Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2526
อัมรินทร์พลาซ่า ปัญหาเมื่อต้องนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง             
 


   
search resources

Construction
อัมรินทร์ พลาซ่า, บมจ.
Law




“เรายอมรับว่า ปัญหาใครสร้างเสร็จก่อนกันเป็นจุดสำคัญในความสำเร็จด้านการขายโครงการ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เราทำก็เพื่อสนองจุดนี้ แต่เราภูมิใจมากอย่างหนึ่ง ก็คือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ลูกค้าของเราไม่ได้รวนเรเลย เขาเชื่อมั่นในการลงทุนของเรามาก” ศรชัย ทองศรี ประชาสัมพันธ์โครงการอัมรินทร์ พลาซ่า กล่าวกับ “ ผู้จัดการ” เป็นหนึ่งในคำพูดไม่มากนักที่หลุดออกสู่สาธารณชนของคนที่นี่ สำหรับสถานการณ์งงงันที่เกิดขึ้น

ว่าไปแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างตึกรามบ้านช่อง ในกรณีกระทบกระเทือนสิ่งก่อสร้างรอบข้าง ไม่ได้เป็นปัญหาใหม่แต่อย่างใด เกิดขึ้นโดยตลอดก็ว่าได้ ทั้งสิ่งก่อสร้างเล็ก และใหญ่ แต่กรณี อัมรินทร์ พลาซ่ากลายเป็นเรื่องอยู่ในความสนใจก็เนื่องด้วยคอมเพล็กซ์แห่งนี้เป็นโครงการใหญ่ และแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดกำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น ทั้งกรณีนี้ไม่อาจประนีประนอมกับผู้โดนกระทบกระทั่งได้ จนต้องพึ่งโรงพึ่งศาล และศาลมีคำสั่งให้หยุดการตอกเสาเข็มเหล็กด้วยเครื่องจักรดีเซล บ่อเกิดของปัญหา...

ข่าวคราวปัญหากระทบกระเทือนตึกรอบข้าง อันเกิดจากการตอกเสาเข็มเหล็กด้วยเครื่องจักรดีเซล ของอัมรินทร์ พลาซ่านั้น เริ่มแรกกับโรงแรมเอราวัณ ซึ่งทำให้ตึกโรงแรมเอราวัณบางส่วนแตกร้าว และเสียงเครื่องจักรรวมทั้งไอเสีย ทำใผู้เกี่ยวข้องกับโรงแรมเอราวัณต้องมีแต่ความรำคาญ ถัดมาเป็นข่าวคราวกระทบกระเทือนต่อนักเรียน โรงเรียนมาแตร์เดอี เพื่อนบ้านอีกฟากหนึ่ง ซึ่งการตอกเสาเข็มทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน และเสียงดังเป็นที่รบกวนสมาธิการเรียนการสอน ทั้งไอเสียจากเครื่องจักรทำให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยต้องล้มป่วย

กรณีแรก ทำท่าเหมือนยุติได้ด้วยการประนีประนอม เมื่ออัมรินทร์ พลาซ่า พยายามปัดเป่าหลายประการ เป็นต้นว่า เข้าไปเสริมโครงสร้างและซ่อมแซมการแตกร้าวของตึกโรงแรมเอราวัณ การขึงผ้าใบสูงเพื่อป้องกันไอเสียที่จะไปรบกวน การประนีประนอมช่วงนี้เป็นไปพร้อมข่าวเล่าลือว่าอัมรินทร์ พลาซ่า ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้อราวัณ วันต่อวัน แต่ถัดมาไม่นานข่าวลือนี้ก็ถูกปฏิเสธ น้ำหนักการปฏิเสธ ดูเหมือนจะเชื่อถือได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อมีกรณีโรงเรียนมาแตร์เดอีติดตามมา จนเรื่องราวถึงโรงถึงศาล และวันที่ศาลมีคำสั่ง ก็ได้สั่งทั้งกรณีเอราวัณและมาแตร์เดอีติดต่อกัน

ทั้งๆ ที่อัมรินทร์ พลาซ่า พยายามสุดเหวี่ยงที่จะขจัดปัดเป่า ปัญหาให้กับโรงเรียนมาแตร์ฯ เป็นต้น ว่าขอติดเครื่องปรับอากาศให้กับห้องเรียน

“...ศาลเห็นว่า หากปล่อยให้จำเลยใช้เครื่องจักรดีเซลอย่างที่ใช้อยู่ขณะนี้ อาจจะเป็นอันตรายต่อโจทก์และนักเรียน ของโจทก์ได้ ที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาเป็นการฉุกเฉินนั้น เป็นเหตุที่สมควรจึงพร้อมมีคำสั่ง ห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องจักรดีเซลอย่างที่ใช้อยู่ขณะนี้ตอกเสาเข็มอีกต่อไป” คือตอนสุดท้ายของคำสั่งศาล กรณีโรงเรียนมาแตร์เดอีเป็นโจทก์ และสำหรับกรณีเอราวัณก็เช่นกัน “...ศาลเห็นว่า ถ้าปล่อยให้จำเลยตอกเสาเข็มโดยใช้เครื่องจักรดีเซลอย่างที่ใช้อยู่ขณะนี้ อาจเป็นอันตรายต่อโจทก์ เจ้าหน้าที่ของโจทก์และแขกที่มาพักโรงแรมของโจทก์ ที่โจทก์ขอให้คุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาเป็นการฉุกเฉิน จึงเป็นเหตุที่สมควร จึงพร้อมกันมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องจักรดีเซลอย่างที่ใช้อยู่ขณะนี้ ตอกเสาเข็มอีกต่อไป”

