Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545
เบื้องลึกปิกอัพ Tonla รุ่นใหม่ของฟอร์ด ยืมแนวคิดจากของเล่นเด็กมาเต็มๆ             
 





คอรถที่ได้เห็น Tonka ปิกอัพรุ่นใหม่จากค่ายฟอร์ด นอก จากจะสะดุดตากับสีเหลืองสดใสของตัวรถแล้ว รูปลักษณ์ที่ปรากฏก็ยังใหม่แปลกตาจากงานออกแบบตัวถังที่เป็นรูปทรงเหลี่ยม และ บังโคลนผายออกเต็มที่ ซึ่งถือเป็นนัยสำคัญแห่งแนวโน้มการออก แบบรถปิกอัพของฟอร์ดในอนาคตด้วย

Popular Science ฉบับเดือนกุมภาพันธ์รายงานนวัตกรรม น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดนี้ว่า อยู่ที่ระบบขับเคลื่อน hydraulic hybrid drive system ที่สามารถประหยัดน้ำมันได้มากราว 25-50% จากตัวเลขการกินน้ำมันเพียง 16-18 ไมล์ต่อแกลลอนหรือกว่านั้นเล็กน้อย รวมทั้งการใช้เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่คือ Navistar ที่มีกำลัง แรง 350 แรงม้าและกำลังบิด (torque) 600 ปอนด์ต่อฟุต

แนวคิดในการออกแบบ Tonka ของฟอร์ดซึ่งใช้ chassis ของรุ่น Super Duty 350 ซีรี่ส์ ก็เพื่อให้เป็นปิกอัพที่ทรงพลังและรับงานหนักได้มากที่สุดเท่าที่รถปิกอัพจะทำได้

และเบื้องลึกของการออกแบบปิกอัพ Tonka ของฟอร์ด ที่เน้นเรื่องการประหยัดพลังงานและการเพิ่มสมรรถนะด้วย hydraulic accumulator คือ การยืมแนวคิดจากรถเด็กเล่นของเด็กวัยเตาะแตะที่ทำด้วยโลหะ และใช้ชื่อเดียวกันด้วยคือ Tonka

สาเหตุสำคัญที่วงการรถยนต์ต้องหันมาค้นคว้าและเน้นผลิตรถประหยัดพลังงานกันอย่างจริงจังยิ่งขึ้น ก็เพราะความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล จนทำให้ความพยายามในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแทบจะไร้ผลเอาเสียเลย

ปิกอัพ Tonka ของค่ายฟอร์ด จึงหันมาสู่วิธีการประหยัดพลังงานแบบใหม่ซึ่งเกิดขึ้นในขณะขับเคลื่อนนั่นคือ การเบรกและ เร่งเครื่อง (stop-and-go driving)

กุญแจสำคัญอยู่ที่การต้องดึงพลังงานซึ่งตามปกติจะสูญเสียไปในระหว่างการเบรกกลับคืนมา

ที่ผ่านๆ มา ระบบส่วนใหญ่พึ่งการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า นั่นคือ การใช้พลังงานจากหม้อแบตเตอรี่เข้าช่วยในระหว่างเร่งเครื่อง จากนั้นก็ใช้มอเตอร์เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อประจุแบตเตอรี่ใหม่ (recharge) ในระหว่างการลดความเร็วของรถ

"ปัญหาคือคุณเปลี่ยนรูปแบบของพลังงานมากเกินไป ทำให้ เกิดการสูญเสียพลังงานในแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนรูปแบบพลังงาน" Cliff Carlson ตำแหน่ง senior specialist of advanced technologies ของฟอร์ดอธิบายให้เห็นภาพ "พลังงานกลเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า จากนั้นพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีในแบตเตอรี่ แล้วคุณก็เปลี่ยนรูปแบบกลับไปอีก"

การที่ฟอร์ดให้หลักประกันว่าในอีก 5 ปีจะสามารถผลิตรถบรรทุกขนาดเบาประหยัดพลังงานได้ถึง 25% นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากแรงกดดันของทางการด้วย

