Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 พฤษภาคม 2545
ส่งออกปี 2545 กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย (ตอนที่ 1)             
 

   
related stories

ส่งออกปี 2545 กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย (ตอนจบ)

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Import-Export




การที่มูลค่าการส่งออกของไทยในปีหนึ่งมีจำนวนสูงเกือบ 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เกือบ 56%

ภาคส่งออกจึงนับเป็นปัจจัยที่มีศักยภาพและน้ำหนักมากพอ ที่จะเป็นพลังผลักดันให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโตได้ อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมากเกินคาดในปี 2544

โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของไทยทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ส่งผลให้การส่งออกของ ไทยในปีที่แล้วหดตัวมากถึง 6.9% เทียบกับการขยายตัวสูง 19.5% ในปี 2543 สำหรับปี 2545

ทิศทางการส่งออกของไทยจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกเป็นสำคัญ ทั้งนี้ มีสัญญาณหลายประการบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ

เริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้วและคาดว่าจะชัดเจนมากขึ้นในครั้งหลังปีนี้ จึงเป็นแนวโน้ม ที่ควรจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจหลายประเทศที่พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ รวมทั้งไทย อย่างไรก็ตาม

ราคาน้ำมันที่กำลังปรับตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากสถานการณ์ในตะวันออกกลาง นับเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออกไทย นอกจากนั้น เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก ของไทยในช่วง 3

เดือนแรกปี 2545 ในรูปดอลลาร์สหรัฐ พบว่า ยังหดตัวอยู่เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค

เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว ดังนั้น มาตรการกระตุ้นการส่งออกของทาง การในรูปแบบต่างๆ จึงมีความจำเป็น อาทิ การลด อัตราภาษีศุลกากร การแสวงหาตลาดใหม่

รวมทั้งการเพิ่มสิทธิพิเศษสนับสนุนการลงทุนผลิตเพื่อ ส่งออก เพื่อผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวได้ตาม แผน ซึ่งหากสถานการณ์เศรษฐกิจภายนอกประเทศเอื้ออำนวยและเศรษฐกิจสหรัฐฯ

และยุโรปฟื้นตัวได้ชัดเจน ผนวกกับความพยายามของ ภาครัฐในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือต่างๆ คาด

ว่าจะสามารถผลักดันให้ภาคส่งออกขยายตัวเป็นบวกได้อันจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง สถานการณ์การส่งออกในปี 2544 ภาวะการส่งออกของไทยในปี 2544

หดตัวจากปีก่อนถึงร้อยละ 6.9% โดยมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกมีความผันผวนสูงมีอัตราการขยายตัวและหดตัวบ้างในบางเดือน

ก่อนที่จะหดตัวลงอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปีสาเหตุสำคัญที่การส่งออกในปีนี้หดตัวมาก เนื่องจากทั่วโลกประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจนถึงถดถอย

โดยเฉพาะความซบเซาทางเศรษฐกิจในตลาดหลักที่สำคัญของไทย อาทิ ตลาดสหรัฐฯ ส่ง ผลให้การส่งออกของหลายประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งพึ่งพารายได้จากการส่งออกไปยังตลาดนี้หดตัวไปตามกัน

ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวต่อเนื่อง ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี ส่วนประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เศรษฐกิจ ชะลอตัวจากความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ผนวกกับการชะลอลงทั้งด้านการบริโภคและการลงทุนในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียและกลุ่มอาเชียน ซึ่งอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจต่างมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการส่ง

ออกในตลาดหลักที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศไทย จึงเสมือนเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งทาง การค้าระหว่างกัน และเป็นปัจจัยฉุดรั้งการขยายตัวของตลาดส่งออกไทยให้ซบเซาตามไปด้วย

ส่วนรายการสินค้าส่งออกสำคัญๆ ที่เคยเป็น รายได้หลักจากการส่งออกในปีก่อนๆ ที่หดตัวลง มากในปี 2544 ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าว ยางพารา

เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าส่งออกบางรายการที่ขยาย ตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ

เป็นต้น เมื่อแยกพิจารณาการขยายตัวของมูลค่า และสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังตลาดหลักสำคัญๆ ในปี 2544 พบว่า มูลค่าการส่งออกหดตัวลงทั้งหมด โดยเฉพาะส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ

หดตัวถึง 10.7% จากปีก่อนที่ขยายตัว 17.5% รอง ลงมา ได้แก่ อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นหดตัว 6.4% 4.1% และ 3.2% ตามลำดับ โดยสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงสุด

