ธุรกิจประกอบชิ้นส่วนรถยนต์โลกไม่มีใครไม่รู้จักบริษัททีอาร์ดับเบิลยู
(TRW)ส่วนเมืองไทยคงน้อยคนนัก ที่รู้จัก แต่หลังจากนี้จะรู้จักมากขึ้นเมื่อเข้ามาเปิดโรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ในไทย
TRW กำเนิดขึ้นเมื่อปี 1901 ในคลีฟแลนด์ โฮไอโฮ โดยใช้ชื่อบริษัทว่า Cleveland
Cap Screw ทำการผลิต cap screw จากจุดเริ่มต้นได้พัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจ เพื่อเข้าสู่ผลิตภัณฑ์
engine valves เพื่อจำหน่ายให้ กับอุตสาหกรรมรถยนต์
ปี 1908 เปลี่ยนชื่อเป็นอิเล็ก ทริก เวลดิ้ง ในปี 1915 ชาร์ล ทอมป์ สัน
ซื้อกิจการสตีล โปรดักส์ แต่ก่อน เป็นของอิเล็กทริก เวลดิ้ง ในที่สุด สตีล
โปรดักส์ เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ทอมป์สัน โปรดักส์
ในปี 1958 ทอมป์สัน โปรดักส์ รวมกิจการเข้ากับเดอะ เรโมวูลดริดจ์ คอร์ปอเรชั่น
แล้วกลายเป็นบริษัททอมป์สัน-เรโม-วูลดริดจ์ อีก 3 ปีถัดมา ได้รวมกิจการกับเทเวสแอนด์โค
ของเยอรมนี
ปี 1965 ทอมป์สัน-เรโม-วูล- ดริดจ์ เปลี่ยนชื่อเป็น TRW พร้อมกับซื้อบริษัท
ยูไนเต็ด-คาร์, บริษัทแคม เกียร์ส ทำธุรกิจชุดฟันเฟืองสะพาน และ เฟืองพีเนียน
ถัดมาอีก 4 ปี ซื้อบริษัท อีเรนไรค์แอนด์ซี ผู้ผลิตระบบส่วนประกอบพวงมาลัย และระบบเลี้ยว
ปี 1972 เข้าสู่ธุรกิจอุปกรณ์ระบบบังคับรถยนต์ด้วยการซื้อกิจการของ Repa
Feinstanzwerk GmbH ถัดมาอีกปีเข้าซื้อบริษัทเวอร์เนอร์ เมสส์เมอร์ เคจี
ที่ทำธุรกิจ electro mechanical switch ต่อมาปี 1997 เข้าถือหุ้น 80% ใน
แมกนา อินเตอร์เนชั่นแนล ทำธุรกิจพวงมาลัยรถยนต์ และถุงลมนิรภัย รวมทั้งการเข้าซื้อบริษัท
บีดีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล
ล่าสุดปี 1998 TRW ร่วมทำธุรกิจ บริษัทลูคัส วาไรตี้ ที่ดำเนินธุรกิจ electric
power assisted steering และปีที่ผ่านมา ซื้อกิจการทั้งหมดของลูคัส วาไรตี้ด้วยเม็ดเงิน
7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ตั้งแต่วันนั้น เป็นต้นมา TRW กลายเป็นผู้นำด้านผู้ผลิตระบบช่วงล่างรถยนต์ของโลก
มีโรงงานอยู่ใน 30 ประเทศทั่วโลก และปีที่แล้วสร้างยอดขายรวมได้ถึง 17 พันล้านเหรียญสหรัฐ
อดีต ที่ผ่านมา TRW มุ่งดำเนินธุรกิจในอเมริกา เหนือ และยุโรป สังเกตได้จากยอด
ขาย 46% มาจากอเมริกาเหนือ 47% มาจากยุโรป ขณะที่ในละตินอเมริกา และเอเชีย
มีส่วนแบ่งยอดขายเพียง 3% และ 4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามนับจากนี้ไป TRW ให้ความสำคัญในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เพราะในสายตาของ
TRW ภูมิภาคนี้จะเติบโตขึ้นมากในอนาคต ล่าสุดเข้ามาเปิดโรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย
ด้วยวงเงิน 2.6 ล้านเหรียญ สหรัฐ (ประมาณ 104 ล้านบาท) "เรารู้สึก ดีใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย
เราเชื่อว่าจะสนับสนุนลูกค้าให้เจริญรุดหน้า และก้าวทันกับความเติบใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก" ไมค์ ลาห์เนอร์ ผู้อำนวยการ TRW ออโตโมทีฟ อาเซียน
กล่าว
โรงงานแห่งนี้ดำเนินการประกอบ ชิ้นส่วนช่วงล่าง 4 ประเภท ได้แก่ ชุดระบบกันสะเทือน และดิสก์เบรกด้านหน้า
ชุดโครงรองรับเครื่องยนต์ด้านหน้า รวมถึงพวงมาลัยไฟฟ้า ที่ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิก
ชุดกล่องแป้นบังคับพร้อมลมเบรก และชุดเพลาท้ายพร้อมระบบเบรก โดยจะผลิตให้กับเจนเนอรัล
มอเตอร์ส ประเทศไทย (จีเอ็ม)
สำหรับอีกโรงงานหนึ่ง ซึ่งเป็นของลูคัส วาไรตี้ ที่เข้ามาเปิดโรงงานผลิตระบบพวงมาลัย และระบบกันสะเทือน
เมื่อปี 1998 ด้วยเงินลงทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จากนี้ไปโรงงานนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
TRW ส่งผลให้ TRW ในไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในทันที
"ด้วยการผนึกกำลังของโรงงานสองแห่งนี้ทำให้เชื่อว่าจะสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
ให้แก่เรา และคาดว่าปีนี้จะทำยอดขายเฉพาะในไทยได้ประมาณ 60 ล้านบาท" คริส
เฟนตั้น ผู้จัดการโรงงานประกอบระบบช่วงล่าง TRW ในประเทศไทยกล่าวตบท้าย
ด้านสตีฟ ไซน์เด็ค ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาลูกค้าประจำภูมิภาคอาเซียน จีน
เกาหลี ของทีอาร์ดับเบิลยู เชสซิส ซิสเต็มส์บอกว่า บริษัทมีความมุ่งมั่น ที่จะตอบสนองแก่ลูกค้า และด้วยการลงทุน
ในครั้งนี้ได้ตอกย้ำให้เห็นว่าจีเอ็ม มีความ มั่นใจเต็มเปี่ยมว่า
"เรามีความสามารถ ที่จะตอบสนองความต้องการของค่ายรถจีเอ็ม
ที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกได้อย่างแน่นอน"
ส่วนโรงงานผลิตระบบพวงมาลัย และระบบกันสะเทือนจะเป็น ผู้จัดหาชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยวให้กับรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด และมาสด้า