Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2548
ช่วยด้วย! ฉันเป็น CEO             
 





รักจะเป็น CEO ในยุคที่อำนาจกำลังถูกลิดรอน ต้องเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดใหม่ๆ

ถ้าเป็นเวลาปกติ การได้เป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัท หรือที่รู้จักกันดีในชื่อย่อๆ ว่า CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ คงจะเป็นที่น่าอิจฉาอย่างยิ่ง ทั้งงานก็น่าสนใจ ค่าตอบแทนก็สูง แถมยังมีเครื่องบินส่วนตัวให้ใช้

แต่ทว่าในระยะนี้ข่าวคราวเกี่ยวกับ CEO คนดังๆ ทั้งหลาย ดูจะออกไปทางน่าสงสารมากกว่าน่าอิจฉา

ในเดือนเมษายน Michael Eisner ผู้บริหารสูงสุดของ Disney ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ถูกบีบให้ต้องยอมเกษียณตัวเองก่อนกำหนด ในเดือนกันยายนปีหน้า ต้องตกลงยอมลงจากตำแหน่งก่อนกำหนดเดิม 1 ปี เพื่อเปิดทางให้แก่ผู้สืบทอดคือ Robert Iger ให้ขึ้นมาแทน

ส่วนที่ AIG บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ Maurice Greenberg ผู้ก่อตั้งบริษัทต้องลาออกหลังจากถูกกดดันจากทั้งคณะกรรม การบริษัท และทางการสหรัฐฯ ซึ่งกำลังสอบสวน AIG อยู่ เกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลในการทำบัญชีของบริษัท

และข่าวร้ายที่สุดดูจะเป็นของ Bernie Ebbers อดีต CEO ของ World Com บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ที่ล้มไปแล้ว ซึ่งถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด 9 กระทงฐานฉ้อโกงบริษัท และอาจถูกตัดสินโทษจำคุกถึง 85 ปี

ทั่วทั้งสหรัฐฯ ขณะนี้มี CEO ถูกอัปเปหิออกจากบริษัทไม่เว้นแต่ละวัน โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ มี CEO ต้องออกจากบริษัทแล้วถึง 195 แห่ง ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าปีที่แล้วเกือบ 2 เท่า

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการต่างระบุว่า ดูเหมือนว่าขณะนี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงศูนย์อำนาจ และดูเหมือนจะหมดยุคผู้บริหาร สูงสุดแบบที่มีอำนาจเด็ดขาด

ผลจากกฎหมายใหม่ และความเข้มงวดมากขึ้นของผู้คุมกฎ รวมทั้งความไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ ของผู้ถือหุ้น และแม้กระทั่งความไม่พอใจของพนักงานในบริษัทเอง ได้ทำให้กรรมการบริษัท หาญกล้าท้าทายอำนาจของ CEO อย่างเกรี้ยวกราดขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก และกล้าที่จะปลด CEO หากพวกเขาไม่ชอบท่าที ในการตอบสนองของ CEO คนนั้น

ด้วยเหตุนี้ CEO ในทุกวันนี้ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้กฎใหม่ๆ ของการเอาตัวรอดในยุคที่อำนาจของตำแหน่งนี้กำลังถูกลดทอน

กฎข้อที่ 1 : ชิงลงจากเวที ก่อนจะถูกไล่ลง

Eisner แห่ง Disney กับ Greenberg แห่ง AIG ต่างก็อยู่ในตำแหน่งมาหลายสิบปี เช่นเดียวกับ Sumner Redstone ซึ่งเพิ่งเปิดแผนแยกบริษัท Viacom ยักษ์ใหญ่ด้าน สื่อออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ 2 ผู้ช่วยของเขา แบ่งกันบริหาร ซึ่งทั้งสองต่างก็กำลังแข่งกันว่าใครจะได้สืบทอดต่อจากเขา

ผู้สันทัดกรณีชี้ว่า ยุคของ CEO ที่จะ อยู่ในตำแหน่งตราบนานเท่านาน จนเหมือน เป็นสัญลักษณ์ของบริษัทกำลังจะหมดลงและหลายคนเห็นตรงกันว่า ผู้บริหารสูงสุดไม่ควรจะอยู่ในตำแหน่งเกินกว่า 10 ปี หรือ ควรจะน้อยกว่านั้นอีกสักประมาณ 7 ปีก็พอ

ดังนั้น CEO ที่ฉลาดควรจะระลึกไว้เสมอว่า แม้แต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ยังถูกกฎหมายจำกัดให้อยู่ในตำแหน่งได้แค่ 2 สมัยติดต่อกันหรือ 8 ปีเท่านั้น

กฎข้อที่ 2 : หมดยุคการวางตัว ทายาทผู้สืบทอดตำแหน่ง

CEO ที่กำลังจะเกษียณมักนิยมวาง ตัวทายาทผู้สืบทอดตำแหน่ง แต่คณะกรรม การบริษัทเริ่มเข้ามามีบทบาทในการคัดเลือก CEO คนใหม่มากขึ้น และมองคนที่ได้รับการวางตัวเป็นทายาทจาก CEO คนเก่าว่า เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น

