Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 พฤษภาคม 2545
"ยรรยง" คัมแบ็ก ปั้นทราฟฟิกคอร์นเนอร์ สู่มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น คัมปานี             
 


   
search resources

ทราฟฟิกคอร์เนอร์ โฮลดิ้งส์, บมจ.
ยรรยง อัครจินดานนท์




พลิกยุทธศาสตร์ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ จากคนขายคอนเทนต์ไปสู่การเป็นเจ้าของเครือข่ายขนาดย่อม เริ่มจากออดิโอเท็กซ์ 108 1009 ก่อนขยับขยายไปเล่นไอพี สร้างพลังผนึกธุรกิจ 4 สายหลัก

มุ่งเป็นบริษัท มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น ไม่ขายแค่โฆษณา แต่ยกระดับเป็นพาร์ตเนอร์ ช่วยคิด ช่วยขาย ยรรยง อัครจินดานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทราฟฟิกคอร์น เนอร์ โฮลดิ้ง

เดิมเคยเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการด้านการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอส เป็นคนคิดโลโก จีเอสเอ็ม 2 วัตต์ เป็นแม่ทัพด้นการตลาดมานานกว่า 12 ปี

เป็นคนปลุกปั้นให้เอไอเอสเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์มือถือ กลุ่มบริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ทำธุรกิจด้านสื่อ ทำรายการทีวีเป็นหลัก กลุ่มผู้ก่อตั้งมีสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

ที่มีพื้นฐานจากงานโฆษณา เอเจนซี่ มีประสบการณ์บริหารงานสื่อโฆษณา กีฬาและบันเทิง มานานกว่า 10 ปี หลังจากนั้นขยายธุรกิจไปทำรายการวิทยุ ธุรกิจไปได้ดี จนมาถึงช่วงธุรกิจดอทคอมบูม

ก็ขยายไปสู่อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ ฮอตลีกดอทคอมหรือเรียกว่าแตกไลน์เข้าสู่ธุรกิจนิวมีเดีย วันนั้นของทราฟฟิกคอร์นเนอร์ อยู่ในภาคเนื้อหาสาระข้อมูลหรือที่เรียกว่าคอนเทนต์

เป็นการสร้างคอนเทนต์มาให้บริการผ่านเน็ตเวิร์กคนอื่น ตัวอย่างเล็กๆในเชิงธุรกิจที่ทั้งคู่ร่วมกันทำอย่างฮอตลีกดอทคอม กลายเป็นเว็บไซต์ที่เลี้ยงตัวเองรอด ไม่ปิดตัวเองไปในช่วงดอทคอมซึม

เคยถูกเสนอซื้อด้วยเงินก้อนโตจากเจ้าของเน็ตเวิร์กอย่างชินนี่ดอทคอมในสมัยหนึ่งเพราะมองเห็นรูปแบบธุรกิจที่ทำเงินได้จริง เมื่อยรรยงโบกมือลาจากเอไอเอส สุรพงษ์จึงชวนมาทำงานด้วย

ภารกิจของยรรยงคือพัฒนาการเติบโต เอาทั้งด้านเน็ตเวิร์กและด้านคอนเทนต์ มาตอบสนองความต้องการของลูกค้า จนกลายมาเป็นบริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ โฮลดิ้ง

"ภารกิจของผมคือการสร้างชื่อบริษัท ระบบริหารซึ่งต้องเอาไอทีมาช่วย แบ่งสายธุรกิจเป็นฟังก์ชั่นที่ชัดเจน มีการจัดกลุ่มเพื่อสร้างพลังผนึกในแต่ละธุรกิจ" ยรรยง อัครจินดานนท์ CEO

ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งกล่าว "คุณยรรยง มีประสบการณ์ในบริษัทขนาดใหญ่ เขาจัดการงานให้เป็นระบบได้ดีมาก ถือว่าเป็นช่วงสำคัญมากเพราะเราต้องการเอา

ทราฟฟิกคอร์นเนอร์เข้าตลาดหลักทรัพย์" สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย COO กล่าว ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ภายหลังจัดระเบียบ แบ่งเป็น 4 สายธุรกิจหลักคือ1.ทีวี 2.วิทยุ 3. อีเวนท์ มาร์เก็ตติ้ง และ 4.นิวมีเดีย

โดยประ กอบด้วย 6 บริษัทคือ 1.บริษัท ทีวี ฟอรัม ประกอบธุรกิจสื่อบันเทิงทางทีวี เช่น รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์จากอังกฤษ บุน- เดสลีกา เยอรมนี การถ่ายทอดรายการกีฬาอื่นๆ