ก่อนมีคำสั่งเช่นนี้ ศาลได้ออกไปเผชิญสืบยังสถานที่ก่อสร้าง และสถานที่ของโจทก์ทั้งสอง กรณีโรงแรมเอราวัณ นั้น ศาลพบว่าขณะที่นั่งอยู่ในห้องปรับอากาศ ห่างจากปั้นจั่นประมาณ 50 เมตร และทดลองตอกเสาเข็มปรากฏว่ามีแรงสั่นสะเทือน ทั้งบนโต๊ และเก้าอี้เป็นจังหวะๆ และห่างเครื่องจักรประมาณ 100 เมตร ในห้องปรับอากาศ ก็สามารถฟังเสียงตอกเสาได้ชัดเจน เป็นเสียงเหล็กลูกตุ้มที่ตอกกระทบเสาเข็มเหล็ก ทั้งนี้ยังไม่นับรอยแตกร้าวของอาคารโรงแรมเอราวัณ ที่ศาลได้พบเห็น

กรณีโรงเรียนมาแตร์เดอี ศาลพบว่าอยู่ในห้องเรียนห่างจากจุดตอกเสาเข็ม 150 เมตร และทดลองตอกเสาเข็ม 1 ต้น ทั้งที่มีตึกสูง ไม่สามารถเห็นปั้นจั่นได้ก็ยังได้กลิ่นไอเสีย และมีควันลอยมาบางๆ ศาลพิเคราะห์ว่าหากอัมรินทร์ พลาซ่า ตอกเสาเข็มในจุดที่ใกล้โรงเรียนซึ่งอยู่ห่างประมาณ 100 เมตร และไม่มีสิ่งกีดกั้นโดยตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรพร้อมกันถึง 5 เครื่อง ควันเสียก็ย่อมหนาแน่น

ศาลมีคำสั่งทั้งสอง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเป็นเวลาที่ติดต่อกัน บรรยากาศที่พบเห็นขณะนั้น คือเจ้าหน้าที่จากบริษัท ไวโบร (ไทย) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาตอกเข็มโครงการนี้ต่างวิ่งวุ่นและสงวนคำพูดมากที่สุด

“ยังบอกไม่ได้ครับว่า เอายังไงกันต่อไป ต้องรอปรึกษากันก่อน ยังให้ข่าวอะไรไม่ได้เลยครับ” เจ้าหน้าที่คนหนึ่ง ในคณะของไวโบรฯ บอก “ผู้จัดการ” สั้นๆ ก่อนขมวดท้ายว่า “เอางี้ดีกว่า เรื่องช้า อาจช้าแน่ แต่มากน้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่แน่นอนที่สุดก็คือ อัมรินทร์ พลาซ่าต้องสร้างขึ้นแน่ครับ ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่วันนี้ ก็พรุ่งนี้ ไม่ปีนี้ ก็ปีหน้า”

ข้อมูลเบื้องต้นที่ “ผู้จัดการ” รับทราบนั้น อัมรินทร์ พลาซ่า ใช้เสาเข็มเหล็กตอกลึก 40 เมตร ด้วยเครื่องจักรดีเซล 5 เครื่อง ทำงานกันอย่างเร่งมือที่สุด..ก่อนหน้านี้ที่นี่เคยทดลองใช้เสาเข็มคอนกรีตด้วยวิธีเจาะแต่ติดขัดด้านเทคนิคหลายประการทำให้ต้องเปลี่ยนมาเป็นเข็มเหล็กและเครื่องดีเซล ซึ่ง “ผู้จัดการ” ได้รับการเปิดเผยเพิ่มเติมภายหลังว่า การใช้วิธีเจาะนั้นทำให้โครงการต้องล่าช้า เกมยุทธ์ที่ต้องเชือดเฉือนกันด้วยเวลาจึงต้องเลี่ยงมาใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา..ที่ศาลแพ่ง ในวันที่ศาลมีคำสั่งคณะของบริษัท ไวโบรอีกคนหนึ่งเปิดเผยว่า การใช้เข็มคอนกรีตนั้นต้นทุนต่ำกว่าเข็มเหล็กมากมายนัก แต่สำหรับโครงการนี้ซึ่งต้องวางรากฐานแข็งแกร่งด้วยความยาวเสาเข็ม 40 เมตร ทำให้การทำเช่นนั้นเป็นไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร “วิธีการและเครื่องจักรดีเซลที่เราใช้นี่ แพงกว่าแบบธรรมดามากเลยคุณ เครื่องนี้เราสั่งมาจากเซี่ยงไฮ้”