เห็นได้จากกรณีของ Eisner ซึ่งผลักดันให้คณะกรรมการบริษัทมอบตำแหน่งของเขาสืบต่อให้แก่ Iger ซึ่งเป็นคนที่เขาวางตัวไว้ แต่ George Mitchell ประธานคณะกรรมการของ Disney กลับกล่าวว่า คณะกรรมการกำลังพิจารณาตัวเลือกอื่นๆ อยู่ ซึ่งรวมถึงผู้บริหารสูงสุดของ eBay เว็บประมูลชื่อดัง แม้ว่าในที่สุด Iger จะได้รับเลือกก็ตาม

แต่การที่ Iger ได้รับเลือกก็กลับสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในความนิยมคัดเลือก CEO อีกอย่าง นั่นคือ แทนที่จะให้ความสำคัญกับการนำคนนอกที่มีชื่อเสียงมาเป็น CEO เหมือนที่เคยนิยมในช่วงทศวรรษ 1990 คณะกรรม การบริษัทในทุกวันนี้กลับมองเห็นคุณค่าของลูกหม้อของบริษัทมากกว่า

กฎข้อที่ 3 : CEO พึงตระหนักว่า คุณไม่ใช่เจ้านาย คณะกรรมการบริษัทต่างหากที่เป็น

ตำราบริหารธุรกิจก็สอนไว้อย่างชัดเจนว่า คณะกรรมการ ของบริษัทคือผู้มีอำนาจสูงสุด แต่เท่าที่ผ่านมา CEO มักมีอำนาจ มากกว่าคณะกรรมการ

แต่มาถึงวันนี้ เนื่องจากกฎหมายใหม่ของสหรัฐฯ ที่ชื่อ Sarbanes-Oxley และการที่ศาลสหรัฐฯ พุ่งเป้าไปที่กรรมการบริษัทให้เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ หากบริษัทประสบปัญหาจึงเป็น แรงกดดันให้คณะกรรมการบริษัทต้องเริ่มแสดงบทบาท ซึ่งหมายความว่า ต่อนี้ไป CEO จะต้องเปิดสายพร้อมที่จะรับการติดต่อจากกรรมการบริษัทได้ทุกเมื่อ

ในยุคที่กรรมการบริษัทกลัวว่าบริษัทของตนจะเดินซ้ำรอยบริษัทอย่าง WorldCom หรือ Enron ที่ล่มสลายเพราะบกพร่องเรื่องบรรษัทภิบาล พวกเขาต้องการรับทราบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทในทันทีที่มันเกิดขึ้น และก่อนที่หนังสือ พิมพ์จะลงข่าวว่า คุณในฐานะ CEO ประกาศลาออกเพื่อ "ขอใช้ เวลาอยู่กับครอบครัว"

กฎข้อที่ 4 : CEO ยุคขวัญใจประชาชน

หมดยุคแล้วกับการทำตัวเป็น CEO ที่เอาแต่ทำตนให้เป็น ที่เคารพเกรงกลัว โดยไม่พยายามทำตัวให้เป็นที่รักใคร่ของพนักงาน เพราะคุณอาจถึงกับต้องสูญเสียตำแหน่งหากไม่เป็นที่ชื่นชอบของใครๆ

ตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ก็คือ Carly Fiorina แห่ง HP ซึ่งการที่เธอไม่เป็นที่ชื่นชอบในหมู่พนักงานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอต้องสูญเสียการสนับสนุนจากกรรมการบริษัท

และควรจะกล่าวถึงตัวอย่างที่เกิดขึ้นในแวดวงนักวิชาการ เมื่อเร็วๆ นี้ด้วยคือ การที่ Larry Summers อธิการบดีมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ถูกลงคะแนนไม่ไว้วางใจจาก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชื่อดังดังกล่าว

ความไม่พอใจผู้บริหารในหมู่พนักงานสามารถแพร่สะพัดไปได้อย่างรวดเร็วในยุคนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Internet, email และ webblog เว็บไซต์ส่วนตัวที่หลายคนเชื่อว่ากำลังจะมาแทนที่ email ซึ่งทำให้พนักงานกล้าระบายความรู้สึกที่แท้จริงที่มีต่อผู้บริหาร

ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของ CEO ในยุคปัจจุบันนี้ CEO พึงตระหนักว่า โลกทุกวันนี้มีความโปร่งใสมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนอย่างมาก CEO จึงต้องซื่อสัตย์ที่จะบอกทั้ง ข่าวดีและข่าวร้าย

กฎข้อที่ 5 : หัวโขนกับอำนาจที่แท้จริง

แค่ 4 ข้อที่ผ่านมา ก็คงไม่มีใครอยากจะเป็น CEO กันอีกแล้ว ผลสำรวจผู้บริหารบริษัทที่ติดกลุ่ม Fortune 1000 ในปี 2001 พบว่าผู้บริหาร 27% ไม่คิดอยาก เป็น CEO แต่ในปี 2004 ตัวเลขดังกล่าวยิ่งพุ่งพรวดขึ้นถึง 60% อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่สูงลิ่วและธรรมชาติของมนุษย์ที่กระหายในอำนาจ ยังคงทำให้มีใครบาง คนที่ยังต้องการจะเป็นเจ้านายอยู่เสมอ แต่ เขาคงจะต้องตระหนักว่า ในยุคสมัยนี้การมีตำแหน่งเป็นเจ้านายสูงสุดกับการมีอำนาจ ที่แท้จริง อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

แปลและเรียบเรียงจาก
Newsweek March 28, 2005
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us