Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 พฤษภาคม 2545
สหพัฒน์จวกก.พาณิชย์ เมินเฉยซัปพลายเออร์โดนเก็บค่าต๋ง             
 


   
search resources

สหพัฒนพิบูล, บมจ.
บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา




"บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา"เสี่ยใหญ่เครือสหพัฒน์ จวกกระทรวงพาณิชย์นิ่งเฉยกรณีที่ดิสเคานต์สโตร์เรียกเก็บเงินค่าต๋งจากซัปพลายเออร์โดยไม่มีเหตุผลอันควร

ชี้ควรกำกับและดูแลอย่างจริงจังก่อนที่ซัปพลายเออร์จะถูกบีบ จนทนแบกภาระไม่ไหว และต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคตาดำๆ

ส่วนสภาพตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคปีนี้เดี้ยง! ทั้งตลาดในประเทศและส่งออก ยอดขายไม่ขยายตัว หนีไม่พ้นพิษสงเศรษฐกิจฝืด นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์

เปิดเผยถึงกรณีที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่หรือโมเดิรน์เทรดประเภทดิสเคาน์สโตร์ เรียกเก็บค่าเอ็นทรานซ์ฟีหรือค่าต๋ง จากซัปพลายเออร์ว่า ไม่มีความเป็นธรรมต่อซัปพลายเออร์

ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ในฐานะดูแลกำกับเรื่องค้าปลีกควรจะเข้ามาดูแลและกำกับบ้าง ไม่ควรปล่อยให้ดิสเคานต์สโตร์เรียกเก็บเงินจากซัปพลายเออร์มากเกินไป โดยเฉพาะในสิ่งที่ไม่ควรจะเก็บ

เพราะในส่วนนี้ ส่งผลกระทบต่อซัปพลายเออร์โดยตรง ทำให้ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ ซัปพลายเออร์เกือบทุกรายยังคงทนรับภาระไว้เอง ไม่กล้าขึ้นราคาสินค้า

แต่เชื่อว่าในอนาคต อันใกล้นี้อย่างช้าไม่เกินปลายปีนี้ ซัปพลายเออร์จะต้องขึ้นราคาสินค้า อย่างแน่นอน และจะส่งกระทบ ต่อผู้บริโภคโดยตรง "ในอดีต

กระทรวงพาณิชย์อาจเห็นว่าการที่โมเดิร์นเทรดเข้ามา ลงทุนในไทยแล้วช่วยให้ประชาชนเลือกซื้อสินค้าได้ในราคาถูกกว่าซื้อ จากห้างสรรพสินค้า หรือโชห่วย แต่ขณะนี้สถานการณ์ต่างๆ เริ่มเปลี่ยนไป

โมเดิร์นเทรดบีบซัป-พลายเออร์มากเกินไป เรียกเก็บเงิน ต่างๆที่ไม่ควรจะเรียกเก็บ เช่น หากสินค้าขายดีมาก ก็จะเรียก เก็บเงินมากขึ้น และหากจะลงทุนเปิดสาขาใหม่ ก็เรียกเก็บเงินจากซัปพลายเออร์อีก

ซึ่งเราเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะเท่ากับว่า การลงทุนเปิดสาขาใหม่ของโมเดิร์นเทรดใช้เงินจากซัปพลายเออร์ด้วย และลงทุนเองไม่มากนัก" นายบุณยสิทธิ์ กล่าว

สำหรับสหพัฒน์นั้นถูกเรียกเก็บเงินดังกล่าวไม่มาก เพราะเป็นรายใหญ่ยังพอมีอำนาจต่อรองและเจรจาได้ แต่ซัปพลายเออร์รายเล็กจำเป็นต้องยอมเสียเงิน เพราะหาก

ไม่เสียก็กลัวว่าจะไม่มีพื้นที่ให้วางสินค้า ส่วนเครือสหพัฒน์คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่า กลุ่มดิสเคาน์สโตร์จะต้องเอาเปรียบซัปพลายเออร์

จึงได้เตรียมรับมือไว้ตั้งแต่แรกด้วยการกระจายจุดขายให้ครอบคลุมทุกช่องทาง ไม่ให้ความสำคัญกับช่องทางใดช่องทางหนึ่งมากเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มดิสเคาน์สโตร์ เพราะรู้ว่าจะมีปัญหา

และหากโดนเรียกเก็บเงินก็จะไม่จ่าย เพราะมช่องทางจำหน่ายสินค้าอื่นๆอีก ด้านนายบุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการอำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

สินค้าในเครือไอ.ซี.ซี.ฯ ไม่โดนเรียกเก็บเงินจากดิสเคาน์สโตร์ เพราะก่อนที่จะเข้าไปวางสินค้าได้ทำสัญญาไว้เรียบร้อย และที่สำคัญบริษัทเป็นรายใหญ่

