ปัจจัยภายใน...กระตุ้นภาคส่งออก *นโยบายการเงินของทางการเพื่อผลักดันการส่งออก
ในช่วงปี 2545 ธปท.
ยังคงให้ความสำคัญต่อนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากจนเกินไป
อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำเป็นประโยชน์ต่อ การลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ
ซึ่งช่วย
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ตลาดซื้อคืนพันธบัตร (R/P) 14 วัน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2545 ลงอีก 0.25%
เหลือ 2.00% แต่ยัง
ไม่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงตามคาด เนื่อง จาก อัตราแลกเปลี่ยนยังมีความเชื่อมโยงกับอีกหลาย
ปัจจัย รวมถึงปริมาณเงินทุนไหลเข้า ผ่าน ตลาด หลักทรัพย์ไทยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
แต่นับว่าค่า
เงินบาทในระดับปัจจุบันยังเอื้อต่อการส่งออกอยู่ *การเร่งสนับสนุนสินค้าภาคอุตสาหกรรม
ส่งออก โดยที่โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยมีสัดส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมถึงกว่า
70% ของ
สินค้าส่งออกทั้งหมด การเร่งส่งออกสินค้าอุต-สาหกรรมที่มีศักยภาพสูงซึ่งมีการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศและมีการจ้างงานสูง
จะสามารถ สร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น
พร้อมทั้งผลักดันให้ภาคส่งออกขยายตัวได้ อุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงในปี
2545 ได้แก่ อุต-สาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ทั้งนี้บริษัทผลิตรถยนต์จากหลายประเทศเริ่มขยายฐานการผลิตเข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้นทั้งจากญี่ปุ่น
สหรัฐฯและยุโรป หลังจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ได้ปรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์เท่ากันทั้ง 3 เขตการลงทุน
นอกจากนี้ การขยายตัวของอุตสาหกรรม
ดังกล่าวยังเป็นเพราะภาครัฐมีนโยบายเปิดเสรีการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถือหุ้นได้อย่างเต็มที่
ในส่วนของอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีแนวโน้มแจ่มใสในปี 2545 อาทิ
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอาหารและผล
ผลิตเกษตรและอาหารเกษตรแปรรูป อุตสาห-กรรมเคมี และอุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น
ซึ่ง
ภาครัฐได้เร่งให้การส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด ได้ปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าที่เป็นวัตถุดิบการผลิต
211 รายการ
เพื่อลดต้นทุนการผลิตสำหรับสินค้าส่งออกไทย และเป็นการปรับอัตราภาษีภายใต้พันธกรณีเขต
การค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้า 211 รายการดังกล่าวมีอัตราภาษีอากรเพียง
0-5%
ในปี 2545 ในส่วนของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนสำคัญที่เชื่อมโยงถึงอุตสาหกรรมส่งออก
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั้งประเทศประมาณ 90%
อยู่ในภาคนี้ ทางการได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการอัดฉีดงบประมาณควบคู่ไปกับการดูแลให้คำปรึกษา
โดย ความคืบหน้าในการพัฒนาด้านธุรกิจ SMEs ในปี 2545
ทางการอนุมัติงบกระตุ้นธุรกิจคิดเป็น มูลค่า 8 พันล้านบาทจากงบสำรองกระตุ้นเศรษฐกิจ
5.8 หมื่นล้านบาท ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมมีโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย โดยใช้งบประมาณ
2,000 ล้านบาท
วัตถุประสงค์เพื่อช่วยพยุงธุรกิจไทยจำนวน 2,600 กิจการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
รวมทั้งคงสภาพการจ้างงานไว้ นอกจากนี้
ทางกระทรวงการคลังได้ร่างพระราชบัญญัติธนาคาร เพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อมที่จะยกฐานะของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) เป็นธนาคาร
SMEs
โดยมีเป้าหมายการปล่อยกู้ในปี 2545 ประมาณ 29,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีสภาพคล่องเงินทุน
หมุนเวียนในการทำธุรกิจได้ (คาดว่าร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ได้กลางปี
2545) รวมทั้งทางกระทรวงการคลัง ยังลงนามร่าง กฎกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจร่วมทุน
พ.ศ. 2545 โดยเป็นมาตร-การหนึ่งของรัฐบาลในการสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมทุน
(Venture Capital:VC) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนระยะปานกลาง
และระยะยาวที่สำคัญแก่ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม
อีกทั้งได้อนุมัติมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีเงินทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท
ณ อัตราภาษี 20%
