Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543
Power Pool ทางเลือกของผู้ใช้ไฟฟ้า             
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
Energy




แผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) ในปี 2546 และจะเปิดให้มีผู้ค้าปลีกไฟฟ้าหลายราย ซึ่งผู้ใช้ไฟจะไม่จำเป็นต้องซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) อีกต่อไป

หมายความว่าสามารถเลือกซื้อจากผู้ค้าปลีกรายใดก็ได้ โดยผู้ค้าปลีกดังกล่าวจะไปซื้อไฟฟ้าจากตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าหรืออาจจะไปทำสัญญากับผู้ผลิตไฟฟ้าโดยตรง และส่งไฟฟ้ามาตาม สายของ กฟภ. หรือ กฟน. ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการขายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ ไฟทั้งในด้านราคา และคุณภาพการบริการ

ในระบบปัจจุบัน จะมีการกำหนดค่าไฟฟ้าในระดับ ที่ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มีฐานะทางการเงินที่ดีเพียงพอ ที่จะขยายงานต่อไปในอนาคต และมีเงินจ่ายคืนเงินต้น และดอกเบี้ย หมายถึงถ้าการไฟฟ้าดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ กิจการไฟฟ้าก็ยังจะได้รับความคุ้มครองตลอดอายุงานของโรงไฟฟ้าจากวิธีการกำหนดค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน

"การซื้อขายไฟฟ้าในตลาดกลาง โรงไฟฟ้า ที่ไม่มีประสิทธิภาพจะไม่สามารถเสนอราคา ที่แข่งขันกับโรงไฟฟ้า อื่นได้ และจะไม่ได้รับการคัดเลือกให้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า ซึ่งก็จะไม่มีรายได้" ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้ากล่าว

ดังนั้น การมีตลาดกลางจะทำให้โรงไฟฟ้าทุกโรง ไม่ว่าจะเป็นโรงเก่าหรือโรงใหม่ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา มิฉะนั้น จะไม่มีโอกาสขายไฟฟ้าได้ ซึ่งการเพิ่มการแข่งขันโดยให้มีตลาดซื้อขายไฟฟ้า และให้มีการซื้อไฟฟ้า จากผู้ค้าปลีกหลายรายจะทำให้มีการแข่งขันมากขึ้น

"ไฟฟ้าเป็นธุรกิจ ที่ผูกขาดมาโดยตลอด เราต้องการให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นในการซื้อไฟฟ้าโดยการ ผ่านตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า" ดร.ปิยสวัสดิ์บอก

ตลาดกลางการซื้อขายไฟฟ้าประกอบด้วย 3 หน่วยงานหลักคือ ศูนย์ควบคุมระบบอิสระเป็นผู้สั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และควบคุมระบบไฟฟ้า ศูนย์ปฏิบัติการทางการตลาด ทำหน้าที่กำหนดราคาค่าไฟฟ้าในตลาดกลาง และ ศูนย์บริหารการชำระเงิน จะดูแลทางด้านการเงิน บัญชี และการชำระเงินค่าซื้อขายไฟฟ้า

สำหรับผู้ที่จะเข้ามาควบคุมดูแลตลาดกลางดังกล่าว ขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ระหว่าง ที่ปรึกษาโครงการ คือ อาเธอร์ แอนด์เดอร์สัน กับกฟผ. โดยที่ปรึกษาต้องการให้ตลาดกลางการซื้อขาย ไฟฟ้าเป็นอิสระแต่เป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ซื้อ และผู้ผลิตไฟฟ้า

ขณะที่กฟผ.ต้องการจะให้ตลาดกลางนี้อยู่ภายใต้กฟผ. เพราะหลังจากแปรรูปโรงไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อย กฟผ. จะเหลือแค่บริษัทระบบสายส่งไฟฟ้าเท่านั้น ดังนั้น การที่สายส่งจะอยู่กับศูนย์กลางนี้ก็ไม่น่าแปลกอะไร

"ถ้าเป็นเช่นนั้น จริงอาจมีการลำเอียงในการซื้อขายไฟฟ้าผ่านตลาดกลางได้ และจะทำให้ผู้ที่เข้ามาซื้อขาย ขาดความมั่นใจ และไม่อยากเข้ามาลงทุน" ดร.ปิยสวัสดิ์กล่าว

การซื้อขายไฟฟ้าในตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า จะใช้หลักการของการประมูลราคาแทนการซื้อขายในรูปของสัญญาระยะยาว โดยพิจารณาโรงไฟฟ้า ที่เสนอราคาต่ำที่สุดให้ผลิตไฟฟ้าก่อน แล้วจึงเลือกโรงไฟฟ้า ที่มีราคาสูงขึ้นเป็นอันดับต่อไปตามลำดับ จนถึงโรงไฟฟ้าโรงสุดท้าย ที่สามารถผลิตรวมกันแล้วได้ปริมาณไฟฟ้าตามความต้องการ สำหรับราคาซื้อขายไฟฟ้า ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะรับซื้อจากโรงไฟฟ้านั้น จะเป็นราคาค่าไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแห่งสุดท้าย ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us