Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
Life with TOC             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 

   
related stories

ผู้จัดการ 100 ปีของความผันผวน

   
www resources

โฮมเพจ ไทยโอเลฟินส์

   
search resources

ไทยโอเลฟินส์, บมจ.
อดิเทพ พิศาลบุตร์
Chemicals and Plastics




วงจรขาขึ้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีรอบนี้ ช่วยให้ไทยโอเลฟินส์พลิกฟื้นฐานะที่เคยย่ำแย่กลับมาเป็นบริษัทดาวเด่นแห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขณะเดียวกันก็วางกลยุทธ์เพื่อเตรียมรับช่วงขาลงที่อาจจะมาถึงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยเริ่มขยับเข้ามาใกล้ผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ

แท่นโชว์รางวัลบริษัทจดทะเบียนใหม่ยอดเยี่ยมจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและรางวัลบริษัทจดทะเบียนใหม่ดีเด่นของประเทศไทยประจำปี 2546 จากวารสารเอเชียมันนี่ ที่เห็นเด่นชัดตั้งแต่ย่างเท้าก้าวเข้าสู่พื้นที่สำนักงานใหญ่ของไทยโอเลฟินส์ หรือ TOC เป็นเสมือนสิ่งที่สะท้อนความภาคภูมิใจของชาวไทยโอเลฟินส์ที่ต้องการให้ผู้มาเยือนได้รับรู้ว่า องค์กรที่เพิ่งอายุครบ 15 ปี เมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมาแห่งนี้ไม่เพียงจะก้าวพ้นเมฆดำที่ปกคลุมองค์กรมาตั้งแต่ครั้งวิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็นบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีนักลงทุนให้ความสนใจกันอย่างเนืองแน่นอีกด้วย

ผลดำเนินงานของ TOC ผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีเริ่มส่อแววพลิกฟื้นขึ้นตั้งแต่ปี 2545 เมื่อโชว์ผลกำไร 132 ล้านบาท แม้จะไม่มากนักเมื่อเทียบกับบริษัทในขนาดเดียวกัน แต่เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2544 ที่มียอดขาดทุน 109 ล้านบาทแล้วเท่ากับว่ากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นในอัตรากว่า 200% เลยทีเดียว ทั้งๆ ที่ยอดขายในปี 2545 น้อยกว่าปีก่อนหน้าอยู่เล็กน้อย และเมื่อถึงปี 2546 ผลกำไรของ TOC ก็ก้าวกระโดดขึ้นร่วม 10 เท่า เป็น 1,407 ล้านบาท และ 6,482 ล้านบาท ในปี 2547

อันดับของ TOC ในตาราง "ผู้จัดการ 100" ปี 2547 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 28 จากที่เคยอยู่ในอันดับที่ 35 ในปี 2546 ด้วยยอดรายได้รวม 24,451.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.78% จากปีก่อนหน้า ในขณะที่ตัวเลขกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 360.66% โดยเป็นบริษัทที่ได้กำไรสูงเป็นอันดับที่ 16

สาเหตุของกำไรที่เพิ่มขึ้นหลักๆ มาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ที่เข้าสู่วงรอบขาขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะ TOC เท่านั้นที่ได้รับผลดีจากปรากฏการณ์นี้ ผู้ประกอบการปิโตรเคมีรายอื่นก็ได้รับประโยชน์จากช่วงขาขึ้นนี้ด้วยเช่นกัน

การปรับตัวขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีนอกจากจะเกิดขึ้นตามการปรับตัวของราคาน้ำมันแล้ว การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง โดยปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.3 เท่าของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและมีการคาดการณ์ว่าความต้องการเอทิลีนของโลกในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านตันต่อปี

