|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2527
|
|
ทุกวันนี้ปัญหาของการขยายโรงงานและการตั้งโรงงานมักจะวนเวียนกันอยู่เพียงไม่กี่ข้อ
ข้อที่สำคัญที่สุดซึ่งเจ้าของโรงงานจะเป็นห่วง และทำให้การตัดสินใจตั้งโรงงานหรือย้ายโรงงานต้องล่าช้าไป มีอยู่ 2-3 ประการ ดังนี้:-
สถานที่ตั้ง จุดนี้เป็นหัวใจสำคัญ เพราะการไปอยู่ในสถานที่ซึ่งไกลเกินก็จะเป็นปัญหาการขนส่ง การคมนาคมและการสื่อสาร ก็จะทำให้ต้นทุนสินค้าสูง
ส่วนถ้าอยู่ในเมืองก็จะเกิดปัญหาการลงทุนในเรื่องที่ดินที่แพงมากและยังมีองค์ประกอบของกฎหมายรัฐที่ควบคุมอุตสาหกรรมในเมืองซึ่งเข้มงวดในเรื่อง
...มลพิษทางการปล่อยควันหรือน้ำเสีย
...มลภาวะทางเสียง
...อุบัติเหตุและอันตรายจากไฟไหม้
...การถูกผู้อยู่เคียงข้างร้องเรียน ถ้าโรงงานทำความเดือดร้อน
นิคมอุตสาหกรรมบางปูมีที่ตั้งที่ดีที่สุด
นิคมอุตสาหกรรมบางปู อยู่ที่ตำบลบางปูใหม่และตำบลแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งการเดินทางโดยใช้ทางด่วนก็จะกินเวลาเพียง 15 นาทีเท่านั้น
นิคมอุตสาหกรรมบางปูเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมที่รัฐบาล ได้ตั้งขึ้นโดยมีสิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับผู้ต้องการเข้าไปตั้งโรงงาน เช่น :-
...ความสะดวกรวดเร็วในการขออนุญาตต่างๆ
...การบริการเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
...สิทธิพิเศษในการนำผู้ชำนาญหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทย
...สิทธิในการหักลดภาษีการค้าและการหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ฯลฯ
นิคมอุตสาหกรรมบางปูเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมมากเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าไปอยู่หลายประการ :-
...สาธารณูปโภคที่ครบ มีถนนที่สมบูรณ์ น้ำไฟพร้อม นอกจากนั้นยังมีโทรศัพท์ให้กับโรงงานใช้รวมทั้งเทเล็กซ์ซึ่งมีคู่สายพร้อมอยู่แล้ว
...มีระบบกำจัดน้ำเสียและระบบระบายน้ำที่ทุกโรงงานใช้ร่วมกันได้ ทำให้โรงงานประหยัดอีกมาก
ด่านแรกที่จะไปสู่ย่านอุตสาหกรรมหนักปิโตรเคมิคอลของโครงการชายฝั่งทะเลตะวันออกและเป็นด่านสุดท้ายที่จะเข้าสู่ศูนย์กลางการตลาดที่กรุงเทพฯ
นิคมอุตสาหกรรมบางปูเป็นนิคมอุตสาหกรรมเดียวที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออกซึ่งรัฐบาลรีบเร่งดำเนินอยู่
ดร.สาธิต โพธิวิหค เลขาธิการคณะกรรมการโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออกเคยไปพูดให้ประชาชนที่ชลบุรีฟังว่า โครงการฯ นี้ดำเนินไปแล้วหลายส่วนและในที่สุดก็จะมี
...ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด
...แก๊สธรรมชาติซึ่งจะมีท่อผ่านให้นิคมอุตสาหกรรมบางปูได้ใช้
...อุตสาหกรรมปิโตรเคมิคอลหลายอย่างเช่น ปุ๋ย ฯลฯ
จะเห็นได้ว่า นิคมอุตสาหกรรมบางปูเป็นจุดเชื่อมที่เจ้าของโรงงานจะได้ประโยชน์จากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการขนถ่ายวัตถุดิบจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดมาที่นิคมฯ บางปู หรือการใช้แก๊สธรรมชาติกับอุตสาหกรรมตนเอง ฯลฯ ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยภายนอกที่จะทำให้นิคมฯ บางปูเป็นแหล่งที่นักลงทุนและเจ้าของโรงงานจะได้รับประโยชน์มาก
