|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2527
|
|
“ผู้จัดการ” - สำนักผังเมืองมีเงื่อนไขในการตั้งหรือขยายโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองหรือไม่
รอง ผอ.สำนักผังเมือง - ในรูปวิชาการผังเมือง ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดมลภาวะ เช่น เสียง ความสั่นสะเทือนหรืออากาศเป็นพิษ หรือว่าน้ำเสียหรือ Noise Pollution ก็ควรใช้ชานเมือง เพราะฉะนั้นการออกผังในอนาคต เราใช้ชั่วอายุคน 20 ปี ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ของลูกได้ สภาพการเป็นอยู่ก็ผิดไปในรูปการศึกษาหรืออาชีพต้องเปลี่ยนไป เราก็จะพยายามให้ไปอยู่นอกเมืองหรือเรียกว่าเมืองบริวารอย่างกรุงเทพฯ ก็มีเมืองรอบๆ ที่จะรับคนล้นเมืองออกไปอยู่รอบเมือง ที่เมืองนอกเขาจะมี Green Belt พื้นที่สีเขียวห้ามมิให้มีอุตสาหกรรม แต่ให้ไปอยู่ในเมืองรอบๆ เพื่อกำหนดความโตของสาธารณูปโภค มันจะได้ไม่ต้องใช้ Separate System เช่น น้ำ ไฟฟ้า ถนน พวกนี้จะไม่เกิด Complexion หรือความยุ่งยากในการจราจร
ในกรุงเทพฯ เราควรออกแบบพร้อมไปกับเมืองบริวารที่จะรับคนล้นเมืองออกไปมีอาชีพ เวลานี้กรมส่งเสริมการเกษตรกำลังออกแบบในการที่จะใช้คนเข้าทำงานประเภทหัตถกรรมหรือเครื่องจักร อย่างนี้น่าสนับสนุน ส่วนอุตสาหกรรมใหญ่ที่เราไม่สนับสนุนก็โกรธที่มันเป็นมลภาวะ เวลานี้กรุงเทพฯ แค่ควันจากรถยนต์ก็เต็มหมดแล้ว เราก็เลยต้องระวังควันจากอุตสาหกรรม Water Pollution การระบายน้ำเน่า กฎหมายจะมีช่องว่างที่เราติดตามไม่ทัน
การที่อุตสาหกรรมอยู่รอบเมืองจะดี แต่ถ้าเป็นเมืองบริวารก็ควรไว้ในเมืองบริวารเพื่อหางานให้คนทำ เมืองบริวารที่ผังเมืองเขาทำอยู่ แต่เราต้องทำพร้อมกับ Green Belt เมื่อเรามีเมืองบริวารเราก็ต้องจำกัดเมืองหลวงให้อยู่ในขอบเขต เมืองยิ่งใหญ่การลงทุนสาธารณูปโภคยิ่งแพง มันจึงต้องใช้ Separate System
“ผู้จัดการ” - สำนักผังเมืองมีข้อกำหนดอะไรหรือไม่ ว่าโรงงานอุตสาหกรรมอันไหนจะตั้งได้หรือไม่ได้
รอง ผอ.สำนักผังเมือง - ไม่มี อันนี้เป็นข้อบัญญัติของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีขั้นตอนของ บีโอไอ ส่วนของเราจะมองพื้นที่ 7 ประการ คือ
1. แหล่งการค้ากลางเมือง
2. พื้นที่ที่เราจัดทำสาธารณูปโภค
3. ที่อยู่อาศัย
4. แหล่งพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งหนักและเบา
5. บริการ Service Industry เป็นคลังสินค้าอยู่ใกล้สถานีรถไฟ, สถานีขนส่ง
6. ประเภทที่ใช้รวมกันหลายๆ เรื่อง หลายอย่างเป็น Complex
7. สวนสาธารณะ
ทั้งหมดนี้เป็นแหล่งใหญ่ๆ ที่เราคำนึงถึง เราต้องคำนึงทั้ง 3 ทางคือ ทางน้ำ, ทางบก และทางอากาศ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการขนส่งและคมนาคม
สำนักผังเมืองไม่ได้เป็นผู้ห้ามในเรื่องการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม แต่เป็นผู้ให้แนวประสานงานไปตามกฎหมายเฉพาะเรื่อง ผังเมืองเป็นฐานแม่บท มีความยืดหยุ่นพอควร ส่วนเขาจะมีอะไรบ้างตามความจำเป็นที่มันจะเกิดขึ้นโดยเราหาข้อมูล มีกองวิจัย วิเคราะห์งานโดยประสานกัน แต่ผู้ที่จะลงไปชี้ถึงพื้นที่แล้วห้ามจะเป็นเรื่องของ
จังหวัดเอง คณะกรรมการบริหารส่วนจังหวัดหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น การนิคมอุตสาหกรรม การเคหะ ไปดำเนินการ
“ผู้จัดการ”- บางโรงงานที่มีปัญหา สำนักผังเมืองจะมีส่วนให้ย้ายโรงงานได้ไหม?
รอง ผอ.สำนักผังเมือง - เราไม่เกี่ยวแล้ว ที่เราให้ไปเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ และยืดหยุ่น กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่ อนุญาตให้รื้อถอนหรือตั้งโรงงานผังเมืองไม่มีอำนาจหน้าที่
|
|
|
|
|