หลังจากกิจการ boo.com ล้มครืนไปเมื่อปลายเดือนพฤษภา คม ที่ผ่านมา ชื่อ boo
ก็เป็นเหมือนผีร้าย ที่เฝ้าหลอกหลอนความรู้สึกนักลงทุนหลายคน แต่ เบน นาราซิน
(Ben Narasin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ fashionmall.com คิดตรงข้าม พอรู้ข่าวเขาก็รีบติดต่อซื้อ
ชื่อ boo ทันที จากนั้น เขาก็ทุ่มเทเวลาสามวันสองคืน เพื่อหาทางชุบชีวิต Miss
Boo อีกครั้งจนกระทั่งเขาล้มป่วย โชคดี ที่ตอนนั้น ผู้อำนวย การฝ่ายสร้างสรรค์ของ
boo.com เข้ามาคุยกับเขาเรื่อง boo2.0 แผน การชุบชีวิตให้ Miss Boo จึงมีลู่ทางเป็นจริงได้
อย่างไรก็ตาม ความคิด ที่จะทำไซเบอร์ชอปขายเสื้อผ้าทั่วโลกแบบครบวงจรถือว่ายังเป็นไปไม่ได้
ปัญหายุ่งยาก มีมากมาย ตั้งแต่เรื่องขนาด สีสัน และรสนิยม อีกทั้งยังมีเรื่องการจัดส่งสินค้า และความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วย
นาราซินเข้าใจปัญหาเหล่านี้ดี เขาจึงมีแผนที่จะดันให้ boo เป็นพอร์ทัลหนึ่งเช่นเดียวกับ
fashionmall.com ซึ่งเชื่อมโยงลูกค้าโดยตรง กับซัปพลายเออร์ ตั้งแต่ Eddie
Bauer ไปจนถึง Gucci เขาตั้งใจให้ boo2.0 เป็นซอฟต์แวร์ ที่เชื่อมโยงกับเสื้อผ้าสไตล์
boo ซึ่งวิธีนี้จะช่วย ให้ boo ไม่ต้องวุ่นวายกับคำสั่งซื้อของลูกค้า นาราซินวางแผนให้
Miss Boo เป็นพอร์ทัลสำหรับชี้ขาดเรื่องรสนิยมให้หนุ่มสาวกระเป๋าหนัก ที่อยากลองอยากรู้ไปเสียทุกอย่าง
นาราซินคิดว่าเขาได้ส่วน ที่สำคัญที่สุดของกิจการ boo.com มา แล้ว แต่ "ไบรท์
สเตชัน" บริษัทในลอนดอน ที่ซื้อเทคโนโลยีสนับสนุน boo.com ไปก็คิดอย่างเดียวกัน
เพราะเทคโนโลยีราคา 350,000 ดอลลาร์ ที่ได้มานี้ช่วยให้บริษัทคิดคำนวณภาษี และราคาสินค้าสำหรับ
18 ประเทศ ใช้ได้ถึง 9 ภาษา นอกจากนั้น "ไบรท์ สเตชัน" ยัง เตรียมขายไลเซนส์เทคโนโลยีนี้ให้กับผู้ค้าปลีกรายอื่นด้วย
สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ส่วน ที่ทำให้ boo.com ล้มพับไป ไม่ว่าจะเป็น Miss
Boo หรือเทคโนโลยี ที่ใช้ ไม่ได้ผล จนนักลงทุนต้องผิดหวัง อย่างรุนแรง กลับกลายเป็นที่หมายตาของคนภายนอก
นาราซินให้เหตุผลที่เขาเข้าซื้อชื่อ boo ไว้ว่า ถึงอย่างไรชื่อ boo "มีความหยิ่งทะนง
และเป็นพวกหัวสูงอยู่ดี"
ตอนนี้สำนักงานของแฟชั่นมอลล์ในนิวยอร์ก มีภาพ Miss Boo ติดอยู่ ทั่วไป
นาราซินยังจัดห้องห้องหนึ่งเป็น "The Boo Room" ซึ่งมีภาพของนางแบบมากมาย ที่อาจจะเข้ากับสไตล์ของ
boo ได้ "ผมมานั่ง ที่นี่ เพื่อคิดเรื่องเกี่ยวกับ boo" นาราซินเล่า แต่ฝันของเขาจะเป็นจริงหรือไม่
ยังไม่มีใครรู้ได้ในตอนนี้