Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545
โดราเอมอน             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 





โดราเอมอน (Doraemon) ได้รับยกย่องจากนิตยสาร Time (April 29, 2002) ให้ เป็นวีรชนอาเซีย (Asian Heroes) แต่โดราเอมอนแตกต่างจากวีรชนอาเซียคนอื่นๆ ในหมู่ วีรชนอาเซียจำนวน 25 คนที่นิตยสาร Time ยกย่อง 24 คนเป็นมนุษย์ เฉพาะโดราเอมอน เท่านั้นที่เป็นตัวการ์ตูน

ผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นวีรชนอาเซียส่วนใหญ่เป็นผู้นำทางการเมือง ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนขบวนการสิทธิและเสรีภาพ บางคนเป็นนักเขียน นักกีฬา นักร้อง และดาราภาพยนตร์ผู้มีบทบาทในการนำอาเซียในด้านต่างๆ

แต่เหตุใดตัวการ์ตูนอย่างโดราเอมอนจึงได้รับยกย่องเป็นวีรชนอาเซียเคียงคู่มนุษย์?

ในทางเศรษฐกิจ โดราเอมอนเป็น สินค้าออก' ที่ให้รายได้อย่างสำคัญแก่ญี่ปุ่นประเทศต้นกำเนิด ผลผลิตอันเกี่ยวเนื่องกับโดราเอมอนมิได้มีเฉพาะแต่หนังสือการ์ตูนเท่านั้น หากยังมีภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์โรง และภาพยนตร์โทรทัศน์ ซึ่งให้ผลผลิตต่อเนื่อง ทั้งในรูปเทป VHS VCD และ DVD อีกทั้งยัง มี VDO Games กระดาษติดผนัง (wall paper) โปสเตอร์ ตุ๊กตา และของที่ระลึกอีกด้วย

ในด้านวัฒนธรรม โดราเอมอนเป็นส่วนหนึ่งของจักรกลที่ขับเคลื่อนกระบวนการสากลานุวัตรของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งไล่หลังวัฒนธรรมแองโกลแซกซันในฐานะวัฒนธรรม สากล โดราเอมอน และการ์ตูนญี่ปุ่นอื่นๆ มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นด้านต่างๆ ในประการสำคัญ โดราเอมอนมีความเป็นสากลในตัวของมันเอง ผู้คนในมนุษยพิภพในฐานถิ่นต่างๆ อย่างน้อยต้องเคย พานพบภาพโดราเอมอน สำหรับผู้ที่ท่องใน cyberspace ผ่าน www.msn.com หรือwww.google.com จะพบว่ามี websites ที่เกี่ยวพันกับโดราเอมอนมากกว่า 10,000 แห่ง

ในด้านจิตวิญญาณ โดราเอมอนเป็นสัญลักษณ์แห่งสุขทรรศน์ ผู้ซึ่งไม่เพียงแต่มอง โลกในด้านดีเท่านั้น หากยังยึดคติว่า ปัญหาทุกปัญหาล้วนแล้วแต่แก้ไขได้ทั้งสิ้นอีกด้วย ดังนั้น มนุษย์จึงมิควรรู้สึกอับจนและท้อถอย หากแต่ควรมีความมุ่งมั่นในการฟันฝ่าอุปสรรค ทั้งปวง

โดราเอมอนเป็นหนังสือการ์ตูนที่สร้าง สรรค์โดย ฮิโรชิ ฟูจิโมโต (Hiroshi Fujimoto) ร่วมกับ โมโตโอะ อาบิโกะ (Motoo Abiko) ทั้งสองใช้นามปากการ่วมกันว่า ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ (Fujiko Fujio) โดราเอมอนปรากฏสู่บรรณพิภพครั้งแรกเมื่อไร ไม่เป็นที่แน่ชัด ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์บางฉบับระบุว่า ปี 2507 ข้อมูลจาก websites หลายแห่งระบุปี 2512-2513 ฟูจิโมโตและอาบิโกะร่วมกันสร้างสรรค์โดราเอมอนจน ถึงปี 2530 จึงแยกกันเดิน โดยที่ฟูจิโมโตยังคงผลิตโดราเอมอนต่อมาภายใต้นามปากกา ฟูจิโกะ เอฟ.ฟูจิโอะ (Fujiko F.Fujio) เมื่อมีการนำการ์ตูนโดราเอมอนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ทั้งสองกลับมาร่วมงานกันใหม่ อาบิโกะเมื่อแยกทางกับฟูจิโมโต ยึดนามปากกา ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ เอ. (Fujiko Fujio A.)

ฮิโรชิ ฟูจิโมโต มีภรรยาชื่อ มาซาโกะ (Masako) และมีลูกสาว 3 คน เมื่อเขาถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2539 หนังสือ พิมพ์ญี่ปุ่นพากันประโคมข่าว ในเวลานั้น โดราเอมอนกลายเป็น สถาบัน' แล้ว และ ฟูจิโมโตเป็นผู้สร้างสรรค์ สถาบัน' ดังกล่าว

