Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2527
ใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ผู้แทนจำหน่าย             
โดย สุรเดช มุขยางกูร
 

   
related stories

ประเทศไทยกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
การใช้คอมพิวเตอร์วางแผนระยะยาวของกิจการขนส่ง

   
search resources

Computer
Knowledge and Theory




เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจ ก็เริ่มมีการประยุกต์คอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านระบบบัญชี (ACCOUNTING SYSTEM) การควบคุมวัสดุคงคลัง (INVENTORY CONTROL) จนกระทั่งการวางแผนงาน (PLANNING)

ท่านเจ้าของกิจการหลายๆ ท่าน อาจนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานบางส่วนแล้ว และหลายท่านอาจกำลังมองหางานด้านอื่นๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไปสำหรับระบบคอมพิวเตอร์

บทความนี้จึงเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับระบบงานที่ท่านอาจจะไปพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีอยู่ในโอกาสต่อๆ ไป

ระบบที่จะกล่าวถึงนี้เป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และหลายๆ ท่านอาจนึกไม่ถึง ซึ่งก็คือการวิเคราะห์ผู้แทนจำหน่าย (VENDOR ANALYSIS)

การวิเคราะห์ผู้แทนจำหน่ายเป็นขบวนการทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมในการเลือกซื้อสินค้าจากผู้แทนจำหน่าย ซึ่งอาจจะดูไม่ยุ่งยากซับซ้อนนัก แต่สำหรับบางกิจการที่มีสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก และผู้แทนจำหน่ายสินค้าเหล่านั้นก็มีอยู่มิใช่น้อย ขบวนการเลือกซื้อสินค้าก็ไม่ใช่ง่ายเสียแล้ว เพราะมีปัจจัยอยู่มากมายที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณา ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์

คอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็อาจเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PERSONAL COMPUTER) คอมพิวเตอร์ประจำบ้าน (HOME COMPUTER) ก็ได้ เพราะขั้นตอนการคำนวณไม่ยุ่งยากนัก

ปัจจัยที่ควรคำนึงในการพิจารณาการเลือกผู้แทนจำหน่ายนั้น พอจะแยกออกได้ 5 ประการดังนี้คือ

1. คุณภาพ (QUALITY)
2. ปริมาณ (QUANTITY)
3. ราคา (PRICE)
4. กำหนดส่ง (DELIVERY)
5. การจ่ายเงิน (PAYMENT)


1. คุณภาพ

การเปรียบเทียบสินค้าโดยพิจารณาคุณภาพนั้น เป็นการเปรียบเทียบโดยพิจารณาให้ค่าความชอบ (WEIGHT) แก่สินค้าของผู้แทนจำหน่ายแต่ละคน ถ้าคิดว่าคุณภาพของสินค้านั้นดี ค่าความชอบก็จะสูง โดยกำหนดค่าความชอบอยู่ระหว่าง 0 ถึง 10 เมื่อได้ค่าความชอบของสินค้าแต่ละชิ้นแล้ว ก็นำมาหาดัชนีด้านคุณภาพ (QUALITY INDEX) ดังนี้:-

ดัชนีด้านคุณภาพของสินค้า (I)
(QUALITY INDEX)-IQLI =ค่าความชอบของสินค้าจากผู้แทนจำหน่าย (I)/ค่าความชอบของสินค้าที่สูงที่สุด
0<=IQLI<=1

2. ปริมาณ (QUANTITY)

ในการสั่งสินค้านั้น ปริมาณที่สั่งจะต้องเหมาะสมกับความต้องการสินค้า (DEMAND) แต่บ่อยครั้งที่ผู้แทนจำหน่ายอาจส่งของให้ไม่ได้ตามจำนวนที่สั่งไป ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ อาทิ สินค้าขาดแคลน เป็นต้น ดังนั้นดัชนีด้านปริมาณควรมีส่วนในการพิจารณานี้ด้วย โดยคำนวณได้ดังนี้

ดัชนีด้านคุณภาพของสินค้า I
(QUALITY INDEX)-IQT=ปริมาณสินค้าที่ได้รับ/ปริมาณสินค้าที่สั่ง

ในบางกรณีอาจมีการส่งสินค้าเกินกว่าจำนวนที่สั่ง ซึ่งกรณีนี้มิได้เกิดผลดีเท่าใดนัก ดังนั้นจำนวนที่ส่งเกินจะไม่นำมาพิจารณาในการคิดดัชนีด้านปริมาณ ค่าดัชนีด้านปริมาณจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1.0 เท่านั้น
0<=TQTI<=1

