Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
บัญญัติ 14 ประการ ป้องกันธุรกิจไม่ให้เจ๊ง             
โดย ชูเกียรติ กาญจนชาติ
 


   
search resources

SMEs
Knowledge and Theory




แม้ปัญหาทางการเงินจะเป็นปัญหาทั่วไปของธุรกิจทุกชนิด แต่ความผิดพลาดทางการเงินไม่กี่แสนบาท อาจทำให้ธุรกิจเล็กๆ ล้มละลายได้ในขณะที่บริษัทใหญ่ๆ อาจไม่กระทบกระเทือนถ้าจะต้องขาดทุนหรือเสียหายเป็นล้านบาท

โดยที่ธุรกิจส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ดังนั้นปัญหาทางการเงินแม้จะเป็นจำนวนไม่มากก็อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการล้มเหลวของธุรกิจได้ง่ายๆ ศาสตราจารย์แอบ เดลซาแมดและคณะ แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลท์ สหรัฐอเมริกา ได้เสนอบทความชี้ให้เห็นถึงข้อสังเกตของการบริหารทางการเงิน 14 ประการที่ธุรกิจขนาดเล็กควรสังวรได้แก่

1. ประมาณตัวเอง

การประมาณการทุนดำเนินงานขั้นแรก เช่น การซื้อที่ดิน เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ จ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายเพื่อพัฒนาตลาด ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจหรือขายสินค้าขั้นเริ่มดำเนินการนี้อาจใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเริ่มแสดงผลกำไร ดังนั้นการใช้เงินทุนในช่วงนี้มีความจำเป็นจะต้องประมาณการให้ถูกต้องให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงซึ่งควรจะคำนึงถึง

ก) เงื่อนไขในเรื่องระยะเวลาในช่วงเริ่มต้นในการวางโครงสร้างและระบบงาน จนกว่าคนและงานจะเข้าที่ ทำงานเป็นทีม ถ้าช่วงนี้ใช้เวลานานย่อมใช้ค่าใช้จ่ายสูง
ข) ระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างตลาด สร้างแนวคิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้ใช้บริโภค รวมทั้งระยะเวลาในการเตรียมการผลิตสินค้าให้เหมาะสม
ค) ระยะเวลาในการสร้างเครดิตในการซื้ออุปกรณ์และสินค้า หรือวัตถุดิบเพราะในระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีเครดิตสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องซื้อเป็นเงินสดทั้งสิ้น
ง) แม้ธุรกิจที่เริ่มดำเนินไปด้วยดีแล้วก็ตาม เหตุสุดวิสัยก็อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไฟไหม้ ขโมย หนี้สูญ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการเงินขึ้นได้

ดังนั้นการจัดเตรียมทุนดำเนินการในระยะแรกจำเป็นต้องพิจารณาเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ล่วงหน้า โดยเฉพาะในสถานการณ์เช่นนี้ ควรคาดการณ์โดยพิจารณาถึงปัจจัยที่อาจเป็นไปได้ทุกๆ ด้าน

2. ค่อยๆ เดินไป

ทุนไม่เพียงพอในการขยายกิจการหรือตามไม่ทันการเจริญเติบโตของธุรกิจ ธุรกิจขนาดเล็กมักจะเผชิญปัญหาในการระดมทุน หากธุรกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเกินคาด ยิ่งถ้าภาวะเศรษฐกิจการเงินไม่ดี หาแหล่งการเงินยาก บริษัทเล็กย่อมกระทบกระเทือนมากในการหาทุนหมุนเวียน ปัญหาที่พบเสมอคือบริษัทขาดเงินสดแม้การขายจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ก่อนที่จะพิจารณาเร่งการขายหรือมีแนวโน้มที่พิจารณาเห็นว่าการขายจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความต้องการของตลาดผู้จัดการหรือเจ้าของกิจการควรต้องคำนึงหาทางเลือกหลายๆ ทางว่า หากจะขยายการขาย ทุนหมุนเวียนจะเพียงพอหรือไม่ ถ้าจำเป็นจะหาแหล่งทุนได้จากไหน ถ้าเห็นว่าไม่สามารถหาเงินทุนได้ ทางเลือกอาจต้องยอมให้มีการขยายการขายในอัตราต่ำ โดยขายเฉพาะลูกค้าดีๆ ที่สำคัญๆ เอาไว้ คือค่อยๆ ขยายจนกว่าธุรกิจจะมีเงินหมุนเวียนเพียงพอ

