Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
การถ่ายทำภาพยนตร์ในพิพิธภัณฑ์             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Films




การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ฝรั่งเศสแบบ reality show ที่เกาะลันตา ทำให้ชาวฝรั่งคุ้นกับชื่อเกาะนี้ และแม้เมื่อมีการถ่ายทำรายการประเภทเดียวกันในประเทศอื่นๆ ก็ยังใช้ชื่อรายการว่า เกาะลันตา Koh Lanta

ภาพยนตร์เรื่อง Roman Holiday ถ่ายทำในกรุงโรม พระเอกสุดหล่ออย่างเกรกอรี เป็ค และนางเอกสวยน่ารักอย่างออเดรย์ เฮปเบิร์น ทำให้ใฝ่ฝันอยากไปเที่ยวกรุงโรม จำต้องทำฝันให้เป็นจริง แม้ต้องเสียเงินทองมากมายก็ตาม ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศใดประเทศหนึ่งจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศนั้นโดยปริยาย

ฝรั่งเศสเป็นประเทศในฝันของคนจำนวนไม่น้อย เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงมักมีผู้นำเสี้ยวประวัติศาสตร์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ วรรณคดีหลายเล่มเป็นที่หมายปองของนักสร้างภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวของสามทหารเสือ Les Trois Mousquetaires ของอเล็กซองดร์ ดูมาส์ (Alexandre Dumas) ในยุคกษัตริย์หลุยส์ 14 เป็นต้น ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดหลายเรื่องมาเก็บภาพสวยงามของกรุงปารีส

Da Vinci Code หนังสือดังของแดน บราวน์ ดำเนินเรื่องในกรุงปารีสเป็นหลัก ทำให้นักท่องเที่ยวจากทุกทิศหลั่งไหลมาตามโพยที่แดน บราวน์ เขียนไว้ กล่าวคือพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre) เพื่อชมภาพโมนาลิซาและดูสถานที่ที่เกิดการฆาตกรรม และพีระมิดแก้วที่บอกนัยว่าศพของมารี-มาดแลน เก็บอยู่ที่ไหน โบสถ์แซงต์-ซุลปิซ (Saint-Sulpice) เพื่อให้ประจักษ์ใจว่ามีเสาหินและรหัสซ่อนนัยไว้จริงหรือไม่ อันว่าโบสถ์แซงต์-ซุลปิซนั้นไม่เคยอยู่ ในความสนใจของนักท่องเที่ยวเลย ทั้งๆ ที่ลักษณะสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับวิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส์ (Notre-Dame de Paris) เป็นอย่างยิ่ง นับว่า แดน บราวน์ ทำให้โบสถ์แห่งนี้ "เกิด" ในโลกของการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

Da Vinci Code ขายดีทั่วโลก นับได้กว่า 20 ล้านเล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่ฮอลลีวู้ดไม่อาจมองข้าม และแล้วรอน เฮาเวิร์ด นำมาสร้างเป็น ภาพยนตร์ โดยมีดาราดังอย่างทอม แฮงค์ รับบท ศาสตราจารย์โรเบิร์ต แลงดอน และมีนักแสดงฝรั่งเศส ร่วมแสดงด้วย อาทิ ฌอง เรอโน และแวงซองต์ กาสเซล

นอกจากนั้น โซเฟีย คอปโปลาจะสร้างภาพยนตร์เรื่อง Marie-Antoinette เรื่องราวของมารี-อองตัวแนต มเหสีกษัตริย์หลุยส์ 16 โดยจะถ่ายทำที่พระราชวังแวร์ซายส์

เรอโนด์ ดอนดิเออ เดอ วาเบรอะส์ (Renaud Donnedieu de Vabres) รัฐมนตรีวัฒนธรรม มีนโยบายส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ในฝรั่งเศส ด้วยตระหนักว่าภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งภาพยนตร์นำเสนอจะกระตุ้นให้ผู้ชมอยากมาสัมผัสของจริงดังเห็นได้จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่างชาติในฝรั่งเศสพบว่าร้อยละ 62 เลือกมาเที่ยวฝรั่งเศสเพราะเคยชมทิวทัศน์ประเทศนี้ในภาพยนตร์ รัฐมนตรีวัฒนธรรมจึงเรียกประชุมผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติทั้งมวลและผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งหลาย เพื่อแจ้งนโยบายให้ทราบ แต่ดูเหมือนว่าบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์จะไม่ตื่นเต้นรับนโยบายนี้นัก

ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์กล่าวว่าในแต่ละปี ลูฟวร์มีผู้เข้าชม 6.2 ล้านคน จึงต้องคำนึงถึงความจริงข้อนี้ด้วย พร้อมกับบ่งว่าการถ่ายทำ ภาพยนตร์จะทำได้เฉพาะตอนกลางคืนและในวันอังคารเท่านั้นอันเป็นวันที่ปิดไม่ให้สาธารณชนเข้าชม การขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์แต่ละครั้ง จะต้องขอดูสคริปต์ ความจำเป็นในการสร้างฉาก หรืออื่นๆ เพื่อประกอบการพิจาณา ด้วยเหตุนี้ พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์จะอนุมัติให้มีการถ่ายทำได้เพียงปีละ 1 เรื่องเท่านั้น และเรื่องต่อไปก็คือ เรื่อง Da Vinci Code

สื่ออดกระแนะกระแหนไม่ได้ว่าพิพิธภัณฑ์ ลูฟวร์เห็นแดน บราวน์ ดีกว่าอเล็กซองดร์ ดูมาส์ เห็น Da Vinci Code ดีกว่า Les Trois Mousquetaires สามทหารเสือ ด้วยว่าค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่อย่างลูฟวร์หรือพระราชวังแวร์ซายส์นั้นตั้งสูงเกินกว่าที่ผู้สร้างภาพยนตร์โทรทัศน์จะรับได้ จึงดูเหมือนว่าพิพิธภัณฑ์ดังเหล่านี้จะสงวนไว้สำหรับภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด

ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภาพยนตร์ของสถานีโทรทัศน์ TF1 ยังจำได้ว่าในการสร้างภาพยนตร์เรื่องสามทหารเสือนั้น พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เรียกเงิน 50,000 ยูโรต่อวัน สำหรับการถ่ายทำในบริเวณที่เรียกว่า Cour Carree โดยถ่ายทำครึ่งวันในตอนกลางวันและอีกครึ่งวันในตอนกลางคืน ทางสถานีจึงตัดสินใจสร้างฉากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ขึ้นในสตูดิโอแห่งหนึ่งในประเทศเช็ก นอกจากนั้นภาพยนตร์เรื่อง Julie, chevalier de Maupin ไม่ได้ถ่ายทำที่พระราชวังแวร์ซายส์ดังใจหมาย แต่ย้ายไปถ่ายทำในยุโรปตะวันออกแทน ในขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง Napoleon นั้นไม่ได้ถ่ายทำที่ปราสาทฟงแตนโบล (Fontainebleau) อันเป็นปราสาทที่นโปเลองใช้มากที่สุด หากแต่ใช้ฉากปราสาทเดอ กงปิแอญ (chateau de Compiegne) หรือชองป์-ซูร์-มาร์น (chateau de Champs-sur-Marne)

การถ่ายทำที่พระราชวังแวร์ซายส์ต้องเสียค่าเช่า 70,000 ยูโรต่อวัน ซึ่งมากเกินไปสำหรับภาพยนตร์โทรทัศน์

เนื่องจากนโยบายที่แตกต่างกันของพิพิธภัณฑ์ แต่ละแห่งรัฐมนตรีวัฒนธรรมจึงให้สร้างศูนย์ข้อมูล เพื่อให้บรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ศึกษาว่าพิพิธภัณฑ์ใดที่เหมาะกับภาพยนตร์ที่ตนกำลังจะสร้าง อีกทั้งให้ตั้งเครือข่ายรองรับการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยอาจตั้งคณะกรรมการท้องถิ่นหรือผู้ประสานงาน ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งหลาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us