Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2526
เบื้องหลังการปลุกบริษัทที่เละให้ดีขึ้น             
 


   
search resources

Computer
ซัมมิท คอมพิวเตอร์, บจก.
อมร ถาวรมาศ




“ผมมาอยู่ที่นี่ ขณะที่ไฟกำลังไหม้”

ผม-นั้นไม่ใช่ใครที่ไหน เขาชื่ออมร ถาวรมาศ และที่นี่ก็คือบริษัท ซัมมิท คอมพิวเตอร์ จำกัด ซึ่งมี “ผม” เป็นกรรมการผู้จัดการนั่งอยู่ในห้องกว้างที่สุดบนชั้น 8 ของตึกสีลม ใกล้ๆ หัวมุมถนนชื่อเดียวกัน

“ผู้จัดการ” เปิดฉากอย่างเป็นทางการกับคุณอมร เบ็ดเสร็จเป็นช่วงเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ประสบการณ์ที่พรุ่งพรู ออกมาในฐานะคนในวงการคอมพิวตอร์หลายสิบปี และใน 5 ปีที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ นี้ นั่งแป้นในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของบริษัท ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ยูนิแวคแต่ผู้เดียวในประเทศไทย สัมผัสแรกเมื่อก้าวเข้ารับรับตำแหน่งนี้ สรุปให้ได้ใจความกระชับที่สุดก็ดังประโยคข้างต้น

และถึงคุณอมรไม่ได้กล่าวออกมาตรงๆ ว่าเขาดับไฟที่กำลังลุกสำเร็จหรือไม่ แต่จากข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซัมมิท คอมพิวเตอร์ เพิ่งจะแยกจากแผนกเล็กๆ แผนกหนึ่งของบริษัทซัมมิท อินดัสเตรียล มาตั้งเป็นบริษัทต่างหากด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มียอดขาย 10 ล้านบาท และมีพนักงานเพียงไม่เกิน 20 คน เปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน ที่มียอดขายพุ่งขึ้นเป็น 50 ล้านบาท กับพนักงานที่เพิ่มขึ้นเป็น 80 ย่อมช่วยตอบคำถามให้แล้วอยู่ในตัว

ประเด็นที่น่าสนใจจริงๆ อยู่ที่ว่าอะไรก็คือ “ไฟ” ที่คุณอมรประสบ และในเวลาต่อมา “ไฟ” นั้นมอดลงได้อย่างไร “ผู้จัดการ” เชื่อว่าสิ่งที่คุณอมรช่วยเล่าให้ฟังอย่างเปิดอกตรงไปตรงมานี้ นับเป็นเคสสตัดดี้ที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อผนวกเข้ากับช่วงปัจจุบัน ที่บริษัทขายคอมพิวเตอร์กำลังเห่อออกมาปรากฏตัว จนนักสังเกตการณ์ผู้ช่ำชองอดวิจารณ์ไม่ได้ว่า “สักช่วงคงต้องล้มกันระเนระนาดบ้างล่ะ”

รู้จักกับซับมิท คอมพิวเตอร์

คงเป็นการเริ่มต้นที่ไม่สมบูรณ์อย่างแน่นอน ถ้าจะกล่าวซับมิท คอมพิวเตอร์ โดยไม่กล่าวถึงนักธุรกิจชื่อกระฉ่อน นามว่า ซี เจ ฮวง คุณอมรเล่าถึงการเริ่มต้นเอาคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ สเปอรี่ ยูนิแวค เข้ามาขายว่า “เป็นฝีมือ ของนายฮวง”

“ซัมมิทเริ่มด้วยการนำเครื่องสเปอรี่ ยูนิเวค เข้ามาใช้ในงานเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันที่บางจาก ซึ่งทำให้ต้องมีเซอร์วิส เซ็นเตอร์ขึ้นมา มีพวกช่างซึ่งมีโปรแกรมสำหรับซัปพอร์ตโรงกลั่น ใช้ไปสักพัก ซี เจ ฮวง ก็เกิดไอเดียว่าขายคอมพิวเตอร์นี่น่าจะไปได้ดีในอนาคต เลยติดต่อขอเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ สเปอรี่ ยูนิแวค เสียเลย