3. ระวังหนี้ระยะสั้น

นักลงทุนหัวใจสมัครเล่นบางคนคิดว่าเรื่องการลงทุนทำธุรกิจเล็กๆ นั้นเป็นเรื่องไม่ยากถ้าทุนไม่พอก็กู้หนี้ยืมสินใช้เงินชาวบ้านหรือธนาคารมาดำเนินการก็คงทำได้ แท้จริงแล้วธนาคารหรือผู้ให้กู้ยืมมีความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการให้ธุรกิจเล็กกู้ยืม ทั้งนี้เพราะการเสี่ยงภัยในเรื่องหนี้สูญสูงมาก ธุรกิจเล็กๆ ไม่มีทรัพย์สินที่เป็นหลักเป็นฐานมาชำระหนี้คืน ดังนั้นถ้าจะให้กู้มักคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าและระยะเวลาการชำระหนี้สั้นกว่า รวมทั้งมีเงื่อนไขต่างๆ มากมายกว่าการให้กู้ต่อบริษัทธุรกิจใหญ่ๆ ดังนั้นก่อนที่จะคิดจะสร้างหนี้เพื่อมาทำเป็นทุน จะต้องพิจารณาว่าหากเงินที่กู้ไปนำมาใช้ในการลงทุน การลงทุนนั้นต้องก่อให้เกิดผลตอบแทนที่สูงและคุ้มค่า

4. วางแผนการเงินให้ดี

บริษัทเล็กๆ ส่วนมากละเลยการวางแผนทางการเงิน เนื่องจากมีปัญหาประจำวันมากมายมาทราบก็ต่อเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การวางแผนทางการเงินในบริษัทเล็กๆ ย่อมมีความสำคัญไม่น้อยกว่าบริษัทใหญ่ๆ สำหรับกิจการเล็กๆ หากมีปัญหาขัดข้องย่อมจะลำบากแก่การหาแหล่งทุนมากกว่าบริษัทใหญ่

5. รู้เรื่องเงินสดหมุนเวียน

กุญแจสำคัญในการบริหารเงินสดหมุนเวียน ก็คือการทำงบประมาณหรือการวางแผนเงินสดได้แก่ การทำบัญชีเงินสดรับ-จ่ายเป็นรายวัน รายเดือน จุดประสงค์การทำงบประมาณเงินสดก็เพื่อประมาณการว่าจะมีเงินสดหมุนเวียนในระหว่างเดือนหรือในเดือนหน้าเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อที่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารสามารถเตรียมหาแหล่งเงินทุนเพื่อหาเงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจให้คล่องตัวไม่ติดขัด สามารถชำระหนี้ได้ทันกำหนดเวลาโดยไม่เสียเครดิต ยิ่งกว่านั้นการทำงบประมาณเงินสดไว้ล่วงหน้าช่วยให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสามารถชำระหนี้ได้เมื่อไร เพราะจากงบประมาณ นักบริหารสามารถคาดการณ์ถึงเงินสดที่จะได้รับจากบัญชีลูกหนี้และสามารถกำหนดการชำระหนี้ให้สอดคล้องกันได้

6. อย่าขยายหลังติดลบ

การขยายการขายโดยมิได้พิจารณาถึงผลตอบแทนจากการลงทุน เจ้าของกิจการเล็กๆ มักพิจารณาโดยใช้สามัญสำนึกง่ายๆ ว่า ถ้าขายให้มากย่อมมีกำไรมาก แนวความคิดเช่นนี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะการขยายการขายนั้นย่อมหมายถึงการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้วย เช่น การเพิ่มการขาย ทำให้บัญชีลูกหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงการเพิ่มการเสี่ยงภัย การเพิ่มดอกเบี้ย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขายอื่นๆ ทางที่ดีสิ่งที่ผู้จัดการหรือเจ้าของกิจการควรคำนึงถึงก็คือการพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งหมายถึงอัตราร้อยละของผลกำไรสุทธิต่อปริมาณการขายกับการหมุนเวียนทางการขาย (หมายถึงขายเป็นกี่เท่าของเงินและทรัพย์สินที่ลงทุน) หากอัตราร้อยละกำไรสุทธิลดลงจากการขายเพิ่มขึ้นก็เรียกว่าการขยายการขายที่เพิ่มขึ้นก่อให้เกิดผลตอบแทนต่ำกว่าการขายอัตราเดิม การที่อัตราผลตอบแทนต่ำ แสดงว่าการขยายการขายที่เพิ่มขึ้นนั้นก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะต้องระวังการคิดต้นทุน บริษัทเล็กๆ มักจะพิจารณาต้นทุนแต่เพียงต้นทุนทางตรง เช่น ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ค่าจ้างแรงงาน ปกติมักละเลยค่าโสหุ้ยต่างๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าทดสอบ และควบคุมคุณภาพสินค้า ฯลฯ การทุ่มตลาดเพื่อขยายการขายโดยการแข่งขันตัดราคาโดยละเลยค่าใช้จ่ายอื่นๆ ดังกล่าว อาจนำไปสู่ความหายนะได้

