Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 พฤษภาคม 2545
กรุงไทยบุกบัตรเครดิตนศ.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
Credit Card




เอ็มดีบัตรกรุงไทยเผยเบื้องลึกของจิตใจ อย่ามองธุรกิจบัตรเครดิตเป็นซาตานแต่ เป็นบริการหนึ่งของสินเชื่บุคคลที่ลูกค้าเลือกใช้เงินในอนาคตมาสร้างชีวิตให้ดีขึ้น กระตุ้นการใช้จ่าย

ระบุกลุ่มนักศึกษาจบใหม่รายได้เฉลี่ยจะอยู่ที่ 7,500 บาทต่อเดือน พร้อมบุกลูกค้าไม่มีรายได้ประจำแต่ มีศักยภาพที่จะชำระหนี้ นายนิวัตต์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด

เปิดเผยว่าการที่บริษัทลดฐานรายได้ผู้ถือบัตรลงมาเหลือ 7,500 บาทต่อเดือน จะส่งผลให้ธนาคารสามารถออกเงื่อนไขผู้มีรายได้ขั้นต่ำ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการกำหนดเกณท์ขั้นต่ำ ดังกล่าว

เนื่องจากทางบริษัทประเมินจากนักศึกษาที่จบใหม่ในระดับปริญญาตรีจะมีรายได้ประจำขั้นต่ำ ประมาณ 7,500 บาทต่อเดือนซึ่งจะช่วย ให้กลุ่มลูกค้า ดังกล่าวสามารถถือบัตรเครดิตได้

"จากที่บริษัทออกเกณท์ 7,500 บาทต่อดือนสามารถมาขอถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงไทยได้ในช่วงที่ผ่านมาโดยในแต่ละวันมีประมาณ 8,000-10,000 ราย" นายนิวัตต์กล่าว

นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ประจำขั้นต่ำ 7,500

พันบาทต่อเดือนแล้วธนาคารยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในการชำระหนี้คืนได้ ถึงแม้ว่าลูกค้ารายดังกล่าวจะไม่ได้มีอาชีพ ที่สะท้อนให้เห็นว่ามีรายได้ประจำ

เช่นกรณีมีอาชีพเป็นแม่บ้านแต่มีสามีเป็นนายแพทย์และเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายทุกอย่างภายในบ้านประมาณ 100,000บาทต่อเดือนก็สามารถที่จะเป็น

ผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารได้ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทางการ

"ที่ผ่านมาระบบสินเชื่อบุคคลของประชาชนไทยค่อนข้างถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจส่งผลทำให้ชีวิตโดยทั่วไปของประชาชนไม่ดีเท่าที่ควร

ประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้นกลับต้องดิ้นรนไปหาสินเชื่อจากตลาดมืดที่มีดอกเบี้ยแพงมหาศาล 20-50% แต่หลังจากที่รัฐบาลโดยกระทรวง

การคลังและธปท.เห็นด้วยที่ประชาชนมีโอกาสที่จะใช้สินเชื่อบุคคลผ่านสถาบันการเงินมากขึ้นเพื่อที่ประชาชนไม่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยแพงนอกระบบ

และการที่ธปท.ยกเลิกเพดานขั้นต่ำถือว่าเป็นการกระตุ้นให้มีสินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น เพราะบัตรเครดิตถือเป็นสินเชื่อบุคคลประเภทหนึ่ง" นายนิวัตต์ กล่าว ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น

สิงคโปร์ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของครอบครัวมีสูงเฉลี่ย 300% ขณะที่มีรายได้ประจำ 100% เท่านั้นเทียบกับประเทศไทยปัจจุบันแต่ละครอบครัวมียอด การใช้จ่ายจากสินเชื่อเพียง 50%

ขณะที่มีรายได้ประจำ 100% "ประเทศที่เจริญเหล่านั้นมองว่าสินเชื่อบุคคลมีความสำคัญในการที่จะสร้างให้วิถีชีวิตของประชาชนดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งเงินนอกระบบที่มีต้นทุนแพงกว่า ดังนั้น