จากต่างประเทศและในประเทศ และการจัดคอนเสิร์ตซี สแควร์ 2.บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ เรดิโอ ประกอบธุรกิจสื่อบันเทิงทางทีวีเป็นผู้บริหารคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม 95 MHz,Soft 107

MHzและคลื่นคนดนตรี 94 MHz 3.บริษัท ดรีมมีเดียประกอบธุรกิจบริหารลิขสิทธิ์และสร้างสรรค์งานดนตรี 4.บริษัท บลิส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ประกอบธุรกิจ เว็บไซต์ ฮอตลีกดอทคอม,ลูกทุ่ง เอฟเอ็ม

ดอทคอม บริการ SMS ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและบริการเนื้อหาสำหรับธุรกิจออดิโอเท็กซ์ 5.บริษัท ไลฟ์โปรเจค ประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดการแสดงคอนเสิร์ตทั้งในและต่างประเทศ

การจัดกิจกรรมการตลาดต่างๆและ 6.บริษัท 108 1009 ออดิโอเท็กซ์ได้รับสิทธิจากองค์การโทร-ศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) ในการให้บริการข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์

"เราให้นิยามบริษัทเราว่าเป็นมาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น คัมปานี ไม่ใช่มีเดีย คัมปานี เราไม่ได้แข่งกับแกรมมี่ถึงแม้เรามีรายการวิทยุ เราไม่ได้แข่งบีอีซีถึงแม้เราทำคอนเสิร์ต เพราะเราไม่มีศักยภาพขนาดนั้น

แต่เราใช้ความได้เปรียบของบริษัทขนาดกลางมาแข่งขันด้วย" ในเชิงยุทธศาสตร์การเป็นมาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่น ทำให้ไม่ใช่แค่ขายโฆษณาได้แล้วจบ เพราะหากต้องการรายได้เพิ่ม

ก็มีแค่ขึ้นค่าโฆษณาหรือไม่ก็ทำรายการเพิ่มซึ่งความเสี่ยงสูง แต่การเปลี่ยนฐานะตัวเองจากแค่ขายโฆษณา ให้เป็นเหมือนพาร์ตเนอร์ เสนอโซลูชั่น ที่เป็นแพก-เกจระยะยาว

อย่างรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก 90 นาที หน้าที่บริษัท คือทำให้มันเป็นมากกว่า 90 นาทีของการแข่งขันฟุตบอล เอาทีวีเป็นหลัก หากิจกรรมมาเสริม หรือเอานิวมีเดีย

อย่างออดิโอเท็กซ์มาร่วมสนุก "เราต้องฉกฉวยประโยชน์จากกระแส แต่อย่าอ่อนล้ากับกระแส เพราะหากเราวางตัวว่าเป็นมีเดีย พอเศรษฐกิจไม่ดีต้องตัดงบโฆษณา 5 สปอตก็ลดเหลือ 1 หรือ 2

แต่สำหรับทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เราจะเสนอรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปอีก เห็นได้ชัดว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาถึงเศรษฐกิจไม่ดีแต่เรามีกำไรเพราะเราคิดสิ่งใหม่ๆมาขาย" ภารกิจของยรรยง

หลังจากจัดระเบียบโครงสร้างสายธุรกิจให้เข้ารูปเข้ารอยแล้ว เขายังรับผิดขอบสายธุรกิจใหม่หรือนิวมีเดียโดยตรง ด้วยความที่คุ้นเคยมากกว่าผู้บริหารคนอื่น นิวมีเดีย คำจำกัดความเชิงกลยุทธ์คือการ

มองว่าการทำธุรกิจมีเดียใดๆที่มีรูปแบบธุรกิจต่างไปจากธุรกิจเดิม เป็นการทดลองรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ อย่างสื่อเดิมๆก็คือมีเวลาไม่ว่าจะเป็นทีวีหรือวิทยุ แล้วก็ไปขายมีรายได้จากค่าโฆษณา

หรืออาจจัดกิจกรรม อีเวนท์มาร์เก็ตติ้งต่างๆ ได้เงินจากตรงนั้น แต่ในธุรกิจนิวมีเดีย ลักษณะการได้เงินมามันใหม่ทั้งสิ้น อย่างฮฮตลีกดอทคอม คนทั่วไปอาจรู้จักว่าเป็นแค่เว็บไซต์

แต่เป็นเว็บไซต์ที่เลี้ยงตัวเองรอด มีรายได้จาก 1.ค่าสมาชิกซึ่งรายได้น้อยแต่ประโยชน์มากจากฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคว่ากระแสมุ่งไปทางไหน

2.รายได้หลักมาจากการขายคอนเทนต์ ผ่านระบบส่งข้อความสั้นหรือ SMS กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออย่างเอไอเอส และดีพีซี ส่วนฤดูการแข่งขันหน้า จะเริ่มให้บริการกับดีแทค ลูกค้าเสียเพียงเดือนละ

