"ตั้งฮั่วเส็ง" วิพากษ์องค์กรจัดซื้อสินค้าโชวห่วยรัฐบาลจุดอ่อนเพียบ
ไม่มีผู้รับผิดชอบการกระจายสินค้าที่เป็นต้นทุนหลัก แนะควรใช้ยี่ปั๊วในพื้นที่ทั่วประเทศที่มีรถขนส่งอยู่แล้ว
เพื่อลดการส่งทุนของภาครัฐ
ชี้ให้สหกรณ์ จังหวัดขนส่งไม่เวิร์ก พร้อมหาผู้เชี่ยวชาญในวงการค้าปลีกมา
บริหาร เนื่องด้วยมีความรู้ด้านการต่อรองซื้อสินค้าแข่งดิสเคานต์สโตร์ นายวิโรจน์
จุนประทีปทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัดและอดีตประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผย
"ผู้จัดการรายวัน" ว่า การจัดตั้งองค์กรมหาชน
หรือองค์กรจัดซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ของกระทรวงพาณิชย์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาค้าปลีกนั้น
รูปแบบการจัดตั้งและแนวทางในการบริหารงานถือว่ายังมีจุดอ่อนหลายประการ
เริ่มด้วยปัญหาการขนส่งสินค้า ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของธุรกิจค้าปลีกรายเล็ก
และดูเหมือนแนวทางช่วยเหลือโชวห่วย ของนายเนวิน ชิดชอบ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จะไม่ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าว ปัจจุบันต้องยอมรับว่าการขนส่ง
สินค้าเป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูง
และภาครัฐเองยังไม่มีการวางมาตรการใดๆที่ชัดเจนเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าจากซัปพลายเออร์ไปให้ยังร้านโชวห่วย
สำหรับงบประมาณที่ภาครัฐเตรียมจัดสรรมาใช้ในการจัดตั้ง
องค์กรซื้อสินค้าให้ร้านโชวห่วยจำนวน 300-400 ล้านบาทนั้น ถือว่าเพียงพอสำหรับการวางระบบคอมพิเตอร์ในการ
สั่งซื้อสินค้าเท่านั้น
หากรัฐจะรับผิดชอบด้านการขนส่งเองก็จะต้องมีการลงทุนเรื่องหน่วยรถส่งอีกจำนวนมหาศาล
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่ากระบวนการจัดตั้งองค์กรซื้อสินค้าจากซัปพลาย-เออร์ของรัฐบาล
ไม่มีการนำยี่ปั๊วที่เป็นตัวแทนการซื้อและการกระจายสินค้าในระบบดั้งเดิมเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบด้วย
ซึ่งถือเป็นที่น่าเสียดาย
เพราะกลุ่มยี่ปั๊วที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อและกระจายสินค้าเป็นอย่าง
มาก จากการที่ดำเนินธุรกิจดังกล่าวมาเป็นระยะเวลา นาน
และเป็นกลุ่มที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศแล้ว ดังนั้น ภาครัฐน่าจะใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของยี่ปั๊วมาช่วยเรื่องการกระจายสินค้าให้
และยังถือ
เป็นการช่วยยี่ปั๊วให้มีอาชีพทำต่อไปท่ามการยุคการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีก
นายวิโรจน์กล่าวต่อว่าสำหรับแนวคิดของภาครัฐที่ต้องการให้สหกรณ์ชุมชนที่มีอยู่แล้วในจังหวัดต่างๆ
มารับผิดชอบการกระจายสินค้าให้นั้น น่าจะเกิด ปัญหาขึ้นในอนาคต เพราะจะต้องมีการลงทุนในเรื่อง
ของหน่วยรถขนส่งทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ มหาศาลมาก
แต่หากจะให้ร้านโชวห่วยเดินทางมารับ สินค้าจากร้านสหกรณ์จังหวัดที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้า
4 จุดใน 1 จังหวัดนั้น
อาจจะสร้างความลำบากให้ร้านโชวห่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเดินทางเข้ามารับสินค้าที่สหกรณ์ได้
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกประการ คือทีมงานที่
จะมาบริหารบริษัทจัดซื้อที่ภาครัฐจะจัดตั้งขึ้น จะต้อง เป็นทีมงานในระดับมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดซื้อ
โดยจะต้องมีความรู้ด้านการต่อรองราคาสินค้า คือ เมื่อสั่งซื้อสินค้าด้วยจำนวนหนึ่ง
ราคาขายจากซัปพลายเออร์ควรจะเป็นเท่าใด ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่จะมารับผิดชอบจะต้องมีความสามารถในการต่อ
รอง และสมควรจะรู้ว่าราคาขายที่ซัปพลายเออร์ขาย
ให้กับดิสเคาน์สโสตร์มีราคาเป็นอย่างไรด้วย เพื่อนำ มาเปรียบเทียบกับราคาที่บริษัทจัดซื้อของโชวห่วยซื้อ
จากซัปพลายเออร์ เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน
ตรงนี้หากให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการมาดูแลก็คงไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทราบ
ถึงกลยุทธ์ด้านการต่อรองราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้ร้านโชวห่วยเองเสียประโยชน์ไปด้วย