ความจริงการก่อสร้างอาคารมหึมา เช่นนี้ปัญหากระทบกระเทือนที่เกิดต่อตึกรอบข้างเป็นเรื่องสามัญมาก และทางเทคนิคนั้นสามารถป้องกันและบรรเทาได้หลายประการ สำหรับอัมรินทร์ พลาซ่า การป้องกันและบรรเทามิได้ไม่มีเสียทีเดียวเลย เจ้าของโครงการได้ขุดคูป้องกันการสั่นสะเทือนเพื่อนบ้าน และขึงผ้าใบสูงป้องกันควันเสีย แต่ปัญหาก็ยังไม่ยุติ

“ผู้จัดการ” พยายามค้นหาว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ แต่ต้องพบกับการปิดปากเงียบของฝ่ายอัมรินทร์ พลาซ่า เกือบโดยสิ้นเชิง เมื่อเกิดกรณีนี้ขึ้น เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ ประเด็นที่ต้องสื่อสารสู่การรับรู้ของคนโดยทั่วไป เป็นต้นว่า เมื่อศาลมีคำสั่งเช่นนี้ อัมรินทร์ พลาซ่า จะหาทางออกอย่างไร ทั้งทางเทคนิคและทางธุรกิจ... เมื่อศาลสั่งอย่างนี้ จะหาทางออกด้วยการตอกเสาเข็มวิธีไหน ทำให้เงื่อนเวลาตามกำหนดการสร้างต้องล่าช้าหรือไม่ ต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทำไมที่อื่นจึงไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ หากล่าช้ามากทำให้กระทบกระเทือนต่อการหาลูกค้าใหม่ หรือกระเทือนต่อผู้สั่งจองไว้แล้วอย่างไรบ้าง หรืออย่างน้อยๆ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอาจทำให้ผู้ที่สั่งจอง ไว้แล้ว หรือผู้กำลังคิดเกิดความหวั่นไหว รวนเร เจ้าของโครงการ จะแก้ภาพพจน์ เพื่อสร้างความอุ่นใจกันอย่างไรต่อไป รวมทั้งการคิดในแง่ที่เลวร้ายที่สุดว่าเป็นไปได้ไหมหากปัญหารุมเร้าหนัก โครงการถึงต้องพับฐานชั่วคราว... การหาคำตอบประเด็นเหล่านี้ ของ “ผู้จัดการ” ต้องเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น เมื่อผู้ที่เป็นข่าวรูดซิปปากเกือบแน่นสนิท

แต่กระนั้น-การเอาใจช่วยก็ยังอบอุ่นอยู่บ้าง เมื่อพิจารณาถึง

ฐานเศรษฐกิจที่เหนียวแน่นของเจ้าของโครงการนี้ ทั้งเกียรตินาคิน, สากลเคหะ และมิตรผล 3 กลุ่มธุรกิจเจ้าของโครงการล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่เก่าแก่ ช่ำชอง และฝังรากลึก ทั้งจัดทีมบริหารที่พอจะมั่นใจอนาคตได้สนิทใจ ที่สำคัญ ทำเลของเจ้าของโครงการนี้ไม่มีใครปฏิเสธความยอดเยี่ยมได้เลย

การติดตามหาคำตอบที่ได้รับอย่างกระท่อนกระแท่นของ “ผู้จัดการ” เป็นไปจนกระทั่งอัมรินทร์ พลาซ่า ได้เปลี่ยนการตอกเสาเข็มจากเครื่องจักรดีเซลมาเป็นเครื่องจักรไอน้ำ โดยเริ่มอุ่นเครื่องเมื่อ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา...เช่นกัน คำตอบสำหรับคำถามบางประการ ยังปิดปากเงียบจากคนของโครงการ บริเวณที่ก่อสร้างวันนั้น เครื่องจักรไอน้ำกำลังอุ่นเครื่องอยู่เพียงเครื่องเดียวมีไอน้ำพวยพุ่งปราศจากไอเสียเพียงเล็กน้อย ที่นั่นคนของอัมรินทร์ พลาซ่า แนะนำให้ถามไถ่เรื่องราวของเจ้าเครื่องประเภทนี้ ทั้งสมรรถนะและแรงกระทบเดิมที่เคยเกิดขึ้นแล้วจากเครื่องดีเซลว่าจะขจัด ปัดเป่าได้หรือไม่ จากคนของบริษัทผู้ตอกเสาเข็มไวโบร (ไทย) ที่สำนักงานไวโบร (ไทย) บริเวณที่ก่อสร้าง คำตอบที่ “ผู้จัดการ” ได้รับก็คือ “ที่นี่ไม่มีใครรู้เรื่องเครื่องครับ ตอบคุณไม่ได้”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us