ตรงจุดนี้แหล่งข่าวระดับสูงซึ่งรู้เรื่องดีเคยบอกกับ “ผู้จัดการ” ว่า

ประเด็นของแรงบันดาลใจถึงอนาคตของคอมพิวเตอร์ที่ความต้องการใช้จะต้องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นข้อเท็จจริงแน่ๆ เรื่องหนึ่ง แต่ประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามอีกอย่างก็คือ ซี เจ ฮวง ตัดสินใจซื้อเครื่อง ยูนิแวค เข้ามาใช้นั้น ก็เพราะเจ็บช้ำการให้บริการของคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งซับมิทเคยใช้อยู่เดิมและแหล่งข่าวระดับสูงยังบอกอีกว่า “พอฮวงตัดสินใจจะเป็นตัวแทนจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารคนอื่นๆ ของซับมิท อินดัสเทรียล โวยวายกันใหญ่เขาเห็นว่าเป็นธุรกิจที่ไม่อยู่นไลฟ์นี้ ฮวงต้องสู้อย่างหนักกว่าจะตั้งแผนกคอมพิวเตอร์ขึ้นในซับมิท อินดัสเทรียล

แต่ฮวงก็คือ ฮวง ซัมมิทก็คือซัมมิท ซึ่งไม่ใช่ของฮวงคนเดียว ในขณะที่กิจการหลักของบริษัทแม่ถูกทุ่มให้กับการค้าน้ำมันอย่างสุดตัว แผนกคอมพิวเตอร์ที่ตั้งขึ้นใหม่กลับถูกวางอันดับในฐานะเมียน้อย ที่สามีไม่ค่อยยอมส่งเสียเลี้ยงดู ถึงจะขายได้บ้างก็เพียงกระผีก และที่เลวร้ายที่สุดก็คือ ไม่มีการลงทุนด้านการซัปพอร์ตลูกค้าอย่างจริงจัง “พนักงาน ขณะนั้นนอกจากผู้จัดการแผนก เลขา คนเก็บไฟล์เอกสาร 3 คน และฝ่ายช่างแล้ว ไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านอื่นเลย เซอร์วิส เซ็นเตอร์ถึงจะจัดให้อยู่ในแผนกคอมพิวเตอร์ แต่เขาก็ถือว่าเขาเป็นอิสระ หน้าที่หลักก็คือซัปพอร์ตงานของซัมมิทฯ และโรงกลั่นให้ดีที่สุด คนอื่นไม่เกี่ยว ลูกค้ารายอื่นไม่สน” แหล่งข่าววงในคนหนึ่งเล่าสถานการณ์ในช่วงเริ่มต้นจนถึงก่อนหน้าจะแยกออกมาตั้งเป็นบริษัทเอกเทศ

หลัง 14 ตุลาคม 2526 จากเหตุการณ์ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนทางการเมืองอย่างพลิกฝ่ามือ ซี เจ ฮวง คงจะเริ่มคิดแล้วว่าธุรกิจที่เขาจับอยู่ในประเทศนี้ล้วนแยกไม่ออกจากความผันแปรทางการเมือง เขาเริ่มไม่แน่ใจใครจะขึ้นมาเป็นใหญ่ในประเทศนี้ และคนที่ขึ้นมานั้นจะเอาอย่างไรกับเขาและกิจการของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ซัมมิท อินดัสเทรียล ซึ่งถือสัมปทานโรงกลั่นบางจาก

