Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
SBY             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
search resources

Susilo Bambang Yudhoyono




วีวิค ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน มาเรียนปริญญาโทที่ออสเตรเลียด้วยทุนรัฐบาล อมาเรียมาเรียนภาษาอังกฤษในช่วงแรกโดยตั้งความหวังที่จะเรียนต่อปริญญาโทสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ต้องกลับบ้านไปก่อนเพราะพ่อของเธอไม่สบาย อมาเรียมาจากจาการ์ตาเช่นเดียวกับชาวอินโดนีเซียอีก 22,000 คน ที่มาเรียนที่ออสเตรเลีย หลายคนมาจาก จาการ์ตา และอีกหลายคนก็มาจากอาเจะห์ บ้างก็มาด้วยทุนรัฐบาล บ้างก็มาด้วยทุนส่วนตัว

ชาวอินโดนีเซียส่วนหนึ่งผมรู้จักเป็นการส่วนตัว และทุกวันนี้ก็ยังคงพูดคุย และทักทายกันอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งนั้นเราผูกพันกันด้วยความเป็นเอเชีย และรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่อีกส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการรวมกลุ่มทางการเมืองในชื่อของสมาคมอาเซียน

นับจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ SBY กลายเป็นชาวอินโดนีเซียที่คนออสเตรเลียรู้จักกันมากที่สุด เพราะ SBY ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งของออสเตรเลียหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์คลื่นสึนามิไม่กี่วันและช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

SBY ย่อมาจาก Susilo Bambang Yudhoyono เป็นชื่อเต็มของประธานาธิบดีของอินโดนีเซียคนปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย

ประเทศออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ถือว่ามีความผูกพันกันด้วยเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะช่วงทศวรรษล่าสุดนี้ นับจากความพยายามของออสเตรเลียในการเข้าแทรกแซงทางการเมืองอินโดนีเซียในกรณีการแยกตัวเป็นอิสระของติมอร์ตะวันออกในปี 1999 ที่นำมาสู่การประกาศเอกราชในที่สุด และเป็นจุดเริ่มต้นของความร้าวฉานของความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย

ปลายปี 2002 เหตุการณ์ระเบิดที่ไนต์คลับบนเกาะบาหลี มีชาวออสเตรเลียเป็นเหยื่อเสียชีวิตมากถึง 88 คน

ปลายปีที่แล้ว เสียงระเบิดนอกสถานทูตออสเตรเลียประจำกรุงจาการ์ตา ก็ทำให้อุณหภูมิการเมืองระหว่างประเทศคุกรุ่นขึ้นมาอีกครั้ง

คดีคอร์บี้เป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่ง Schapelle Corby นักเรียนสาวชาวออสเตรเลียถูกจับกุมและกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีเกี่ยวกับการลักลอบขนยาเสพติดเข้าประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่เธอและเพื่อนเดินทางมาเที่ยวเกาะบาหลี และถูกคุมขังอยู่จนถึงทุกวันนี้ เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจจากคนออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับการเจรจาทางการเมือง เพื่อช่วยเหลือเธอก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้วต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ เหตุการณ์สึนามิกลับหลอมรวมน้ำใจของชาวออสเตรเลีย อินโดนีเซีย รวมถึงคนทั่วโลก เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งพร้อมกับที่รัฐบาลออสเตรเลียอนุมัติงบประมาณกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญออสเตรเลีย (หนึ่งเหรียญออสเตรเลียคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 29-30 บาท) เพื่อช่วยเหลืออินโดนีเซียโดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นงบประมาณช่วยเหลือสึนามิโดยภาครัฐบาลที่มากที่สุด เหนือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและมหาอำนาจทางการเมืองอื่นใด

ก่อนหน้าที่ผมจะเขียนบทความนี้ เหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกทางฝั่งตะวันตกของประเทศอินโดนีเซียซึ่งส่งผลให้ทหารหาญชาวออสเตรเลียทั้งชายและหญิงจำนวนเก้าคน เสียชีวิตขณะเดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวอินโดนีเซียจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้ง ล่าสุดก่อนที่ศพของทหารทั้งเก้าคนจะถูกส่งกลับประเทศออสเตรเลียในฐานะวีรบุรุษและวีรสตรี พร้อมๆ กับเสียงร่ำไห้ของผู้คนทั้งประเทศ แต่ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในอินโดนีเซียของประเทศออสเตรเลียก็ยังคงดำเนินต่อไป

SBY ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ออสเตรเลียอีกครั้งหนึ่ง ในฐานะผู้นำสูงสุดของประเทศอินโดนีเซียที่เดินทางมาเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการนับจากประธานาธิบดีวาฮิด ในปี 2001 และประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ซึ่งนับย้อนหลังไปถึงปี 1975 ในขณะที่นายกรัฐมนตรีจอห์น โฮเวิร์ด กลับไปเยือนอินโดนีเซียมากถึง 11 ครั้งแล้วนับจากเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องนับจากปี 1996

SBY มาออสเตรเลียครั้งนี้ด้วยนโยบาย ที่เรียกว่า Looking South หรือการมองลงใต้ ซึ่งใต้ประเทศอินโดนีเซียก็คือออสเตรเลียนั่นเอง ในขณะที่ออสเตรเลียก็ดำเนินนโยบาย ที่เรียกว่า Looking North หรือการมองขึ้นสู่ทิศเหนือ คือ มองอินโดนีเซีย

