Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2526
ธนาคารนครหลวงไทย วรรณกรรมสามก๊ก ยุคกรุงเทพ 200 ปี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล
Banking
บุญชู โรจนเสถียร




เมื่อพ่อค้า ขายนาฬิกาจะมาเป็นนายธนาคารมืออาชีพ เมื่อนายธนาคารมืออาชีพมีลูกน้องส่วนใหญ่ที่มือไม่อาชีพจริง

เมื่อสองฝ่ายรบกันก็มีแต่เจ๊งกับเจ๊า!

ในชีวิตลุง การตัดสินใจที่ผิดพลาดที่สุด คือการยอมรับให้ชัยโรจน์ดึงตัวลุงเข้าไปบริหารงานในธนาคารนครหลวงไทย”

บุญชู โรจนเสถียร พูดกับผู้มีศักดิ์เป็นหลานคนหนึ่ง

บุญชู โรจนเสถียร เป็นไหหลำ ดิเรก ดิลก และชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุลก็เป็นไหหลำ

บุญชู โรจนเสถียร เป็นนักธนาคารมืออาชีพ และนักการเมืองสมัครเล่น มหาดำรงค์กุล เป็นพ่อค้ามืออาชีพ และเป็นนายธนาคารมือสมัครเล่นที่ต้องการจะเป็นมืออาชีพ

เมื่อมืออาชีพเจอมือสมัครเล่นที่ต้องการเป็นมืออาชีพ ผลที่ออกมากลับดูเหมือนว่ามืออาชีพเกือบจะกลายเป็นมือสมัครเล่น และมือสมัครเล่นก็ปรับระดับมือขึ้นมาจนเกือบเป็นมืออาชีพได้เหมือนกัน

ความจริงแล้ว มหาดำรงค์กุล กับโรจนสถียร นั้นก็รู้จักมักจี่กันมานานพอสมควร ทั้งทางด้านความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และความสัมพันธ์ส่วนตัว มหาดำรงค์กุล เลยขอพึงใบบุญบุญชู โรจนเสถียร ก็ไม่น้อย ตั้งแต่สมัยที่บุญชู ยังมีอำนาจวาสนาในธนาคาร และต่อมาในภาครัฐบาลเครื่องราชอิสรยาภรณ์ ของชัยโรจน์บางระดับ ก็เป็นของที่บุญชูเป็นผู้ขอให้ บุญชู เองก็ได้พึ่งพาอาศัย มหาดำรงค์กุล ก็ไม่น้อยเช่นกันในด้านกำลังทรัพย์ในทางการเมือง

“แต่คุณชัยโรจน์ คงจะได้จากการบุญชูมากกว่า เพราะโดยนิสัยแล้วคุณชัยโรจน์เป็นคนขี้เหนียวมาก” ผู้ใกล้ชิดของไหหลำทั้งสองเล่าให้ผู้จัดการฟัง

มีอยู่พักหนึ่งที่นาฬิกาไซโก้มีปัญหาเรื่องภาษีอากร และเรื่องภาษีนี้ก็หายเงียบไปอย่างไม่มีเหตุผล “คุณก็น่าจะรู้ว่าใครช่วยไว้” เจ้าหน้าที่สรรพกร ซี 5 พูดให้ฟัง

ความสัมพันธ์ของมหาดำรงด์กุลกับบุญชู โรจนเสถียร ก็ยังคงดุว่าไปได้ดีพอสมควร แม้กระทั่งการจัดงิ้วไหหลำจากแผ่นดินใหญ่ เพื่อหารายได้เข้าสมาคมธรรมศาสตร์ที่บุญชูเป็นนายกอยู่สมัยหนึ่ง ก็เป็นฝีมือการร่วมทำของมหาดำรงค์กุล เพื่อบุญชู โรจนเสถียร

“คุณชัยโรจน์ แกพยายามมาดึงให้บุญชู เข้าไปร่วมในธนาคารนครหลวงฯ มาเกือบปีแล้ว แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงการรอจังหวะทางการเมืองของบุญชูอยู่ “ผู้ใกล้ชิดบุญชู โรจนเสถียร เล่ากับ “ผู้จัดการ”

เมื่อเหตุการณ์ทางการเมืองเริ่มลงตัว และมีแนวโน้มที่จะชี้ ให้เห็นว่า โอกาสของบุญชู ในการกลับเข้าไปทางการเมืองในระยะนี้หมดสิ้นไปแล้ว ก็เป็นจังหวะที่บุญชู จะต้องคำนึง มากที่จะต้องเดินต่อไป

ตึกดำที่เคยสง่าผ่าเผยด้วยธุรกิจชั้นแนวหน้า เช่น รามาทาวเวอร์ หรืออินเตอร์ไลฟ์ กลายเป็นอดีต เมื่อวันวานและในปัจจุบันของสุระ จันทร์สรีชวา กับสุพจน์ เดชสกุลธร ที่คนอย่างบุญชู ไม่ต้องการจะเข้าไปร่วมสังฆกรรมอย่างใกล้ชิดด้วย

ข้อเสนอของชัยโรจน์ จึงเป็นข้อเสนอที่ค่อนข้างจะน่าสนใจมากขึ้น!

