|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2526
|
|
หากจะเอาความรู้เรื่องการตอกเสาเข็มทั้งหมด เห็นที “ผู้จัดการ” เล่มนี้ เนื้อที่คงไม่พอ ฉะนั้นก็เอากันพื้นๆ บางเกร็ดบางประเด็นอันคาบเกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ ทั้งนี้จากการสืบเสาะถามไถ่จากช่างเทคนิคของบริษัทรับเหมาตอกเสาเข็ม 3 บริษัท ด้วยกัน...
แรกสุดต้องทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างเครื่องตอกเสาเข็มดีเซลกับธรรมดาเสียก่อน แบบธรรมดาก็ที่ใช้กัน โดยทั่วไปที่เห็นๆ กันนั่นแหละ เป็นการใช้เครื่องยนต์โยงกับเหล็กสลิง ที่อีกปลายมีตุ้มเหล็กแขวนอยู่ การตอกก็คือ การดึงตุ้มเหล็กให้สูงขึ้น แล้วปล่อยลงกระแทกเสาเข็ม.. ก็แค่นั้น ส่วนเครื่องดีเซลนั้น ตัวตุ้มสำหรับการตอก ประกอบเข้ากับส่วนเครื่องยนต์และทำงานด้วยระบบลูกสูบ ระบบนี้ทำให้การตอกเป็นไปอย่างถี่ยิบ แน่นอน ความเร็วย่อมเหนือกว่า “หากสภาพโดยทั่วไปเหมือนกันทุกอย่างแบบดีเซล ทำงานได้เร็วถึง 3 เท่า “ช่างเทคนิคแห่งบริษัทแถลงใจ
หรืออีกนัยหนึ่ง เครื่องตอกแบบดีเซลก็คือการพัฒนาที่ล้ำยุคกว่า ตึกสูงๆ ที่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มลึก เครื่องธรรมดาไม่มีความหมายนัก เพราะแรงกระแทกไม่พอเพียง แต่สำหรับดีเซลแล้วไม่มีปัญหา..
แน่นอน..ว่ากันถึงราคาก็ย่อมแพงกว่า “ปั้นจั่นสำหรับตอกธรรมดานี่ราคาไม่เกิน 2 แสนบาท เท่าที่ใช้อยู่ในบ้านเรา แต่ดีเซลรวมตัวรถตีนตะขาบด้วยก็ 4-5 ล้านบาท เฉพาะตัวหัวตอก ถ้าซื้อเข้ามาเลยรวมภาษีแล้วก็ประมาณล้านกว่าบาทเข้าไปแล้ว” ช่างเทคนิคคนเดิมชี้แจง...แต่ความแพงก็ทดแทนได้ด้วยความเร็วและจำนวนเครื่อง รวมทั้งคนงานที่ลดน้อยลง สำหรับโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ “แบบธรรมดาใช้คนแต่ละตัวก็ 5-7 คน แต่ดีเซลรวมคนขับด้วย 3-4 คน พอ ถ้าเอากันระดับความลึกก็ต้องตอกที่เครื่องธรรมดามีแรงพอ แต่เป็นโครงการที่ใหญ่ เครื่องธรรมดาอาจต้องใช้หลายตัว ขณะที่ดีเซลไม่จำเป็น”
“เครื่องไอน้ำเหรอ..คงล้าสมัยมาก ผมไม่มีความรู้เลย อาจจะเป็นเครื่องก่อนที่ผมจะเกิดก็ได้ ผมไม่เคยเรียนมาเลย ไม่มีความรู้เลยครับ แต่ผมว่ายุคไอน้ำก็คงล้าสมัยกว่ายุคน้ำมันแน่ ๆ” ช่างเทคนิคอีกคนหนึ่งซึ่งเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อ 2 ปีก่อน กล่าวกับ “ผู้จัดการ” เมื่อถูกถามถึงสมรรถนะของเครื่องไอน้ำ
“อัมรินทร์ พลาซ่า ซึ่งต้องตอกลึกถึง 40 เมตร คุณไม่มีสิทธิ์เลือกเครื่องธรรมดาเลย เพราะใช้ไม่ได้แน่นอน ทางเลือกก็คือคุณจะใช้เครื่องดีเซล หรือระบบเข็มเจาะ และจะเจาะวิธีไหน เมื่อเคยทดลองวิธีหนึ่ง อีกหลายวิธีก็ยังมีให้เลือก” ช่างเทคนิคอีกบริษัทให้ข้อมูล กับ “ผู้จัดการ” ก่อนขยายความต่อไปว่า เข็มเจาะที่ใช้อยู่ปัจจุบันก็ที่ตึกทองและอโศก ทาวเวอร์ แต่นั่นแหละปัญหาสำคัญก็คือ “เข็มเจาะต้นทุนสูงกว่าประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ครับ”
“ของอัมรินทร์ พลาซ่านี่ เครื่องดีเซลค่อนข้างเก่าแล้วครับ ปัญหาซึ่งเป็นทุนเดิมของเครื่องประเภทนี้อยู่แล้ว ก็มากขึ้นอีก ตอนที่ประมูลกันนั้นบริษัทที่ใช้ระบบเข็มเจาะก็ประมูลด้วย แต่ทุนสูงกว่า เขาจึงไม่เอา” ช่างเทคนิคคนเดิมกล่าว
“แบบธรรมดานี่ตอกลึกและเข็มใหญ่ไม่ได้ เพราะสลิงอาจขาด แต่เครื่องดีเซลไม่วอรี่” ช่างเทคนิคอีกบริษัทปูพื้นด้วยเรื่องเดิมให้เห็นภาพชัดขึ้นก่อนขยายความ