และจากการที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มากก็ทำให้โรงงานที่นิคมฯ บางปู ไม่มีอุปสรรคในเรื่องการระบายสินค้าให้ทันกับเวลา
นิคมอุตสาหกรรมบางปูก็อาจจะเป็นแหล่งที่นักลงทุนมาใช้เป็นโกดังเก็บสินค้าซึ่งระบายมาจากอุตสาหกรรมหนักทางชายฝั่งตะวันออกหรือวัตถุดิบจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดได้ดีที่สุด ถ้าเจ้าของนักลงทุนวางแผนการขนส่งที่ดีก็จะเป็นการประหยัดเงินและทำให้ตารางเวลาของการทำงานไม่คลาดเคลื่อน
ทางออกหลายทางและน้ำที่ไม่มีทางท่วม
นอกจากถนนสายเก่าบางปูที่นำไปสู่นิคมฯ บางปูแล้ว นิคมฯ บางปูยังมีทางออกอีก คือ ทางถนนแพรกษา ซึ่งมีระยะทางเพียง 2 กิโลเมตรก็สามารถตัดเข้าทางสายบางนา-ตราด ที่จะนำไปสู่ทางด่วนได้อีกทางหนึ่ง ถนนแพรกษานี้เชื่อมกับทางนิคมฯ บางปู โดยสะพานซึ่งนิคมฯ บางปูกำลังสร้างและจะแล้วเสร็จแน่นอนในปีหน้า
สำหรับเรื่องน้ำท่วมนั้น คลองอาทิตย์ซึ่งเป็นโครงการขุดคลองตามพระราชดำริเพื่อป้องกันน้ำท่วมนั้นอยู่บริเวณรอบนิคมฯ บางปู ทำให้มั่นใจได้ว่าเขตพื้นที่ของนิคมฯ บางปูจะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแน่นอน
อีกประการหนึ่งในช่วงที่มีน้ำท่วมอย่างมากที่สุดในปลายปี 2520 นั้น นิคมฯ บางปูกลับไม่โดนน้ำท่วมเลยแม้แต่น้อย ฉะนั้นจึงเป็นที่ไว้วางใจได้ว่า ปัญหาด้านน้ำท่วมจะไม่มีผลกระทบกับนิคมฯ บางปูเลย
การดำเนินเรื่องขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ ก็คงจะเป็นที่ทราบกันดีว่า การติดต่อราชการแม้แต่เพียงขอต่ออายุบัตรประจำตัวก็ต้องใช้เวลาเป็นวันๆ นับประสาอะไรกับการขออนุญาตตั้งโรงงาน ตั้งแต่การขอใบอนุญาต ขอไฟฟ้า ขอจดทะเบียนเครื่องจักร ขออนุญาตสร้างโรงงาน ซึ่งต้องขออนุญาตตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการก่อสร้าง จากการสอบถามพูดคุยกับเจ้าของโรงงานปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วในการตั้งโรงงานขนาดเล็กถึงกลางสักโรงหนึ่งจะต้องใช้เวลาในการติดต่อกับราชการเป็นเวลาถึงเกือบๆ ปี จึงจะเรียบร้อยลงได้
ส่วนเรื่องการขอโทรศัพท์กับเทเล็กซ์ก็ต้องยืดเยื้อไปอีกเป็นเกือบๆ ปีเหมือนกัน
การหาเงินทุนมาสร้างโรงงาน ในการดำเนินการเช่นนี้สำหรับโรงงานที่มีกำไรสะสมมากพอสมควรก็จะไม่มีปัญหา แต่สำหรับโรงงานทั่วไปที่ต้องใช้เงินหมุนเวียน การโยกย้าย ขยายหรือตั้งโรงงานนั้นหมายถึงการต้องกู้ยืมจากแหล่งเงินซึ่งย่อมหมายถึงการที่ธนาคารหรือแหล่งการเงินต้องมาตีราคาทรัพย์สิน และสำรวจที่ดิน
ปัญหานี้ดูจะง่ายก็ง่าย ดูจะยากก็ยาก เพราะตีราคาที่ดินสำหรับธนาคารนั้นเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล ส่วนมากถ้าธนาคารหรือแหล่งเงินไม่รู้จักที่แถวนั้นดีก็จะใช้วิธีการตีราคาไว้ต่ำก่อน ซึ่งก็จะเป็นปัญหาที่เจ้าของโรงงานต้องหาเงินอีกส่วนหนึ่งมาชดเชย