“งานนี้ใครหลอกใครก็ไม่รู้ รู้แต่เพียงว่า เป็นการประดาบกันระหว่างจอมยุทธทั้งคู่” พนักงานของธนาคารนครหลวงไทยกล่าวกับ “ผู้จัดการ”

ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล ต้องการจะซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของเสี่ยเม้ง หรือมงคล กาญจนพาสน์ แต่ “คุณชัยโรจน์ซื้อด้วยตนเองไม่ได้ ต้องให้บุญชูออกหน้ามาเป็นคนเจรจา กับเสี่ยเม้ง และบุญชูก็ต้องหาคนมาร่วมซื้ออีกไม่เช่นนั้น คุณชัยโรจน์ซื้อไม่หมด เพราะกำลังเขาไม่มี” วิสิษฐ์ ตันสัจจา พูดกับ “ผู้จัดการ”

ปัญหาของมหาดำรงค์กุล คือปัญหาการเข้ามา และสร้างโครงสร้างของธนาคารขึ้นมาใหม่ ซึ่งพวก มหาดำรงกุลเองก็ทราบว่า ธนาคารนครหลวง ไทยเองก็เปรียบเหมือนแดนสนธยา

“ธนาคารนครหลวงฯ ล้าหลับเป็นสิบ ๆ ปี เลยมันก็ต้องแก้กันทุกจุด” บุญชู โรจนเสถียร บ่นให้ผู้ใกล้ชิดฟัง

ว่ากันว่าชัยโรจน์ ได้เงินการซื้อหุ้นส่วนหนึ่งมาจากนายหน้า ชิน โสภณพนิช “แต่คงไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรอก เพราะเขากับคุณชิน รู้จักกันมานาน และอีกอย่าง พวกมหาดำรงค์กุล มีเงินอยู่ที่ฮ่องกงเยอะ เครดิตพวกนี้ดีมาก” แหล่งข่าวรายหนึ่งพูดให้ฟัง

ในความคิด ของพวกมหาดำรงค์กุล ในการดึงบุญชูเข้ามาร่วมนั้น ถึงแม้ จะมีผู้ให้ความเห็นว่า บุญชู หลอกเข้ามาเพื่อใช้ชื่อ และบารมี พร้อมทั้งโรงสร้าง

ในการทำงานและค่อยตัดท้องไปแล้ว แต่เมื่อดูลักษณะตามเหตุการณ์ และข้อเท็จจริง แล้ว บุญชู คงไม่ได้ถูกหลอก เข้ามาอย่างที่เข้าใจ แต่จุดมุ่งหมาย ตามเหตุการณ์ของพวกมหาดำรงค์กุล คงจะต้องการเอาบุญชู เข้ามาจัดโครงสร้างและสอน พวกมหาดำรงค์กุลทำธนาคารมากกว่า

โดยให้พวกมหาดำรงค์กุล เป็นผู้บริหาร

แต่บุญชู ก็คือบุญชู เพราะบุญชูคิดว่า เมื่อพวกมหาดำรงค์กุล ต้องการให้เข้าไปช่วยบริหาร นั่นย่อมหมายถึงการจัดทีมเข้าไปจัดการให้ตั้งแต่ต้นจนจบ

“ผมยังทำงาน อยู่ที่บริษัท วิทไทยอินเตอร์ เนชั่นแนล ประมาณสักเดือนธันวาคม คุณบุญชู ท่านโทรมาว่า ท่านรับปากคุณชัยโรจน์ว่า จะไปช่วยงานเรื่องแบงก์ และท่านขอให้ผมมาช่วยบริหาร ผมก็รับปากว่า เมื่อท่านต้องการผม ผมก็ยินดี ไม่มีการพูดว่าเข้าไปจะให้ผมทำตำแหน่งไหน เงินเดือนเท่าไหร่ ผมไม่ถามท่าน ท่านไม่พูด ท่านบอกว่า ท่านจะกระโดดลงเอง บอกผมว่า เขามอบหมาย อำนาจสิทธิที่จะให้ท่าานในการทำงานได้เต็มที่

สิทธิที่คุณบุญชู บอกว่า คุณชัยโรจน์ ได้มามอบมาเต็มที่ เป็นเงื่อนไข ที่ทำให้วิสิษฐ์มั่นใจ ในการเข้าไปร่วมด้วย ทั้ง ๆ ที่ “อันที่จริงสิ่งแรกที่ผม ถามท่านนั้น ผมก็จำได้ และผม ก็ยังพูดกับท่านอยู่ เสมอว่า ที่ท่านได้ตกลงกับเขา เรื่องชวนพรรคพวกเข้าซื้อหุ้นที่ท่าน ได้มีโอกาส ได้ดู loan port folio ของธนาคารหรือยัง ท่านก็บอกว่า ก็ยัง ไม่ได้เข้าไปใคร จะให้ดูอะไรล่ะ ยูก็ต้องหาดูเอาบ้างข้างนอก เท่าที่ดูมา ก็คงเข้าไปช่วยไม่ได้ แก้ไขได้ผม ก็มีคำถามเดียวคือคำนั้น”

