ไม่นานมานี้ ผมทำโทรศัพท์มือถือหล่นหายโดยไม่รู้ตัวอย่างน่าเจ็บใจ คือ ไม่รู้ตัวว่าหายจนกระทั่งรู้ตัวว่าหาย
ซึ่งพอ รู้ตัวก็หายไปแล้ว ต้องไปยกเลิกเครื่องเพื่อ เบรกการใช้งาน (ที่ผมอาจต้องจ่ายอย่างไม่เต็มใจ)
และไปหาซื้อเครื่องใหม่ที่มาบุญครอง คราวนั้นผมเจาะจงซื้อรุ่นปานกลางเผื่อหายอีกจะได้ไม่รู้สึกมาก
ที่มาบุญครองมีร้านขายโทรศัพท์ให้เลือกชอปมากมาย แต่ด้วยเหตุวันนั้นผมมีธุระอื่นด้วย
ผมต้องใช้เวลาซื้อโทรศัพท์อย่างรวดเร็ว ผมคงไม่มีเวลาสอบถามราคาร้าน ต่างๆ
เพื่อหาร้านที่ราคาถูกที่สุด ผมตัด สินใจตรงไปยังบริเวณศูนย์กลางที่มีร้านรวมกันอยู่มากเรียกได้ว่าเป็น
"ทำเลทอง" ของบริเวณที่ขายมือถือ โดยมีความคิดว่าบริเวณนี้น่าจะได้ราคาดี
พอ ได้เลือกรุ่นที่พอใจก็ตัดสินใจซื้อทันที ต่อมาผมสอบถามราคาจากเพื่อนภายหลังก็ไม่เป็นที่ผิดหวังเพราะราคาที่ซื้อถูกเป็นที่พอใจ
(ถูกกว่าร้านที่มียี่ห้อของผู้ยิ่งใหญ่ในบ้านเมืองเป็นพันบาท)
หลังจากที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่องของ จอห์น แนช (A Beautiful Mind ข้อเขียนฉบับที่แล้ว)
ผมเลยหวนย้อนไปคิดว่ากลยุทธ์ การตั้งราคามือถือของร้านต่างๆ ที่มาบุญครองเป็นอย่างไร
ผมสวมวิญญาณ Game Theorist (ตัวปลอม) แสดงแบบกลยุทธ์ (Strategic Form) การตั้งราคามือถือด้วยตารางที่เรียกว่า
Normal Form ได้ดังตารางที่ 1
สมมติให้การตั้งราคาของร้านขาย มือถือที่มาบุญครองเป็นเกมการต่อสู้ของ
ร้านสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นร้านที่อยู่บริเวณ "ทำเลทอง" คือเป็นจุดศูนย์กลางการซื้อขาย
มีร้านแข่งกันขายอยู่ติดๆ กัน และมีผู้ซื้อเดินกันขวักไขว่ กับร้านอีกกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งอยู่กระจัดกระจายรอบๆ ไม่มีผู้คนมาออกันถามราคาหรือซื้อขายมากเท่าร้านกลุ่มแรก
ให้ชื่อว่าร้าน "ทำเลรอง" ในการเล่นเกม ระหว่างร้านสองกลุ่มนี้มีอยู่ 2 กลยุทธ์
(Strategy) คือ ตั้งราคาขายสูง และตั้งราคาขายต่ำ การต่อสู้ได้ผลออกมาอย่างไร
ดูจากผลกำไรจากการขายซึ่ง ใน Game Theory เรียกว่าผลตอบหรือ Payoff หรือบางที่ใช้คำที่ดูขลังเป็นวิชาการว่า
Utility เหตุที่ตั้งให้ Payoff เป็นผลกำไรก็เพราะจะรวมเรื่องของต้นทุนราคาสินค้ากับยอดจำหน่ายรวมเป็นองค์ประกอบเดียวกัน
เช่น มียอดขายสูงทำให้ ได้ราคาต้นทุนที่ต่ำลงด้วย เป็นต้น โดยผลกำไรจะได้จากยอดขายหักต้นทุนและค่าใช้จ่าย
อีกสมมติฐานหนึ่งคือต้นทุนเรื่องสถานที่ คือค่าเช่าของร้านทำเลทองจะสูงกว่าร้านทำเลรอง
ตารางในรูปที่ 2 เป็นคำอธิบายแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของตารางที่ 1
รูปที่ 2 แสดงแบบของเกมที่มี ผู้เล่น 2 คน ผู้เล่นคนที่ 1 จะมีกลยุทธ์
2 กลยุทธ์ วางอยู่ในแนวตั้ง 2 ช่อง ผู้เล่นคนที่ 2 ก็มีกลยุทธ์ 2 กลยุทธ์วางอยู่ในแนวนอน
2 ช่อง จากตัวอย่างการตั้งราคา ที่กล่าวมา กลยุทธ์ของผู้เล่นทั้งสอง มีเหมือนกันคือ
ตั้งราคาสูง และตั้งราคาต่ำ ส่วนผลตอบจะมีอยู่ 4 ช่องแสดงผลตอบของการใช้กลยุทธ์ของผู้เล่นทั้ง