บางครั้งนักลงทุนก็จะมีปัญหาในเรื่องการสร้างโรงงาน ในด้านเงินทุน และแหล่งผู้ก่อสร้าง
นิคมอุตสาหกรรมบางปูช่วยดำเนินการให้ในการขออนุญาตต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมบางปูเป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชน ดังนั้น ในด้านที่โรงงานจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการในเรื่องการติดต่อต่างๆ เช่น ขอใบอนุญาตการขอก่อสร้าง ฯลฯ ถ้าเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมฯ บางปูก็จะได้รับความรวดเร็วมาก
“ถ้าเอกสารทุกอย่างพร้อม เราสามารถจะจัดการให้เสร็จภายใน 14 วัน เป็นอย่างมากที่สุด ซึ่งถ้าดำเนินการเองก็ตั้งแต่ 6 เดือนถึงเกือบๆ ปี” ไพบูลย์ สำราญภูติ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นฝ่ายเอกชนที่รับผิดชอบในเรื่องนิคมอุตสาหกรรมบางปู พูดให้ฟัง
นอกจากการเดินเรื่องกับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว นิคมฯ บางปูยังช่วยนักลงทุนจัดการในด้านอื่นด้วยเช่น
...ยื่นขอส่งเสริมการลงทุน และติดตามผลให้ถ้าอุตสาหกรรมนั้นมีความประสงค์
...ถ้าต้องมีเจ้าหน้าที่ชาวต่างประเทศเข้ามาทำงานด้วย นิคมฯบางปูก็จะเป็นผู้ติดต่อขออนุญาตกรมแรงงานตลอดจนกรมตรวจคนเข้าเมืองให้เรียบร้อย
...แม้แต่ในการก่อสร้าง นิคมฯ บางปูเองก็สามารถจะจัดการแนะนำผู้รับเหมาที่มีคุณภาพและราคาพอสมควรให้เลือก
นิคมฯ บางปูจัดแหล่งเงินทุนให้เสร็จ
นิคมฯ บางปูเป็นแห่งเดียวที่ช่วยนักลงทุนได้ในเรื่องการจัดเงินซื้อที่ดินสร้างโรงงาน โดยนิคมฯ บางปูมีข้อตกลงกับธนาคารศรีนครที่จะสนับสนุนการซื้อที่ดินของนักลงทุนเจ้าของโรงงาน “เจ้าของโรงงานจะต้องจ่ายประมาณ 30-35% ของราคา ส่วนที่เหลือผ่อนได้ใน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน 16.5%” ไพบูลย์ สำราญภูติ พูดอธิบาย
“เรากำลังเจรจาขอลดดอกเบี้ยลงไปอีกสัก 0.5% และคิดว่าอาจจะได้ ซึ่งก็จะทำให้เจ้าของโรงงานแบ่งเบาภาระไปได้” นิพิธ โอสถานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมฯ เล่าให้ฟังเพิ่มเติม
จะเห็นได้ว่าถ้ามาอยู่นิคมฯ บางปูแล้วปัญหาเรื่องตีราคาที่ดินหรือหาแหล่งเงินก็หมดไปโดยปริยาย
นอกจากนั้นแล้วถ้านักลงทุนต้องการจะให้ช่วยด้านการกู้ทั้งโครงการตั้งแต่ที่ดิน/สร้างโรงงาน/ซื้อเครื่องจักร/การตลาดและโฆษณา/บริษัทพัฒนาที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมฯ ซึ่งรับผิดชอบเรื่องนิคมฯ บางปูร่วมกับรัฐบาลก็พร้อมที่จะรับปรึกษา และดำเนินการให้ได้
การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินในอนาคต ในการค้าขายนั้น สิ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนคือมูลค่าของทรัพย์สินที่มีอยู่ ธรรมดาแล้วการตัดค่าเสื่อมราคาในมาตรฐานสากลก็จะใช้เวลา 5 ปี ในกรณีของเครื่องจักรนั้น ตามข้อเท็จจริงก็จะมีอายุการใช้งานระหว่าง 10-15 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นการขายต่อก็แทบจะไม่มีราคาอยู่แล้วถึงแม้จะได้ราคาแต่เนื่องจากค่าเสื่อมราคาทางบัญชีถูกตัดหมดไปแล้ว การขายออกไปก็จะต้องถูกลงบัญชีเป็นกำไรซึ่งต้องเสียภาษีอีก 40%