Carlson ยังอธิบายเพิ่มเติมถึงทางเลือกที่ฟอร์ดเสนอให้ครั้งนี้ว่า hydraulic accumulator จะทำหน้าที่เป็นตัวสงวนพลังงานกลโดยตรง

Accumulator เป็นถังที่มีแรงดันสูง เพราะอัดแก๊สไนโตร เจนเข้าไปส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังปั๊มของเหลวคือ Hydraulic fluid เข้าไปในตัวถัง ซึ่งจะเข้าไปไล่ให้แก๊สในถังลอยตัวขึ้นอยู่เหนือของ เหลว ส่วนแรงดัน hydraulic ก็สามารถเรียกกลับคืนมาได้ด้วยการใช้ปั๊มเป็นมอเตอร์ hydraulic "คุณสามารถสงวนพลังงานมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นพลังงานที่จำเป็นมากในระหว่างการเบรก" Carlson เพิ่มเติม

จุดเด่นของปิกอัพ Tonka อีกอย่างหนึ่งคือ แนวคิดเรื่องการ มี 2 ถังติดตั้งอยู่ระหว่างรางของโครงรถ โดยแต่ละถังมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ฟุตเพียงเล็กน้อยและยาวประมาณ 2 ฟุต เสริมแรงด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ที่ทนทานต่อแรงอัดซึ่งอาจสูงถึง 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้วได้ และฉาบด้วยวัสดุที่สามารถดูดซับความร้อนซึ่งเกิดจากการอัดแก๊สได้ และโดยเหตุที่แรงอัดในถังสูงมาก จึงต้องมีการทดสอบความปลอดภัยอย่างเข้มงวดและถ้วนถี่

ในส่วนของมอเตอร์ hydraulic ซึ่งติดตั้งอยู่กลางระหว่างถังสองถังจะมีขนาดกะทัดรัดไม่ต่างจากขนาดมาตรฐานเท่าไรนัก

เมื่อมีการชาร์จเกิดขึ้นในถัง ระบบการทำงานจะให้กำลังแรงแบบเดียวกับเครื่องดีเซลซึ่งเพิ่มกำลังบิด (torque) อีก 600 ปอนด์ต่อฟุต เพื่อขับเคลื่อนรถที่จอดนิ่งอยู่ กำลังแรงขนาดนี้เทียบ ชั้นกับ BMW roadster ได้สบายๆ และยังหมายความว่า เครื่องยนต์จะยังไม่ต้องเข้ามามีบทบาทจนกว่ารถจะแล่นไปด้วยความเร็ว 20-30 ไมล์ต่อชั่วโมง จึงเป็นผลดีต่ออายุการใช้งานของเบรกด้วย

ข้อเสียสำคัญของปิกอัพ Tonka อยู่ที่เสียงดัง ซึ่งเกิดจากตัวมอเตอร์ hydraulic นั่นเอง "เราคิดว่าจะสามารถกำจัดข้อเสียนี้ได้ในช่วง 5 ปีของการพัฒนาต่อเนื่อง" Carlson คาดหมาย

นอกจากคุณสมบัติของการประหยัดพลังงานได้อย่างมหาศาล ปิกอัพ Tonka ยังเพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยควบคู่กันไปด้วย คุณสมบัติสำคัญใน 2 ส่วนนี้ถือเป็นโจทย์หินของ วงการที่เน้นพัฒนากันมานานและทำได้ยากยิ่ง ซ้ำร้ายกว่านั้น การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เข้าไปยังหมายถึงภาระน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม แทบไม่น่าเชื่อว่า การที่ Tonka ได้แนวคิดจากรถเด็กเล่นนี้ จะสามารถส่งผลกระทบต่อโลกยานยนต์ของผู้ใหญ่ได้อย่างรุนแรงถึงขนาดปฏิวัติวงการได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us