ช่วงปี 19 ถึงปี 20 ความพยายามที่จะแยกแผนกคอมพิวเตอร์ออกมาเป็นบริษัทต่างหาก ก็ค่อยๆ เริ่มขึ้น และสำเร็จเมื่อต้นปี 2521 แน่นอนว่าสิ่งที่จะต้องติดตามมา ก็คือ พนักงานจำนวนหนึ่งของแผนกที่ต้องแยกออกมาเสียความรู้สึกอย่างแรง พวกเขาไม่มั่นใจว่าเมื่อแยกออกมาแล้วจะดีกว่าอยู่กับซัมมิท อินดัสเตียล ซึ่งมียอดขายปีละเป็นหมื่นๆ ล้านบาทได้อย่างไร ผู้จัดการแผนกเป็นคนหนึ่งที่เปิดหมวกอำลา ไม่ยอมรับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปอันสุดแสนจะมีเกียรติ

“ไม่ค่อยมีใครเข้าใจการตัดสินใจของฮวง เมื่อผมพบฮวง ซึ่งเขาเน้นว่ายูต้องยืนให้ได้บนขาของตนเองนะ เราดีลกับรัฐบาลเรามีโพลิติก พรอบเบลม ดังนั้น ยูต้องยืนของยูให้ได้”

อมร ถาวรมาศ กล่าวในตอนหนึ่ง และถ้าฮวงยังไม่ตัดสินใจทิ้งเมืองไทยไปทำมาหากินที่อื่น เขาอาจจะดีใจเป็นอย่างยิ่งก็ได้ที่มีคนทำให้ความตั้งใจของเขาเป็นจริงขึ้นมาแล้ว แต่นี่เสียดาย ที่ตอนนี้ นายฮวง แกก็ยังถือหุ้นอยู่ ยังมีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการคนหนึ่ง แต่ไม่เคยแวะเข้ามาดูหลายปีแล้ว” คุณอมรกล่าวกับ “ผู้จัดการ”

การตัดสินใจครั้งสำคัญ

“ผมจบจากพาณิชยการพระนคร ด้านการขาย พอจบก็เข้าทำงานกับบริษัท ยิบอินซอย แผนกออฟฟิศแมชชีน อ้า..ออฟฟิศอิควิปเม้นท์ ขายพวกเครื่องบวกเลข ยังไม่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์อย่างปัจจุบัน เป็นพวกเครื่องจักรกลแล้วก็พวกตู้เซฟ ตู้เอกสาร ไปจนถึงกล่องใส่ขยะ ทุกอย่างที่เป็นของใช้สำนักงาน ตอนนั้นประมาณ ปี 2506-2507 แรกๆ ก็เป็นนักขายฝึกหัด ต่อๆ มา ก็เป็นเซลส์จริงๆ ค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นมา” คุณอมรช่วยปูพื้นเมื่อ “ผู้จัดการ” เริ่มถามเข้าสู่ประเด็นว่าเข้ามาเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อย่างไรและเมื่อใด

“ต่อมายิบอินซอยจะเอาคอมพิวเตอร์ยี่ห้อเบอร์โร่ว์เข้ามาขาย ผมก็เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง”

คุณอมรเล่าว่าช่วงนั้นเครื่องไอบีเอ็มติดตั้งเป็นเครื่องแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และธนาคารกรุงเทพก็ใช้คอมพิวเตอร์แล้ว