ถ้าประเทศไทยต้องการให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ก็ควรต้องให้ความสำคัญกับสินเชื่อบุคคลมากขึ้น ซึ่งประเทศที่พัฒนาเหล่านี้มองว่าการจะสร้างชีวิตให้ดีขึ้นก็อาจต้องพึ่งเงินในอนาคตซึ่งก็คือสินเชื่อ

ถ้ามัวแต่จะเริ่มเก็บสะสม เพื่อทำให้อนาคตดีขึ้นก็คงต้องใช้ระยะเวลานาน ชีวิตของประชาชนเหล่านั้นคงต้องลำบากต่อไป " สำหรับเป้าหมายปีนี้ จะเพิ่มบัตรเครดิตเป็น 5 แสนบัตรอย่างแน่นอน

และคาดว่าในสิ้นปีหน้าทางบริษัทน่าจะขยายฐานบัตรเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านบัตร ได้เช่นกันซึ่งถ้าเป็นไปตามเป้าหมายภายในปีนี้บริษัทจะมีฐานบัตรเครดิตมากที่สุดในประเทศไทย สิ้นไตรมาสแรกปี45

ฐานบัตรของบริษัทเกือบ 3 แสน บัตร โดยต้นเดือนม.ค.เป็นต้นมา ฐานบัตรมีการขยายตัวค่อนข้างมาก เฉลี่ยเดือนละ 30,000-40,000 บัตรต่อเดือน ส่วนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 1

ของปีนี้ อยู่ที่ 5.3 พันบาทต่อรายต่อเดือน และภายหลังจากการใช้โปรโมชั่น กระตุ้นคาดว่าจะทำให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของระบบ ด้านยอดการชำระหนี้ของลูกค้าประมาณ 30%

จะเป็นการทยอยชำระหนี้ 10% อีก 70% ที่เหลือเป็นการจ่ายชำระทั้งหมด ไม่ห่วงความเสี่ยง มั่นใจระบบตรวจสอบ นายนิวัตต์

กล่าวการลดฐานรายได้ผู้ถือบัตรคงไม่ได้ส่งผลในเรื่องของความเสี่ยงต่อบริษัท เนื่องจากบริษัทมีข้อมูลของลูกค้าค่อนข้างมากในการที่จะตรวจสอบได้ว่าลูกค้ากลุ่มใดมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน

ขณะที่ในปัจจุบันระบบการให้เครดิตของสถาบันการเงินก็มีการจัดตั้งเครดิตบูโรขึ้นมา

ซึ่งภายหลังจากที่ลูกค้าส่งหลักฐานขอบัตรเครดิตแล้วทางบริษัทก็สามารถตรวจสอบลูกค้าว่ามีประวัติเป็นอย่างไรบ้าง และล่าสุดสามารถตรวจสอบได้ทั้งทางที่ดีและไม่ดีของลูกค้าก่อนอนุมัติ

มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมด้านวงเงินให้กับลูกค้าได้ตามศักยภาพที่จะชำระได้ ซึ่งเชื่อว่าจากที่มีเครดิตบูโรดังกล่าว จะทำให้ลูกค้าผู้ถือบัตรไม่ผิดวินัยชำระหนี้

ไม่เช่นนั้นลูกหนี้สร้างประวัติไม่ดีเอาไว้จะไม่สามารถที่จะขอสินเชื่อประเภทอื่น ๆจากสถาบันการเงินได้อีกหรือได้ก็จะถูกชาร์จดอกเบี้ยที่แพงกว่าปกติเพราะถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

"ไม่อยากให้ทุกคนมองว่าบัตรเครดิตเป็นเรื่องของซาตานว่าจะเป็นผู้ทำให้ระบบการใช้จ่ายเกิดการฟุ่มเฟือย หรือจะเกิดการสร้างหนี้เสียให้กับระบบควรจะมองว่าบัตรเครดิต ก็คือสินเชื่อบุคคลประเภทหนึ่งที่ประชาชนเอาเงินอนาคตมาสร้างทำให้ชีวิตดีขึ้นไม่ใช่เป็นการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยที่จะทำให้ระบบมีภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าเราให้ความสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการกระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ

หากมีการบริโภคเพิ่มขึ้น จะเกิดการจ้างงานมากขึ้นแทนที่เราจะหวังการส่งออกกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us