ยังคงอยู่ในหมวดสินค้าอ่อนไหว โดยมีระยะเวลา 10 ปี ในการ เปิดเสรีภาษีนำเข้า"
นอกจากนั้น ทางสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯยังเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมยานยนต์กับผู้ประกอบการในไทยเท่ากับ 70% ตามแผนผลักดันไทยสู่การเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียเหมือนเดิม เช่นเดียวกับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้มีการตกลงกับผู้ประกอบการไปก่อนหน้านี้ เพื่อยกระดับการพัฒนาและแข่งขันให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ไม่ว่าจะเป็นการเร่งให้มีการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์ โครงการพัฒนาบุคลากร และสนับสนุนการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาและวิจัยให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมากขึ้น
การเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทย-ญี่ปุ่นรอบที่ 7 เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องการเปิดเสรีเหล็กบางประเภทและชิ้นส่วนยานยนต์ โดยฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้เปิดเสรีทันที แต่ทางฝ่ายไทยต้องการให้เปิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียกประชุม 5 กระทรวงหลักวันนี้
การเจรจารอบใหม่ยังไม่กำหนดว่าจะเป็นเมื่อไร แต่ในวันที่ 4 พฤษภาคมนี้ ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น หรือ เมติ (METI - Ministry of Economics Trade and Industry) จะเข้าพบพ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการเจรจารอบใหม่
ดร.ปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้( 3 พฤษภาคม) 5 กระทรวงหลักได้แก่ อุตสาหกรรม พาณิชย์ เกษตรฯ คลัง และต่างประเทศจะมีการประชุมเขตการค้าเสรี หรือ FTA โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเป็นประธานซึ่งถือเป็นการประชุม FTA ชุดใหญ่นัดแรกของรัฐบาลทักษิณ 2 โดยประเด็นหลักที่คาดว่าจะหารือได้แก่การทำ FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมยานยนต์
"ช่วงเช้าวันนี้ทางนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการคุยกับเอกชนก่อนแล้วจะนำผลของการหารือไปเสนอที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง" นายปานปรีย์กล่าว
ผู้ผลิตเหล็กขอร่วมกำหนดแนวทาง
นายพิบูลย์ศักดิ์ อรรถบวรพิศาล ประธานกลุ่ม อุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 4 พฤษภาคม 2548 กลุ่มเหล็ก ส.อ.ท.จะหารือเพื่อสรุปท่าทีของผู้ผลิตในประเทศทั้งหมดในการนำไปเป็นแนวทางการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปจะมีการทำรายงานส่งไปยังหัวหน้าคณะเจรจาภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ การหารือจะมุ่งเน้นไปดูในรายละเอียดเกี่ยวกับพิกัดเหล็กที่ไทยยังไม่มีผลิต หรือผลิตไม่เพียงพอ ตามข้อเสนอของญี่ปุ่นที่ต้องการให้ไทยเปิดเสรี
สำหรับแนวทางของผู้ผลิตไทยในเบื้องต้น จะพิจารณารายละเอียดว่ามีรายใดผลิตเหล็กประเภทใด และมีจำนวนเท่าใด เพื่อที่จะเปิดให้มีการนำเข้ามาได้บ้าง แต่สิ่งสำคัญคือคงจะต้องมีโควตาการนำเข้า เพื่อป้องกันไม่ให้อุตสาหกรรมไทยที่ผลิตแล้วไม่เพียง พอไม่มีโอกาสขยายงาน และเหล็กประเภทที่ไม่มีก็จะสามารถให้คนไทยมีโอกาสเข้าไปลงทุนและพัฒนา
"เพื่อความเป็นธรรมทุกฝ่าย เราจะดูว่าเหล็กที่ ผลิตในไทยนั้นมีจริงไหม และถ้าผลิตแล้วเท่าใด เพราะยอมรับว่าบางกลุ่มอาจจะบอกไม่จริงโดยเผื่อ เอาไว้ก่อน ก็เลยต้องดูรายละเอียดให้ชัด" นายพิบูลย์ศักดิ์กล่าว
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานสภาอุตสาหกรรม สายงานคลัสเตอร์ยานยนต์ และชิ้นส่วน กล่าวว่า กรณีการเปิดเสรี FTA ไทย-ญี่ปุ่น เห็นว่าไทยควรสนับสนุนเปิดเสรีเหล็กบางประเภทที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้หรือไม่มีแผนที่จะผลิตในอนาคต เนื่องจากจะทำให้การนำเข้าเหล็กมาผลิตในไทยมีราคาถูกลง สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมยานยนต์
เหล็กในประเทศถ้ามีผลิตเพียงพอทางอุตสาหกรรมก็อยากใช้ เพราะเหตุผลในเรื่องของเวลาสั่งซื้อ ถ้าซื้อในประเทศก็จะเร็วกว่า หรือในเรื่องของการสต็อกสินค้าก็ไม่ต้องมีมาก อีกทั้งยังหลีกเลี่ยงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วย" นายนินนาทกล่าว
|
|
 |
|
|