นอกจากนี้ผู้บริหารบริษัทจัดซื้อสินค้าจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าอย่างละเอียดว่าสินค้ากลุ่ม
ใดเป็นสินค้าที่ทำยอดขายหลักให้กับร้านค้า เพราะปัจจุบันสินค้าของซัปพลายเออร์จาก
100 รายการ
จะมีเพียง 20 รายการเท่านั้นที่ยอดขายให้ 80% ส่วน อีก 80 รายการที่เหลือ
จะทำยอดขายได้เพียง 20% เท่านั้น ในส่วนนี้ผู้บริหารบรษัทจัดซื้อสินค้าเองจะต้อง
ส่งซื้อสินค้าให้ได้ตรงกับความต้องการของร้านค้าด้วย เพราะหากสั่งซื้อสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของร้านค้าแล้วและไม่สามารถจำหน่ายได้ก็จะเป็นภาระที่
ทั้งบริษัทจัดซื้อ
และร้านค้าจะต้องแบกรับภาระด้านสต็อกสินค้าร่วมกัน จากแนวคิดของนายเนวิน
ที่ตั้งเป้าหมายจะให้ บริษัทจัดซื้อสินค้ามีการซื้อสินค้าประมาณ 10,000 รายการนั้น
เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากเพราะจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนมาก
และไม่เชื่อว่าสินค้า ทั้ง 10,000 รายการจะเป็นสินค้าที่ร้านโชวห่วยจะขาย
ได้ สำหรับรูปแบบของร้านโชวห่วยในประเทศไทยเอง
น่าจะจำหน่ายสินค้าเพียง 500 รายการเท่านั้น ดังนั้น บริษัทจัดซื้อก็ควรมีการสั่งซื้อสินค้าเพียง
2,000-3,000 รายการ เพราะในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความต้องการซื้อสินค้าไปจำหน่ายแตกต่างกัน
ในปี
2544 ธุรกิจโมเดิร์น เทรด มีจำนวนสาขา ร้านค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นดิสเคานต์สโตร์
ศูนย์ การค้า ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนวีเนียนสโตร์ รวมกันประมาณ
4,425 แห่ง คิดเป็นมูลค่า
ประมาณ 290,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 54% ของภาพรวมค้าปลีกในไทย สำหรับโชวห่วยซึ่งเป็นค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทย
มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 250,000 แห่ง คิดเป็นรายได้ มูลค่า 240,000
ล้านบาท หรือมีส่วนแบ่งการตลาด ประมาณ46% ส่วนในปี 2545 คาดว่า ธุรกิจโมเดิร์นเทรด
จะมีการขยายสาขาทุกประเภทรวมกัน เพิ่มขึ้นอีก 500 แห่ง โดยจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอีก
10%
หรือคิดเป็น 64% ในส่วนของธุรกิจโชวห่วย จากสถิติปี 2540 จำนวนร้านโชวห่วยในประเทศไทย
มีประมาณ 500,000 แห่ง และคาดว่า ในปี 2545 จะมีร้านโชวห่วยเหลือไม่ถึง 100,000
แห่ง
รวมถึงส่วนแบ่งการตลาดก็จะลดลงเหลือเพียง 36% จากการขยายตัวของธุรกิจโมเดิร์นเทรดหากภาครัฐไม่มีมาตรการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างชัดเจน
องค์กรมหาชนดังกล่าว
เกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีในการประชุม เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2545
โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้เสนอ เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการรายย่อย โดยมีจุดประสงค์
เพื่อรวมตัวกันในการซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ และเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรอง
ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณ 395 ล้านบาท จากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ
มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งแก่ร้านค้าปลีกรายย่อย โดยมีเป้าหมายที่จะระดมร้านค้าปลีกรายย่อยเข้าร่วมโครงการ
100,000 ราย ภายในกำหนดเวลา 3 ปี
ร้านค้าปลีกรายย่อยแต่ละร้านที่ขาดเงินในการลงทุน สามารถยื่นขอกู้ได้จาก
บรรษัทอุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือโครงการสินเชื่อตึกแถว จากธนาคาร ออมสิน มีวงเงินสินเชื่อตั้งแต่
100,000 -300,000
บาท ทั้งนี้ ด้วยการใช้บริการสินเชื่อห้องแถว จากธนาคารออมสิน องค์กรดังกล่าว
จะมีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้มีอำนาจต่อรอง กับผู้ผลิตในการซื้อสินค้าต่างๆ
โดยได้รับส่วนลดที่ผ่อนปรนภายใต้เงื่อนไขเดียวกับที่ ดิสเคานต์สโตร์ ได้รับ
ด้วยวิธีการเช่นนี้ องค์กรนี้จะช่วยให้ร้านค้าปลีก รายย่อยสามารถซื้อสินค้าในราคาถูกลงได้
และอยู่ใน
ฐานะที่จะแข่งขันในธุรกิจการค้าปลีกได้ดีขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง องค์กรจะช่วยลดสภาพคล่องล้นเกินในภาค
เศรษฐกิจการเงิน เนื่องจากจะมีการปล่อยกู้แก่ร้านค้า ปลีกรายย่อยมากขึ้น