“ดีลแรกที่เราได้มามันมากเรียกได้ว่า เป็น “โปรเจ็กต์ดำดิน” คือเราไม่ยอมประกาศว่าเราจะเอาคอมพิวเตอร์เบอร์โร่ว์ไว้ขาย เราติดต่อไปที่ธนาคารกสิกรไทย โปรโฟสเบอร์โร่ว์เข้าไป ทำกันเงียบที่สุด ขนาดพนักงานในยิบอินซอยก็ไม่รู้ จนกสิกรไทยโอเคเราจึงประกาศออกมาเปรี้ยง” และจากการที่ต้องทำ “โปรเจ็กต์ดำดิน” ชิ้นแรกในชีวิตการขายคอมพิวเตอร์นี่แหละ ทำให้คุณอมรยอมรับว่า “มันทำให้ผมเข้าใจคอมพิวเตอร์ได้มาก เพราะต้องอ่านเอง ค้นคว้าเอง จะไปถามใครก็ไม่ได้ เดี๋ยวความลับรั่ว เลยต้องใช้ความพยายามที่จะทำความเข้าใจอย่างมาก มากกว่านั่งให้คนอื่นเขายัดๆ ความรู้เข้ามา”

และที่มันยิ่งกว่านั้นก็คือ หลังจากดีลแรกนี้สำเร็จ คุณอมรถูกยิบอินซอยส่งไปเข้าคอร์สอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของเบอร์โร่ว์ทันทีที่ประเทศอังกฤษ” ว่ากันตั้งแต่วัท อีส คอมพิวเตอร์ทีเดียว คนที่เข้าคอร์สก็ไม่เคยรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน ผมเองก็ไม่ได้รู้มาก เพียงแต่ก่อนหน้ามาเข้าคอร์สก็ขายคอมพิวเตอร์บะเริ่มเทิ่มไปแล้วหนึ่งเครื่อง”

มีภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า การเริ่มต้นที่ดีมักจะสำเร็จไปแล้วครั้งหนึ่งจากดีลแรกที่ขายให้กสิกรไทย เครื่องเบอร์โร่ว์ ก็ทำท่าวิ่งฉิวพร้อมๆ กับหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณอมรถูกยกระดับขึ้นเรื่อยๆ

“ผมเป็นคนเดียวและคนแรกในตอนนั้นที่ได้รับการโปรโมตจากยิบอินซอยให้ขึ้นมาเป็นไดเร็กเตอร์ของบริษัทในเครือ ทั้งที่ผมไม่ใช่คนที่ใช้นามสกุล ยิบอินซอย ลายเลิศ หรือชูตระกูล

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเพิ่มอายุให้ตัวเองมากขึ้นและมากขึ้น วาระที่จะต้องกล่าวคำอำลาก็มาถึง สาเหตุของการตัดสินใจ คุณอมรบอกว่า “อยากจะเก็บไว้กับตัว”

“ผมอยู่ที่นั่นจนครั้งสุดท้าย รั้ง 3 ตำแหน่ง คือผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการของบริษัทไทยแลนด์ คอมพิวเตอร์ เป็นดาต้า เซ็นเตอร์ของเบอร์โร่ว์ เป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของเบอร์โร่ว์ และเป็นผู้จัดการฝ่ายด้วย”

ที่จริงก่อนตัดสินใจลาออก แผนการในชีวิตวาดฝันไว้นั้น กำหนดว่าจะไปร่วมงานกับเบอร์โร่ว์ที่เมืองนอก แต่เมื่อออก พบประกาศรับสมัครผู้จัดการทั่วไปของซับมิท คอมพิวเตอร์ ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับหนึ่ง คุณอมรก็ตัดสินใจยกเลิกกำหนดการเดิมที่อุตส่าห์วางไว้อย่างคร่ำเครียดเสียเฉยๆ อย่างนั้นแหละ

ครั้นแล้วในวันที่ 30 มิถุนายน ปี 2521 ใบลาออกของอมร ถาวรมาศ ก็ถูกยื่นไปถึงธวัช ยิบอินซอย พร้อมกับประกาศในงานเลี้ยงที่ถือว่าเป็นการอำลาไปด้วยในตัวว่า “ผมจะไปร่วมงานกับซับมิท”

สิ่งที่อมรจะต้องจดจำไปชั่วชีวิตก็คือ ทุกคนที่เป็นเพื่อนร่วมงานร้องได้คำเดียวว่า “ยี้”