และได้มีผลใช้บังคับใช้แล้วตั้งแต่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ธุรกิจ SMEs
ที่คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกได้ในมูลค่าสูง อาทิ ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
โดยล่าสุด
กลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นได้เสนอต่อกระทรวงการคลังแสดงความจำนงที่จะจัดตั้งกองทุน
thai-Auto-SMEs Fund เพื่อลงทุนโดยตรงในธุรกิจผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในไทย
นอกจากนี้
ยังมีธุรกิจอื่นๆ อาทิ ธุรกิจผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป มาตรการเสริมอื่นๆ
เพื่อสนับสนุนการส่ง ออกของทางการ ทั้งนี้เพื่อผลักดันการส่งออกใน ปี 2545
ให้บรรลุเป้าหมาย
นอกจากมาตรการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ทางการยังได้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่ง
ออก อาทิ การอำนวยสินเชื่อเพื่อการส่งออก การ
แก้ไขปัญหาการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้า และปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบ
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการผลักดันการส่งออกไปตลาดใหม่ เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง
และแอฟริกา
ขณะเดียวกันจำเป็นต้องพยายาม รักษาตลาดหลักไว้ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่จาก
30% เป็น 40% ในปี 2547 อีกทั้งเสริมสร้างศักยภาพในการ
เจาะตลาดต่างประเทศ โดยการแต่งตั้งผู้แทนการค้ากิตติมศักดิ์ เพื่อขยายการส่งออกไทยไปยังประเทศต่างๆ
เป็นตัวแทนดูแลผลประโยชน์และปกป้องสิทธิการค้า
ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการส่งออก และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
รวมถึงส่งเสริมการส่งออกในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาศักยภาพผู้ส่งออกไทย
ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจก่อสร้างและร้านอาหารไทยในต่างประเทศ
และส่งเสริมการค้าแบบ re-export
ซึ่งเป็นการนำเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นเพื่อส่งออกต่อโดยไม่ผ่านการแปรรูป
แต่อาจมีการบรรจุหีบห่อใหม่แยกปริมาณ คัดคุณภาพหรือระบุเครื่องหมายการค้าใหม่
เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่พึงระมัดระวังและอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของไทย
อาทิ *ราคาน้ำมันเพิ่ม...ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
ระหว่างอิสราเอล-
ปาเลสไตน์ที่ยังตึงเครียด ประกอบกับทางอิรักประกาศที่จะงดการผลิตเพื่อการส่งออกน้ำมันเป็นระยะเวลา
30 วัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 18-19 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาร์เรล
ณ
สิ้นปีก่อน เป็นประมาณ 27 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาร์เรล ในปัจจุบัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ
40% เนื่องจากเกิดการเก็งกำไรและการเพิ่มขึ้นของค่าประกันความเสี่ยง ภัยจากสงคราม
ซึ่งหากราคาน้ำมันยังคงปรับเพิ่ม ขึ้นต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยลบต่อไทย เนื่องจากไทย
เป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันในระดับสูงถึงร้อยละ 90 ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมด
จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าทั้งภาคอุตสาห-กรรมและเกษตร ตลอดจนระดับราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ทำให้โอกาสในการแข่งขันด้านสินค้าส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม
เป็นไปได้ว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันคงจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เนื่อง
จากซาอุดีอาระเบีย ประกาศว่าพร้อมที่จะส่งออก น้ำมันดิบแทนอิรัก
ขณะที่อิสราเอลเริ่มถอนกำลังทหารบางส่วนออกจากพื้นที่ยึดครองเขตปาเลสไตน์ตามคำขอของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ซึ่งหากสถานการณ์คลี่คลายลง ราคาน้ำมันก็จะปรับลดลงตาม
*การแข่งขันและการกีดกันทางการค้าทวี ความรุนแรง โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
โดยเฉพาะสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปที่ต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในระยะที่ผ่านมา
ส่งผลให้อุปสงค์ภายในแต่ละประเทศชะตัวลง ขณะเดียวกัน จำเป็นต้องเร่งส่งออกมากขึ้นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
จึงมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีเพิ่มมากขึ้น
อาทิ
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) คาดว่า จะถูกนำมาใช้กีดกันทางการค้ามากขึ้นใน
ปัจจุบัน จากการแข่งขันทางด้านราคาในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น
