Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
"บ้าน" ในนิยามของคนปิโตรเคมี             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

อภิพร ภาษวัธน์




หาก "บ้าน" ในความหมายของคนทั่วไปเป็นเพียงที่อยู่อาศัยแล้ว "บ้าน" ในความหมายของอภิพร ภาษวัธน์ น่าจะมีความหมายที่ลึกซึ้งไปยิ่งกว่านั้น

โดยเฉพาะบ้านหลังที่ 3 ของเขาในกรุงเทพฯ ถือว่าได้สะท้อนภาพบุคลิก และลักษณะธุรกิจของคนที่ทำธุรกิจปิโตรเคมีไว้ได้อย่างดี

บ้านซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 ไร่ ในโครงการเลคไซด์ 2 ริมถนนบางนา-ตราด ซึ่งอภิพรซื้อมาเมื่อปี 2538 กำลังจะกลายเป็นสถานที่สำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุงานก่อนกำหนดจากกลุ่มปิโตรเคมีเครือซิเมนต์ไทย

บ้านหลังนี้สร้างในสไตล์นิวอิงแลนด์ที่เขาเคยประทับใจเมื่อครั้งถูกส่งไปเข้าอบรม Advanced Management Program ที่ Havard University สหรัฐอเมริกา ในปี 2539

"เคยไปตอนเข้าคอร์ส 3 เดือน ช่วงเบื่อก็ขับรถเที่ยวแถว Cape Cross แล้วก็ไปเจอบ้านหลังหนึ่งคล้ายๆ อย่างนี้ เราก็ถ่ายรูปมา เอามา แล้วก็เก็บไว้ในอัลบัม คิดว่าถ้าเผื่อจะสร้างบ้านก็จะสร้างแบบนี้ วันดีคืนดีบ้านหลังนั้นได้ลงในนิตยสาร Architecture Digest แสดงว่าตาเราใช้ได้ ขับไปดูเป็นร้อยๆ บ้านเลย แล้วก็ถ่ายรูปมาสัก 30-40 ภาพ"

ตัวบ้านถูกออกแบบด้วยความคิดที่ผสมผสานกันระหว่างอภิพร กับนิธิ สถาปิตานนท์ จาก A 39 เพื่อนร่วมรุ่นวชิราวุธ ที่มาเป็นสถาปนิกให้ ส่วนงานตกแต่งภายใน และการจัดแลนด์สเคป ดูแลโดย ม.ล.สุดาวดี เกรียงไกร เจ้าของภูใจใส

การสร้างบ้านหลังนี้ อภิพรวางแผนไว้เป็นปี มีการซื้อของตกแต่งบ้านล่วงหน้า ทุกครั้งที่ได้เดินทางไปต่างประเทศ ของทุกชิ้นถูกกำหนดไว้ในใจแล้วว่าจะนำไปติดตั้งไว้ที่ไหน ทั้งๆ ที่ตัวบ้านยังไม่ได้เริ่มสร้าง

การเป็นผู้บริหารกลุ่มปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทย ทำให้อภิพรจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศแทบทุกเดือน ตลอดเวลากว่า 20 ปี เพราะฉะนั้นภายในบ้านหลังนี้จึงมีของตกแต่งที่มาจากหลายที่ทั่วโลก

"ต้องไปเจรจาซื้อขายวัตถุดิบดูเทคโนโลยี เจรจาเรื่อง joint venture หรือ partner มีโรงงานอยู่ที่ไหน ก็ต้องไปดู แล้วก็ไปขายของ คือไปทำตลาด"

โคมไฟจากฮังการี ชุดทำครัวที่ทำด้วยทองแดงจากฟิลิปปินส์ ตลอดจนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือแผนที่เก่า ทั้งแผนที่ประเทศไทย และแผนที่โลกที่ซื้อมาจากอังกฤษ และของเก่าหลายชิ้นที่ซื้อจากอิตาลี เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงกิจวัตรเจ้าของบ้านที่ต้องเดินทางผ่านมาแล้วทั่วโลก

นอกจากนี้เขายังได้นำของเหลือใช้ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แล้วในที่อื่น มาเป็นอุปกรณ์ประกอบการตกแต่งบ้านของเขา ที่เห็นได้ชัดคือรอบๆ ตัวบ้าน มีการนำลูกบดเมลามีน ซึ่งเป็นวัสดุกลมๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว มาโรยไว้ที่พื้น ใช้แทนหินใต้แม่น้ำที่คนส่วนใหญ่ใช้โรยสนามได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญและขาดไม่ได้คือองค์ประกอบของตัวบ้าน ที่มีหลายชิ้นทำมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

บัวที่ทำมาจากพีวีซี กระจกเทียมที่ทำจากเอ็มเอ็มเอ ใช้แทนฝ้าเพดานสำหรับชานบ้าน รวมถึงฝ้าเพดานนอกบ้านที่ทำจากพีวีซี ยังมีแผ่นอะคลิลิกที่ใช้เป็นแกรนิตเทียมปูผนังอ่างล้างหน้า รวมถึงไม้ซีกเทียมที่ทำจากพีวีซี พื้นลามิเนต ที่ใช้แทนปาร์เกต์และวงกบประตูหน้าต่าง แบรนด์ "วินเซอร์" ของเครือซิเมนต์ไทย ฯลฯ

ไม่รวมชุดเก้าอี้สนาม และชุดทานข้าวนอกบ้านที่ทำจากโพลีโพไพลีนกับท่อน้ำพีวีซีที่ใช้รดน้ำต้นไม้

อภิพรบอกว่า ปิโตรเคมีน่าจะมีส่วนเป็นองค์ประกอบของตัวบ้านโดยทั่วไปได้ประมาณ 10% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงต้องเป็นการผสมผสานทั้งไม้ ซีเมนต์ และปิโตรเคมีเข้าด้วยกัน บ้านจึงจะสมบูรณ์

"ข้อดีของปิโตรเคมีคือทนกว่า และติดตั้งง่ายกว่า อย่างบัว ถ้าเป็นบัวไม้ใช้ไปนานๆ ก็จะบิด แต่ถ้าทำจากพีวีซีจะคงรูปอยู่อย่างนั้น แล้วกระบวนการติดตั้งก็ง่ายกว่า วัด ตัด แล้วติดได้เลย ไม่ต้องมาขัดทีหลัง"

บ้านหลังนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างถึง 2 ปี โดยบ่อยครั้งที่อภิพรต้องเข้าไปดูการก่อสร้างด้วยตนเอง

ว่ากันว่าเมื่อประมาณทั้งค่าก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์สำหรับการตกแต่ง ซึ่งเขาต้องซื้อมาจากแหล่งในหลายประเทศแล้ว มูลค่าของบ้านหลังนี้ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us