ที่นี่ไฟกำลังไหม้

“ก่อนเข้ามาทำงานผมใช้เวลาสำรวจแล้ว 1 อาทิตย์ สำรวจโปรดักต์ว่าเครื่องยูนิแวคนี่เป็นอย่างไร สำรวจบริษัทว่าภาพลักษณ์ดีไหม แล้วผมก็พบว่าที่นี่ไฟกำลังไหม้ ลูกค้ากำลังบ่นกันอู้ ไปที่ไหนมีแต่คนบอกว่าจะคืนเครื่อง ผมทราบดีว่ามันจะต้องเป็นงานหนักอย่างยิ่งสำหรับผม แต่อีกด้านหนึ่งผมถือว่ามันเป็นงานท้าทาย

“ผมเข้ามารับงานทั้งที่ผมขอเวลา 1 เดือน แต่ผมก็มาทำงานทันทีเป็น 1 เดือนเต็มๆ ที่ไม่ได้เงินสักบาท แล้วผมก็พบว่า นอกจากผมแล้วที่นี่ไม่มีอะไรสักอย่าง ไม่มีเจ้าหน้าที่ ไม่มีคนซัปพอร์ต มีแต่เซอร์วิส เซ็นเตอร์ข้างล่างที่เขาอยู่เป็นเอกเทศ ตัดขาดจากการบริหารของบริษัท และไม่สนใจจะเซอร์วิสลูกค้าข้างนอกก็ร้อนอยู่รุมๆ ข้างในก็มีปัญหา

สิ่งเหล่านี้สำหรับบริษัทที่ต้องทำธุรกิจดีลละเป็นสิบๆ ล้าน ถือเป็นปัญหาใหญ่หลวงเสียเหลือเกิน และเมื่อต้องคำนึงถึงจารีตการบริหารงานแบบ ซี เจ ฮวง ที่ไม่ค่อยมอบอำนาจเด็ดขาดให้ใครอย่างจริงจังแล้ว สิ่งที่คุณอมรประสบในระยะเริ่มแรกที่เข้าไปบริหารนั้น ต้องเรียกว่าทั้งสุดหินและสุดโหดจริงๆ

“ยังโชคดีที่พอผมเข้ามา ฮวงซึ่งใครมองว่าคบด้วยยากกลับให้อำนาจผมเต็มที่ ฮวงเจอผมก็บอกว่ายูทำงบค่าใช้จ่ายมาให้ไอดูหน่อย ผมรู้ดีว่างบค่าใช้จ่ายในความหมายของฝรั่งนั่นคืออะไร ผมก็ทำ ผมก็ทำเป็นเล่มหนาซักนิ้ว ในนั้นมีรายละเอียดหมด ตอบปัญหาที่เขาอยากทราบทุกข้อ พออ่านเสร็จ ฮวงบอก โอเค ยูรันเดอโอลบิสสิเนส แล้วจากนั้น ฮวงก็ไม่เคยดูเลยว่า ผมทำตามงบค่าใช้จ่ายที่ทำไปให้ดูหรือไม่ และจริงๆ แล้ว ผมก็ทำโดยไม่ได้เบสออนบัดเจ็ตนั้นเลย เรื่องมันอยู่ที่เมื่อเจ้าของเขาไว้ใจ เขาเชื่อมือเรา เขาก็มอบอำนาจให้เราจัดการเต็มที”

สำหรับการแก้ปัญหา ซึ่งคุณอมรบอกว่าทั้งปัญหาข้างนอก อันได้แก่ความหมดอาลัยตายอยากของลูกค้า เนื่องจากไม่ได้รับบริการเลยและปัญหาภายในที่จะต้องสร้างระบบระเบียบขึ้นมาใหม่ จากไม่มีให้มีนั้นเขาเล่าออกมาเป็นด้านๆ ว่า

