|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กันยายน 2526
|
|
มิได้เป็น 2 ความคิดที่สวนทางกันหรอก กลมกลืนกันด้วยซ้ำ หากเป็นแง่พิจารณาจาก 2 ขั้วโลก คนหนึ่งคือ เลียวนาร์ด เอส แมทธิว-นายกสมาคมโฆษณาแห่งสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน อีกหนึ่งเป็นอาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นที่ปรึกษาสมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย-อัจจิมา จันทราทิพย์
ความเห็นของนายกสมาคมโฆษณาสหรัฐฯ ที่นำมาถ่ายทอดนี้ ตัดตอนมาจากบทความ เรื่อง “Slugging it out fairly in Comparative Advertising ซึ่งแมทธิวเขียนลงในนิตยสารประจำสัปดาห์ Advertising Age ฉบับวันที่ 11 กรกฎาคม 2526 ส่วนความเห็นหลังเป็นการสื่อสารโดยตรงสู่คนข่าว “ผู้จัดการ” ด้วยบริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ถึงแม้สำหรับคนนอกวงการโฆษณาก็ตาม แต่หากได้ฟังความเห็นด้วยสายตาของแมทธิวผู้นี้ ก็จะเกิดความรู้สึกทันทีว่าเรื่องโฆษณาเปรียบเทียบที่กำลังกระตุกกระโตก ครึกครื้นกันในบ้านเรา และมักอ้างถึงการประพฤติปฏิบัติกัน จนเป็นสามัญในต่างประเทศนั้น แท้จริงแล้วต่างประเทศก็มิใช่ไร้สิ้นปัญหาเสียทีเดียว ปัญหาก้าวไปสู่การฟ้องร้อง มิให้จดจำกันครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งการโฆษณา เปรียบเทียบนี้ยังเป็นเสมือนเรื่องราวที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปที่เลี่ยงไปได้อย่างน้อย 3 ประการ คือ ทัศนคติของผู้บริโภค ความเชื่อถือ ได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับการยิงโฆษณาตัวอย่างแต่ละคราวหรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งยังเป็นเรื่องยากไม่น้อยสำหรับการพิสูจน์ระหว่างความจริงกับการอวดอ้างของผู้โฆษณา และประการที่สาม เป็นเรื่องยากไม่ใช่เล่นที่จะกำหนดได้ชัดเจนว่า อะไรคือความเปรียบเทียบ บนหลักของความจริงอันเที่ยงธรรม หรือการอวดอ้าง เพื่อทับถมกันแน่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จะกำหนดกติกาจรรยาบรรณกันได้อย่างไร ทุกประการยากไม่น้อยสำหรับการแข่งขันในทางธุรกิจ
ความเห็นของแมทธิว สรุปตรงที่เขาเสนอแนวทางสำหรับการโฆาณาเปรียบเทียบไว้ 10 ประการ คือ
1. เป้าหมายและเนื้อหาของโฆษณา ควรเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่เป็นการทำลายชื่อเสียง หรือโจมตีอย่างไม่เป็นธรรมต่อสินค้าและบริการของคู่แข่ง
2. การระบุสินค้าของคู่แข่งนั้น ควรเป็นสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาด และเป็นสินค้าของคู่แข่งขันที่อยู่ในระดับสำคัญฯ
3. การเปรียบเทียบควรกล่าวถึงกันอย่างยุติธรรม และอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่ใช่ด้วยท่าทีที่ลดระดับชั้นของสินค้าหรือบริการของคู่แข่ง
4. ควรเป็นการเปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติของสินค้า ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ขนาดต่อขนาด และรูปร่างต่อรูปร่าง
5. การให้ความหมายในการเปรียบเทียบ ควรมีจุดมุ่งหมายที่สุจริตเที่ยงธรรม ไม่เป็นไปในลักษณะทับถม ยกตนข่มท่านกันอย่างง่าย ๆ
6. ถ้ามีการพิสูจน์ข้อเปรียบเทียบ ก็ควรจะกระทำโดยผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสีย ซึ่งควรเป็นองค์กรอิสระ เพื่อการพิสูจน์จะได้ปราศจากข้อกังขา
7. ควรมีการพิสูจน์ทุกประเด็นของการกล่าวถึงในโฆษณาเปรียบเทียบ
8. การเปรียบเทียบไม่ควรใช้รายงานโดยส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือวางน้ำหนักส่วนอ้างถึงที่ไม่สำคัญ อันจะเป็นผลให้ผู้บริโภคได้ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องต่อสินค้าจากคู่แข่ง