บรรยากาศในตึกดำ เมื่อต้นเดือนมกราคม เป็นบรรยากาศของการเปลี่ยนแปลง กันอย่างหนัก ในแง่ของผู้บริหารชั้นสูง รามาทาวเวอร์ กำลังอยู่ในช่วงเจรจา ขายให้ สุระ ศรีจันทร์ศรีชวาลา อินเตอร์-ไลฟ์ ได้ถูกขยายขยายไปแล้วพัฒนาเงินทุน และบริษัทบ้านและที่ดินไทยกำลังถูกวางแผนอย่างหนักว่า จะเดินทางไปทางใด ผู้บริหารระดับสูงบางคนเช่น ชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ลาออกไปเพราะความขัดแย้งกับวัฒนา ลัมพาสาราและพวก ส่วนสุธี นพคุณ กำลังเร่งจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่ค้างคาสะสม

การส่งวัฒนา ลัมพะสาระ และจิตตเกษม แสงสิงแก้ว ออกมาจึงเป็นการแก้ปัญหา ที่บูญชู คิดว่าดีที่สุด ซึ่งก็ลงตัวตามที่ได้วางหมากเอาไว้

“คนในนครหลวงฯ เชื่อว่า การให้จิตตเกษม แสงสิงแก้ว และวัฒนา ลัมพะสาระ มานครหลวงฯ นั้น เป็นการแก้ปัญหาลดความขัดแย้งในตึกดำได้ดีที่สุด และถ้าทุกอย่างเดินไปได้ ด้วยดี ก็เท่ากับเป็นการเสริมกำลังตึกดำด้วย” แหล่งข่าวเล่าให้ฟัง

ตึกดำ ในขณะนั้นธุรกิจลดลง เหลือเพียง บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พัฒนาเงินทุน จำกัด ซึ่งมีอนงค์ สุนทรเกียรติ เป็นประธานกรรมการบริาร และบริษัทบ้านและที่ดินไทย ( 1976) จำกัด บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บ้านและที่ดินไทย จำกัด เป็นหลัก ผู้บริหารระดับเสื้อนอก รถประจำตำแหน่งที่เหลือ อยู่ก็คงมีสุธี นพคุณ วัฒนา ลัมพะสาระ จิตตเกษม แสงสิงแก้ว ซึ่งจะต้องหาที่ลงที่ใดที่หนึ่ง

สุธี นพคุณ นั้นในระยะหลังแทบจะไม่มีบทบาทในตึกดำเลย เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจ ถูกโอนมาไว้ที่อนงค์ สุนทรเกียรติ ประธานกรรมการ บริหาร บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ พัฒนาเงินทุน จำกัด

วัฒนาและอนงค์นั้น โดยเปลือกดูจะเข้ากัน ได้ดี แต่วงใน ก็รู้ดี ว่าคงจะยากที่ทั้งคู่จะอยู่ร่วม โดยสันติ ได้เพราะวัฒนา เองก็สร้างฐานอำนาจของตัวเองไว้มากพอสมควรทั้งในการพัฒนาเงินทุน บ้านและที่ดินไทย แต่อนงค์เองก็มีผลงานในการหาเงินฝากให้กับการพัฒนา เงินทุน ก็มาแรงใน สายตาผู้ใหญ่

สุธี เอง บอบช้ำเกิน ไปกับรามาทาวเวอร์ และอินเตอร์ไลฟ์ ที่จะได้รับมอบอำนาจ คุมทุกอย่างเหมือนเดิม ฉะนั้นการจัดโครงสร้างใหม่ของตึกดำ- จึงต้องรีบด่วน และลดความขัดแย้ง ในระดับสูงออกไปเสีย

วัฒนา ลัมพะสาระ กับจิตเกษม แสงสิงแก้ว จึงถูกส่งเข้ามาเป็นผู้ช่วยวิศิษฐ์ ตันสัจจา ในการ วางโครงสร้าง ของนครหลวง

วันที่วิสิษฐ์ วัฒนา และจิตตเกษม เดินเข้าไปและนั่งรอวิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ อยู่ถึงสองชั่วโมง นั้น และเป็นวันแรกของการเริ่มนิยามสามก๊กยุคกรุงเทพฯ 200 ปี

ก๊กที่หนึ่ง คือก๊กบุญชู โดยมีวิสิษฐ์ เป็นแม่ทัพ และวัฒนา กับจิตตเกษมเป็นขุนพล ก๊กที่สองคือ พวกมหาดำรงค์กุล โดยมีชัยโรจน์ เป็นแม่ทัพ

