|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ.ธนชาติดอดแก้หลักเกณฑ์การลงทุนกองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรใหม่ โดยเปิดทางให้ลงทุนในตราสารหนี้ได้ หลังก่อนหน้าตีกรอบให้ลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล หลังประเมินทิศทางดอกเบี้ยในประเทศยังไม่มีทีท่าขยับ และการที่ธปท.ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรได้รับในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับลงทุนตราสารหนี้ภาคเอกชน
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาติ จำกัด เปิดเผยว่า บลจ. ธนชาติในฐานะผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนเปิดธนชาติพันธบัตร (NGB) ได้มีการแก้รายละเอียดโครงการของกองทุน และชื่อโครงการใหม่ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ การแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดโครงการข้างต้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2548 เป็นต้นไป
สำหรับรายละเอียดการแก้ไขเพิ่มเติมโครงการกองทุนดังนี้คือ เดิมกองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรมีนโยบายการลงทุนที่จะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกันเป็นหลัก หลังการแก้ไขโครงการ กองทุนสามารถที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ และหรือ ตราสารทางการเงินต่างๆ ของทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี
ทั้งนี้จะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโครงการ และเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการจากเดิมชื่อโครงการกองทุนเปิดธนชาติพันธบัตร มาเป็นกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนเพื่อให้กองทุนมีขอบเขตการลงทุนกว้างขึ้น โดยสามารถลงทุนในตราสารหนี้อื่นๆ ได้มากขึ้น และเพื่อความยืดหยุ่นในการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ
สำหรับกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ณ วันที่ 21 เม.ย. มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 282.80 ล้านบาท มูลค่าหน่วยลงทุน 10.0338 บาท มูลค่าโครงการ 1.5 พันล้านบาท จดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548
นายกำพล กล่าวว่า การแก้ไขโครงการครั้งนี้ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับที่สูงขึ้น หลังจากที่เราประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) 14 วัน ไว้ที่ระดับ 2.25% เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจุดนี้จะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรเพียงอย่างเดียวได้รับผลตอบแทนในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนควบคู่กันไป
"เรามองว่าแนวโน้มดอกเบี้ยยังไม่น่าจะขยับจึงได้ตัดสินใจขออนุมัติผู้ถือหน่วยลงทุน ขยายขอบเขตการลงทุน เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนในระดับที่ทุกคนพอใจ" นายกำพลกล่าว
นายกำพล กล่าวว่า วันนี้หากนักลงทุนมีเงินออมและเป็นเงินออมที่สามารถลงทุนได้ในระยะยาว เชื่อว่าการลงทุนผ่านกองทุนตราสารหนี้ หรือพันธบัตรระยะยาวอายุเฉลี่ย ประมาณ 3 ปี ผลตอบแทนจากการลงทุน ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจมาก ซึ่งทำให้เริ่มเห็นบลจ.หลายแห่งเริ่มออกกองทุนตราสารหนี้ หรือพันธบัตรที่มีอายุมากขึ้น จากที่ก่อนหน้าเน้นลงทุนตราสารหนี้เอกชนอายุเฉลี่ย 6 เดือน หรือ 9 เดือน
สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่มีอายุประมาณ 3 ปี หากเป็นตราสารหนี้เอกชนผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับประมาณ 4% หลังจากหักค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการ ขณะที่การลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาลผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2.8%
นายกำพล กล่าวว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1 ปี ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนจะอยู่ที่ 2.6% ขณะที่ตราสารหนี้เอกชนให้ผลตอบแทน 3.1% ส่วนที่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.99% ตราสารหนี้เอกชนให้ผลตอบแทน 3.8% และการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุเฉลี่ย 3 ปี ผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.29% และการลงทุนผ่านตราสารหนี้ภาคเอกชนอายุ 3 ปี ให้ผลตอบแทนสูงถึง 4.35%
ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส กล่าวอีกว่า การที่ธปท.ตัดสินใจประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีไว้ที่ระดับ 2.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2.75% ส่วนต่าง 0.50% เนื่องจากธปท.ประเมินว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการตัดสินใจตรึงดอกเบี้ยครั้งนี้จะทำให้แนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น และจะทำให้ปัญหาการขาดดุลการค้าและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง
|
|
|
|
|