|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" เอ็มดีธนาคารกรุงไทย ล้มดีลดึงยักษ์ใหญ่ซีพีเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมทุนบลจ.กรุงไทย ธ.กรุงไทยถือหุ้น 40% กลุ่มซีพี 40% ทรีนีตี้ 20% หลังเห็นบลจ.กรุงไทยมีผลงานดีสามารถล้างขาดทุนสะสม 100 กว่าล้านบาท หมดใน 2 ปี ผลงานปี 2547 มีกำไรเล็กน้อย กว่า 1 แสนบาท อยากเก็บไว้ให้ธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าของกุมอำนาจการบริหาร เตรียมแจกโบนัส 1 เดือนกลางปีนี้ให้กำลังใจพนักงานบลจ.กรุงไทย
แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนาย อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มว่าที่ผู้ลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM ซึ่งได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และบริษัททรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) ว่า คณะกรรมการธนาคารกรุงไทยขอยกเลิกแผนการเข้าร่วมลงทุนตามบันทึกความเข้าใจการลงทุนในบลจ.กรุงไทย ซึ่งมีการลงนามกันในวันที่ 28 มิถุนายน 2547
สำหรับการลงนามในครั้งนั้นธนาคารกรุงไทย ได้มีการร่วมลงนามในข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ตามโครงการร่วมมือทางธุรกิจ และการเข้าลงทุนในบลจ.กรุงไทย โดยมีการลงนามกันระหว่างนาย วิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กับนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการลงนามจำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1)บันทึกความเข้าใจในการเข้าร่วมลงทุนใน Business Development Bank 2) บันทึกความเข้าใจการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย 3) บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven)
ในส่วนของการเข้าลงทุนในบลจ.กรุงไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท จะมีการเพิ่มทุนออกหุ้นสามัญใหม่เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ร่วมทุนใหม่ 2 กลุ่ม ซึ่งจะทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบลจ.กรุงไทยภายหลังการร่วมทุนเป็นดังนี้ ธนาคารกรุงไทย 40% บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ 40% และบริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) 20% ของทุนจดทะเบียน
การร่วมทุนครั้งนั้นจะทำให้ บลจ.กรุงไทย กลายสภาพจากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชนไปทันที
ทั้งนี้ การตัดสินใจเปิดทางดึงพันธมิตรยักษ์กลุ่มซีพีเข้ามาร่วมทุนในครั้งนั้นมีการระบุว่า นอกจากเป็นไปตามนโยบายของธนาคารกรุงไทยที่ต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นธุรกิจในเครือแล้ว ยังเพื่อต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับบลจ.กรุงไทยในอนาคตที่จะต้องมีการเปิดเสรีทางการเงิน และเตรียมขยายธุรกิจกองทุนในประเทศจีนร่วมกับกลุ่มซีพี
สำหรับฐานะการเงินของ บลจ.กรุงไทยนั้น เดิมมีผลขาดทุนสะสมกว่า 100 ล้านบาท ต่อมาในปี 2545 และปี 2546 เริ่มมีการปรับปรุงแก้ไขฐานะอย่างแข็งขัน โดยมีการจัดตั้งกองทุนใหม่เพิ่มขึ้นและรับบริหารกองทุนเพิ่ม ทำให้ผลขาดทุนสะสมลดลงเรื่อย โดยมีผลขาดทุนสะสมลดลงเหลือ 60 ล้านบาท กระทั่งในปี 2547 สามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมด และสามารถมีกำไรเหลืออีกประมาณ 1 แสนบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า นายอภิศักดิ์ เห็นว่า ฐานะของบลจ.กรุงไทยเริ่มดีขึ้น และสามารถทำกำไรได้แล้ว จึงตัดสินใจล้มดีลร่วมทุนครั้งนี้เก็บธุรกิจกองทุนไว้ดูแลเองดีกว่า ซึ่งในปี 2547 หลังจากมีกำไรเล็กน้อยยังได้ให้เงินรางวัลกับพนักงานบลจ.กรุงไทยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจกับพนักงานจากในอดีต ที่ไม่เคยได้รับเงินโบนัสเลยเพราะบริษัทขาดทุนสะสม นอกจากนี้จะเตรียมจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานในกลางปีนี้คนละประมาณ 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม การล้มดีลร่วมทุนครั้งนี้ทำให้แผนการขยายธุรกิจด้านกองทุนร่วมกับกลุ่มซีพี โดยในขณะนั้นมีแผนการจะจัดตั้งกองทุนไปลงทุนยังประเทศจีน และดึงเงินจากประเทศจีนมาลงทุนในเมืองไทยก็ต้องพับไป
ในส่วนของบริษัท ทรีนีตี้วัฒนา หรือกลุ่มทรีนีตี้ของ นายภควัต โกวิทวัฒนพงศ์ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารคนสำคัญ ซึ่งมีแผนจะเข้าไปลงทุนในประเทศจีนก็มีอันต้องยุติการเข้าไปลงทุนในเมืองจีนกับกลุ่มซีพีไปโดยปริยาย
|
|
 |
|
|