โดยสินค้าไทยที่ถูกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดมาก ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเหล็ก
เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ สินค้าเกษตรและเคมีภัณฑ์ มาตรการปกป้องทางการค้า
เพื่อคุ้ม
ครองอุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศ ล่าสุด สหรัฐฯ ปรับภาษีนำเข้าเหล็กจากต่าง
ประเทศเพิ่มขึ้นจากอัตรา 8% เป็น 30% โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมเป็นต้นไปเป็น
ระยะเวลา 3 ปี
โครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) โดยเงื่อนไขของสหภาพยุโรป ระบุว่า
ประเทศใดถูกพิจารณาว่า มีการใช้แรง งานเยี่ยงทาสหรือใช้นักโทษผลิตสินค้าจะตัดสิทธิ
GSP อีก
และเรียกเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นในสินค้า ไทย 10 รายการ (ช่วงระยะเวลาของโครงการนี้
คือ ปี 2545-2547) ในส่วนของสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยในอัตรา
12.5%
ขณะที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่บางประเทศไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า เป็นต้น มาตรการคุ้มครองสิ่งแวด
ล้อมที่ว่าด้วยการติดฉลากแยกระหว่างสินค้าตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) กับสินค้าปลอด
ภัยจากการตัดแต่งพันธุกรรม ปัจจุบันสหภาพยุโรปกำหนดให้สินค้าประเภทปศุสัตว์ที่มีส่วนผสมของ
GMOs ต้องติดฉลากกำกับด้วย เริ่ม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545 มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
ปัจจุบันสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้กำหนดว่าโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจักต้องมีมาตรฐานด้านสุขอนามัย
(HACCP : Hazard Analysis of Critical Control Point)
เป็นการป้องกันอันตรายที่อาจมีอยู่ในผลิต ภัณฑ์อาหารทุกขั้นตอนการผลิตแทนการตรวจสอบที่ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
มาตรการว่าด้วยสุขอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหาร (White Paper on Food
Safety) สหภาพยุโรปได้ออก กฎระเบียบที่เข็มงวดมากขึ้นในการกำหนดปริมาณสูงสุดของสารเคมีตกค้างและการปนเปื้อนของเชื้อโรค
โดยเฉพาะในเนื้อไก่และกุ้งแช่เย็นแช่แข็งจากไทย
หากมีการตรวจพบจะมีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จากไทย นอกจากนี้ ยังมีมาตรการทางการค้าที่มิใช่
ภาษีที่คาดว่าจะนำมาใช้ในอนาคต อาทิ มาตร-ฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(Waste from Electrical and Electronics Equipment: WEEE) ซึ่งจะมีผล ยังใช้ในต้นปี
2547 และ
กฎหมายจำกัดปริมาณการใช้สารอันตราย (Restriction on Harzar-dous Substances
: RoHS) ซึ่งจะใช้ บังคับในปี 2551 นับเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก
สินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สรุป แนวโน้มการส่งออกของไทยในปี
2545 นับว่ายังมีปัจจัยอื่นหลายประการที่จะก่อให้เกิด ความผันผวนอยู่มาก
ทั้งนี้
ขึ้นกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐ-กิจสหรัฐฯ
และกลุ่มสหภาพยุโรปในช่วงครึ่งหลัง ปี 2545
ตลอดจนการดำเนินมาตรการทางการค้า ของประเทศคู่ค้าและผลกระทบจากการที่ประเทศ
จีนได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกด้วย นอกจากนี้ ควรให้ความสนใจติดตามความ
เคลื่อนไหวของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ เพราะหาก ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจะกระทบต้นทุน การผลิตสินค้า
และหากเงินบาทแข็งค่าเกินควร
จะทำให้สินค้าไทยมีราคาแพงใน สายตาประเทศ ผู้ซื้อ ปัยจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศลดลง
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากปัจจัยที่กล่าวทั้งภาย
ในและภายนอกประเทศมิได้ผันผวนไปจาก ความคาดหมายเกินควรแล้ว ฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา
คาดว่า การส่งออกตลอดปี 2545
จะสามารถพลิกฟื้นจากการหดตัวในช่วงต้นปีมาขยายตัวได้ในอัตราประมาณ 2.0%
จากที่หดตัว 6.9% ในปีก่อน แต่ทั้งนี้ภาครัฐจำเป็นต้องเร่ง ผลักดันมาตรการการส่งเสริมต่างๆ
ให้สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลโดยเร็ว รวมถึงมาตรการทางด้านภาษีเพื่อลดต้นทุนการผลิต
การเร่งขยาย ตลาดไปยังตลาดใหม่โดยยังคงพยายามรักษาตลาดหลักเดิมไว้
สำหรับการสนับสนุนอุตสาหกรรมดาวรุ่งเพื่อส่งออกอย่างจริงจังในระยะยาวเพื่อเป็น
การส่งเสริมการส่งออกให้ขยายตัวให้สูงขึ้นอย่าง เข้มแข็งและมั่นคง
ไทยควรพัฒนาขีดความสามารถด้วยการส่งเสริมการสร้างชื่อเสียงทาง การค้าและคุณภาพของสินค้าไทย
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งภาย ในและต่างประเทศ