20.3% ลดลงจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่สัดส่วนส่งออกของไทยไปตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากหดตัวในอัตราต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของการ

ส่งออกโดยรวมสะท้อนถึงการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ เพื่อทดแทนตลาดสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวลงมากนั่นเอง สำหรับประเภทสินค้าส่งออกจำแนกตามโครงสร้างการส่งออก

หมวดสินค้าที่ยังครองอันดับหนึ่งของการมีสัดส่วนในมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ สินค้าอุตสาหกรรม รองลงมาเป็นสินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้า แร่และเชื้อเพลิง ตามลำดับ

โดยหมวดสินค้าที่มูลค่าการส่งออกลดลงจากที่เคยขยายตัวในอัตราสูงจากปีก่อน คือ สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

ส่วน หมวดสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่ม ทั้งด้านมูลค่าและสัดส่วน ได้แก่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม และสินค้าอื่นๆ เพราะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในชีวิตประจำวัน

เมื่อพิจารณาภาพรวมการส่งออก โดยไม่นับปี 2543 ซึ่งอาจถือว่าเป็นปีที่รายได้จากการส่งออกสูงเกินปกติมูลค่ารวมจากการส่งออกจำนวน 65.4 พันล้านดอลลาร์สรอ. (ตัวเลขจากกรมศุลกากร)

ที่ทำได้ในปี 2544 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน 58.5 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในปี 2542 แล้ว เท่ากับเพิ่มขึ้น 11.8% หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.8% ต่อปี (ปี 2543 และ 2544) แม้จะลดต่ำลงจากการขยายตัว 7.3%

ในปี 2542 (เทียบกับปี 2541) แต่ ก็ถือว่าใกล้เคียงกับการขยายตัวของ GDP ตามราคาตลาดของช่วงเวลานั้นๆ เมื่อพิจารณาในแง่มุม เช่นนั้นก็ไม่น่าจะถือว่ารายได้จากการส่งออกในปี 2544

จะมีความตกต่ำแต่ประการใด หากแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มปกติเท่านั้น แนวโน้มการส่งออกปี 2545 มุมมองของทางการ : การคาดการณ์การส่งออก

การคาดการณ์อัตราการขยายตัวของภาคส่ง ออกในปี 2544 ของสถาบันวิเคราะห์ชั้นนำต่างๆ มีมุมมองที่เห็นพ้องกันว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สหรัฐฯ และยุโรป ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

จะส่งผลดีต่อการส่งออกของไทยให้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีสัดส่วนในการส่งออกไปตลาดหลักดังกล่าวถึง 20% และ 16% ของมูลค่าส่งออก รวมทั้งหมด

ขณะที่ภูมิภาคอาเซียนซึ่งไทยมีสัดส่วนในการส่งออก 19% ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะการ ฟื้นตัวของประเทศภูมิภาคแถบนี้ อันเนื่องมาจาก เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว ย่อมนำมาซึ่งความต้อง

การในสินค้าจากไทยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าสินค้าส่งออกของไทยในญี่ปุ่นจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ทว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

จะยังคงเป็นประเด็นความเสี่ยงสำหรับการส่งออกของไทยต่อไปอีกในระยะหนึ่ง สำหรับข้อคิดเห็นที่สถาบันต่างๆ คาดการณ์ แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2544 มีดังนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

คาดว่า ส่งออกจะขยายตัวได้ 1-3% ขณะที่ทางสภาพัฒน์ คาดภาคส่งออกสามารถฟื้นตัวจากปีก่อนมาอยู่ที่ 2.3% จากที่หดตัว 6.9% เมื่อปีที่ผ่านมา ด้านกระทรวงพาณิชยŒ

ซึ่งตั้งเป้าหมายการขยายตัวของภาคส่งออกไว้สูงถึง 5.7% นั้น นอกจากปัจจัยภายนอกที่น่าจะส่งผลในทาง บวกดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว คาดว่า

ผลจากมาตรการผลักดันส่งออกของภาครัฐที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน อาทิ การอำนวย สินเชื่อเพื่อการส่งออก การแก้ไขปัญหาการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า การปรับโครงสร้างภาษี

การบริการส่งออกที่รวดเร็วขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุน นอกจากนี้ การเปิดตลาดที่กว้างขึ้นของจีนจะช่วย เพิ่มสัดส่วนการส่งออกของไทยไปจีนจาก 4.5% ในปีก่อนเป็น 10% ในปี 2545 ได้ ซึ่งปัจจัยต่างๆ

เหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวได้ตามคาด สำหรับกระทรวงการคลัง เห็นว่า ภาคส่งออก ยังไม่น่ากระเตื้อง เนื่องจากจะยังไม่ได้รับอานิสงส์

ที่รวดเร็วตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ โดยประเมินจากแนวโน้มราคา น้ำมันที่น่าจะสูงขึ้นจากปีก่อน

ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงด้านความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยปีนี้ยังหดตัวต่อเนื่องอีก 1.5% ฝ่ายวิจัยคาด ภาคส่งออกปี 2545 ขยายตัว

2.0% การพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยในปี 2545 ยังจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออกนอกเหนือไปจากการ เร่งกระตุ้นความต้องการในประเทศ การที่ไทยจะสามารถส่งออกได้มากเพียงใดย่อมขึ้นกับสถาน

การณ์ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลก โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นปัจจัยสำคัญ รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทย ทั้งนี้

ในช่วงไตรมาสแรกการส่งออกยังหดตัว 6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่สำคัญยังฟิ้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้น

ตัวได้ตามคาดในครึ่งปีหลังฉุดให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ประเทศในแถบเอเชียสามารถกระเตื้องขึ้นได้ ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยธยา คาดว่า แนว โน้มการส่งออกปี 2545

จะขยายตัวเป็นบวกได้ในระดับ 2.0% เทียบกับที่หดตัว 6.9% ในปี 2544 โดยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการส่งออก ทั้งปัจจัยจากภายนอกประเทศและในประเทศ มีดังนี้

ปัจจัยภายนอกประเทศ...ที่เอื้อต่อการส่งออก *เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มสูงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี

โดยเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่า มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ ตัวเลขดัชนีจัดซื้อแห่งชาติ (ISM Purchasing Index)

ซึ่งเป็นตัววัดภาวะการผลิตและการลงทุนภายในประเทศ ล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ดัชนีได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 54.7 ซึ่งสูงจากระดับมาตรฐาน (50.0) เป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน ขณะที่

คำสั่งซื้อสินค้าคงทนระลอกใหม่ และยอดสร้างบ้านใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าในทิศทางเดียวกัตน สำหรับผลผลิตด้านอุตสาหกรรม (Industrial Production)

เริ่มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่เดือนมกราคม ล่าสุด เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 74.8 อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ

ที่ยังอยู่ในระดับสูงจะส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่ม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2545 เป็น

2.2% จากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 0.7% สำหรับสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และอาเซียน มีสัดส่วนของสินค้าส่งออกประมาณ 16% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด

คาดว่า เศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วง ไตรมาสที่ 1 และ 2 ในปี 2545 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายของ

ผู้บริโภคที่จะกระเตื้องขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี ทั้งนี้ จากผลสำรวจภาวะการผลิต และคำสั่งซื้อสินค้าระบอบใหม่ของกลุ่มสหภาพยุโรปโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ พบว่า เริ่มขยายตัวเกินมาตรฐาน

หรือมากกว่าระดับ 50.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนและ 11 เดือน ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้ภาวะธุรกิจเดือนเดียวกันได้ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 5 เดือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ทาง

การสหภาพยุโรปคาดทั้งปี 2545 เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปจะเติบโตในอัตรา 1.5% จากเดิมที่คาดไว้ 1.2% *แนวโน้มการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่เอเชีย และประเทศในภูมิภาคเอเชีย

(ยกเว้นญี่ปุ่น) มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และกลุ่มสหภาพยุโรป เห็นได้จากการส่งออกและยอดสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงต้นปี

รวมถึงราคาหุ้นในตลาดที่อยู่ในระดับต่ำในปีที่ผ่านมาได้จูงใจให้มีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ นักวิเคราะห์คาดเศรษฐกิจเอเชียในปี 2545 จะขยายตัวในอัตรา 7.0%

ประกอบกับจีนเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO ทำให้ประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมทั้งไทยสามารถ ส่งสินค้าออกไปยังจีนได้มากขึ้น เนื่องจากจีนต้อง เปิดเสรีทางการค้าและผ่อนคลายกฎระเบียบให้เป็นสากล

โดยเฉพาะการยกเลิกมาตรการจำกัดโควตาการนำเข้า ซึ่งคาดว่าสินค้าเกษตรกรรมของ ไทย และอุตสาหกรรมเกษตรจะขยายตลาดไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us