ก๊กที่สาม ซึ่งเป็นก๊ก ที่อยู่ได้ ไม่นาน มีวิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ เป็นแม่ทัพ และมีพนักงาน ธนาคาร เป็นพวก

“วันที่ 4 มกราคม พวกผมหิ้วกระเป๋าไปกัน 3 คน โดยเข้าไปหาคุณวิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ ไปนั่งรอเข้าอยู่ตั้งนาน กว่าเขาจะเรียกเข้าไปก็มีการต้อนรับเป็นพิธีการเล็กน้อย แล้วเขาก็ให้คนพา ไปแนะนำรู้จักผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งแปลกดี มีที่ไหนเขาทำกัน ที่พวกเราต้องพากันเดิน ไปหาพวกผู้จัดการฝ่าย แล้วไปนั่งห้อง มองย้อนหลังดูก็สนุกดี” วิสิษฐ์ ตันสัจจา เล่าให้ผู้จัดการฟัง

ในเดือนมกราคมนั้น ก็เป็นเวลาของการจะบีบให้วิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการไปโดยมีการปล่อยข่าวให้สื่อมวลชน ทราบถึงความเหลวแหลกของธนาคาร ภายใต้การบริหารของวิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์

“ความจริง ข่าวที่ตีคุณวิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ นั้น เริ่มมีมาตั้งแต่ก่อนพวกตึกดำ จะเข้ามาเสียอีก และคนปล่อยข่าว ก็เป็นพวกเดียวกัน ที่ปล่อยข่าว ออกตี คุณชัยโรจน์ ทุกวันนี้” ผู้ใกล้ชิด ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล บอก

“ทางคุณชัยโรจน์ ต้องการ จะพูดกับคุณวิศิษฐ์เงียบ ๆ ให้ถอยไปเสียเพราะคุณชัยโรจน์ ไม่อยากให้เป็นข่าวกลัวว่าจะกระทบกระเทือนสถาบัน แต่พวกตึกดำต้องการจะ discredit คุณวิศิษฐ์ ให้เห็นว่าแบงก์มันเละและมีพวกเขา เท่านั้นที่ช่วยได้” ผู้ใกล้ชิดชัยโรจน์ คนเดิมเล่าต่อ

ยุทธวิธี วิศิษฐ์ ทางสื่อมวลชน ได้ผลเพราะ วิศิษฐ์ ได้ลาออกจากกรรมการผู้จัดการ และได้ถูกแต่งตั้งเป็นรองประธานแขวนไว้เพียง และก็ได้ เดินทาง ไปสหรัฐอเมริกา เมื่อไม่นานมานี้เอง

พนักงานในนครหลวง ฯ เมื่อหมดวิศิษฐ์คว้างกันหมด ต้องอยู่เฉย ๆ ดูว่ากลุ่มบุญชู และกลุ่มชัยโรจน์ จะเอากันอย่างไร?

วิสิษฐ์ ตันสัจจา ด้วยความเข้าใจที่ว่าบุญชู ได้รับอำนาจเต็มที่จากพวกมหาดำรงค์กุล ก็เริ่ม ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงทันทีโดย

“ผมวางแผนระยะ 5 ปี ไว้ซึ่งจะเป็นนโยบาย ที่จะแถลงให้กับคณะกรรมการโดยวาง ไว้ว่า ภายใน 5 ปี จะต้องขึ้นอยู่อันดับ5 ของแบงก์ในเมืองไทยให้ได้ จากจุดนั้น เราก็ต้องมาดูว่า เราต้องใช้โครงสร้างอะไรบ้างที่จะให้มันแทนที่จะเป็นฝ่ายบุคคล ที่ต้องวางแผน ทางด้าน บุคลากร กลับเป็นการเก็บ record เฉย ๆ หรือการหาเงินฝากก็ไม่มี funding officers ฝ่าย วิจัย วางแผน ก็ไม่มี มีการตรวจสอบ แต่ไม่มีระบบควบคุม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ก็ไม่มีสรุปง่าย ๆ ต้องเริ่มจากศูนย์

ภายในเดือนมกราคมนั้น ขณะที่กลุ่มวิสิษฐ์ ตันสัจจา กำลังพิจารณาแก้ไขโครงสร้าง ของธนาคารอยู่ โดยที่ยังไม่ได้รับมอบอำนาจใด ๆ จากคณะกรรมการ ก็ได้มีเหตุการณ์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังจากที่วิศิษฐ์ ศรีสมบูรณ์ไม่อยู่นั่น คือเช็คตึกดำ 2 ใบ ในแรก 3 ล้านบาท ใบที่สอง 6 ล้านบาท ถูกส่งเข้ามาตัดบัญชีใบแรกผ่าน ใบที่สองไม่มีเงินในบัญชีเลย แต่ใบที่สองถูกตีคืนไป เหตุการณ์นี้ทำให้ กลุ่มตึกดำ และกลุ่มมหาดำรงค์กุล เริ่มที่จะมองหน้ากันไม่ค่อยสนิทเท่าใดนัก

