|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ เล็งผุดโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยใช้ก๊าซที่เผาทิ้งในแหล่งสิริกิติ์ (S1) มาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งจะดึงปตท.สผ.เข้าร่วมทุนโครงการดังกล่าวด้วย เผยก.ค.นี้เตรียมรีไฟแนนซ์หนี้ก้อนใหญ่ 3.4 หมื่นล้านบาท เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1% บิ๊กกฟผ.ย้ำหลังเข้าตลาดทรัพย์ฯ กฟผ.จะไม่เข้าไปสร้างโรงไฟฟ้าแข่งกับลูก และไม่ลดสัดส่วนการถือหุ้นในเอ็กโก้และราชบุรีฯด้วย
นายบุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซเผาทิ้งในกระบวนการผลิตน้ำมันดิบที่แหล่งปิโตรเลียมสิริกิติ์ (S1) ของบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือปตท.สผ. มีกำลังการผลิตเบื้องต้น 1 เมกะวัตต์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯจะเจรจาขอซื้อก๊าซฯ ที่ไม่ได้มีการใช้ทำให้ต้องเผาทิ้งไปในขบวนการผลิตน้ำมันดิบ รวมทั้งเจรจาให้ปตท.สผ.สยาม เข้ามาร่วมทุน 50:50 ในโครงการดังกล่าวด้วย หากโครงการดังกล่าวมีศักยภาพก็จะดำเนินการจัดซื้อเครื่องผลิตไฟฟ้าจากก๊าซฯ มาติดตั้ง และขายไฟฟ้าที่ได้เข้าระบบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่สูงมากและระยะเวลาดำเนินการติดตั้งไม่เกิน 1ปี
โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการหนึ่งในแผนลงทุนโรงไฟฟ้าพลังทดแทน นอกเหนือจากการเข้าไปศึกษานำพลังลมมาผลิตไฟฟ้า โดยจะทดลองผลิตเริ่มต้นขนาด 5 กิโลวัตต์ หากประสบผลเป็นที่น่าพอใจก็จะขยายเพิ่มขึ้นเป็น 150 กิโลวัตต์ นับเป็นการปูฐานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อรองรับการเข้าร่วมประมูลสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต หลังจากรัฐกำหนดให้โรงไฟฟ้าแห่งใหม่จะต้องมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในสัดส่วน 5% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยราชบุรีฯ มีพื้นที่เหลือเพียงพอที่จะสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพีใหม่ขนาด 700 เมกะวัตต์
รีไฟแนนซ์หนี้3.4หมื่นล้านก่อนก.ค.นี้
นายบุญชู กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้มีแผนจะปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่ครบกำหนด 1 ก.ค.2548 จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมที่ชำระอยู่ MLR-2 เป็น MLR-1.125 ทำให้บริษัทฯ มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มอีก 1%
ซึ่งรูปแบบการรีไฟแนนซ์หนี้นั้น อาจจะเจรจากับเจ้าหนี้เดิมเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ หรือออกหุ้นกู้รวมกับกู้เงินสถาบันการเงินเพื่อนำมารีไฟแนนซ์หนี้ทั้งหมด คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 1 ก.ค.นี้ และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ราชบุรี เพาเวอร์ จำกัด ที่บริษัทถือหุ้นอยู่ 25% จะพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,400 เมกะวัตต์ โดยจะใช้เงินกู้ประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นเงินกู้เงินสกุลบาท 6,500-7,000 ล้านบาท และกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ 480-500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปีนี้ เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,400 เมกะวัตต์นี้ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จชุดที่ 1 ในเดือน มี.ค. 2551 และชุดที่ 2 ในเดือนมิ.ย.2551
ส่วนวงเงินหุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติให้บริษัทฯเสนอขายได้ไม่เกิน 7.5 พันล้านบาทนั้น บริษัทยังไม่มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ในปีนี้ แต่คงขึ้นกับแผนการใช้เงินในอนาคต เพราะวงเงินดังกล่าวขอไว้เพื่อรองรับแผนการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าและให้เป็นเงินกู้โครงการของบริษัทลูก
กฟผ.ยันเข้าตลท.ไม่กระทบ RATCH
นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่ากฟผ.ไม่มีนโยบายที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทลูกทั้งบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และบมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก้) ภายหลังจากกฟผ.เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของราชบุรีและเอ็กโก้แน่นอน และเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากฟผ.จะไม่ทำโรงไฟฟ้าแข่งกับบริษัทในเครือฯ ดังนั้น กฟผ.จึงได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพลังงานว่าจะขอเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าประมาณ 50% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนที่เหลือให้เอกชนเข้ามาประมูลสร้างโรงไฟฟ้า เนื่องจากกฟผ.มีหน้าที่ดูแลความมั่นคงระบบพลังงานไฟฟ้าและปริมาณสำรอง
|
|
 |
|
|