9. คุณสมบัติที่นำมาใช้เปรียบเทียบ ควรมีคุณค่าที่สำคัญหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
10. การโฆษณาเปรียบเทียบโดยการใช้แนวทดลอง ก็ไม่ควรใช้งานทางความคิดของคนใดมายืนยัน นอกจากผลงานนั้นๆ เป็นที่ยอมรับของเสียงส่วนใหญ่
สำหรับความเห็นหลัง...อาจารย์ อัจจิมา ถ่ายทอดได้ความว่า โฆษณาเปรียบเทียบจากการมองในแง่หลักการทั่วไปนั้น กล่าวได้ว่า มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย โฆษณาเปรียบเทียบจะถือว่าดีได้ ก็จำต้องเป็นการเปรียบเทียบที่หยิบยกมากล่าวถึงจากข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้น “เมื่อเขาอุตส่าห์ลงทุนลงแรงคิดค้น และผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ก็ควรให้สิทธิเขาประกาศบ้าง” ข้อดีอีกประการก็คือ จะกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเพื่อคิดค้นผลิตผลิตภัณฑ์ หรือสร้างบริการที่ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค
ส่วนข้อเสียนั้น ที่สำคัญก็คือกระทบกระเทือนต่อกิจการขนาดเล็ก ที่เสียเปรียบด้านเงินทุน ถึงแม้จะผลิตสินค้าหรือบริการที่ดี แต่ไม่มีงบประมาณพียงพอสำหรับการโหมโฆษณาได้เท่าเทียมกับผู้ประกอบการที่ใหญ่กว่า ก็ย่อมมีผลทำให้ไม่เป็นที่รู้จัก หรือยอมรับกว้างขวางของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นจึงไม่กระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการขนาดเล็ก อันเป็นผลเสียทางเศรษฐกิจ เป็นทางหนึ่งที่นำไปสู่การผูกขาดโดยปริยาย
ที่สำคัญก็คือ โฆษณาเปรียบเทียบนั้นเป็นเรื่องที่ควบคุมยาก “เช่นในกรณี ที่บริษัทแห่งหนึ่งเคลมอีกบริษัทหนึ่ง ใครจะพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่เอามาเคลมกันนั้นจะดีอย่างนั้น ไม่ดีอย่างนี้ หรือเป็นเรื่องจริงตามที่ยกมาเปรียบเทียบกันทั้งหมด บางครั้งเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับทดสอบก็มีปัญหาไม่น้อย โดยเฉพาะในบ้านเราเวลานี้”
ในกรณีคอลเกตกับดาร์กี้นั้น ที่ปรึกษาสมาคมโฆษณาให้ความเห็นว่า ถ้าจะเอาผิดกันก็มองได้ 2 ประเด็น คือ 1) ที่ว่า 3 อย่างไม่มีฟลูออไรด์นั้น จริงหรือเปล่า 2) ที่ว่าคอลเกตได้วิจัยฟลูออไรด์นั้นทำกันยังไง ใช้ใครหรือวิธีใดของการทำวิจัย ทำกันจริงหรือเปล่า เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
“ถึงแม้บ้านเราจะมีโฆษณาเปรียบเทียบน้อย แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้าม ที่มีอยู่ก็เป็นกฎหมายที่ครอบคลุม เช่น ห้ามหลอกลวงประชาชน ห้ามโฆษณาเกินความจริง อะไรทำนองนี้ ต่างประเทศนี้โฆษณาเปรียบเทียบมาก็จริง แต่การควบคุมโดยความจริงของเขาแข็งมาก มีหน่วยงาน มีองค์กรพิสูจน์การโฆษณา เช่น อาจเป็นหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ถึงแม้จะเปรียบเทียบกันมาก แต่เมื่อฟ้องกันที ก็หนักเหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครที่คิดจะโฆษณาเปรียบเทียบก็ต้องพร้อมสำหรับการพิสูจน์ ถ้าพลาดก็โดนหนักแน่”
สำหรับในเมืองไทยนั้น อาจารย์อัจจิมา มีความเห็นไม่แน่ใจว่าผู้บริโภคจะมีทัศนคติอย่างไร “อาจสงสารคนที่โดนทับถมก็ได้” และโดยส่วนตัวแล้ว ยังไม่อยากให้มีการโฆษณาเปรียบเทียบกันแรงๆ เอากันแค่เปรียบเปรยสนุกๆ ก็ควรจะพอแล้วสำหรับในช่วงนี้
“กรณีคอลเกตนี่จะดูแรงไปหน่อย คนในวงการโฆษณาตอนนี้ ก็คอยจับจ้องดูคดีนี้ ถ้าคอลเกตเกิดชนะ ต่อไป โฆษณาเปรียบเทียบในบ้านเราก็ต้องมันแน่ๆ หลายๆ คน มองว่าคอลเกตทำไม่สวย แต่ต้องยอมรับว่าเขาใจกล้า สำหรับดิฉัน พอโฆษณาชิ้นนี้ออกมา ก็รู้สึกทันทีว่า โอ้โฮ บ้านเราก็เอากับเขาแล้วหรือนี่”
|
|
|
|
|