3. ราคา (PRICE)

ราคาเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ต่ำที่สุด ซึ่งอาจดูได้จากดัชนีด้านราคาสินค้าดังสมการดังต่อไปนี้

ดัชนีด้านราคา
(PRICE INDEX) IPRI=ราคาสินค้าที่ต่ำที่สุด/ราคาสินค้าที่สั่งจากผู้แทนจำหน่าย (I)
0<=IPRI<=1

ราคาสินค้าที่ใช้ในการคำนวณนี้ คือราคาหลังจากหักส่วนลดแล้ว

4. กำหนดส่ง (DELIVERY)

สินค้าที่สั่งจากผู้แทนจำหน่ายบางรายอาจมีราคาค่อนข้างต่ำ คุณภาพดี แต่กำหนดเวลาส่งไม่แน่นอน หรือบางครั้งช้ากว่ากำหนดมาก ก็ไม่ควรสั่งสินค้าจากผู้แทนจำหน่ายรายนั้น ปัจจัยด้านกำหนดส่งสมควรวิเคราะห์โดยคำนวณหาดัชนีด้านกำหนดส่งได้ดังนี้

ดัชนีด้านกำหนดส่ง
(DELIVERY INDEX)IDI=ระยะเวลาที่กำหนดส่ง/ระยะเวลาที่ส่งของจริง

ดัชนีด้านกำหนดส่งนี้อาจมีค่ามากกว่า 1.0 ได้ เพราะถ้าได้รับของก่อนกำหนดส่งก็จะเป็นการดีกับผู้สั่งสินค้า

5. การจ่ายเงิน (PAYMENT)

ปัจจัยสุดท้ายนี้ ก็คือการเปรียบเทียบระยะเวลาการจ่ายเงินที่ผู้แทนจำหน่ายแต่ละรายจะกำหนดให้ ซึ่งจะคำนวณหาดัชนีด้านการจ่ายเงินได้ดังนี้

ดัชนีด้านการจ่าย
(PAYMENT INDEX) IPYI=ระยะเวลาการจ่ายเงินที่สั้นที่สุด/ระยะเวลาการจ่ายเงินของผู้แทนจำหน่าย (I)

จากทั้ง 5 ปัจจัยที่กล่าวไปแล้วนั้น มิใช่ว่าทุกกิจการต้องคำนึงถึงทุกปัจจัยในการวิเคราะห์หาผู้แทนจำหน่ายที่เหมาะสม

ในบางกิจการซึ่งเล็งเห็นคุณภาพและกำหนดส่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดก็อาจสนใจเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้น

แต่บางกิจการอาจเห็นว่าทั้ง 5 ปัจจัยนี้ยังไม่เพียงพอก็อาจกำหนดปัจจัยอื่นๆ เพิ่ม เช่น การแยกแยะรายละเอียดของดัชนีด้านคุณภาพออกเป็นด้านกายภาพโดยดูจากสีสัน ขนาด และด้านเทคนิค โดยดูจากคุณสมบัติทางกลของอุปกรณ์นั้นๆ เป็นต้น ดังนั้นบทความนี้จึงขอเสนอแนวคิดการรวมปัจจัยทั้ง 5 ประการนี้ในดัชนีตัวเดียว จึงเรียกว่าดัชนีผู้แทนจำหน่าย (VENDOR INDEX) โดยเพิ่มตัวแปรขึ้นมาอีก 5 ตัวคือ W1, W2, W3, W4 และ W5 ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 และผลรวมของตัวแปรเหล่านี้ต้องมีค่าเท่ากับ 1.0

ดัชนีผู้แทนจำหน่าย
(VENDOR INDEX)IVI=W1 WLI + W2 IQTI + W3 IPRL + W4 IDI + W5 IPYI
0<=WI<=1 I = 1,…,5
W1+W2+W3+W4+W5 = 1

ผลที่เกิดจากการเพิ่ม W1 ก็คือสามารถที่จะกำหนดความสำคัญของปัจจัยแต่ละอันได้ เช่น บางกิจการที่ให้ความสำคัญเฉพาะด้านคุณภาพและกำหนดส่ง ก็สามารถที่จะทำให้ W1 และ W4 มีค่าเท่ากับ 0.5 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ไม่พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือ

