Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
MBA             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

MBA




ไม่คาดคิดว่า MBA จะเสื่อมลง ทั้งๆ ที่ "ผลิตภัณฑ์" ที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีคุณค่ามากที่สุดสิ่งหนึ่งในโลกธุรกิจ ที่พรมแดนของโอกาสเปิดกว้างที่สุด

BusinessWeek รายงานไว้ว่า Top 30 MBA program ของสหรัฐฯ มีผู้สมัครเรียนลดลงเกือบ 30% มาตั้งแต่ปี 1998 (BusinessWeek April 18, 2005) สาเหตุสำคัญๆ ที่ผมประมวลและสรุปความพอจะยกมาได้ ผลตอบแทนของบริษัทที่จ้างผู้ที่เรียนจบ MBA ทำงาน ไม่ได้สูงขึ้นตามค่าเล่าเรียนที่เพิ่มขึ้นมากว่า 50% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทใหญ่ๆ ปรับแนวคิดนิยมพัฒนาคนของเขาเอง ซึ่งสามารถตอบสนองธุรกิจที่ปรับตัวอยู่ตลอดเวลาได้ดีกว่า นอกจากนี้ MBA ไม่ได้สร้างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในยุคจากนี้ไป ผลผลิตจาก MBA มักจะเป็นนักเทคนิคของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่ดูพื้นๆ มากขึ้น ในปัจจุบันเท่านั้น

สรุปง่ายๆ ว่า MBA กำลังล้าสมัย หรือปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ

ปรากฏการณ์นี้ดูเผินๆ น่าจะเป็นวงจรธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ยอมรับและเข้าใจได้

แต่ผมไม่คิดเช่นนั้น

ผมคิดว่ามันเป็นภาพสะท้อนความผิดปกติของโครงสร้างความคิดระบบทุนนิยมไม่มากก็น้อยทีเดียว

MBA เปรียบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าเหนือสินค้าและแบรนด์ทั้งปวงของระบบธุรกิจโลกสมัยใหม่ก็ว่าได้ ที่สำคัญผู้ดูแลและบริหาร MBA ล้วนเป็นนักคิด นักยุทธศาสตร์ของระบบ มีอาจารย์ที่เก่งๆ ค่าตัวแพงที่สุดในระบบมหาวิทยาลัย พวกเขาและเธอมีประสบการณ์มากมาย ในฐานะนักคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ว่าด้วยศาสตร์ของการจัดการให้วงการธุรกิจในฐานะที่ปรึกษา ในฐานะผู้เขียนหนังสือที่ทรงอิทธิพลต่อการบริหาร ธุรกิจระดับโลก

ยิ่งกว่านั้น MBA เป็นผลงานสร้างสรรค์มีโมเดลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมากที่สุด เป็นส่วนผสมปัญญากับสินค้าที่กลมกลืนและละเมียดมากทีเดียว

จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

แม้ว่าในที่สุด MBA จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้บ้าง แต่ภาพสะท้อนเรื่องนี้น่าจะมีความชัดเจนในบทสรุปบางระดับได้

นั่นคือไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เรื่องการศึกษามีอุดมคติอย่างมาก เป็นนามธรรมอย่างมาก เป็นยุทธศาสตร์ที่มองการณ์อย่างกว้างและไกลมากทีเดียว เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่ผสมกับกับแนวคิด ธุรกิจที่มองเป้าหมายในระยะใดระยะหนึ่งอย่างแน่ชัด แม้ว่า MBA นับเป็นการศึกษาในเชิงวิชาชีพและเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจโดยตรงก็ตาม

หากเป็นเรื่องการศึกษาระดับพื้นฐานของชีวิตด้วยแล้วความไม่กลมกลืนย่อมจะมากขึ้นอีกมาก

แต่ปรากฏการณ์เช่นว่านี้กลับดูจะบานสะพรั่งในสังคมไทยเอามากๆ ทีเดียว ระบบโรงเรียนพื้นฐานของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไม่เพียงนำธุรกิจเข้ามาผสมกับการศึกษาและนำทางการศึกษามากขึ้นเท่านั้น ยังดูไม่กลมกลืนและไม่แนบเนียนเอาเสียเลย ระบบของเรายังส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาที่พยายามเสนอขายตามความต้องการของตลาด ชนิดชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เราให้ความสำคัญภาษาอังกฤษอย่างผิดทาง สร้างระบบโรงเรียนคาบลูกคาบดอก (โรงเรียนสองภาษา) เราเน้นวิชาการมากกว่าธรรมชาติการเรียนรู้และความสมดุลของความเป็นมนุษย์ ฯลฯ

ความรู้ ประกาศนียบัตร หรือคะแนนที่ดีจากระบบโรงเรียน ไม่อาจจะมีค่าครอบคลุมไปถึงจิตวิญญาณในการเรียนรู้สิ่งใหม่ การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ผันแปรที่มีมากขึ้นของสังคมจากนี้ไป ความยอมรับการต่อสู้กับความยากลำบากในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้น การเรียนรู้บทเรียนจากคนต่างเชื้อชาติและวัฒนธรรมตามกฎแห่งความหลากหลายที่เกิดมากขึ้น ท่ามกลางสังคมโลกที่จำต้องมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

เรื่องการศึกษา ไม่ใช่การลงทุนทางธุรกิจ

หมายเหตุ
วิรัตน์ แสงทองคำ มีผลงานหนังสือเล่มชื่อ "หาโรงเรียนให้ลูก" ว่าด้วยการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในระบบที่ใช้ภาษาอังกฤษทั่วโลก รวมทั้งโรงเรียนนานาชาติในบ้านเรา หนังสือเล่มนี้เพิ่งวางจำหน่าย มีขายเฉพาะร้านหนังสือชั้นนำเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us