Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
จะทำยังไงเมื่อคุณถูกไล่ออกจากงาน             
โดย สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




“เคยแต่ไล่ลูกน้องหรือให้ลูกน้องออกจากงาน มาคราวนี้โดนไล่ออกจากงานบ้าง บางทีคุณก็ทำอะไรไม่ถูกเหมือนกันน่ะ !!”

เท่าที่คลุกคลีกับนักบริหารในระดับผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนกมักปรากฏว่า:-

ไม่รู้จะทำยังไง เมื่อตัวเองถูกให้ออกหรือถูกไล่ออกจากงาน และบางคนถึงกับเสียอกเสียใจ เสียผู้เสียคนไปเลยก็มี

โดยปกติการให้ออกจากงานในระดับผู้บริหารไม่กี่ลักษณะ

1. ทำความดีอย่างแจ้งชัด ร้ายแรง เช่น นำความลับบริษัทไปเปิดเผย หรือไปแอบตั้งบริษัททำธุรกิจแข่งกับบริษัทที่สังกัดอยู่ ทุจริต ยักยอกเงิน ฯลฯ

2. ผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจ เช่น ยอดขายไม่ถึงเป้ากำหนดไว้ ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยๆ ควบคุมดูแลลูกน้องไม่ได้ ทำให้เกิดความระส่ำระสายในหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่

3. เป็นเด็กของนายเก่าที่พาเข้ามาทำงานพอเปลี่ยนนายใหม่ นายใหม่เลยให้ออกจากงานโดยไม่ฟังอีร้าคาอีรม เพราะเขาเตรียมคนของเขาคั่วและจ่อตำแหน่งรออยู่แล้ว

4. ทำตัวเข้ากับนายไม่ได้ หรือเป็นตัวขัดขวางการแสวงหาประโยชน์ของนาย พูดกันง่ายๆ คือนายไม่ชอบหน้า

ดังนั้น เมื่อคุณมีความผิดอย่างแจ้งชัด ก็ไม่ควรจะต่อความยาวสาวความยืด ควรรับการไล่ออกนั้น เพราะหากคุณเกิดเฮี้ยน ไม่ยอมรับการไล่ออก คุณก็จะยิ่งเจ็บและเข้าเนื้อมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการที่เขากล้าให้คุณออก แสดงว่าเขาต้องมีหลักฐานที่จะเล่นคุณอยู่แล้ว

แต่ถ้าคุณไม่ผิด หรือหากจะผิดก็เกิดจากการที่คุณถูกกลั่นแกล้ง คุณก็ควรจะมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

โดยปกติ การให้ออกจากงาน นายจ้างมักจะต้องให้เหตุผลว่าให้ออกเพราะอะไร?

ถ้าเป็นความผิดในลักษณะที่แจ้งชัด นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ แก่ลูกจ้างที่ถูกให้ออกจากงาน ยกเว้นเงินช่วยเหลือด้านสวัสดิการบางอย่าง เช่น เงินสะสมในส่วนที่เป็นของลูกจ้างเองหรือเงินอื่นๆ บางอย่าง

ถ้าเป็นการให้ออกจากงาน โดยลักษณะแห่งความผิดไม่ปรากฏแจ้งชัด หรือลูกจ้างไม่ผิดลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลืออื่นๆ ของนายจ้างที่จัดไว้ให้ลูกจ้าง

หรือหากคุณไม่อยากได้เงิน แต่อยากทำงานต่อ คุณก็มีสิทธิ์ขอความเป็นธรรมจากศาลแรงงานโดยขอให้ศาลสั่งให้นายจ้างรับคุณกลับเข้าทำงานตามเดิม แต่ศาลจะสั่งหรือไม่นั้น ศาลต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ด้วย

เมื่อถูกให้ออกจากงานโดยคุณไม่มีความผิด

คุณควรจะต้องถามเหตุผลจากเจ้านายโดยตรงก่อน ถ้าเหตุผลฟังดูไม่เข้าท่า คุณอาจขอพบผู้บริหารระดับสูงขององค์การ

และถ้าหากเหตุผลของผู้บริหารระดับสูงที่ให้กับคุณ ฟังดูแล้วไม่เข้าท่าอีก

คุณก็ต้องดูต่อไปว่า เขาจ่ายอะไรให้คุณบ้างในการให้คุณออกจากงาน

หากพิจารณาแล้ว คิดว่าบริษัทที่คุณทำงานอยู่

เบี้ยวคุณ!

ก็ต้องถามตัวเองว่า

จะสู้หรือช่างมันเถอะ

ถ้าสู้ คุณก็ต้องศึกษาระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้อย่างไรในเรื่องการให้พนักงานออกจากงาน

กำหนดการจ่ายเงินค่าชดเชยอย่างไร?

มีสวัสดิการอะไรบ้างที่คุณควรจะต้องมีสิทธิ์

ศึกษาและรวบรวมข้อมูลไว้ ดูว่าเขาทำถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบข้อบังคับของบริษัทและข้อกำหนดของกฎหมายหรือไม่ แล้วเปรียบเทียบกับเงินที่เขาจ่ายให้คุณ ดูว่ามันเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่คุณศึกษามาหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามนั้น ก็แสดงว่าฝ่ายบุคคลของบริษัทนั้นรู้งาน

แต่ถ้าไม่ได้เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย

คุณอาจจะไปขอบารมีศาลแรงงานเป็นที่พึ่งได้

เมื่อคุณถูกให้ออกจากงาน โดยคุณไม่มีความผิด คุณควรจะได้รับเงินค่าชดเชย การเลิกจ้างตามอายุงานดังนี้