ฉะนั้น ทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดก็น่าจะได้แก่ ตัวโรงงานและที่ดิน ซึ่งในกรณีเช่นนี้ที่ดินราคาจะดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น
...สาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำ ไฟ โทรศัพท์ ที่อยู่รอบด้าน
...ชุมชนในที่ที่โรงงานตั้ง ว่ามีหนาแน่นและราคาดีไหม?
...บริเวณที่ตั้งโรงงานจะถูกจำกัดในอนาคตว่า ไม่ให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหรือเปล่า หรืออาจจะถูกกฎเกณฑ์ข้อบังคับในเรื่องมลภาวะ จนแทบไม่สามารถจะดำเนินงานได้อย่างเต็มที่หรือไม่?
องค์ประกอบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งจะมีส่วนในการทำให้มูลค่าที่ดินและโรงงานเพิ่มขึ้น
ที่ของนิคมฯ บางปูจะมีมูลค่าหลายเท่าในอนาคต
ความจริงแล้วโครงการนิคมฯ บางปูนั้นมีทั้งหมด 10,000 ไร่ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
1) เขตอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ 4,000 ไร่ ซึ่งเป็นเขตที่จัดไว้ให้กับโรงงานโดยเฉพาะ ซึ่งแบ่งเป็นแปลงๆ ตั้งแต่ 3 ไร่ขึ้นไป และมีสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟ โทรศัพท์ พร้อม รวมทั้งระบบระบายน้ำและขจัดน้ำเสีย
2) เขตธุรกิจการค้า มีเนื้อไร่ 300 ไร่ ซึ่งอยู่ติดกับเขตอุตสาหกรรมมาทางตะวันตกเฉียงใต้ จัดสรรเพื่อการพาณิชย์และบริการชุมชนประกอบด้วยร้านค้านานาชนิด ภัตตาคาร โรงมหรสพ ธนาคาร คลังสินค้า ตลาดสด สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ ส่วนราชการก็จะมีสถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถานีบริการขนส่งต่างๆ บริการไปรษณีย์โทรเลข และโทรศัพท์
3) เขตที่พักอาศัย เนื้อที่ 4,000 ไร่ ได้จัดสรรไว้เป็นอาคารที่พักอาศัยของพนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกระดับเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปทำงาน ในเขตนิคมฯ บางปู นอกจากนี้ยังจะได้จัดให้มี สถานพยาบาล โรงเรียน สโมสร ศูนย์ฝึกกีฬา สนามเด็กเล่น ตลอดจนสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาลอยู่ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
4) เขตพักผ่อนหย่อนใจ จัดไว้ให้มีสวนสาธารณะในบริเวณที่เหมาะสม มีทะเลสาบ สระว่ายน้ำ และมีคันทรีคลับ (Country Club) โดยมีสนามกอล์ฟ ซึ่งออกแบบโดยอาร์โนลด์ พาล์มเมอร์ นักกอล์ฟชื่อดังของโลกอีก
ทั้งหมดนี้ โครงการแรก (ก) ได้เริ่มไปแล้ว นิคมฯ บางปูก็จะตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่เจริญเพียบพร้อมด้วยบริการและความสะดวกสบายทุกด้านของสังคมชุมชน
สิ่งเหล่านี้คือองค์ประกอบที่จะทำให้มูลค่าทรัพย์สินในรูปของที่ดินสูงขึ้นกว่าการสูงขึ้นธรรมดาอีกหลายต่อหลายเท่า
ฉะนั้นถ้ามองในแง่การลงทุนแล้ว การมาตั้งโรงงานในนิคมฯ บางปูนั้นเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตจริงๆ
อีกประการหนึ่งราคาที่ดินของนิคมฯ บางปูนั้น โดยเฉลี่ยจะสูงกว่าราคาข้างนอกเพียง 5% เท่านั้น!
