Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 พฤษภาคม 2548
"วิเชียร แพทยานันท์" บุกอสังหาฯ แยก 2 บริษัทปักธงบุกคอนโดฯ-บ้านเดี่ยว             
 


   
search resources

Real Estate
วิเชียร แพทยานันท์
เจ้าพระยามหานคร, บจก.




"วิเชียร แพทยานันท์" แห่งเจ้าพระยามหานคร ค่อยๆ เติบโตบนเส้นทางธุรกิจอสังหาฯ หลังฝากผลงานพัฒนาโครงการมาแล้วมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ล่าสุดจัดทัพองค์กร ปักธง 2 บริษัทใหม่ รับผิดชอบโครงการคอนโดมิเนียม-บ้านเดี่ยว เล็งผุดโครงการใหม่ย่านรัชดาฯ-ห้วยขวาง ตั้งเป้า 3 ปี เพิ่มส่วนแบ่งตลาดคอนโดฯ ให้ได้ 5% ปัดฝุ่นที่ดินย่านพระราม 2 ทำบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ ราคา 28 ล้านบาท

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการทำธุรกิจแห่งตระกูล แพทยานันท์ ที่เดิมทำธุรกิจการค้าสินค้า อุปโภคบริโภค รับเหมาก่อสร้าง จนขยายธุรกิจก้าวสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างจริงจังในปี 2537 ภายใต้การบริหารจัดการของหัวเรือใหญ่ นายแพทย์วิเชียร แพทยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด ซึ่งผลงานชิ้นแรกที่สร้างชื่อให้บริษัทภายใต้แบรนด์ "พระยาภิรมย์ รัชดา" รูปแบบอาคารชุด ก่อนเริ่มขยับขยายโครงการออกสู่ตลาดตามลำดับ

โดย น.พ.วิเชียร แพทยานันท์ ได้ฉายภาพของการสร้างฐานรากของธุรกิจอสังหาฯ กับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า เริ่มเข้ามาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างจริงจังในปี 2537 โดยพัฒนาโครงการแรกชื่อ พระยาภิรมย์ รัชดา รูปแบบอาคารชุด จำนวน 1,200 ยูนิต ซึ่งอยู่ข้างกรมพาณิชยสัมพันธ์ แต่หลังจากพัฒนาโครงการมาได้ระยะหนึ่ง ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในช่วงปี 2540 ทำให้บริษัทประสบปัญหาในเรื่องของการขายอย่างมาก เห็นได้จากช่วงที่เริ่มต้นทำโครงการเสนอราคาขายที่ 4 แสนบาทต่อตร.ม.และปรับราคามาอยู่ที่ 6 แสนบาทต่อตร.ม.ในช่วงปี 2539 แต่เมื่อเจอวิกฤตเศรษฐกิจ จึงได้ขายราคาถูกลงมาอยู่ที่ 4 แสนบาทต่อตร.ม.

"หลังวิกฤตเศรษฐกิจเลยมาประมาณ 3 ปี บริษัทไม่ได้พัฒนาโครงการอะไรต่อ ยกเว้นโครงการที่ทำอยู่ ซึ่งสามารถปิดการขายได้ โดยหลังจากนั้นในช่วงปี 2544 บริษัทเริ่มหันมาพัฒนาโครงการต่อที่ชื่อว่า พระยาภิรมย์รีเจ้นท์ ตากสิน สาทร ยังคงรูปแบบคอนโดมิเนียม โลว์ไลซ์ มูลค่า 180 ล้านบาท จำนวน 200 ยูนิต แต่ใช่ว่าปัญหาจะไม่เกิด เพราะว่าต้องเดินหาแหล่งเงินกู้มาทำโครงการถึง 5-6 แบงก์ ไม่มีแบงก์ไหนให้กู้ เพราะแบงก์ยังมองว่าในปี 2545-2546 โครงการอาคารชุดยังโอเวอร์ซัปพลายอยู่ ส่วนใหญ่แบงก์จะปล่อยบริษัทขนาดใหญ่ จนสุดท้ายธนาคารกรุงศรีอยุธยาปล่อยกู้ทำโครงการ และตอนนี้โครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์ได้ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งราคาขายก็ดีขึ้นจาก 6 แสนบาทต่อยูนิตเป็น 8 แสนบาทต่อยูนิต เนื่องจากสภาพอสังหาฯดีขึ้น" น.พ.วิเชียรกล่าว

สำหรับโครงการที่ดำเนินการอยู่คือ โครงการ พระยาภิรมย์ ชาโตว์ ริเวอร์โบ้ท ที่จะมีรูปทรงเป็นเรือสำราญ เนื่องจากที่ดินหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา และมีแนวที่ดินลึก ซึ่งทางโครงการได้เริ่มการขายมาตั้งแต่ต้นปี 2547 ราคาขายเริ่มขยับขึ้นจากเดิม 1.1 ล้านบาทต่อยูนิต มาอยู่ที่ 1.2 ล้านบาทต่อยูนิต โดยการก่อสร้างมีความคืบหน้า 80% ก่อสร้างส่วนชั้นที่ 8 และเริ่มทำส่วนของหลังคา คาดแล้วเสร็จมิ.ย.นี้ สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ภายในเดือน ก.ย.

