Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 เมษายน 2548
ธปท.กังวลศก.ทรุดดึงเวลาขึ้นดอกเบี้ย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25 % เหตุเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงหลายปัจจัย ทั้งน้ำมัน-ความไม่สงบชายแดนใต้ ไม่หวั่นเงินทุนไหลออกเพราะนักลงทุนจะดูอัตราแลกเปลี่ยน และพื้นฐานของเศรษฐกิจมากกว่าดอกเบี้ย ขณะที่ดอกเบี้ยของโลกก็อยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกันกับแรงกดดันต่อเงินเฟ้อก็ยังต่ำอยู่ ด้านนักเศรษฐศาสตร์ ฟันธงแบงก์ชาติกังวลเศรษฐกิจชะลอ แค่ดึงเวลารอดูสถานการณ์ถึงที่สุดคาดมิถุนายนจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรซื้อคืนระยะ 14 วัน หรืออาร์พี ไว้ที่ 2.25 % ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มีมากขึ้นจากปัจจัยลบต่างๆ เช่น ภาวะภัยแล้ง ผลกระทบจากสึนามิ การลดลงของการท่องเที่ยว ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง

“ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณของความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำผิดปกติ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่จำเป็นว่าจะต้องปรับขึ้นทุกครั้งที่ประชุม เพื่อช่วยให้ภาวะทางการเงินในขณะนี้สนับสนุนให้ธุรกิจที่ดำเนินกิจการภายใต้ความเสี่ยงได้ปรับตัวตาม ” นางอัจรา กล่าว

ทั้งนี้ แม้ว่าการไม่ปรับขึ้นครั้งนี้จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยมีส่วนต่างกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ถึง 0.50 % แต่คณะกรรมการคาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการไหลออกของเงินทุนไปยังนอกประเทศ เนื่องจากนักลงทุนจะพิจารณาถึงแนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนและพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยของประเทศส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำจึงไม่มีแรงกดดันมากนัก ไม่ใช่ไทยแตกต่างกับสหรัฐเพียงแค่สองประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายคณะกรรมการจะคำนึงถึงแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่มีโอกาสเร่งตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ โดย ธปท.มีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะเกินกว่าประมาณการ 0-3.5% แต่เหตุที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเท่าเดิม เพราะแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งภาวะเงินเฟ้อจะเร่งตัวตามราคาพลังงานเป็นหลัก โดยในเดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.2 % และ 0.8 % ตามลำดับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่มีสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานจะอยู่สูงเกินกว่าเป้าหมาย และแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น 3 บาทต่อลิตรในเดือนมีนาคม แต่ราคาค่าขนส่งและบริโภคอุปโภคจะปรับขึ้นจริงๆ ในเดือนพฤษภาคม

ทั้งนี้ ธปท.ได้มีการปรับประมาณการราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปีนี้จะอยู่ที่ 44.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนในปี 2549 จะปรับขึ้นไปเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 46.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับเดือนมกราคมที่ ธปท.ประมาณการไว้ที่ 35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 9.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อระบุว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น1%จะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลง 0.02%และการปรับประมาณใหม่ราคาน้ำมันครั้งนี้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นประมาณ 27%

นางอัจนากล่าวต่อว่า ขณะนี้ธปท.ยังเชื่อมั่นว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปี 2548 จะเกินดุล เนื่องจากในไตรมาสแรกนั้นมูลค่าการนำเข้าของไทยสูงขึ้นผิดปกติจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการสะสมสินค้าคงคลังในบางชนิด เช่น เหล็กที่คิดว่าราคาจะสูงขึ้นแต่ช่วงต่อไป โดยการท่องเที่ยวและการส่งออกที่สูงขึ้นจะช่วยให้กลับมาเกินดุล

นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าธปท.ได้ส่งสัญญาณที่จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้เอื้อต่อการส่งออกของประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามารุมล้อม ทั้งราคาน้ำมัน เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ภัยแล้ง เป็นต้น

สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้นคงยังไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 ของปีนี้แน่นอน เนื่องจากสภาพคล่องของธนาคารยังมีเพียงพอในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารได้มีการขยายฐานเงินฝากเพิ่มขึ้น

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส สแตนดาร์ดชาเตอร์ด สาขาประเทศไทย กล่าวว่าการที่ ธปท.ได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเรื่องแนวโน้มของเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวเทียบน้ำหนักมากกว่าความกังวลเรื่องของภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งมองว่าเป็นการดึงเวลาดูสถานการณ์ของเศรษฐกิจระยะหนึ่ง เมื่อถึงที่สุดแล้วการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนมิถุนายนจะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ขณะนี้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน จะต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟดอยู่ประดับ 0.5 % และในวันที่ 3 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25 % ทำให้มีช่วงห่างเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเป็นช่วงพอดีกับมีการเคลื่อนย้ายการลงทุนในตลาดทุนในภูมิภาคอยู่แล้ว ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย เพราะดูผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทที่จดทะเบียนไตรมาส 1 ไม่ขยายตัวตามที่คาดไว้ และในขณะที่ราคาได้ปรับสูงก่อนหน้านี้ จึงอาจจะมีการโยกย้ายการลงทุนในภูมิภาคเอเชียออกไป

นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีความกังวลเรื่องของราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้แนวโน้มของการเคลื่อนย้ายการลงทุนมีสูง และส่งผลถึงค่าเงินบาทน่าจะอ่อนค่าลง ซึ่งหากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากจะกระทบกับภาวะเงินเฟ้อที่ราคาน้ำมันเป็นตัวเร่ง ดังนั้นเชื่อว่าธปท.น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก คาดว่าทั้งปีจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.5 %   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us