“เรื่องการตอกเสาเข็มนี่ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจเรื่องการสั่นสะเทือน ซึ่งเกี่ยวพันกับความถี่ในการตอก หากความถี่ในการตอกสูง แรงสั่นย่อมเป็นปัญหา เครื่องธรรมดานั้นตุ้มเหล็กกระแทกเข็มแต่ะครั้งเว้นช่วงยาว แต่เครื่องดีเซลนี่ยิงรัว เพราะฉะนั้นปัญหาแรงสั่นสะเทือนที่กระทบตึกรอบข้างก็มีมาก.. .เมื่อหัวตอกกระแทกเข็มทีหนึ่ง ตึกข้างเคียงก็ถอนขึ้น แต่ไม่ทันเลื่อนตัวลงเข้าที่ เครื่องดีเซลก็ซัดปังเข้าอีกที เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ ตึกข้างเคียงก็เขยิบขึ้นทีละนิดละหน่อย นานเข้าตึกก็ร้าว การตอกเสาเข็มนี่ต้องคำนึงถึงความสั่นสะเทือนกระทบครับ ถึงแม้เครื่องจะดี ประสิทธิภาพสูงกันยังไงก็ละเลยจุดนี้ไม่ได้ “ช่างเทคนิคผู้นี้กล่าวว่าทางเลี่ยงปัญหานี้ของอัมรินทร์ พลาซ่า ซึ่งต้อง ตอกเข็มลึก 40 เมตร มีทางเดียวเท่านั้นคือการใช้เข็มเจาะ “แต่นั่นแหละ เข็มเจาะนี่ต้องวุ่นวายเรื่องการวิเคราะห์ที่ดินด้วย หากดินข้างล่างเหนียวหนืด การเจาะดินก็ลำบาก ของอัมรินทร์นั้นแรกทีเดียวก็ทดลองเข็มเจาะก่อน แต่ก็มีปัญหาเรื่องดินทำให้ปลอกเหล็กที่เจาะลงไปดึงไม่ขึ้น ต้องฝังทิ้งไว้อันหนึ่ง ก็อันละเป็นแสนบาทครับ”
การใช้เข็มเจาะนอกจากต้นทุนสูงกว่าแล้ว ที่สำคัญก็คือความล่าช้าซึ่งย่อมเกี่ยวพันถึงต้นทุนอีกโสตหนึ่งด้วย “เข็มเจาะนี่ใช้เวลายาวกว่าดีเซลถึงหนึ่งเท่าตัวครับ” ช่างเทคนิคคนเดิมชี้
คำถามที่ว่า เมื่ออัมรินทร์ พลาซ่า เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไอน้ำจะสามารถแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง ทั้งเงื่อนเวลา และปัญหากระทบกระเทือนที่เคยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ... เครื่องไอน้ำสามารถขจัดปัญหาไอเสียได้ แต่ความสั่นสะเทือน แก้ไม่ได้ หากจะใช้ความเร็วในการตอกคงเดิม ถ้าจะให้ช้าลงก็ย่อมทำให้จุดหมายของโครงการต้องเปลี่ยนไป
“เรื่องที่ว่าการป้องกันปัญหาของเครื่องดีเซลก็พอมีอยู่ เช่นใช้ผ้าใบขึงป้องกันควันเสีย ใช้แผ่นเหล็กตอกฝังรอบๆ บริเวณก่อสร้าง หรือขุดคูรอบๆ เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนกระทบตึกรอบข้าง ผมรู้สึกว่าก็ยังยากอยู่ดี ใช้ผ้าใบกั้นควันเสีย โอเค ไม่ยากนัก แต่แผ่นเหล็กนี่ลำบากครับ หากแรงสั่นมาก ทำอย่างไรเสียก็ยังมีแรงดันแผ่นเหล็กไปถึงพื้นดินรอบข้างอยู่ดี ถ้าจะขุดคูสำหรับอัมรินทร์ พลาซ่า ก็ต้องตอกลึก 40 เมตร เนื้อที่ขุดคูก็คงหมดที่ดินสำหรับก่อสร้างกันพอดี” ช่างเทคนิคคนเดิมกล่าว โดยไม่ลืมพ่วงเรื่องของตัวเองว่า “ตอนแรกประมูลตอกเข็มนี่ บริษัทผมก็ต้องเตรียมเอาด้วย แต่ต้องถอย เมื่อศึกษาดูว่าโรงแรมเอราวัณซึ่งเป็นตึกใกล้เคียงที่สุดนั้นเป็นตึกเก่าและใช้เข็มไม้ด้วย ทั้งที่ผ่านมาก็เคยแก้ปัญหาฐานรากนี้มาแล้วล้านกว่าบาท เพราะฉะนั้นไม่เสี่ยงดีกว่า”
คำถามต่อไปมีว่า เมื่อถึงจุดนี้แล้วอัมรินทร์ พลาซ่า ควรแก้ปัญหาอย่างไร คำตอบของช่างเทคนิคผู้นี้ก็คือ
“เมื่อเข็มเหล็กก็ซื้อมาแล้ว จะคืนก็ไม่ได้ ก็ควรเจาะก่อนให้กว้างกว่าขนาดเข็มในช่วงต้นๆ อีกช่วงหนึ่ง ก็ตอกย้ำอีกที หลังจากนั้นก็เอาคอนกรีตหล่อข้างๆ ต้นทุน สูงขึ้นแน่ครับ แต่จะทำยังไงก็ได้ ถึงจุดนี้จะให้ทุกอย่างกลับคืนเหมือนเดิมไม่ได้แน่นอนครับ
|
|
|
|
|