โดราเอมอนเป็นแมวการ์ตูน มิใช่แมวมีชีวิต หากแต่เป็น แมวหุ่นยนต์ (robot cat) เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ.2112 โดราเอมอนเป็นแมวหุ่นยนต์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 22 ถูกส่งย้อนกาลเวลามาอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อคอย ช่วยเหลือ โนบิ โนบิตะ (Nobi Nobita) ตัวเอกในเรื่อง โนบิตะเป็นบุตรชายคนเดียวของครอบครัว ผู้ได้รับถ่าย ทอดพันธุกรรมส่วนที่ไม่ดีจากบิดามารดา กล่าวคือได้รับถ่ายทอดความไร้สามารถทางวิชาการจากบิดา และได้รับถ่ายทอดความไร้สามารถด้านการกีฬาจากมารดา โนบิตะมีปัญหาในการเรียนหนังสือ เป็นเด็กที่ไร้ความรับผิดชอบ และมักจะตัดสินใจผิดอยู่เนืองๆ ชีวิตของโนบิตะมีแต่จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ เหลนของโนบิตะในคริสต์ศตวรรษที่ 22 มิอาจทนเห็นความตกต่ำของปู่ทวดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ จึงสร้างแมวหุ่นยนต์ชื่อโดราเอมอน เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือโนบิตะ

หนังสือการ์ตูนชุดโดราเอมอนมีตัวละครสำคัญอยู่ 10 ตัว นอกจากโดราเอมอนและโนบิตะแล้ว ก็มี โดรามี (Dorami) น้องสาวของโดราเอมอน ซึ่งไม่สู้ปรากฏตัว เว้นแต่ยามที่โดราเอมอนป่วยไข้ ไจแอน (Gian) หรือ โกอุดะ ตาเกชิ (Gouda Takeshi) ตัวโกงในเรื่องซึ่งชอบรังแกโนบิตะ โฮเนกาวะ ซูนีโอะ (Honekawa Suneo) คู่หูของไจแอนผู้ฉลาดแกมโกง และใบหน้าคล้ายสุนัขจิ้งจอก เดกิซูกิ (Dekisugi) นักเรียนผู้ปราดเปรื่อง ในชั้น ผู้ซึ่งโนบิตะต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือ ในการทำการบ้าน ชิซูกะ (Shizuka) เพื่อนนักเรียนหญิงของโนบิตะ ผู้เก่งกาจในการเรียน และมีจิตใจงดงาม นอกจากตัวละครทั้งเจ็ดนี้แล้ว ยังมีบิดา มารดา และครูประจำชั้นของโนบิตะ

เนื้อหาของการ์ตูนมักจะเริ่มต้นด้วยโนบิตะแหกปากร้องเรียกโดราเอมอน เพื่อขอ ความช่วยเหลือ ส่วนใหญ่เนื่องจากถูกไจแอน และซูนีโอะรังแก หรือมิฉะนั้นก็เป็นเพราะ โนบิตะทำความผิดอย่างใหญ่หลวง โดราเอมอนมีกระเป๋า 4 มิติอยู่ตรงช่องท้อง ซึ่งเป็นที่เก็บเครื่องมือสารพัดประโยชน์หลากหลายชนิด (ดูภาคผนวก) โนบิตะต้องการใช้เครื่อง มือเหล่านั้นเพื่อแก้ปัญหาของตนเอง บางครั้ง ก็ช่วยได้ แต่บางครั้งให้ผลตรงกันข้าม แสดงให้เห็นคุณและโทษของเครื่องมือทางวิทยา ศาสตร์

การ์ตูนชุดโดราเอมอนนอกจากจะให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านแล้วยังปลูกฝังความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ และสร้างจินตนาการเกี่ยวกับอนาคตอีกด้วย องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้โดราเอมอนเป็นการ์ตูนยอดนิยมไม่จำกัดสัญชาติและเชื้อชาติ ไม่จำกัดเพศและ วัย และอยู่ยงคงกระพันกว่า 3 ทศวรรษ

หากจะกล่าวว่า ผู้คนที่มีอายุไม่เกิน 30 ปีในปัจจุบันอยู่ใน Doraemon Genera-tion คำกล่าวนี้คงไม่เกินความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาเซียตะวันออก

หมายเหตุ

1. ข้อเขียนยกย่องโดราเอมอนเป็นวีรชนอาเซีย โปรดอ่าน Pico Iyer, "The Cuddliest Hero in Asia", Time (April 29, 2002)

2. ประวัติฮิโรชิ ฟูจิโมโต Hiroshi Fujimoto) ดูรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ "จากฮิโรชิ ฟูจิโมโต ถึงจอน สโตน" ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 21-27 เมษายน 2540


ภ า ค ผ น ว ก
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโดราเอมอน
วันเกิด 3 กันยายน ค.ศ.2112
เพศ ชาย
น้ำหนัก 129.3 กิโลกรัม
ความสูง 129.3 เซนติเมตร
ความสามารถในการทะยานขึ้นสู่อวกาศ 129.3 เซนติเมตร
ความเร็วในการวิ่ง 129.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สีผิว น้ำเงิน
อาหารโปรด dorayaki (ขนมหวานไส้ถั่ว)
แฟน Mi-chan
น้องสาว Dorami
สิ่งที่เกลียดที่สุด หนู
ลักษณะพิเศษ 1. ไม่มีหู เนื่องจากหนูกัดขาด 2. กระเป๋า 4 มิติ อยู่ตรงช่องท้อง
เครื่องมือพิเศษ 1. takekoputa (flying device)
2. taimu-mashin (time machine)
3. dokodemo-doa (wherever door)
4. taimu-furoshiki (time-wrapping cloth)
5. sewayaki-roupu (helping rope)
6. mashimo-bokkus (The Box)
สถานที่หลับนอน ลิ้นชักในตู้เสื้อผ้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us