การพิจารณาเลือกผู้แทนจำหน่ายสินค้าที่ต้องการสั่งก็จะไม่ยุ่งยาก เมื่อพิจารณาจากค่าดัชนีของผู้แทนจำหน่ายที่คำนวณได้ ค่าดัชนีที่เสนอในบทความนี้เป็นการคำนวณที่ไม่ยุ่งยากแต่ช่วยในการตัดสินใจได้ดีเพราะพิจารณาถึงปัจจัยที่สำคัญหลายประการ และยังมีความคล่องตัวสูงในแง่ที่สามารถกำหนดค่าน้ำหนัก (WI) ที่แตกต่างออกไปสำหรับการพิจารณาสินค้าต่างชนิดกันหรือในชนิดเดียวกันแต่ต่างช่วงเวลา ตัวอย่างเช่น สินค้าชนิดหนึ่งซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต ซึ่งแต่เดิมเคยให้ความสำคัญต่อปัจจัยทั้ง 5 นี้เท่าๆ กัน ต่อมาไม่นาน อัตราการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัทก็อาจเปลี่ยนแปลงมาตรการการวิเคราะห์ใหม่โดยให้ความสำคัญเฉพาะปริมาณกับกำหนดส่งเท่านั้น

การวิเคราะห์ผู้แทนจำหน่ายที่เสนอไปแล้วนั้น ขั้นตอนการคำนวณเสมือนไม่สลับซับซ้อนแต่ถ้าสินค้าที่ต้องสั่งซื้อมีมากชนิด ผู้แทนจำหน่ายของสินค้าแต่ละชนิดก็มีไม่น้อยหลายท่านอาจต้องปวดหัวกับตัวเลขมากมาย ดังนั้นบทความนี้จึงเสนอแนวคิดสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในการวิเคราะห์ผู้แทนจำหน่าย ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของท่านเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

ขบวนการการวิเคราะห์ผู้แทนจำหน่าย ด้วยคอมพิวเตอร์ได้แสดงไว้ในรูปต่อไปนี้
จากแผนภูมิที่แสดงนี้ จะมี FILE ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 FILE คือ

1. VENDOR FILE
2. PRODUCT FILE
3. TRANSACTION FILE

1. VENDOR FILE
จะประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ
- เลขที่ประจำผู้แทนจำหน่าย (VENDOR NO.)
- ชื่อร้าน/กิจการของผู้แทนจำหน่าย (NAME)
- ที่อยู่ (ADDRESS)
- เบอร์โทรศัพท์ (TELEPHONE)
- ฯลฯ

ข้อมูลใน FILE นี้จะปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์หรือมีการเพิ่มผู้แทนจำหน่ายใหม่ ดังแผนภูมิข้างล่างนี้

2. PRODUCT FILE
จะประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
- เลขที่ประจำสินค้า (PRODUCT NO.)
- ชื่อสินค้า (NAME)
- ลักษณะต่างๆ ของสินค้า (SPECIFICATION)

การปรับปรุง (UPDATE) นี้จะกระทำก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของสินค้าหรือมีสินค้าใหม่ ดังแผนภูมิข้างล่างนี้

3. TRANSACTION FILE
FILE นี้จะเก็บข้อมูลสินค้าไว้ทุกชนิด โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
- เลขที่ประจำผู้แทนจำหน่ายที่ขายสินค้านั้นๆ
- ดัชนีของผู้แทนจำหน่ายของสินค้านั้นๆ

การปรับปรุง TRANSACTION FILE จะกระทำก็ต่อเมื่อ

1. สินค้าชนิดใดมีผู้แทนจำหน่ายเพิ่มขึ้น
2. เมื่อมีการรับมอบสินค้าที่สั่งไปก็จะมีการคำนวณหาค่าดัชนีของผู้แทนจำหน่ายใหม่ตามวิธีการนี้ ถ้าผู้แทนจำหน่ายซึ่งเคยได้รับเลือกให้ส่งสินค้าแล้วดำเนินการส่งของให้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ค่าดัชนีก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้แทนจำหน่ายรายอื่นอาจมีสิทธิได้รับการส่งสินค้าแทน

ในรายชื่อผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับเลือกนั้นสมควรที่จะเสนอรายชื่อมากกว่า 1 ราย คือควรจะเสนอรายชื่อไว้ประมาณ 3 ราย เพื่อการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางการเลือกผู้แทนจำหน่ายเท่านั้น ในรายงานนั้นควรมีทั้งรายชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ด้วยเพื่อสะดวกต่อการติดต่อ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us