Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539
ดีซี - ลอจิสติกส์ขุนรายได้มหาศาลในอนาคต             
โดย สมสมัย ศักดาวัฒนานนท์
 


   
search resources

Commercial and business
Retail




ปี ค.ศ. 2000 โฉมหน้าธุรกิจค้าปลีก- ค้าส่ง ของไทย กำลังก้าวเข้าสู่การแข่งขันภายใต้รูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม และเป็นยุคที่สุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารธุรกิจขายปลีกในเครือเซ็นทรัลเชื่อมั่นว่า ธุรกิจค้าปลีกของไทย กำลังก้าวเข้าสู่ยุคการบริหารต้นทุนอย่างแท้จริง

" การลดต้นทุนเป็นเรื่องใหญ่ คือ ถ้าใครสามารถลดต้นทุนได้ ก็จะมีข้อได้เปรียบด้านการแข่งขัน เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลออนไลน์ จะเข้ามามีบทบาทมาก"

ศูนย์กระจายสินค้า หรือ ดีซี ( Distribution Center) และระบบคลังสินค้าและเครือข่ายกระขายสินค้า ( Logistics) จึงกลายเป็นแนวโน้มใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญของวงการค้าปลีกไทย ที่จะมีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคตอันใกล้

การกำเนิดช่องทางจำหน่ายใหม่ ๆ ในรูปแบบที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในเมืองไทย อาทิ ดิสเคาน์สโตร์ แมส ดีพาร์เม้นท์ ซูเปอร์มาร์เกต สแตนด์ อะโลน ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งทุกค่ายกำลังเร่งรีบขยายสาขา ยังไม่นับรวมบรรดาห้างสรรพสินค้าและคอนวิเนียนสโตร์ที่กระจายอยู่ตามย่านชุมชน ที่ล้วนนำกลยุทธ์เรื่องราคาสินค้าเข้ามาในเกมแข่งขัน

นับเป็นการเปิดช่องทางให้ธุกริจการรับส่งและกระจายสินค้ามีโอกาสแจ้งเกิดได้ไม่ยากเย็น โดยเฉพาะยิ่งเมื่อรูปแบบร้านค้าปลีกเหล่านี้เริ่มขยายตัวไปตามต่างจังหวัดด้วยแล้ว ยิ่งเป็นปัจจัยเอื้อให้ธุรกิจส่งและกระจายสินค้าเพิ่มโอกาสเติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว

ทีดีซี ของชมรมค้าปลีกภูธรเป็นรายแรกที่นำระบบดีซี เข้ามา หลังจากนั้นเซ็นทรัลและโรบินสัน 2 พันธมิตร ก็จับมือกับเดวิดโอลดิ้ง ตั้งดีซีอาร์ เป็นโฮลดิ้ง คอมปะนี เข้าซื้อกิจการของทีดีซี และเปลี่ยนชื่อเป็นเดวิด โฮลดิ้ง ขณะที่ค่ายซีพี ก็ให้ความสนใจที่จะเข้าซื้อกิจการเช่นกันแต่ก็พลาดโอกาสไป

ล่าสุดจัสโก้ ดึงเรียวโชกุ ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินธุรกิจศูนย์กระจายสินค้าและเป็นผู้ค้าส่ง ในญี่ปุ่นเข้าร่วมหุ้น ตั้งบริษัท อาร์เอส-ไทยแลนด์ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจดีซีในไทย แต่ภายใต้เงื่อนไขคือรับส่งสินค้าให้เฉพาะจัสโก้ เท่านั้น

ขณะที่บรรดาผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระดับ แนวหน้า ไม่ว่าจะเป็นลีเวอร์ฯ สหพัฒน์ฯ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ พี แอนด์ จี ต่างให้ความสนใจในเรื่องของดีซี ถึงแม้ปัจจุบัน ดีทแฮล์ม และเอฟอีซีลิค จะมีศูนย์กระจายสินค้าแต่ก็กำจัดขอบเขตเฉพาะสินค้าในสังกัดเท่านั้น

วิโรจน์ ภู่ตระกูล นักการตลาดที่สร้างลีเวอร์ฯ จนประสบความสำเร็จมาแล้ว บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา แห่งสหกรุ๊ป ต่างมีความเชื่อมั่นว่า ธุรกิจกระจายสินค้าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการบริหารต้นทุนเพราะศูนย์กระจายสินค้าและลอจิสติกส์ นับเป็นตัวจักรที่จะเข้ามาช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่ง การแบกรับสต๊อกสินค้า การจัดการเกี่ยวกับเอกสาร มีผลทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำลงได้

แม้ธุรกิจรับส่งและกระจายสินค้าจะมีแนวโน้มที่สดใส แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่ ปัจจุบันจึงพบว่ายังมีผู้ประกอบการด้านนี้น้อยมากที่เปิดตัวในลักษณะพร้อมเปิด บริการกระจายสินค้าให้กับลูกค้าทั่วไป อาทิ เดวิดโอลดิ้ง จากออสเตรเลีย จับมือกับเซ็นทรัลและโรบินสัน ทีเอ็นที จากค่ายล็อกเล่ย์ ซึ่งเป็นระบบจากออสเตรเลีย เช่นเดียวกับเดวิด โอลดิ้ง และอินซ์เคป ลอจิสติกส์

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า อินช์เคป ลอจิสติกส์ หากเป็นมวยก็มีแต้มต่อเหนือคู่ต่อสู้ เนื่องจากความเป็นกลางมากกว่าเดวิด โอลดิ้ง ที่ถือหุ้นโดยเซ็นทรัลและโรบินสัน ซึ่งในระยะหลัง 2 ค่าย เริ่มหันมาให้ความสนใจด้านการผลิตสินค้า อินเฮาส์แบรนด์ การที่ซัปพลายเออร์ จะเลือกใช้บริการอาจจะกังวลเรื่องความเป็นกลางในเรื่องข้อมูลด้านการตลาด

ขณะที่ทีเอ็นที นับเป็นศูนย์กระจายสินค้าน้องใหม่ เมื่อเทียบกับอินซ์เคป ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการจัดจำหน่ายมานานแล้ว ย่อมมีภาษีดีกว่า

" ผมมีความเห็นว่า ในที่สุดแล้ว ซัปพลายเออร์คงจะต้องมองที่ความชำนาญ ของแต่ละบริษัทมากว่าสินค้าของเขา เหมาะที่จะใช้บริการของค่ายใด

ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเลือกใช้ทั้ง 2 แห่ง คือถ้าเข้าซุปเปอร์มาร์เกตอาจจะเป็นเดวิด โอลดิ้ง แต่ถ้าจะเข้าช่องทางอื่นอินซ์เคป ลอจิสติกส์ ก็น่าจะให้ขอบเขตด้านช่องทางที่กว้างกว่า" สุทธิชาติ กล่าวกับ " ผู้จัดการ"

ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อมั่นว่า ในอนาคตอันใกล้นี้

จะมีบริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจด้านรับส่งและกระจายสินค้าเข้าสู่เมืองไทยมากขึ้น และกลายเป็นธุรกิจที่มูลค่ามหาศาลอย่างแน่นอน

แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เงินถิ่นข้างสูง อีกทั้งมาร์จิ้นต่ำ ดังนั้นโอกาสที่จะแจ้งเกิดในตลาดได้คงจะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญที่ว่าต้องอาศัยวอลุ่มสินค้าที่มีปริมาณมากเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการบริหารสต๊อกสินค้า การขนส่งเป็นสำคัญ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us