Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
Petrochemical Edge             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ผู้จัดการ 100 ปีของความผันผวน

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
อภิพร ภาษวัธน์
Chemicals and Plastics
ชลณัฐ ญาณารณพ
เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย, บจก.




การที่พลาสติกกลายเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เข้ามาใกล้ชิดชีวิตประจำวันของคนทุกๆ คน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า หากจะมองการพัฒนาเครือซิเมนต์ไทยนับจากนี้ไปต้องโฟกัสที่กลุ่มปิโตรเคมีเป็นหลัก

ไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทย อย่างอภิพร ภาษวัธน์ และชลณัฐ ญาณารณพ พร้อมกันสวมเสื้อ-กางเกงที่ทำจากผ้ายืดรัดรูปแบบนักกีฬา เพื่อมาร่วมการแถลงข่าว พร้อมพาผู้สื่อข่าวเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มที่จังหวัดระยอง

การตัดสินใจแต่งกายของทั้งคู่ มีวัตถุประสงค์ที่จะสื่อให้ผู้สื่อข่าวกลุ่มนี้ได้เข้าใจถึงลักษณะการใช้งานของสินค้าที่มาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งได้เข้าไปใกล้ชิดวิถีชีวิตของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นทุกวัน

ก่อนหน้าการแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เครือซิเมนต์ไทยเพิ่งยิงโฆษณาทางโทรทัศน์ชุดใหม่ ที่บอกว่าสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า นาฬิกา แม้กระทั่งกระจก ล้วนทำขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจการสื่อความหมายครั้งนี้ โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ ที่มองอุตสาหกรรมนี้ในมุมของการผลิตเพียงมิติเดียว

อาจเป็นเพราะความที่ปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ต้องใช้เงินลงทุนสูง โรงงานแต่และแห่งที่สร้างขึ้นมา ต้องใช้เงินนับหมื่นล้านบาท

แต่หากมองอย่างบูรณาการจะเห็นถึงแนวโน้มการใช้งานของสินค้าที่มาจากปิโตรเคมีที่มีแต่จะเพิ่มขึ้น จนวงเงินลงทุนหลักหมื่นล้านบาทถือว่าคุ้ม หากลงได้ถูกจังหวะและเวลาที่แท้จริง

สินค้าที่มาจากปิโตรเคมี หากพูดด้วยภาษาง่ายๆ ก็คือของใช้ทุกอย่างที่ทำจากพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นถุงบรรจุอาหาร กระสอบที่ทอบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ รวมถึงแหอวน เสื้อผ้า และอุปกรณ์ที่เป็นชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ ฯลฯ

สินค้าเหล่านี้นับวันจะมีรูปแบบที่หลากหลาย และพรมแดนการใช้ที่มากขึ้น

"ดูง่ายๆ คนออกไปซื้อก๋วยเตี๋ยวมากินที่บ้าน ตัวก๋วยเตี๋ยวต้องใช้ถุง PP ร้อนแล้ว 1 ถุง แล้วมีน้ำส้มอีก 1 ถุงเล็ก มีพริก น้ำตาล ก็เป็น 3 ถุง แล้วหนังยางรัด เสร็จแล้วต้องมีถุงก๊อบแก๊บ รวมมี 5 ชิ้น ซื้อก๋วยเตี๋ยวห่อเดียว แล้วต่อ 1 คน 1 มื้อ ไม่ใช่ 1 ครัวเรือน แล้วบางคนยังซื้อฝากคนอื่นอีก เวลาผมไปซื้อในฐานะผู้ผลิตเม็ดพลาสติก ผมยังขอถุงซ้อนอีก" ชลณัฐ ญาณารณพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย (CCC) บริษัทหลักของกลุ่มปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทย ยกตัวอย่างกับ "ผู้จัดการ"

คงไม่ผิดนักที่จะบอกว่าปิโตรเคมีเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการพลิกฟื้นฐานะของเครือซิเมนต์ไทย หลังต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540

โดยเฉพาะปีที่แล้ว ซึ่งเครือซิเมนต์ไทยมียอดขายรวม 204,372.29 ล้านบาท มากกว่าครึ่งเป็นรายได้ที่มาจากกลุ่มปิโตรเคมี

"ปีที่แล้วเป็นปีที่โชคดีมาก คือปิโตรเคมีราคาดี ผมไม่ต้องขายเลย อยู่ดีๆ ก็มีแต่คนมาขอซื้อ เรามีหน้าที่รับโทรศัพท์บอก OK เดี๋ยวจัดให้ แค่นี้เอง" อภิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CCC บอกกับ "ผู้จัดการ"

"ปี 2004 มัน break record ของเครือตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท ทั้งยอดขายและกำไร เฉพาะกำไรทั้งเครือ 3.6 หมื่นล้านบาท 1.7 เกือบจะ 1.8 หมื่นล้าน มาจากปิโตรเคมี เพราะเป็นช่วงที่จะ peak พอดี ในปี 1997-1998 เราจำได้ กำไรกลุ่มนี้ก็พอๆ กับกลุ่มกระดาษ พอมาปี 2003-2004 มันขึ้นมาแบบนี้ เพราะเวลา หรือ cycle มาถึงพอดี พอ plant เดินดี ทุกอย่างขึ้นหมด"

ยอดขายระดับแสนล้านบาท ซึ่งเท่ากับยอดขายของกลุ่มซีเมนต์ และกระดาษ 2 กลุ่มรวมกัน รวมถึงกำไรระดับเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ถือเป็นอัตราการเติบโตที่รวดเร็วมาก สำหรับธุรกิจที่จัดว่าเป็นกลุ่มใหม่ที่เครือซิเมนต์ไทยเพิ่งเข้าไปลงทุนได้เพียง 20 ปีเศษเท่านั้น

เครือซิเมนต์ไทย เริ่มเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เมื่อปี 2526 โดยการตั้งบริษัทไทยโพลิเอททีลีน เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีน และเข้าไปเป็น 1 ใน 4 ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) บริษัทนำร่องตามแผนแม่บทปิโตรเคมีแห่งชาติ ที่ถูกวางขึ้นในยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติที่เพิ่งถูกขุดขึ้นจากอ่าวไทย มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ว่าไปแล้วการก้าวเข้ามาสู่อุตสาหกรรมนี้ของเครือซิเมนต์ไทย เป็นไปตามคำร้องขอของรัฐบาลยุคนั้น ที่ต้องการเห็นโครงการปิโตรเคมีแห่งชาติได้เกิด จึงต้องให้เครือซิเมนต์ไทยในฐานะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เข้าไปเป็นแกนนำในการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่น

"ผมสร้างโรงงาน 6 หมื่นตัน ยังไม่รู้ว่าจะขายให้ใคร ตอนนั้นมัน blank มาก คุณจรัส ชูโตบอก อภิพรทำไหม ก็ให้มาทำ ผมก็หิ้วกระเป๋าไป ก็เอาลูกน้องไป 4 คนไปสร้างโรงงานขึ้นมา ยังไม่รู้เลยว่าจะขายให้ใคร"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us