50 บาทแล้วบริษัท แบ่งรายได้คนละครึ่งกับเอไอเอส จ่ายเงินเข้าบิลเอไอเอส "ลูกค้าได้รายงานผลทันควัน เอไอเอสได้คอนเทนต์ให้บริการลูกค้า ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจาก SMS

เราทำคอนเทนต์ให้ออดิโอเท็กซ์อย่าง กลุ่มสามารถ เราเป็นเจ้าแรกๆที่ทำโหวตติ้งฟุตบอล แพ้ชนะ" การขายคอนเทนต์ผ่านออดิโอเท็กซ์ของกลุ่มสามารถ

ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กลุ่มสามารถกลายเป็นเบอร์ 1 ในธุรกิจออดิโอเท็กซ์ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ หลังจากเพราะบ่มคอนเทนต์จนได้ที่ ก็ถึงเวลาก้าวสู่การเป็นเจ้าของเน็ตเวิร์กตัวเองบ้าง

เพราะการไปใช้เน็ตเวิร์ก คนอื่น มีข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ทำกลไกการตลาดบางอย่างไม่คล่องตัว โดยได้สิทธิให้บริการออดิโอเท็กซ์จากทศท.ในปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา และเริ่มให้บริการผ่านบริษัท

108 1009 หรือเลขหมาย 1900 444 xxx ผ่านบางรายการของช่อง 3 เขามองว่าธุรกิจออดิโอเท็กซ์ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ แนะนำตัวเท่านั้น รายได้หลักยังมาจากกีฬาและหมอดู

ซึ่งในแง่การตลาดถือว่าเป็นการตามพฤติกรรม ตามกระแสผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อความอยู่รอด แต่ในเฟสต่อไปต้องถึงระดับสร้างพฤติกรรมให้เกิดกับผู้บริโภค เช่น

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ หรือให้คำปรึกษาข้อกฎหมายต่างๆ เพียงแต่ช่วงแรกของธุรกิจต้องเริ่มจากบันเทิงทั่วๆไปถือว่าอยู่แค่ระดับผิวๆ แต่ในระยะยาวหากธุรกิจจะรุ่งเรือง ต้องลงลึกในพฤติ-

กรรมผู้บริโภค ดึงพฤติกรรมออกมาให้ได้ ไม่ใช่สนองตอบอย่างเดียว ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ อยู่ในระดับ 50/30/10/10 (ทีวี/วิทยุ/กิจกรรม/นิวมีเดีย)

แต่ในอนาคตนิวมีเดียจะเป็นตัวทำเงินที่ดี "เทคโนโลยีไอพี โปรโตคอล จะเป็นอนาคต มีพัฒนาการที่เลิศเลอ ทำให้มีจินตนาการสร้างบิสซิเนส โมเดลใหม่ๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด

ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เข้าตลาดMAI

ทราฟฟิกคอร์เนอร์ โฮลดิ้งจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) และทำการซื้อขายในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ โดยเปิดขายให้ประชาชนทั่วไปในวันที่ 28-29 พ.ค.จำนวน 30 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 4.50

บาท จากราคาพาร์ 1 บาท บริษัทจะได้เงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ 135 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้ในการซื้อลิขสิทธิ์คอนเสิร์ตและราย การถ่ายทอดสดกีฬาต่างประเทศ และเชื่อ

ว่าการเติบโตของธุรกิจ 30-35% จะช่วยทำให้บริษัทเข้าขดทะเบียนในตลดาหลักทรัพย์นได้ภายในเวลา 2 ปี หลังเข้าตลาด MAI ทราฟฟิกคอร์น เนอร์ โฮลดิ้ง จะมีทุนจดทะเบียน 100

ล้านบาทโดยสุรพงษ์ เตรียมชาญชัยและวินิจ เลิศรัตนชัย กรรมการบริษัทจะถือหุ้นรวม กันเหลือ 30% จากเดิมที่ถือ 52.86% และจะจ่ายปันผลทันที 50% สำหรับผลประกอบการในปี 2544 ที่ผ่านมา

มีกำไรสุทธิ 33.16 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 22.10 บาท พีอีเรโช 22 เท่าพีอี กลุ่ม 30 เท่าและในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ตากค่าโฆษณามากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่ธุรกิจวิทยุ

น่าจะมีการเติบโตไม่ต่ำกว่า 50% ส่วนธุรกิจทีวีจะเติบโตประมาณ 30%

ออดิโอเท็กซ์มองเรื่องเอาไอพีมาเกี่ยวข้อง การสื่อสารข้อมูล หาบริการใหม่ๆ มันเหมือนเด็ก ต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโต ต้องหาที่อยู่ให้เหมาะสม"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us