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะทุกวันนี้ปิโตรเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากมาย ทั้งโดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว ตั้งแต่เสื้อผ้าที่สวมใส่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เป็นพลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ แม้แต่ในห้องน้ำและห้องครัวก็ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเคมี ไม่ว่าจะเป็นแชมพู สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน หรือเครื่องสำอาง ยิ่งในระยะหลังนี้แม้แต่วัสดุก่อสร้างและตกแต่งที่เคยใช้ไม้หรือคอนกรีตก็มีพลาสติกเข้าไปเป็นส่วนประกอบมากขึ้น และไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้นและราคาถูกลงอีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์หรือเครื่องใช้ที่ทำด้วยพลาสติก หรือมีพลาสติกเป็นส่วนประกอบมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองในปีนี้ TOC จะให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (research & development) มากขึ้น โดยจะตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานเฉพาะและมีบทบาทอย่างจริงจัง จากเดิมที่เป็นแผนกหนึ่งอยู่ในฝ่ายเทคนิค บทบาทของอาร์แอนด์ดีจะมีความสำคัญกับอนาคตของ TOC ไม่น้อย เนื่องจากจะเป็นหน่วยงานที่พัฒนาสินค้าของ TOC ให้มีความแตกต่างจากผู้ผลิตปิโตรเคมีรายอื่น ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ TOC นอกเหนือไปจากการแข่งขันด้านราคา

"เราจะต้องรู้ว่าถ้าลูกค้าจะตั้งโรงงานผลิตแชมพูที่ขอนแก่น น้ำที่นั่นเป็นอย่างไร ที่สุไหงโกลกเป็นอย่างไร หรือวัสดุแบบไหนเหมาะกับการผลิตหรือใช้งานที่ไหน ถ้าเราผลิตแบบเดียวให้ลูกค้าเอาไปใช้ทุกแห่งก็ไม่มีมูลค่าเพิ่ม เท่ากับว่าเราเข้าไม่ถึงลูกค้า" อดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TOC กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

นอกจากการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์แล้ว TOC ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์เตรียมพร้อมรับมือกับวงจรปิโตรเคมีขาลงไว้ล่วงหน้าด้วย เพราะถึงแม้ ปัจจุบันจะเป็นช่วงขาขึ้นแต่ก็มีการคาดการณ์ว่าในปี 2550 อาจจะเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลง เพราะเป็นช่วงที่โรงงานปิโตรเคมีในหลายประเทศก่อสร้างเสร็จและเริ่มเดินเครื่องผลิต ซึ่งจะส่งผลให้ซัปพลายของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยยุทธศาสตร์ที่เตรียมไว้มี 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้ต้นทุนต่ำลง

"ต้นทุนของเราต้องต่ำกว่าญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ตราบใดที่ต้นทุนเราต่ำกว่า ถ้าถึงช่วงขาลงเราไม่กลัว เพราะเมื่อราคาลดลงมาแตะต้นทุนทางเกาหลี ญี่ปุ่นจะต้องลดกำลังการผลิต พอซัปพลายขาด ดีมานด์ก็ขึ้นเองอัตโนมัติ" อดิเทพกล่าว

การขยายกำลังผลิตของ TOC มี 2 โครงการด้วยกัน โครงการแรกคือ Expansion ขยายกำลังการผลิตเอทิลีนจำนวน 3 แสนตันต่อปี เริ่มดำเนินการผลิตในเดือนมกราคมที่ผ่านมา โครงการที่สองคือ Debottleneck 1 ที่จะแล้วเสร็จและเริ่มทำการผลิตได้ในช่วงไตรมาส 3 ปีหน้า โดยจะเป็นการเพิ่มกำลังผลิตเอทิลีน 1.3 แสนตัน และโพรพิลีน 1.2 แสนตัน เท่ากับว่าเมื่อเสร็จสิ้นทั้ง 2 โครงการนี้แล้วกำลังผลิตของ TOC จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (ดูรายละเอียดจากภาพประกอบ)

นอกจากนี้หากเกิดการควบรวมกิจการระหว่าง TOC และบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC เข้าด้วยกันตามที่บริษัท ปตท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 บริษัท กำลังพิจารณาอยู่ก็ยิ่งทำให้กำลังการผลิตของ TOC เพิ่มขึ้นอีกมากและต้นทุนการผลิตก็น่าจะต่ำลงได้อีก

ยุทธศาสตร์ที่สองของ TOC คือการขยายไปสู่ธุรกิจปลายน้ำ (downstream) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีวงจรราคาแตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยบาลานซ์รายได้กันเองในช่วงที่ราคาผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ในช่วงขาลง และทำให้รายได้ของ TOC มีความสม่ำเสมอไม่ผันผวนจากการอิงรายได้ในผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป

ยุทธศาสตร์นี้ TOC จะพิจารณาลงทุนโดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีตลาดในประเทศรองรับเป็นหลัก ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างดีมานด์ให้กับผลิตภัณฑ์หลักของ TOC อีกด้วย การขยายธุรกิจสู่ down-stream ของ TOC ประกอบด้วยโครงการผลิต Monoethylene Glycol (MEG) ที่ใช้ในการผลิตเส้นใยเสื้อผ้าและสิ่งทอ รวมทั้งการผลิตขวด PET จะเริ่มดำเนินงานในไตรมาส 2 ปีหน้า มีกำลังการผลิต 3 แสนตันต่อปี และมีตลาดในประเทศรองรับมากกว่า 60% โครงการร่วมทุนผลิต Phenol เริ่มทำการผลิตในไตรมาส 2 ปี 2550 กำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปีมีตลาดในประเทศ มากกว่า 50% ของกำลังการผลิต

นอกจากนี้ยังมีโครงการผลิต Ethylene Oxide และ Ethylene Glycol รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ ซึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของใช้ที่ใกล้ตัวผู้บริโภคเข้ามาเรื่อยๆ อาทิ แชมพู สบู่ น้ำยาล้างจาน และเครื่องสำอาง

ไม่เพียงการตั้งโรงงานขึ้นใหม่เท่านั้น TOC ยังเดินทางลัดในการเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำบางตัวด้วยการเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ทำการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอยู่แล้ว ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะย่นระยะเวลาในการเข้าสู่ตลาดของ TOC เพื่อให้ทันในช่วงวงจรขาขึ้นนี้แล้ว ยังเข้าไปมีบทบาทในตลาดได้ทันทีจากฐานลูกค้าที่มีอยู่ รวมทั้งยังมีผลตอบแทนจากการลงทุนได้เลย เพราะบริษัทที่เข้าไปลงทุนมีการดำเนินงานที่มีกำไรอยู่แล้ว การเข้าลงทุนเช่นนี้ของ TOC ได้แก่ การเข้าถือหุ้น 50% ในบริษัท บางกอกโพลี เอททีลีน จำกัด (BPE) ผู้ผลิตเม็ดพลาสติก โพลีเอทิลีน ซึ่งกำลังปรับปรุงโรงงานเพื่อจะเพิ่มกำลังผลิตอีก 25% และ BPE เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ TOC ด้วยการเข้าซื้อหุ้น BPE จึงเป็นการสร้างความมั่นใจในเรื่องการรับซื้อผลิตภัณฑ์จาก TOC ในระยะยาว

การเข้าถือหุ้นบริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 20% ก็เป็นไปด้วยเหตุผลเดียวกัน เพราะการลงทุนครั้งนี้เท่ากับ TOC ได้ขยายไปสู่การผลิตและจำหน่ายพลาสติกพีวีซี ที่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตท่อ บรรจุภัณฑ์ ขวดน้ำและกรอบประตูหน้าต่าง ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนดี เพราะปัจจุบันไทยมีความต้องการใช้พีวีซีปีละ 4 ล้านตัน แต่กำลังผลิตรวมทั้งประเทศมีเพียง 6 แสนตันเท่านั้น นอกจากนี้ความต้องการเอทิลีนของวีนิไทยยังทำให้ TOC มีตลาดรองรับเอทิลีนในระยะยาวอีกด้วย โดยจะเห็นได้จากการทำสัญญาขายเอทิลีนให้กับวีนิไทย จำนวน 69,000 ตันต่อปี เป็นเวลา 15 ปี ที่มีการลงนามสัญญา ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และวันเดียวกับที่คณะกรรมการ TOC มีมติให้เข้าลงทุนในวีนิไทยนั่นเอง

"วีนิไทยเป็นผู้ผลิตพีวีซีที่มีอัตราการเติบโตดีที่สุดในเอเชียและมีต้นทุนผลิตที่ต่ำที่สุดในประเทศ ปกติการลงทุนเราจะดู IRR ไม่ต่ำกว่า 15% แต่เคสนี้ IRR เกินกว่านั้นเยอะ" อดิเทพกล่าวถึงสาเหตุที่เลือกเข้าลงทุนในวีนิไทย

การขยายมาสู่ธุรกิจปลายน้ำเช่นนี้ นอกจากผลในทางธุรกิจแล้วยังทำให้ TOC กำลังเปลี่ยนจากบริษัทที่ไกลตัวและผลิตสารที่ดูเข้าใจยากในสายตาผู้บริโภค มาเป็นบริษัทที่อยู่ใกล้ตัวด้วยการผลิตวัตถุดิบของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเข้าไปทุกที   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us