7. อย่าเสี่ยงมากนัก

การละเลยกฎความจริงที่ว่าสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงย่อมมีการเสี่ยงภัยสูง การทำธุรกิจทุกอย่างต้องมีการเสี่ยงภัยมากน้อยแล้วแต่ชนิดและลักษณะของกิจการ นักธุรกิจที่ดีต้องรู้จักพิจารณาที่จะลงทุนในกิจการที่ให้ผลตอบแทนสูง ณ ระดับการเสี่ยงภัยพอสมควร

8. อย่าดึงเงินไปใช้ในทางอื่น

ปกติเมื่อธุรกิจเริ่มผลิดอกออกผลในระยะแรก ธุรกิจขนาดเล็กควรที่จะสะสมผลกำไรที่ได้ไว้สร้างสภาพคล่องตัวในกิจการ และต้องพยายามสะสมกำไรเหล่านี้ไว้เพื่อขยายกิจการหรือใช้ในยามสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ทั้งนี้เนื่องจากในธุรกิจขนาดเล็กนั้น การหาทุนหรือระดมทุนในยามจำเป็นนั้นค่อนข้างจะลำบาก

ปัญหาของธุรกิจขนาดเล็กที่พบมากก็คือเมื่อทำธุรกิจอย่างหนึ่งกำลังรุ่งเรืองก็เกิดโลภอยากขยายทำธุรกิจอย่างอื่น โดยนำเงินจากกิจการเดิมไปลงทุน กว่ากิจการใหม่จะดำเนินไปได้และให้ผลตอบแทน กิจการเก่าก็ขาดสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทุกอย่างที่ทำเกิดเป็นลักษณะวัวพันหลัก หมุนเงินกันอุตลุด

ดังนั้นก่อนที่จะดึงเงินจากกิจการแรกไปลงทุนในกิจการอื่นหรือไปใช้ที่อื่นต้องมั่นใจว่าไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพคล่องของกิจการนั้นหรือมีส่วนที่สะสมไว้ในยามจำเป็นอย่างเพียงพอ

9. ระวังจะมีแต่ตัวเลข

บางครั้งการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กๆ ทำๆ ไปแล้วไม่ทราบว่ากำไรอยู่ที่ไหน วันดีคืนดีเงินสดขาดมือกะทันหัน ทั้งๆ ที่ธุรกิจก็ดำเนินไปด้วยดีแท้จริงแล้วกำไรมิได้มองเห็นในรูปเงินสดเสมอไปเพราะเงินสดถูกนำไปซื้อสินค้าหรือสต็อกสินค้าไว้ขายหรือลงทุนอื่นๆ หรือนำมาซื้อทรัพย์สินอาคารสำนักงานหรืออื่นๆ ดังนั้นธุรกิจขนาดเล็กต้องระมัดระวัง จัดระบบเงินสดหมุนเวียนให้เพียงพอที่จะชำระหนี้และพันธะผูกพันต่างๆ ปัญหาเรื่องการกักตุนสินค้าไว้มากเพื่อหวังเก็งกำไรหรือโดยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ควรมีการวางแผนและระมัดระวังสภาพคล่องทางเงินสดอย่างรอบคอบเพื่อรักษาเครดิตของธุรกิจไว้

10. ขาดสัมพันธภาพที่ดีกับแหล่งเงิน

ข้อผิดพลาดของบริษัทธุรกิจเล็กๆ อีกประการหนึ่งคือการขาดการติดต่อหรือให้ข่าวสารสภาวะการเงินและความก้าวหน้าของกิจการแก่ธนาคารที่เรากู้ยืมเงิน การให้ข้อมูลข่าวสารกิจการแก่ธนาคารรวมทั้งการติดต่อสร้างสัมพันธภาพอันดีกับธนาคารหรือแหล่งเงินทุน จะช่วยให้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเมื่อจำเป็นได้