ทั้งมหาดำรงค์กุล และกลุ่มบุญชู มีความปราถนาที่จะแก้ไขปัญหาของธนาคารด้วยกัน ทั้งคู่ หากแต่วิธีการแก้ต่างกัน

เพียงสองเดือน ที่เข้ามาบริหารงานในธนาคาร วิสิษฐ์ เริ่มรู้สึกว่า ตัวเองเข้า มาทำงาน โดยไม่มีอำนาจอะไรเลย แม้แต่การจะอนุมัติ สั่งจ่ายเงิน สัก 1,000 บาท เพราะมหาดำรงค์กุล ยังไม่ยอมมอบอำนาจ ใด ๆ ให้ทั้งสิ้น

เมื่อตำแหน่งวิศิษฐ์ ศรสมบูรณ์ ว่างลง ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล ต้องการ จะนั่งตำแหน่ง นั้น แต่จากปัญหา ที่เริ่มคุกกรุ่น บุญชู ก็เลยให้ดิลก ผู้พี่เป็น ผู้นั่งแทน และให้วิสิษฐ์ กับชัยโรจน์ เป็นรอง กรรมการผู้จัดากร

“คุณชัยโรจน์ นั่งตำแหน่งนั้นไม่ได้หรอก เพราะนิสัยแกมุทะลุทำอะไรก็จะทำให้ ได้ แตกหัก เป็นแตกหักถ้านั่งตำแหน่งนั้น ก็พังไปแล้ว คุณดิลก เป็นคนประนีประนอม กับทุกฝ่าย เลยเป็นคุณสมบัติ ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์มาก แต่ถึงอย่างไร ก็ตาม เขาเป็นพี่น้องกัน” แหล่งข่าว ในธนาคาร กล่าวในที่สุด ตำแหน่งประธานกรรมการ บริหาร ก็คือ ดิเรก มหาดำรงค์กุล และดิลก ก็มอบอำนาจให้ชัยโรจน์ เป็นผู้ดำเนินการแทนตัวเอง ทันที

“ ตอนคุณวิศิษฐ์ อันที่จริง คุณชัยโรจน์ ต้องการตำแหน่ง นี้ แต่คุณบุญชู ไม่ยอมบอกว่า ยูเป็นไม่ได้จะให้ผมขึ้นเขาก็ไม่ยอม เขาบอกว่า ผมจะต้องอยู่ under Him ถึงจะเป็นตำแหน่ง เหมือน he got to be higher ตอนนี้ พวกมหาดำรงค์กุล ก็นั่งเรียงแถวกัน 4 คน จากพี่ใหญ่ เป็นประธานกรรมการบริหาร น้องลงมาดิลก เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ชัยโรจน์ เป็นรอง แล้วหลาน หรือลูกดิเรก เป็นเลขานุการ คณะกรรมการ บริหาร เรียงแถวนั่งกัน 4 คน” วิสิษฐ์ ตันสัจจา บรรยายให้ฟัง

เพียงสองเดือน ที่วิสิษฐ์ เข้าไปทำก็พอเพียงที่จะให้เขา ได้เห็นว่าความสำเร็จ ของเป้าหมาย ที่วางไว้ คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะไม่ว่าอะไรที่เสนอเข้าคณะกรรมการก็จะถูกปฏิเสธ

“ที่ผมยอมไม่ได้ คือเรื่องของการที่จะมาปกปิดตัวเลขทางบัญชี เช่นคำนวณ รายได้ทางบัญชี ดอกเบี้ย ที่ได้จากหนี้สูญ รวมทั้งการเสนองบดุลออกไปโดย ไม่มีความเห็น ของผู้ตรวจสอบ บัญชี” วิสิษฐ์ กล่าวกับ “ผู้จัดการ”

“เรื่องหนี้สูญนี้ ทางคุณชัยโรจน์ อยากจะให้ค่อยเป็นค่อยไป ไม่อยากจะแสดงออกมาทีเดียว แต่ก็ต้องแสดงแน่ ๆ” แหล่งข่าว ของชัยโรจน์ แก้แทน

แต่ “ผมมีปรัชญาว่า ถ้าจะเริ่มทำงานกัน ก็เริ่มกันใหม่ได้เลย เพราะถ้าเราจริงใจ กับประชาชน ยอมรับข้อผิดพลาด ขนาดและอนาคต ของธนาคารนี้จะพอจะเริ่มได้ใหม่แล้วทำกำไร ให้กับผู้ถือหุ้น ได้แน่ ๆ”

ในที่สุดวิสิษฐ์ ตันสัจจา ตัดสินใจยื่นใบลาออกกับบุญชู ในเดือนมีนาคม แต่ก็ต้องอยู่ ต่อเพราะ บุญชู สัญญาว่า ทุกอย่างจะดีขึ้น โดยบุญชูจะเข้าไปทำงานที่ธนาคาร ฯ ให้มากขึ้นกว่าเดิม