อายุงานต่ำกว่า 1 ปี เงินชดเชย 1 เดือน

อายุงาน 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี เงินชดเชย 3 เดือน

อายุงานเกิน 3 ปีขึ้นไป เงินชดเชย 6 เดือน

นอกจากนี้ ยังมีเงินบอกกล่าวล่วงหน้าอีก เงินบอกกล่าวล่วงหน้านี้ คือเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมไปจากเงินค่าชดเชย หากนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานอย่างกะทันหัน

ประเภทบอกปั๊บให้ออกปุ๊บ เช่นนี้ นายจ้างต้องจ่ายเงินบอกกล่าวล่วงหน้า

แต่ถ้านายจ้างบอกให้ลูกจ้างรู้ล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือน ว่าจะให้ออกจากงาน นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนนี้แก่ลูกจ้าง เพราะถือว่าได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว

เรื่องเงินบอกกล่าวล่วงหน้านี้ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีก หากมีโอกาสจะเขียนเล่าสู่กันฟัง

นอกจากนี้ หากนายจ้างมีเงินช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่างๆ เช่น เงินสะสม เงินที่จ่ายให้ลูกจ้าง เพราะเหตุลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีความผิด

ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินต่างๆ เหล่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูว่านายจ้างเขียนระเบียบข้อบังคับในเรื่องเงินสวัสดิการต่างๆ เหล่านั้นไว้อย่างไรด้วย

และหากตำแหน่งงานที่คุณทำอยู่ เป็นตำแหน่งงานที่เป็นงานพิเศษ คือหางานใหม่ในลักษณะงานเดิมยาก หรือหากคุณต้องมีภาระที่จะรับผิดชอบมากมาย เช่น เลี้ยงดูบิดา มารดาที่เฒ่าชรา เลี้ยงดูภรรยาและบุตร หรือหากคุณดำลงตำแหน่งงานที่มีชื่อเสียงในวงสังคม และการที่คุณถูกให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิดนี้เป็นการทำลายชื่อเสียงเกียรติภูมิของคุณที่สั่งสมมานาน คุณก็มีสิทธิ์ขอค่าเสียหายโดยการพึ่งศาลแรงงาน แต่จะได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลแรงงานและปัจจัยอีกหลายอย่าง

นอกจากเงินต่างๆ ข้างต้นแล้ว คุณมีสิทธิ์ที่จะขอใบรับรองการทำงานจากนายจ้างได้ และนายจ้างจะต้องออกใบรับรองให้คุณ จะบอกว่าไม่ให้ ไม่ได้

แต่ก็มีบ่อยครั้งเหมือนกันที่คุณไม่ได้ถูกให้ออกหรือถูกไล่ออกจากงาน

แต่ถูกเชิญออก เพราะเขาเอาความผิดชนิดจะจะไม่ได้ หรือผลงานแย่ลงทุกวัน หรือ มิฉะนั้นนายจ้างอาจจะให้เกียรติคุณไม่อยากหักด้ามพร้าด้วยเข่า

ในกรณีนี้นายจ้างอาจจะต่อรองกับคุณ โดยเสนอเงินค่าชดเชย เงินบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินสวัสดิการอื่นๆ หนังสือรับรองการทำงาน รวมทั้งอาจจัดเงินพิเศษต่างหากอีกหนึ่งก้อนให้คุณ

เพื่อให้คุณไปตั้งตัว!

แต่มีข้อแม้ว่า คุณจะต้องเขียนใบลาออก

การเขียนใบลาออกนี้ ก็มีข้อดี คือประวัติการทำงานไม่เสีย

และเมื่อคุณเขียนใบลาออก พร้อมกับรับเงินต่างๆ ไปแล้ว คุณจะกลับไปฟ้องร้องนายจ้างว่า คุณถูกกลั่นแกล้ง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่ได้

แต่ก็ยังมีบางคนที่ทนทำงานเพื่อให้เขาไล่ออก

เพราะอยากได้เงินค่าชดเชย

ซึ่งผมคิดว่าไม่ถูกและไม่สมควรอย่างยิ่ง

เพราะค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ผลงานอย่างเดียว

แต่มันอยู่ที่ศักดิ์ศรีด้วย

ถ้าเราคิดว่า เราทำงานดี มีความตั้งใจ และมีฝีมือ

จะทนทำงานเพื่อรับเงินค่าชดเชยไปทำไม?

แต่ก็มีบางคนแกล้งทำความผิดบ่อยๆ เพื่อให้นายจ้างไล่ออก จะได้รับเงินค่าชดเชย

ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดมาก เพราะหากลูกจ้างทำความผิดจะจะและจงใจด้วยแล้ว

นายจ้างมีสิทธิ์ให้ลูกจ้างออกจากงาน โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด

สรุปว่า หากคุณต้องรับซองขาวให้ออกจากงาน ก็ควรจะพิจารณาว่าคุณถูกให้ออกจากงานเพราะสาเหตุอะไร หากคุณไม่ผิด และไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆ

คุณก็ต้องถามเหตุผลจากนายเสียก่อนพร้อมกับเตรียมหาที่พึ่งทางศาลแรงงานต่อไป

แต่ถ้าคุณผิด หรือเมื่อพิจารณากันอย่างตรงๆ คุณควรจะถูกออกจากงานตั้งนานแล้ว ก็ไม่ควรให้มันมีเรื่อง และควรเริ่มต้นหางานใหม่

เพราะถ้าคุณยิ่งสาวเรื่องมันจะยิ่งลึก

เผลอๆ คุณอาจเจ็บตัวกว่าที่ควรจะเป็นเสียอีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us