11. ตามหนี้ไม่ดี

ธุรกิจขนาดเล็กยิ่งต้องระมัดระวังในการปล่อยเครดิตให้แก่ลูกค้าในธุรกิจ การขยายการขยาย ขยายลูกค้า หมายถึงการขยายหนี้สินของตนเอง ตลอดจนการขยายภาระการเสี่ยงภัยจากหนี้สูญด้วย มีข้อแนะนำว่าธุรกิจจะต้องพิจารณาลูกหนี้ทางการค้าว่ารายใดมีประวัติการชำระหนี้สินตรงตามกำหนด รายใดสามารถขยายเครดิตให้ได้ รายใดต้องระมัดระวัง เนื่องจากมีประวัติการชำระหนี้ไม่สู้ดี ควรมีการวิเคราะห์ลูกหนี้ทั้งหมดว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่ก่อให้เกิดกำไรแก่บริษัทเป็นชิ้นเป็นอัน กี่เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่เสียทั้งเวลาและมีการเสี่ยงภัยสูง ซึ่งสมควรพิจารณาลดหนี้สินหรือตัดออก การบริหารลูกหนี้ที่ดีจะช่วยลดการเสี่ยงภัยและช่วยให้มีสภาพคล่องทางการเงินเป็นไปด้วยดี

12. ระวังเรื่องวางบิล

ธุรกิจขนาดเล็กมักจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยหรือดำเนินการอย่างล่าช้า บางครั้งใช้ระบบส่งสินค้าก่อนแล้วจึงทำบิลส่งสินค้าภายหลัง ปัญหาเรื่องนี้เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตโดยพนักงานขายได้ง่าย รวมทั้งปัญหาการเก็บเงินจากลุกค้าตามระยะเวลา เพราะลูกหนี้จะชำระเงินตามหลักฐาน ตามวันที่ส่งของ ดร.แอบเดลซาแมดแนะนำว่าเรื่องนี้แม้จะดูมีความสำคัญน้อยแต่เป็นระบบการควบคุมที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจการค้า

13. บริหารการชำระหนี้ให้ดี

ธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาด ควรพิจารณาหาประโยชน์บนส่วนลดต่างๆ ที่ผู้ขายเสนอให้เพราะส่วนลดต่างๆ เหล่านี้มีส่วนในการลดต้นทุนตัวอย่างเช่น ส่วนลด 2% สำหรับการชำระเงินสดภายใน 10 วัน (หากเครดิตปกติให้ชำระภายใน 30 วัน) อย่างน้อย 2% ที่ลด หมายถึงอัตราดอกเบี้ยสำหรับอีก 20 วันที่เพิ่มขึ้น หากคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปีก็เป็น 36% ซึ่งไม่น้อย อนึ่ง การชำระเงินได้เร็วย่อมแสดงถึงฐานะการเงินของบริษัท ทำให้เครดิตทางการค้าดีขึ้น

14. ระบบบัญชีไม่ดี

ธุรกิจขนาดเล็กๆ ทั่วไป ให้ความสำคัญทางด้านบัญชีน้อย แท้จริงแล้วระบบบัญชีเป็นข้อมูลสำคัญที่คอยบอกเจ้าของกิจการหรือผู้จัดการว่าฐานะการเงินของบริษัทยืนอยู่ในภาวะใด อย่างน้อยที่สุดระบบบัญชีสำคัญที่ธุรกิจขนาดเล็กควรทำก็คือ

- บัญชีเงินสดรายวัน
- บัญชีลูกหนี้ที่ถูกต้องและทันการณ์ล่าสุด
- บัญชีเจ้าหนี้ล่าสุด
- ระบบบิลส่งสินค้าที่ดี
- ระบบการชำระหนี้ที่สามารถชำระได้ตรงเวลาและใช้ประโยชน์ในส่วนลดต่างๆ
- บัญชีควบคุมสินค้าคงคลัง
- สำหรับโรงงาน ระบบบัญชีต้นทุนมีความสำคัญอย่างมาก
- รายงานทางบัญชีแสดงฐานะทางการเงินของบริษัทอย่างน้อยเป็นรายครึ่งปี

ยิ่งกว่านั้น บริษัทธุรกิจขนาดเล็กที่ดีควรใช้ผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อช่วยในการวางระบบเงินและระบบบัญชีด้วย

กล่าวโดยสรุป ความสำเร็จของธุรกิจทั่วไปมิใช่ฝีมือทางการตลาดดี ขายเก่ง รู้ตลาด รู้ลูกค้าเท่านั้น การบริหารการเงินก็มีความสำคัญมากและเป็นอุปกรณ์สนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างเจริญรุ่งเรืองหรือสามารถดำรงฐานะของตนอยู่ได้แม้จะเผชิญวิกฤตการณ์ใดๆ ก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us