2 ซึ่งมี 4 กรณี แต่ละช่องของผลตอบจะมี 2 ส่วน ส่วนซ้าย เป็นผลตอบของผู้เล่นคนที่
1 ส่วนขวา เป็นผลตอบของผู้เล่นคนที่ 2 โดยมีเครื่องหมายลูกน้ำ ( , ) ขั้นกลาง
จากรูปที่ 1 ซึ่งผมสร้างแบบกลยุทธ์การตั้งราคาและผลตอบบนพี้นฐานของเหตุผลดังนี้
กรณีที่ 1 (ต่ำ, สูง) ร้านทำเลทอง ตั้งราคาขายสูง และร้านทำเลรอง ตั้งราคาขายสูง
ผลคือร้านแรกขายไม่ดี เพราะราคาไม่จูงใจ ผู้ซื้อหันไปซื้อร้านอีกกลุ่ม (ทำเลรอง)
มากขึ้น และผลจากต้นทุน ค่าเช่าร้านที่ต่างกันทำให้ร้านแรกมีกำไรต่ำขณะที่ร้านที่สอง
(ทำเลรอง) ได้กำไรสูง
กรณีที่ 2 (ต่ำ, ปานกลาง) ร้านทำเลทอง ตั้งราคาสูง ขณะที่ร้านทำเลรอง ตั้งราคาต่ำ
เนื่องจากทำเลรองมีข้อจำกัดเรื่อง ปริมาณผู้ซื้อ แม้ว่าอาจขายได้จำนวนมากขึ้นกว่ากรณีที่
1 แต่การตั้งราคาที่ต่ำทำให้ มีกำไรต่อหน่วยน้อยเฉลี่ยแล้วเป็นได้กำไรปานกลางขณะที่ร้านแรกคนซื้อน้อยลงไปอีกก็ได้กำไรต่ำ
กรณีที่ 3 (สูง, ปานกลาง) ร้านทำเลทองขายราคาต่ำ ขณะที่ร้านทำเลรองขายราคาสูง
ร้านแรกจะขายได้ปริมาณมาก ด้วยเหตุทำเลเป็นใจและราคาที่เชิญชวน กำไรได้สูงด้วยปริมาณการขาย
ส่วนร้านทำเลรองขายได้ไม่มาก เพราะราคาไม่ดี แต่มีกำไรต่อหน่วยสูงและต้นทุนค่าเช่าร้านต่ำ
ทำให้ยังคงมีกำไรปานกลางโดยไม่ต้องทำยอด
กรณีที่ 4 (ปานกลาง, ต่ำ) ร้านทำเลทองของราคาต่ำ ขณะที่ร้านทำเลรองก็ขายราคาต่ำด้วย
แม้จะตั้งราคาต่ำทั้งคู่ แต่เนื่อง จากข้อจำกัดด้านทำเลทำให้ร้านทำเลรองมียอดขายไม่สูง
ขณะที่กำไรต่อหน่วยต่ำลงทำให้ได้กำไรต่ำ
ถ้าร้าน 2 กลุ่มสู้กันอย่างสมเหตุ สมผลภายใต้เงื่อนไขผลตอบที่พึ่งได้ตามแบบจำลองที่กล่าวมา
ท่านคิดว่าร้าน กลุ่มใดจะเลือกใช้กลยุทธ์การตั้งราคา ชนิดใด
พิจารณากรณีที่ 1 ร้านทำเลรองได้กำไรดีเพราะไม่ต้องกดราคาสู้ ขณะที่ร้านทำเลทองเสียลูกค้า
ซึ่งคงยอมไม่ได้ต้องมองว่าต่างคนต่างพยายามให้ตัวเอง ได้ผลตอบดีที่สุด โดยเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกฝ่ายน่าจะเป็นกรณีที่ 3 ก็เพราะร้านทำเลทอง
มีศักยภาพในการทำยอดขายการตั้งราคา ต่ำจะช่วยดันยอดขายให้สูงซึ่งผลกำไรจะได้จากยอดขาย
ส่วนร้านทำเลรองมีข้อจำกัดที่ทำเลไม่สามารถดันยอดขายได้เท่าร้านทำเลทองแต่ก็จะมีต้นทุนค่าเช่าต่ำ
ถ้าจะให้อยู่รอดร่วมกันได้ไม่ต้องตัดราคาแข่ง เพราะอาจโดนร้านทำเลทอง ตัดราคาสู้
ซึ่งในที่สุดก็ไม่สามารถทำยอด ขายเอาชนะได้อยู่ดี กลยุทธ์เป็นการเอากำไรต่อหน่วยสูงโดยไม่ต้องดันยอด
การเลือกกลยุทธ์นี้ของทั้งสองฝ่ายเพื่อจะได้ผลตอบดีที่สุดกับสองฝ่ายมีชื่อเรียกว่า
สมดุลของแนช หรือ Nash Equilibrium เป็นเกียรติให้ผู้คิดค้น ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างการคิดหากลยุทธ์
ตามทฤษฎีวิชา Game Theory ซึ่งกำเนิดจากวิชาคณิต ศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งภายหลังได้รับความสนใจไปประยุกต์ใช้ในวิชาด้านเศรษฐ-ศาสตร์
การบริหาร การตลาด และสังคม ศาสตร์ แค่ตัวอย่างก็หมดที่เสียแล้ว คราวหน้าผมจะมาเล่าถึงไอเดียและหลักการที่น่าสนใจของวิชา
Game Theory ต่อ แล้วพบกันครับ