Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 เมษายน 2548
ธ.โลกหั่นจีดีพีไทยเหลือ5.2%             
 


   
search resources

World Bank




ธนาคารโลกปรับลดจีดีพีไทยพรวดเดียว 0.6% เหลือเพียง 5.2% จากเดิมที่ตั้งไว้ 5.8% หลังสัญญาณชัดเจน เศรษฐกิจโลกชะลอตัว บวกกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และคาดจะอยู่เหนือระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล อีกอย่างน้อย 4 ปี ขณะที่มีการลงทุนเอกชนและรัฐบาลเป็นปัจจัยบวก พร้อมเสนอแนะหากไทยต้องการรักษาการเติบโตตามเป้าหมายที่ 6.6% ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการลงทุน

ธนาคารโลก (The world Bank) แถลงข่าวผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยนายจามิล คัสสัม รองประธานธนาคารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยคาดการณ์ในปี 2548 เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกจะมีอัตราการขยายตัวลดลงเหลือ 6% จากปี 2547 ที่มีอัตราการขยายตัวถึง 7.2% เนื่องจากเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกจะชะลอตัวลงเกือบทุกประเทศ

ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเองมีอัตราการขยายตัวลดลงเช่นเดียวกัน คือ ปรับตัวลดลงจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 6.1% เหลือ 5.2% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าในปีนี้ไทยจะมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับ 5.8% และสอดคล้องกับสำนักวิจัยหลายแห่งที่ทยอยปรับลดประมาณการไปก่อนหน้านี้ โดยมีปัจจัยหลักจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

"เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเติบโตอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยอัตราความยากจนในภูมิภาคนี้ลดลงประมาณ 5-6% ทั้งในประเทศจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย มีคนจนลดลง 35 ล้านคนต่อปี แต่ธนาคารโลกยังเป็นห่วงเรื่องการไหลเข้าของเงินทุนที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกมาก โดยเฉพาะเงินลงทุนจากสหรัฐฯ ที่สูงถึง 113,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวถึง 12%"

นายคัสสัมกล่าวให้ความเห็นว่า เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศอาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของเศรษฐกิจ ดังนั้นผู้นำในเอเชียตะวันออกจะต้องบริหารจัดการเงินทุนที่ไหลเข้ามาอย่างมีระบบ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงของเอเชียตะวันออกมี 3 ประการ คือ ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ ปัญหาราคาน้ำมันที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และปัญหาภัยธรรมชาติ

นางสาวกิริฎา เภาวิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกปรับประมาณการทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2548 เหลือ 5.2% เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคภาคครัวเรือนของไทยชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจไทยจะได้รับปัจจัยบวกจากการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ของรัฐบาลเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจที่สำคัญ

"การที่จีดีพีของไทยในปีนี้เติบโต 5.2% ถือเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจคือราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งภาวะภัยแล้งที่จะส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรลดลง" นางสาวกิริฎากล่าว

ทั้งนี้การที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหลังจากรัฐบาลเริ่มลอยตัวน้ำมันดีเซล ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20% โดยธนาคารโลกประเมินว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ปรับเพิ่มขึ้น 13.9% จะส่งผลต่อการบริโภคภาคครัวเรือนของไทยชะลอตัวลง ซึ่งบนสมมติฐานที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 10% จะมีผลกระทบต่อจีดีพีลดลง 1% และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 1.5%

ราคาน้ำมันปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 42 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ 37.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และคาดว่าจะอยู่เหลือระดับ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลต่อเนื่องไปอีก 4 ปี"

ขณะเดียวกัน การบริโภคภาคครัวเรือนยังได้รับผลกระทบจากการก่อหนี้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวอยู่ในระดับเกือบ 60% ต่อคนต่อปี หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% ความสามารถในการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้อุปโภคและบริโภคก็ลดลงตามไปด้วย

สำหรับปัจจัยด้านการส่งออกนั้น จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเช่นกัน ทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยลดลงตามไปด้วย โดยคาดว่าการส่งออกจะชะลอตัวลงทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่าการส่งออก ซึ่งปริมาณการส่งออกที่ชะลอตัวติดต่อกันตั้งแต่ปี 2545 ที่ผ่านมา จะมีการขยายตัวเพียง 6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7% ขณะที่มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากกว่า 20% เหลือเพียง 13%

ด้านปัจจัยบวกที่จะเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คือ การลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐนั้น ในปีนี้การลงทุนภาคเอกชนจะมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปีก่อนที่อยู่ในระดับ ประมาณ 15.3% โดยมีดัชนีชี้วัดจากการที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในภาคธุรกิจเพื่อการลงทุนมากขึ้น รวมถึงการอนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีจำนวนสูงขึ้น จะทำให้เริ่มมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในปีนี้

ขณะที่การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาทนั้น คงจะมีความชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจรัฐบาล ได้หยุดการลงทุนไป ดังนั้นคาดว่าในปีนี้จะเริ่มมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาและจะเข้ามาอีกเป็นจำนวนมากในปีต่อไป

"จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลง บวกกับการนำเข้าที่สูง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จะทำให้ไทยมีการขาดดุลการค้าในปีนี้ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 1% ของจีดีพี รวมมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านบาท ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังคงเกินดุลได้อีกประมาณ 3 พันล้านบาท เนื่องจากได้มีดุลบริการเข้ามาช่วยสนับสนุน โดยเฉพาะดุลด้านการท่องเที่ยวที่รัฐบาลกำลังเร่งหามาตรการออกมากระตุ้นดึงให้นักท่องเที่ยวหันมาเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น"

นอกจากนี้ ธนาคารโลกได้ให้ข้อเสนอแนะในกรณีรัฐบาลต้องการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในอีก 4 ปีข้างหน้า (2548-2551) ให้อยู่ในระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6.6% ว่า ในปีนี้อัตราการขยายตัวอยู่ที่ระดับ 5.2% ดังนั้นในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ประเทศไทยต้องมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยให้อยู่ในระดับ 7% ต่อปี

ทั้งนี้ หากรัฐบาลต้องการยึดนโยบายที่จะให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6.6% จะมีแนวทางการดำเนินการ 2 แนวทาง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในทุกๆ ด้าน ให้สูงถึงปีละ 2.9% จากปัจจุบัน ที่มีอัตราเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2543-2545 อยู่ที่ 2.3% เท่านั้น หรือแนวทางที่ 2 การเพิ่มปริมาณการลงทุนให้อยู่ในระดับ 18%

นางสาวกิริฎากล่าวถึงผลการสำรวจความคิดเห็นของนักลงทุนต่างประเทศทั่วโลก พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับที่ 20 ลดลงจากปีก่อนที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 16 ขณะที่นักลงทุนในเอเชียให้ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับที่ 3 รองจากประเทศจีนและอินเดีย

ขณะที่ความเห็นของนักธุรกิจจาก 3,385 บริษัท ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจ 3 ด้าน ประกอบด้วย ภาระทางด้านกฎหมายที่ซับซ้อน บุคลากรขาดความชำนาญและประสบการณ์ และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่พร้อมทำให้มีต้นทุนขนส่งเพิ่มสูงขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us