ซึ่งถ้าคิดถึงว่าเจ้าของโรงงานไม่ต้องลงทุนด้านสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำ ไฟ ระบบระบายน้ำ ระบบขจัดน้ำเสีย โทรศัพท์ เทเล็กซ์ แล้วราคาของนิคมฯ บางปูกลับจะถูกกว่าเป็นเท่าตัวทีเดียว
ในการตั้งโรงงานใหม่หรือโยกย้ายโรงงานนั้นถ้าเจ้าของโรงงานตัดปัญหาความกังวลในด้านการเตรียมงาน และการหาแหล่งที่เหมาะที่จะไปอยู่ออกไปแล้ว มุ่งหนักในการผลิตกับการตลาดเชื่อได้ว่าประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมนั้นจะต้องมีมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว
ปัญหาเรื่องการหาแรงงานเมื่อโยกย้ายไป
ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาสำคัญเพราะถ้าโรงงานไปอยู่ในที่ห่างไกล การมาทำงานของพนักงานจะลำบากและอีกประการหนึ่งแรงงานท้องถิ่นที่โรงงานจะไปตั้งนั้นเพียงพอหรือไม่?
สมุทรปราการไม่ขาดแคลนแรงงานท้องถิ่น
นิพิธ โอสถานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทพัฒนาที่ดินฯ พูดถึงแรงงานสำหรับโรงงานที่มาตั้งยังนิคมฯ บางปูว่า แรงงานของสมุทรปราการเป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถจะหาได้ในราคาไม่แพง จากการที่ได้สอบถามเจ้าของโรงงานซึ่งย้ายเข้าไปอยู่นิคมฯ บางปูนั้น ได้ความว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานนั้นไม่มี นอกจากนั้นยังหาค่อนข้างง่ายด้วย (โปรดอ่านรายละเอียดในการสัมภาษณ์ นิพิธ โอสถานนท์ ในเล่ม) อีกประการหนึ่งการที่เป็นคนท้องถิ่นยังทำให้การสัญจรมาทำงานไม่มีอุปสรรคเหมือนในกรุงเทพฯ และยังเป็นการประหยัดกับโรงงานที่จะต้องจัดสร้างที่พักให้คนงานอีกด้วย
การตัดความกังวลต่างๆ ที่ได้เอ่ยมานั้น วิธีหนึ่งคือการเลือกเข้ามาอยู่ในนิคมฯ บางปู สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถจะติดต่อได้ที่
บริษัท พัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมประเทศไทย จำกัด
ชั้น 13 อาคารธนาคารศรีนคร จำกัด
สำนักงานใหญ่ สวนมะลิ กรุงเทพฯ
โทร.223-3294, 223-0561 ต่อ 214, 244 หรือที่สำนักงานบางปู โทร. 395-1827-8
|
|
|
|
|