นโยบายของทั้งสองประเทศถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศที่สำคัญของทั้งคู่ โดยอินโดนีเซียมองว่าตนเองมองไปทางเหนือมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา นั่นคือ อินโดนีเซียเน้นนโยบายต่างประเทศที่มีต่อประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นหลักในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ออสเตรเลียก็มองไปทางตะวันตกมาตลอดเวลา นั่นคือ ออสเตรเลียเน้นการคบกับกลุ่มเพื่อนฝรั่งด้วยกัน โดยมองข้ามบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างอินโดนีเซีย

การเดินทางมาเยือนออสเตรเลียครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ของออสเตรเลียและอินโดนีเซียไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งในครั้งนี้มีการเซ็นสัญญาเพื่อความร่วมมือที่ลึกซึ้งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ, ความมั่นคง และการเมือง

ข้อตกลงที่สำคัญในสัญญานี้ที่ผูกพันสองประเทศไว้ คือ

* มุ่งที่จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้า สินค้าบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการศึกษา, สุขภาพ และการท่องเที่ยว

* เพิ่มแรงผลักดันในการเจรจาสนธิสัญญาการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

* เพิ่มความร่วมมือในการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการลักลอบส่งคนเข้าเมือง, การฟอกเงิน และการค้ายาเสพติด โดยการร่วมมือที่ใกล้ชิดขึ้นของตำรวจ, เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าหน้าที่ศุลกากร รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันด้วย

* เพิ่มความสัมพันธ์ทางการทหาร โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนทางการทหาร และการทำกิจกรรมร่วมกันโดยเน้นการรักษาความปลอดภัยทางทะเลเป็นหลัก

ความร่วมมือนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ, ทางกฎหมาย และการสนับสนุนบทบาทของออสเตรเลียในการเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำชาติเอเชียตะวันออกครั้งแรก (หรืออาเซียนพลัสทรี ซึ่งคือกลุ่มประเทศอาเซียนสิบประเทศรวมกับญี่ปุ่น, จีน และเกาหลีใต้) ปลายปีนี้ที่ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเข้ามามีบทบาทในเขตการค้าของกลุ่มประเทศเอเชียในอนาคต ที่ถือเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของออสเตรเลีย

สัญญานี้จะส่งผลให้การค้าการลงทุน ระหว่างสองประเทศเพิ่มสูงขึ้น และผลลัพธ์สำคัญคือ ทำให้การคุกคามของกลุ่มผู้ก่อการร้าย มีแนวโน้มลดลงได้ หรือควบคุมได้มากขึ้น

และที่ลืมไม่ได้ หนึ่งในข้อตกลงที่สำคัญของสัญญาฉบับนี้คือ ออสเตรเลียจะไม่สนับสนุนและยุ่งเกี่ยวใดๆ กับการพยายามแยกตัวเป็นอิสระ (ในรูปแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับติมอร์ตะวันออก) ในประเทศอินโดนีเซียอีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการพูดคุยกันอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซียแต่อย่างไร ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะความไม่พร้อมหลายๆ อย่างทางเศรษฐกิจของรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเรื่องปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ, ระบบราชการที่เป็นปัญหาใหญ่ และการคอร์รัปชั่น ซึ่งล้วนเป็นปัญหาเรื้อรังที่สร้างปัญหาอย่างต่อเนื่องแก่นักลงทุนชาวต่างชาติมาโดยตลอด และรัฐบาล ชุดปัจจุบันของอินโดนีเซียพยายามแก้ไขอยู่

ในขณะที่ออสเตรเลียทำเอฟทีเอกับสิงคโปร์และไทยเรียบร้อยแล้ว, เอฟทีเอกับมาเลเซียและจีนกำลังเตรียมประกาศอย่างเป็นทางการ, เอฟทีเอกับญี่ปุ่นอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และเอฟทีเอกับกลุ่มอาเซียน (ซึ่งรวมอินโดนีเซีย) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กำลังอยู่ในขั้นตอนการพูดคุย

ด้วยหลายๆ สาเหตุ รัฐบาลออสเตรเลีย จึงพยายามมุ่งที่จะเจรจาเอฟทีเอกับกลุ่มอาเซียนให้เรียบร้อยเสียก่อน แต่สัญญาฉบับนี้ ก็จะนำไปสู่การทำเอฟทีเอกับอินโดนีเซียในอนาคตต่อไป

แม้นายอับดุลลาฮ์ บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะยังไม่รับปากว่าจะเชิญออสเตรเลียเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกปลายปีนี้หรือไม่ และมีแนวโน้มจะกีดกันเสียด้วยซ้ำนั้น SBY ก็ยังคงพูดจาภาษาเดียวกับนายจอห์น โฮเวิร์ดอยู่

แต่ที่แน่ๆ เพื่อนชาวอินโดนีเซียของผม อาจจะเป็นหนึ่งในนักศึกษาอินโดนีเซีย 600 คน ที่ได้รับทุนการศึกษาสำหรับศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ซึ่งจัดสรรโดยรัฐบาลออสเตรเลียสำหรับนักเรียนชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อตกลงที่ทั้งสองประเทศเซ็นสัญญาต่อกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us