|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2548
|
|
"จังหวะและช่วงเวลา" คำนิยามในการทำธุรกิจของ BenQ สำหรับผู้มาใหม่อย่าง "BenQ" ซึ่งให้คำจำกัดความในแบรนด์ของตนเองว่า เป็นแบรนด์ใหม่หรือ Young Brand ความยากลำบากในการเข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด เห็นจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ของตนเองให้เป็นที่รู้จัก และไว้เนื้อเชื่อใจได้ว่า ทุกครั้งที่มองหาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะต้องนึกถึงตนในที่สุด
ระยะเวลาสองปีหลังจากที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ตามหลังไต้หวันซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่เพียง 1 ปี นับตั้งแต่เปิดตัวแบรนด์ออกสู่สายตาคนทั่วโลก BenQ ยอมรับว่ายังน้อยไปที่จะทำให้ผู้บริโภคในเมืองไทยรู้จักและไว้ใจแบรนด์ของตนเองมากเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็น Sony หรือค่าย HP ที่เข้ามาทำตลาดในไทยก่อนหน้าหลายปี และย่อมได้เปรียบกว่ามากอย่างปฏิเสธไม่ได้
มร.เควาย ลี ประธานและประธาน ฝ่ายบริหารของ BenQ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" เมื่อครั้งที่เดินทางมาเมืองไทยเป็นที่แรกในโครงการ CEO Tour ก่อนประเทศเพื่อนบ้าน อย่างออสเตรเลียและดูไบว่า สองปีที่ผ่านมาในตลาดเมืองไทย BenQ ได้รับบทเรียนสำคัญว่าต้องทำงานหนักในการพยายามที่จะ "สื่อสาร" ข้อความเกี่ยวกับแบรนด์และตัวสินค้าของบริษัทแก่ลูกค้าและพันธมิตรในการทำธุรกิจของตนเอง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้หยุดที่จะต้องทำการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ออกไปแต่อย่างใด
ลีเชื่อว่า BenQ อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี สำหรับภารกิจในการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดไทย ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของบริษัทก็ว่าได้ เพราะการรู้จักและเชื่อถือในแบรนด์เป็นที่มาของความสำเร็จในระยะยาว
BenQ ถือเป็นบริษัทรุ่นใหม่ที่ตัดสินใจผลิตและจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคแทบทุกชนิดเท่าที่จะทำได้ตั้งแต่ตัวแทนการขายสินค้าที่ถนัดหรือโดดเด่นเพียงไม่กี่อย่างบางรายในตลาด โดยอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากแบรนด์ในเครืออย่าง Acer ซึ่งเข้ามาทำตลาดโน้ตบุ๊กเพียงอย่างเดียวในไทยตั้งแต่ 20 ปีที่ผ่านมา
การตัดสินใจดังกล่าวเป็นทั้งข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบในเวลาเดียวกัน BenQ ย่อมรู้ดีว่าการมีสินค้าในไลน์การผลิตมากมายหลายชนิด ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 โน้ตบุ๊ก จอมอนิเตอร์ แอลซีดีทีวี ไปจนถึงโปรเจ็กเตอร์ ทำให้การมองหาจังหวะและช่วงเวลา ย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทในการเลือกตัดสินใจแนะนำให้กับผู้บริโภค
ปีที่แล้ว BenQ ตัดสินใจเปิดตัวโปรเจ็กเตอร์ในไทย ในช่วงเวลานั้นเองผู้บริหารก็เห็นพ้องต้องกันว่ายังไม่เปิดตัวโทรศัพท์มือถือจนกว่าจะได้เวลาอันเหมาะสม เพื่อให้เวลาในการทำตลาดสินค้าหลักที่เพิ่งจะเปิดตัวไปได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหลังจากนั้นหลายเดือน บริษัทจึงตัดสินใจแนะนำโทรศัพท์มือถือออกสู่ตลาดในที่สุด ทั้งๆ ที่เป็นช่วงที่ค่ายโทรศัพท์มือถือรายอื่นๆ ต่างเปิดตัวโทรศัพท์มือถือกันหลากหลายรุ่นออกมาทำตลาดกันอย่างเต็มที่ นับเป็นปีทองของวงการโทรศัพท์มือถือไปเลยปีหนึ่งกันเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม BenQ ยังเห็นข้อได้เปรียบของการมีสินค้าที่หลากหลาย แม้จะต้องมองหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดตัวก็ตาม โดยเชื่อว่าการมีสินค้าแทบทุกแบบนั้น จะช่วยตอบสนองชีวิตดิจิตอลของคนไทยที่เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ซึ่ง BenQ เห็นว่าเป็นเมืองที่ไม่เคยหลับใหลใน 24 ชั่วโมง อีกทั้งด้วยขนาดตลาดวิธีการใช้ชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ และการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญของเอเชีย ทำให้ BenQ ยิ่งมั่นใจในทิศทางการทำตลาดของตนมากขึ้นกว่าเดิม
BenQ กับก้าวย่างในปีที่สามนับจากนี้กำลังเป็นที่จับตามอง ผีเสื้อสีม่วงสัญลักษณ์แบรนด์ BenQ จะเทียบชั้นยักษ์ใหญ่รายอื่น ที่เป็นเจ้าตลาดได้อย่างไร บทเรียนใหม่ของ BenQ เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้นเอง
|
|
|
|
|