สินค้าของเครือฯเป็นที่รู้จักและยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก และเป็นที่ต้องการของดิสเคาน์สโตร์ ทางดิสเคาน์สโตร์จึงยังไม่กล้าเรียกเก็บเงินในช่วงนี้ แต่เชื่อว่า

ในอนาคตดิสเคาน์สโตร์จะต้องเรียกเก็บเงินอย่างแน่นอน แต่บริษัทก็ยืนยันว่าจะไม่จ่ายหากเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่สมควร ตลาดในประเทศและส่งออกเดี้ยง นายบุณยสิทธิ์ ได้กล่าวถึงสภาพตลาด

ในปัจจุบันว่า ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศไม่ค่อยดี โดยตลาดในประเทศอยู่ในภาวะทรงตัว ไม่มีอัตราเติบโต แม้ว่าผู้บริโภค จะมีกำลังซื้อก็ตาม ส่วนใหญ่จะระมัดระวังการใช้จ่ายมากกว่าในอดีต

เนื่องจากไม่มีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจว่าจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนเมื่อไหร่ และที่สำคัญขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล แต่หลังจากที่มีการอภิปรายความเชื่อมั่นในรัฐบาลของประชาชนอาจจะมีเพิ่มขึ้น

จึงคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดโดยรวมน่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะหากรัฐบาลสามารถสร้างเสถียรภาพและเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ "ภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะทรงตัวนั้น

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ซึ่งชาวต่างชาติยังมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจมากกว่าคนไทยเสียอีก เห็น ได้จากการที่ได้พูดคุยกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่น

นักลงทุนข้ามชาติจะมีความมั่นใจในเสถียรภาพของรัฐบาลไทยมากกว่าคนไทย และที่สำคัญเชื่อมั่นในรัฐบาลไทยมากกว่ารัฐบาลของญี่ปุ่นเสียอีก" สำหรับตลาดส่งออกนั้น ก็ไม่ขยายตัว เช่นเดียวกัน

เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ดี อยู่ในภาวะชะงักงัน จึงทำให้การส่งออกประสบปัญหา ในส่วนของสหพัฒน์ก็ไม่มีการขยายตัวเช่นเดียวกับสภาพตลาดโดยรวม แต่บริษัทก็แก้ปัญหาด้วยการจัดงานสหกรุ๊ป

เอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ เทรด เอ็กซิบิชั่นขึ้น ซึ่งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 6 โดยการจัดงานเป็นการแสดงสินค้า

ของเครือสหพัฒน์ให้ผู้บริโภคชาวไทยและนักลงทุนต่างชาติเห็นถึงความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการชาวไทย ปีนี้ตั้งเป้าโตแค่ 1-3% ในส่วนสหพัฒน์ปีนี้ ไม่ได้คาดหวังยอดขาย เติบโตขึ้นมากนัก

คาดว่ายอดขายจะเติบโตเพียง 1-3% เท่านั้น จากที่ปีก่อนมียอดขายเติบโตขึ้นถึง 10% จากปี 2543 หรือมียอดขายประมาณ 80,000 ล้านบาท เนื่องจากตลาดซบเซา จึงไม่ได้ตั้งเป้ายอดขายเติบโตมาก

แต่จะเน้นการพัฒนาคุณภาพสินค้า รวมถึงการเปิดทางหาพันธมิตร เช่น ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อร่วมลงทุนกับพันธมิตรในธุรกิจสิ่งทอ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

เพราะอยู่ระหว่างการเจรจา "การที่บริษัทสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจสิ่งทอ ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจนี้มีแนวโน้มดี แต่ที่สนใจร่วมทุนเพราะต้องการนำผลผลิตของธุรกิจนี้

มาสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับในเครือ" นายบุณยสิทธิ์ กล่าวถึงงานสหกรุ๊ป เอ็กซ์ปอร์ต แอนด์ เทรด เอ็กซิบิชั่น ครั้งที่ 6 ว่า เครือสหพัฒน์นำสินค้าร่วมงานแสดงสินค้า 12 ประเภท ได้แก่ เครื่องสำอาง

เครื่องหนัง สิ่งทอ รองเท้า เครื่องใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้า อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า และ เครื่องกีฬา เป็นต้น ซึ่งจะมีงานในวันที่ 28-29 มิถุนายนนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีพื้นที่จัดงาน 2

ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการแสดง สินค้า และนิทรรศการ และส่วนที่สองเป็นการจำหน่ายสินค้าที่โซนซี การจัดงานครั้งนี้ บริษัทต้องการให้นักลงทุนต่างชาติ

และผู้บริโภคชาวไทยเห็นถึงคุณภาพและนวัตกรรมใหม่ๆ ของสินค้าที่เครือสหพัฒน์สามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก

เพราะสินค้าในเครือหลายชนิดมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของกำลังการผลิตรวมทั้งหมด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us