ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาค ที่มีความสำคัญต่อ การผลิตยานยนต์ทั่วโลก โดยการเติบโตในการผลิตยานยนต์ในภูมิภาคนี้คิดเป็น
45% ของการเติบโตในการผลิตยานยนต์ทั่วโลกในช่วงปี 2541-2549
ปริมาณความต้องการยานยนต์ ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ที่มีประชากรหนาแน่นอย่างเอเชียแปซิฟิก
จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ และผู้ให้บริการอื่นๆ
ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกหลายปีข้างหน้า
แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ดีสำหรับ ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ และผู้ให้บริการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ในการที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากการ เปลี่ยนแปลงของตลาด
เนื่องจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถูกเรียกขานเป็น
"ดีทรอยต์" แห่งภูมิภาคนี้ การผลิต และส่งออกยานยนต์เป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น
เพราะทำให้เกิดการสร้างงาน เพิ่มอำนาจการซื้อ และ เพิ่มรายได้จากการส่งสินค้าออกให้กับประเทศ
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองนั้น โอกาสการเติบโตด้านการผลิตยานยนต์ของแต่ละประเทศในภูมิภาคมีความแตก
ต่างกัน โดยไทยมีอัตราการเจริญเติบโต ในการผลิตยานยนต์สูงถึง 21.3% ต่อปี
ในขณะที่ตลาดที่อิ่มตัวแล้ว เช่น ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย อัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ ที่
1.1% และ 2.7% ตามลำดับ
"ดูเหมือนจะเป็น ข่าวดีสำหรับ ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในเมืองไทย
แต่ในความเป็นจริง ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ และผู้ให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านการผลิตยานยนต์"
สตีเฟ่น ฮิวจ์ส กรรมการบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ประจำประเทศไทยกล่าว
ซึ่งผู้ประกอบการจำนวนมากจะประสบความยากลำบากในการแข่งขัน ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงาน ที่สอดคล้องกับการพัฒนาของอุตสาหกรรมโดยรวม
คำถาม ที่สตีเฟ่นสงสัย คือ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นจากอะไร?
ปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลงคือ กำลังการผลิต ที่ล้นตลาด ก่อให้เกิดกระแสรวมตัวกันในกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์
โดยเริ่มจากการรวมตัวของเดมเลอร์ ไครสเลอร์ในปี 2541
"กำลังการผลิต ที่ล้นตลาดถือเป็นตัวบั่นทอนเสถียรภาพของตลาด และเป็นแรงผลักดัน ที่ก่อให้เกิดภาวะผลผลิต และประสิทธิภาพการผลิต ที่ตกต่ำ"
สตีเฟ่นอธิบาย
นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัย ที่สร้างความกดดันให้ทั้งผู้ผลิตยานยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์
ซึ่งจะถูกบังคับให้ทำการลงทุน เพื่อสนองนโยบาย การขยายตัวทั่วโลกของผู้ผลิตยานยนต์
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือว่าเป็นตลาดที่มีกำลังการผลิตยานยนต์สูงเกินความต้องการของตลาด
"อัตราการผลิต ณ ปัจจุบัน ถูกคาดหมายว่าอยู่ในช่วงประมาณ 65-75% ของกำลังการผลิต ที่มีอยู่น้อยกว่าอัตราการผลิตในยุโรปตะวันตก และอเมริกา
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่า ที่จะสามารถใช้กำลังการผลิต ที่มีอยู่ทั้งหมดได้อย่างเต็มที่"
สตีเฟ่นบอก
ผลกระทบจากการรวมตัวกันของ ผู้ผลิตยานยนต์ รวมถึงการจัดหาส่วนประกอบจากผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง เพื่อใช้ในการผลิตทั่วโลก
ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้น ส่วนประกอบยานยนต์ในประเทศไทย จำเป็นต้องรวมตัวกับผู้ผลิตชิ้นส่วนรายอื่นๆ
ในเอเชีย ในอนาคตผู้ผลิต ที่ขาดความชำนาญในด้านวิศวกรรม การออก แบบ และงานระบบ
จะเป็นผู้ผลิต ที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องมีการรวมตัวกับผู้ผลิตรายอื่น ที่มีความชำนาญในด้านดังกล่าว
เพื่อสร้างโอกาสให้ประสบความสำเร็จ
"ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ ในไทย ที่เข้าใจจุดนี้ และสามารถบริหารจัดการบริษัทของตนให้เข้ากับสภาวะการ
ตลาดที่เปลี่ยนไป จะได้รับสิ่งตอบแทน ที่สำคัญที่สุดคือ โอกาสในการเติบโต
อย่างรวดเร็วในระยะ 6 ปีข้างหน้า" สตีเฟ่นมั่นใจ การเปิดตัวเข้าสู่ตลาด เอเชีย
แปซิฟิกคงไม่เกินความสามารถ
บริษัท ที่ประสบความสำเร็จดังกล่าว จะมีโอกาสสร้างพันธมิตรทางการค้ากับผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลก และภูมิภาค
ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลกเหล่า นี้ต้องอาศัยผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใกล้
กับแหล่งผลิตยานยนต์ และเป็นผู้ที่มีความเข้า ใจวัฒนธรรมการดำเนิน ธุรกิจในท้องถิ่น และเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี
ความเปลี่ยน แปลง ที่เกิดขึ้นได้นำมา ซึ่งโอกาสสำหรับผู้ที่มีความพร้อม ความท้าทายสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ในเมืองไทย
"ณ ขณะนี้คือ การแสวงหาพันธมิตรทางการค้า ที่เหมาะสม" สตีเฟ่น บอก รวมถึงการเจรจาต่อรอง ที่ให้ผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจอย่างแท้จริง
สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนว่าจะสามารถดำเนิน ธุรกิจให้อยู่รอดในวงจรการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้หรือไม่?