“ท่านก็รับปากว่าจะกระโดดเข้ามาทำให้มากกว่านี้ ขอเวลา และโอกาส ท่านจะมาแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งท่านเข้าใจดีว่า ผม มีความไม่สบายใจแค่ไหน ผู้ใหญ่ ของผมอย่านี้ ผมก็ต้อง โอเค ผมก็ขอให้ท่าน มาทำจริง ๆ ผมเห็นใจท่าน ที่ว่าท่านทำจริงพยายามทุกอย่าง ที่มานั่ง ช่วยบางที มานั่งเขียน กฎเกณฑ์ ประกาศระเบียบต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ทำงานเหมือน พนักงาน คนหนึ่ง ของแบงก์เลย วิศิษฐ์ เสริม

ในขณะเดียวกัน ทีมงานบุญชูก็ได้ดึงตัวผู้บริหาร จากที่อื่นมาคุมตำแหน่ง สำคัญ ไว้เพื่อเตรียม การแก้ไขโครงสร้างเก่า และโครงสร้างใหม่

ทางฝ่ายบริหารการเงิน ได้ดึงชาญ ธนาสุรกิจ อดีตเป็นผู้ค้าเงินตราต่างประเทศ ของธนาคารรกรุงเทพ มาเป็นผู้จัดการฝ่ายอาวุโส โดยมี สุรศักดิ์ เทวะอักษร จากส่งเสริม เงินทุนไทย ซึ่งเป็นของวิวัฒน์ สุวรรณภาศรี ผู้ซึ่งบุญชู เชิญมาซื้อหุ้นนครหลวง มานั่งรอคิว เป็นผู้จัดการฝ่าย ศุภชัย มนัสไพบูลย์ถูก ดึงตัวมาจากจุฬา มาเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล กฤษณา สุนทรธำรง จากส่งเสริมลงทุน มาเป็นผู้จัดการฝ่ายสำนักบริหาร ด้านการควบคุม ส่วนวัฒนา ลัมพะสาระ นั้นได้ถูกมอบหมาย ให้เป็นผู้คุมสินเชื่อในประเทศ และจิตตเกษม แสงสิงแก้ว ให้คุมฝ่ายต่างประเทศ

คนสุดท้ายที่ย้ายตามมาก็คือ สังเวียน มีเผ่าพงษ์ เลขาคู่ใจบุญชูเข้ามาเป็นผู้อำนวยการ สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่

และพล.ต ปานสรวง ชุมสาย ณ อยุธยา ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มรามาทาวเวอร์ มาเป็นผู้อำนวยการ กลาง

“ทีมงานคุณบุญชู เข้ามาแบบคุมจุดสำคัญ ๆ เอาไว้ และแต่ละจุด ก็เป็นจุด ที่มีอำนาจ ทั้งสิ้น” พนักงานธนาคาร ผู้หนึ่งเล่าให้ฟัง

การเข้ามาอย่างสายฟ้าแลบของทีมงาน บุญชู ซึ่งเข้ามาเพียง 2-3 เดือน และส่งคนเข้ามาคุม ตำแหน่งสำคัญไว้หมด ถึงแม้อำนาจที่แท้จริง ยังคงอยู่ในมือของชัยโรจน์ก็จริงยัง คงอยู่ในมือของชัยโรจน์ก็จริง แต่การเข้ามาของทีมบุญชูอย่างน้อย ก็ทำให้ชัยโรจน์ ดิลก และดิเรก ต้องการหาหมาก เข้ามาแก้อย่างเริ่งด่วน

สำหรับชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล หลังจาก ที่มาสัมผัสงานธนาคารได้ 2-3 เดือน ก็คงจะมีความมั่นใจมากขึ้น ว่าจะทำได้เพียงแต่มีคนที่รู้เรื่องคอยให้คำแนะนำเท่านั้น

ภูริช มหาดำรงค์กุล ลูกชาย ดิเรก พูกมอบหมายให้เป็นผู้สรรหามือธนาคารมาประทะ กับทีมงานของบุญชู ทันที และในที่สุดก็ได้ วัฒนา สุขพินิจธรรม หนุ่มไฟแรงมาจาก ธนาคารชาติ ซึ่งบังเอิญก็เป็นไหหลำ เหมือนกัน

วัฒนา สุขพินิจ ธรรม ถูกวางตัวให้เป็นผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งวัฒนาจะช่วยดิลก และชัยโรจน์ได้มากในเรื่องระเบียบและพิธีการของธนาคาร ซึ่งในขณะนั้นธนาคารชาติ กำลังใช้สายตาเหยี่ยวจับดูธนาคารนครหลวงไทยอย่างใกล้ชิด

