Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
เมื่อคอมพิวเตอร์กลายเป็นทีวี             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 


   
www resources

iPTV Homepage
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
Hispeedworld Homepage
Buddy Broadband

   
search resources

แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์, บจก.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
ชิน บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย)
ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Broadband




อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือที่เรียกกันว่า "บรอดแบนด์" กลายเป็นเทคโนโลยีดาวเด่นที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมา และนับจากนี้อีกหลายปีติดต่อกัน ค่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP หลายราย ให้ความสำคัญกับการเปิดตัวโปรโมชั่นและทำตลาดบรอดแบนด์กันอย่างหนัก

จากอัตราการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตต่อหัวประชากร หรือครัวเรือนในไทย ซึ่งประมาณการกันว่ามีคนใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดทั่วประเทศเพียง 7 ล้านคน จาก 60 ล้านคน มีคนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพียง 2 แสนคนทั่วประเทศ มีคู่สายโทรศัพท์เพื่อรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพียง 3 ล้านหลังคาเรือน จากทั้งสิ้น 17 ล้านหลังคาเรือน น่าจะเป็นตัวเลขที่สดใสในการตลาดบรอดแบนด์ในเมืองไทยไม่น้อย

แต่ "ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน" คงเป็นคำถามที่ใช้เปรียบเทียบได้ดีกับธุรกิจบรอดแบนด์ เพราะผู้บริหารหลายค่ายต่างกล่าวทุกครั้งที่มีการแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์อันเกี่ยวเนื่องกับบรอดแบนด์ว่า ตราบใดที่ไม่มีคอนเทนต์ที่รองรับการใช้งานบรอดแบนด์ ก็เปรียบได้กับไม่มีอะไรมาจูงใจให้คนหันมาใช้บรอดแบนด์

นี่เองเป็นเหตุผลที่ผู้ให้บริการเองต่างเร่งหาพันธมิตรหลากรูปแบบเพื่อพัฒนาคอนเทนต์บนเทคโนโลยีบรอดแบนด์ให้โตเร็วได้พอๆ กับจำนวนประชากรที่จะหันมาใช้บรอดแบนด์เช่นกัน

บริการ "บรอดแบนด์ทีวี" น่าจะเป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์ที่ขึ้นป้ายเบอร์หนึ่งซึ่งหลายค่ายต่างต้องการจะไปถึง บริการแบบนี้ไม่เพียงแต่เป็นแรงดึงดูดให้คนหันมาเลือกใช้บริการอินเทอร์เน็ตของตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรายได้เสริม หรือมูลค่าเพิ่มในเชิงการตลาดที่เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งนัก

ก่อนหน้านี้เราได้เห็นบริการบรอดแบนด์ทีวีในระยะเริ่มต้นได้บ้างจากบางค่าย ผู้ให้บริการตั้งแต่ค่ายชิน บรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด ที่เปิดตัวบริการ "iPTV"

บริการที่เปิดโอกาสให้คนใช้บรอดแบนด์สามารถรับชมรายการประเภทมัลติ มีเดียผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที ด้วยข้อได้เปรียบช่องสัญญาณของดาวเทียมไทยคมของบริษัท ทำให้ iPTV สามารถออกอากาศรายการได้หลายๆ ช่องพร้อมกันผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ได้ทันที ขณะเดียวกันผู้ใช้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้จัดรายการหรือผู้ดำเนินการแบบสดๆ ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน

iPTV เปิดตัวตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ยังคงเป็นช่วงของการทดลองออกอากาศ โดยทางบริษัทเองหลายรายการด้วยกัน

ผ่านยุคของ iPTV เรามีโอกาสได้พบกับบริการรับชมภาพรายการทีวีผ่านหน้าเว็บไซต์บนบรอดแบนด์ของค่าย True ผ่านบริการที่เรียกว่า "UBCi"

UBCi อาศัยข้อได้เปรียบที่ True เป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่ที่สุดในประเทศ พร้อมกับเป็นเจ้าของคอนเทนต์รายการทีวีที่ผลิตเองหลายช่องที่ออกอากาศทาง UBC โดยเปิดให้คนเข้าทดลองชมรายการได้แบบฟรีผ่านหน้าเว็บไซต์ของตน ขณะเดียวกันในขณะนั้น True ยังเปิดต้นแบบแนวความคิดในการรับชมทีวีพร้อมๆ กัน เล่นอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ทันทีผ่านหน้าจอทีวีปกติ ที่ต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ Set-top box แต่ยังเป็นแผนการดำเนินการที่ยังไม่เปิดเผยว่าจะเปิดให้บริการเมื่อไร จนกว่าการเจรจาการผลิตอุปกรณ์ต่อเชื่อม และเทคโนโลยี MPEG4 เทคโนโลยีการแสดงภาพวิดีโอที่จะเข้ามาแทนที่ มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริงๆ

"บัดดี้ บรอดแบนด์" คือชื่อบริการรับชมรายการทีวีผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ล่าสุด ซึ่งทางบริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ เอดีซี และบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น เพิ่งจะเปิดตัวไปได้ไม่นาน

บัดดี้ บรอดแบนด์ ถือเป็นการรับชมรายการทีวีผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ที่ถือว่าทันสมัยที่สุดในประเทศไทยในตอนนี้ก็ว่าได้ ความสำคัญของบัดดี้ บรอดแบนด์ อยู่ตรงที่ผู้ที่ใช้โทรศัพท์พื้นฐานของค่าย ทศท หากอยู่ในพื้นที่ให้บริการบรอดแบนด์ และเลือกใช้บริการบัดดี้ บรอดแบนด์ เจ้าของบ้านจะได้รับอุปกรณ์ ADSL Modem และ Set-top box ในการต่อเชื่อมเข้าระหว่างโทรศัพท์บ้าน โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน อุปกรณ์ทั้งหมดจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปโดย Set-top box ที่ต่อเชื่อมเข้ากับโทรทัศน์นั้นจะทำหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับชมรายการทีวีแบบ On-demand จำพวกไฟล์วิดีโอหนัง เพลง มิวสิกวิดีโอ และสารคดีของพันธมิตรมากมายนับ 10 ราย ที่เอดีซีไปจับมือไว้ การเลือกดูรายการแต่ละอย่างจะคิดค่าใช้จ่ายแบบ Pay per view หรือดูเท่าไร จ่ายเท่านั้น

ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้ใช้ได้สิทธิ์ในการรับชมรายการของฟรีทีวีผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 และไอทีวี รวมถึงช่องพิเศษที่บริษัทผลิตเองอีก 3 ช่อง หนึ่งในนั้นคือ ช่อง Big Brother เรียลทีวี ที่สามารถรับชมได้แบบ 24 ชั่วโมง และกำลังออกอากาศไปอีกหลายวันนับจากนี้ ขณะที่บริการรับชมรายการทีวีทั้งหมด ไม่รบกวนการใช้งานเสียงของโทรศัพท์บ้าน และการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแต่อย่างใด

ต้องยอมรับว่า ความตั้งใจจริงของผู้ให้บริการรายการทีวีบนบรอดแบนด์นั้น ไม่ได้อยู่ที่การเปิดให้รับชมช่องฟรีทีวีเท่านั้น แต่ความหมายที่แท้จริง คือการหวังที่จะเข้ามาแทนที่เคเบิลทีวี ด้วยการเปิดให้บริการบอกรับสมาชิกรายการมากมายผ่านอินเทอร์เน็ต โดยค่ายผู้ให้บริการมีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเจรจาเซ็นสัญญากับผู้ให้บริการรายการดังๆ ซึ่งมีให้บริการผ่านเคเบิลอยู่แล้วในปัจจุบัน

นั่นหมายถึงว่าในอนาคตอันใกล้ ผู้บริโภคจะมีโอกาสรับชมรายการมากมายนับสิบนับร้อยช่องผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทันที ทั้งแบบที่เสียเงินและไม่เสียเงิน แล้วแต่ว่า ISP หรือเจ้าของรายการจะพิจารณาเรียกเก็บ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากการรับชมรายการดังจากต่างประเทศผ่านทางเคเบิลทีวีเท่านั้น

แม้ใครหลายคนจะแย้งด้วยความเร็วของบรอดแบนด์ในปัจจุบันยังเป็นข้อจำกัดให้บริการดังกล่าวไปไม่ถึงดวงดาวสักที แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว บ้านเราเองก็จะตามรอยเกาหลี, ฮ่องกง, ฝรั่งเศส, เบลเยียม และญี่ปุ่น ที่แทบทุกครัวเรือนจะมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกว่า 4 เมกะบิตต่อวินาที เพื่อใช้รับชมรายการทีวีได้นับร้อยช่องกันแล้วในปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us