“ผมต้องวิ่งไปพบลูกค้าของเราทุกคน สัญญาว่าทุกอย่างจะต้องดีขึ้น ขอให้เขาอดทนให้เวลาผมหน่อย มีลูกค้ารายหนึ่ง ตอนนั้นผมยังอยู่เบอร์โรว์ พอเขาเปิดประมูลเขาประกาศเลยว่า ยูนิแวค ไม่ต้องเข้า ผมเองยังดีใจว่าหมดคู่แข่งไปอีกราย อีกไม่นานผมเข้ามาอยู่ซับมิทฯ ผมก็ไป พบเขาใหม่บอกเขาว่า ผมมาอยู่ซับมิทแล้วนะ แล้วผมก็ได้ดีลนั้น ปัจจุบันเขาเป็นลูกค้าที่แฮปปี้กับเรามาก”

“สำหรับปัญหาภายใน ผมเริ่มจากบัญชีก่อน ถึงไม่ค่อยมีการเรคคอร์ด ก็ขอดูที่มีหลักฐานมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การดูบัญชีนี่ทำให้เราทราบนโยบายของบริษัทที่ผ่านมาว่าคุณขี้เหนียวไหม ใจกว้างหรือเปล่า ดูจากการสต๊อกของนี่ เราพอทราบและทำให้นโยบายแก้ปัญหาเข้าจุด ต่อมาผมดูเปอร์วอนนอล ไฟล์ ศึกษาผู้ร่วมงานทุกคน เริ่มทำความรู้จักกับแต่ละคน สร้างเทคนิคคอลซัปพอร์ต แล้วก็ฟอรัมอัปเดอะคอมปะนี”

คุณอมรกล่าวว่าต้องใช้เวลากว่า 6 เดือน ทุกอย่างจึงเริ่มเข้ารูปเข้าร่าง และนับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สามารถยืนผงาดขึ้นมาจนทุกวันนี้

ผมตั้งใจจะอยู่เพียง 2-3 ปี

กับ “ผู้จัดการ” คุณอมรบอกว่าความตั้งใจแรกสุดก่อน เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดที่ซับมิทนั้น “ผมตั้งใจว่าจะอยู่ซัก 2 ปี อย่างมากก็คงไม่เกิน 3 ปี แต่ถึงขณะนี้ผมอยู่มาแล้ว 5 ปี และยังไม่มีวี่แววจะขยับไปที่ไหน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมันยังมีปัญหาที่ท้าทายผมอยู่ไม่ได้ขาด”

หลังจากบริษัทเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ได้เพื่อนร่วมงานมีฝีมือเข้ามาเพิ่ม ทุกอย่างกำลังจะเดินหน้าไปได้ดี บริษัทแม่ คือซับมิท อินดัสเทรียลก็มีปัญหาเรื่องโรงกลั่นถูกยึดคืนในปี 2524 เขากล่าวว่า “ถึงจะแยกตัวมาเป็นอิสระ แต่ผลสะเทือนด้านขวัญกำลังใจทั้งต่อลูกค้าและพนักงานของบริษัทแล้ว รุนแรงไม่เบา ผมต้องตระเวนออกพบลูกค้า ชี้แจงให้เขาฟังว่ามันไม่เกี่ยวกัน เจอลูกค้านี่ ผมบอกก่อนเลยไม่ต้องรอให้เขาถาม เพราะผมทราบดีว่าเขาต้องถามแน่ หลายเดือนทีเดียวกว่าที่ขวัญกำลังใจจะถูกเรียกกลับคืนมา”

เท่านั้นยังไม่พอ “ต่อมาพอพักหายใจได้นิดหนึ่ง ซัมมิท ออยล์ เกิดจะขายทรัพย์สินให้คาลเท็กซ์ขึ้นมาอีก ผมกับเพื่อนร่วมงานก็ต้องวิ่งออกไปอีกรอบชี้แจงให้กับลูกค้าฟังอีก ถึงตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่สภาพปกติ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us