หมากตาต่อไปคือการดึงเอาสมชัย วนาวิทย์ จาก วอร์ดเลย์ ไฟแนนซ์ มาคุมทางด้านสินเชื่อ และเกทับครั้งใหญ่ คือการเอาวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล ลูกชาย ดร.เสริม วินิจฉัยกุล จาก เวลส์ ฟาร์โกแบงก์ มาคุมทางด้านบริหารการเงิน โดยที่ดิลก มหาดำรงค์กุล ออกคำสั่งโดยตรงไม่ผ่านแผนกบุคคล แต่งตั้ง ให้วิวัฒน์ วินิจฉัยกุล เป็นคนคุมชาญ ธนาสุรกิจ และสุรศักดิ์ เทวะอักษรอีกที แะคำสั่งนี้ถูกคัดค้าน จากบุญชู เมื่อศุภชัย มนัสไพบูลย์ ในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคล ทราบเรื่องภายหลัง และรายงานขึ้นไป ซึ่งทางบุญชู ก็ได้ออก คำสั่งระงับไว้ เป็นผลให้ดิเรก มหาดำรงค์กุล ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริการ ต้องออกคำสั่ง แต่งตั้ง วิวัฒน์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

“ธนาคารนครหลวงไทย ก็เลยกลายเป็นเมืองที่มีอยู่สองค่าย ค่ายหนึ่ง คือค่ายบุญชู ซึ่งมีวิสิษฐ์ ตันสัจจา เป็นตัวชูโรง เวลาประชุม ก็จะมี วิสิษฐ์ วัฒนา ลัมพะสาระ และจิตเกษม แสงสิงแก้ว และผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ในสังกัด ทีมบุญชู อีกค่ายหนึ่ง ก็มีชัยโรจน์ ภูริช วินิจฉัยกุล สมชัย วนาเวทย์ ซึ่งก็จะมีประชุมแยกกัน พวกใครพวกมัน” แหล่งข่าวจากธนาคารนครหลวง พูดเพิ่มเติม

ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังตั้งป้อมกัน กลุ่มชัยโรจน์ ดูจะถือไพ่ เหนือกว่า เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจ ถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่ กลุ่มวิสิษฐ์ ก็หวังว่า บารมีบุญชู คงจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ ให้ดีขึ้นได้

แต่บุญชู เองก็มีปัญหา “ขนาดท่านว่าไปอย่างเจ็บ ๆ ทั้งเขียน ทั้งพูด เขาก็ยังไม่รู้สึก” ผู้ใกล้ชิด บุญชู เผยกับ “ผู้จัดการ”

“คุณบุญชู ท่านในตอนแรก คิดว่าที่ต้องการ กุมอำนาจ อยู่นั้น คงเป็นเพราะเขาไม่เข้าในระบบธนาคาร เขากลัวว่า จะมีคนเซ็นอนุมัติอะไร ไปเป็นเงินก้อนใหญ่ ๆ ซึ่งท่านก็พูดว่า ต้องต้องพยายามทำให้พวกมหาดำรงค์กุล รู้ว่าในธนาคาร นั้น มันมี Banking system ที่จะควบคุม อยู่แล้ว” วิสิษฐ์ พูดกับ “ผู้จัดการ”

“ความจริงแล้วความไม่ไว้ใจ ก็เริ่มมาตั้งแต่ เช็ค ตึกดำ 2 ใบ ใบแรก 3 ล้าน กับใบที่ 2 อีก 6 ล้านบาท แล้วยิ่ง จิตตเกษมกับวัฒนาเข้ามายิ่ง ทำให้ ทางคุณชัยโรจน์ เขากลัวมากขึ้น” แหล่งข่าว ทางชัยโรจน์ชี้แจงกับเรา

เมื่อสายใย เริ่มขาดไปทีละเส้น ๆ แล้วก็เป็น อันแน่ชัด ว่าวิสิษฐ์ ตันสัจจา ก็คงจะทำอะไรมากไปกว่าการเป็นตัวตลกให้กัพนักงานได้เห็นไม่ได้ เพราะไม่ว่าวิสิษฐ์ จะทำอะไร ก็เป็นไม่ถูกต้องไปเสียหมด และคำสั่งวิสิษฐ์ก็กลายเป็นคำสั่งเพิ่มเติมทุกคนได้รับ ก็ต้องรอรับ อีกคำสั่งหนึ่งต่อไปว่าคำสั่ง เดิมจะสามารถ ปฏิบัติตามได้หรือไม่

“ที่ผม ตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะออกนั้น เป็นเพราะว่า ผมอยู่ไปก็ทำอะไรไม่ได้ ผม 54 แล้วอีก 6 ปี ก็หมดเวลาทำงาน ผมอยากจะทำ อะไรที่เป็นประโยชน์จริง ๆ ผมมีปรัชญาในการทำธนาคาร ที่เป็นระบบ ผมไม่เชื่อใน famitly mangement ในกิจการเช่นธนาคาร คุณไม่สามารถจะเอาสิทธิ ที่คุณถือหุ้นในทุน 500 ล้านบาท เพื่อมาบริหารเงินของประชาชน เกือบ 2 หมื่นล้านบาท และผมก็เริ่มว่า คุณบุญชู ท่านก็ทำอะไร เพื่อแก้ไม่ได้” วิสิษฐ์ พูดถึงการลาออกให้ฟัง