"นโยบายการพัฒนาทุกโครงการ บริษัทจะมุ่งสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าในอนาคต จะเห็นได้ว่ายิ่งขายราคาขายยิ่งสูงขึ้น ลูกค้ามีความรู้สึก แฮปปี้ที่ตัดสินใจซื้อ แสดงว่าการวางแผนในการเลือกทำเลของบริษัทค่อนข้างได้ผลและชัดเจน เช่น โครงการพระยาภิรมย์รีเจ้นท์ ที่เน้นกลุ่มลูกค้าทหารเรือ ขณะที่โครงการพระยาภิรมย์ ชาโตว์เป็นการยกระดับของโครงการขึ้นมาแตกต่างกับ 2 โครงการที่ทำ"

นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดโครงการใหม่ภายใต้ชื่อ คาซ่า ยูเรก้า บางแค รูปแบบที่พักอาศัยโฮมออฟฟิศ เจาะกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในย่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ และสมุทรสาคร ทำให้การพัฒนาต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์โฮมออฟฟิศ แบ่งการพัฒนาเป็นโซน คือ โซนด้านหน้าจะเป็นออฟฟิศประมาณ 80 หลัง โซนกลางทาวน์โฮมประมาณ 40 หลัง และด้านหลังเป็นทาวน์เฮาส์ 20 หลัง รวมจำนวน 144 ยูนิต มูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างไปพร้อมๆกัน ราคาเสนอขาย 2.5-2.7 ล้านบาท โดยทั้งโครงการจะแล้วเสร็จประมาณ ต.ค.2549

แยกบริษัทดูโครงการอาคารชุด-บ้านเดี่ยว

สำหรับแผนในปี 2548 น.พ.วิเชียรกล่าวว่า บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต และให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดแผนของแต่ละโครงการ กล่าวคือ บริษัท พระยาพาณิชย์พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จะรับผิดชอบโครงการแนว สูงทั้งหมด ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดคอนโดมิเนียมให้ได้ 5% ภายในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ขณะที่โครงการแนวราบ จะเป็นบริษัทเจ้าพระยามหานครที่กำหนดกลุ่มลูกค้าระดับเอ

ล่าสุดบริษัทได้ตัดสินใจเปิดโครงการใหม่ ในทำเลใจกลางเมืองมากขึ้น โดยจะเป็นคอนโดมิเนียมโลว์ไลซ์ 2 โครงการ จำนวน 4 อาคาร สูง 8 ชั้น มูลค่า 700 ล้านบาท แบ่งเป็นทำเลรัชดาภิเษกใกล้กับกรมพาณิชยสัมพันธ์ จำนวน 140 ยูนิต และทำเลรัชดาฯ-ห้วยขวางประมาณ 300 ยูนิต เจาะกลุ่มลูกค้าระดับบีถึงบีบวก คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้กลางปีนี้

ขณะเดียวกัน ภายในปลายปีจะมีการเปิดโครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ย่านพระราม 2 ซึ่งเป็นที่ดินเก่าของบริษัทที่เดิมวางแผนไว้จะพัฒนาในช่วงปี 2544 ทั้งนี้ จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทในระยะ 3 ปีข้างหน้า โดยขนาดของโครงการมีจำนวน 200 หลัง ราคา 10 ล้านบาท จะมีสัดส่วนประมาณ 80-90% และ 10% จะเป็นระดับราคาแพงสูงสุด 28 ล้านบาท พื้นที่ประมาณกว่า 200 ตารางวา

"จริงๆ แล้วบริษัทจะทำบ้านเดี่ยวตั้งแต่ปี 2544 แต่ผมขอเงินกู้จากแบงก์แต่ไม่มีใครให้ เพราะแบงก์มองว่าปี 2544 โอกาสขายบ้านเดี่ยว ระดับราคา 10 ล้านบาทคงยาก อีกทั้งบ้านระดับไฮเอนด์ส่วนใหญ่ผู้ครองตลาดจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ทำอยู่ แต่เรามั่นใจว่าถ้าลงไปทำจะสามารถสู้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า การใส่คุณค่าของบ้านให้มากกว่าคู่แข่งเพื่อสร้างจุดเด่นที่เหนือกว่า" น.พ.วิเชียรกล่าว และย้ำว่า ด้วยความมุ่งมั่นในการทำธุรกิจ ทำให้ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์เชื่อถือบริษัทมากขึ้นกว่าเดิม และแบรนด์ของบริษัทเป็นที่ยอมรับของลูกค้ากว้างขึ้น การปรับปรุงแบรนด์บริษัทจำเป็นต้องเกิดขึ้น โดยจะมีการแยกแบรนด์ของแต่ละบริษัทให้ชัดเจน

น.พ.วิเชียรกล่าวทิ้งท้ายว่า เพื่อการทำธุรกิจให้ครบวงจร บริษัทจะเพิ่มน้ำหนักการเข้าสู่ตลาดวัสดุก่อสร้างมากขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้บริษัท มหาชัยเฮ้าส์ซิ่ง มาสเตอร์ จำกัด เข้าไปมีบทบาทในตลาดวัสดุก่อสร้าง ที่ผ่านมาก็มีส่วนเสริมในโครงการของบริษัท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us