การตัดสินใจลาออกครั้งที่สอง ของวิสิษฐ์ นั้น ที่จุดเริ่มจากการโต้ตอบทางบันทึก จากชัยโรจน์ ถึงวัฒนา ลัมพะสาระ อย่างรุนแรงที่สุด ถึงกรณีที่วัฒนาได้พิจารณาเงินกู้รายหนึ่ง ว่าไม่สมควรให้แต่ว่าผู้กู้รายนี้ เป็นคนที่ชัยโรจน์ รู้จักดีว่า เป็นผู้มีฐานะดีมาก

“ความจริง จะไปว่าคุณวัฒนา เขาก็ไม่ได้ เพราะเขาก็ทำไปตามหลักการ ใครจะไปตรัสรู้ ได้ว่า คน ๆ นี้ ร่ำรวยมีหลักฐานดี” ฝ่ายของวิสิษฐ์ ให้เหตุผล

การลาออกของวิสิษฐ์นั้น เป็นการตัดสินใจที่ได้มีการเตรียม พร้อมอยู่แล้ว เพราะวิสิษฐ์หลังจากออกไปนั่งเป็นกรรมการผู้จัดารของบริษัท ไทย-อาราเบียน อินเวสเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุน กับชิด ซาเลห์ ของซาอุดิอาราเบีย

“คุณชัยโรจน์ คงกลัวคุณวิสิษฐ์ ไม่ออกจริง ได้มาถาม คุณวิสิษฐ์ว่าได้ข่าว คุณลาออก” ผู้ใกล้ชิดวิสิษฐ์กล่าว

“เขามาถามผมจริง ผมก็บอกไปว่าผมยื่นใบลาออก กับคุณบุญชู เพราะคุณบุญชู ท่านเป็นคนเรียกผม เข้ามาไม่ใช่ คุณชัยโรจน์ ผมออกดีกว่า ผมสบายใจมากขึ้น ผมไม่ต้องการ ที่จะมา suffer ต่อไป ขนาดเงินเดือนผมกับลูกน้อง ในระยะแรก ยังไม่ได้อยู่ใน payroll เลย ต้องมีการทำ advance กันก่อนพวกเลขานี่ผม ต้องควักเงินส่วนตัวออกกันไปไปก่อน” วิสิษฐ์อธิบายให้ฟัง

การลาออก ของวิสิษฐ์ครั้งนี้ ก็จะไม่มีผลอะไร กับสถาบัน เช่น ธนาคารนครหลวง ไทย ซึ่งมีทรัพย์สินเกือบสองหมื่นล้าน และมีสาขารวม สำนักงานใหญ่ 100 แห่ง

แต่การออกครั้งนี้ ก็พอจะทำให้ บุญชู โรจนเสถียร ต้องอยู่ในภาวะ กลืนไม่เข้า และคายไม่ออก เพราะภาวะที่ตนเองรับผิดชอบต่อคนที่ตนชักชวน ให้มาลงทุน ซื้อหุ้นธนาคาร นี้กับภาวะ ของการที่บุญชูจะมีความสามารถชักจูงเชื้อเชิญคนอื่นที่มีฝีมือ ให้เข้าร่วมทีมงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างไร หลังจากกรณีวิสิษฐ์ ตันสัจจา

ในขณะเดียวกัน ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล และพวกควร จะเข้าใจว่าขณะนี้ ทรัพย์สินเกือบ สองหมื่นล้านบาท ที่กลุ่มตัวเองเป็นผู้บริหาร ไม่ใช่ ทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นทิศทางเดินของชัยโรจน์ และพวก จะไปทางด้าน ไหน จากนี้ไปก็ควรเป็นทางที่เมื่อเดิน ไปแล้วควรจะทำความเจริญและให้ความมั่นใจกับประชาชน ผู้ที่นำเงินเข้ามาฝากไว้ กับสถาบันแห่งนี้

การต่อสู้ยังคงจะไม่สิ้นสุด เพียงแค่นี้ เพราะการที่มหาดำรงค์กุล ตกลงใจกับบุญชูโรจนเสถียร อย่างเปิดเผยเช่นนั้นแล้ว ก็แสดงว่าพวก มหาดำรงค์กุล ซึ่งเคยให้ความเคารพบุญชู อย่างสูง มาก่อน ต้องเข้าใจดีถึงผลที่จะตามมาภายหลัง

“งานนี้ จะวัดดวงกันจริง ๆ ก็ต้องรอการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ ที่จะตัดสินใจ” แหล่งข่าว สรุปให้ “ผู้จัดการ” ฟัง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us