|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ว่าแบงก์ชาติส่งสัญญาณปรับนโยบายการเงิน เหตุน้ำมันแพงและภัยแล้ง ชี้ต้องประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยใหม่ ยอมรับแทรกแซงบาท ตั้งใจให้บาทอ่อนเพื่อสนันสนุนการส่งออกให้ขยายตัวได้ 20% ตามเป้าของรัฐ หวังการลงทุนภาคเอกชนป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ชี้หากยังขยายตัวไม่ดี ธปท.จะเร่งให้รัฐบาลลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมนโยบายการเงินที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 เมษายนนี้ ได้สั่งการให้สายนโยบายการเงินปรับปรุงการประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งหมด โดยนำผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และภัยแล้ง มาประเมินภาวะการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยใหม่ เพื่อที่จะปรับนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเกิดขึ้นได้ในระดับสูง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในต่างประเทศไม่ได้สร้างแรงกดดันให้มีเงินทุนไหลออกจากประเทศ
“น้ำมันแพงถือว่าเป็นผลกระทบที่แรงมากกว่าปัญหาภัยแล้ง เพราะระดับราคาในขณะนี้สูงกว่าประมาณการเดิมที่ ธปท.เคยประมาณการเศรษฐกิจมาก ธปท.จึงจำเป็นต้องดำเนินนโยบายสอดคล้องกับหน่วยงานอื่นเพื่อเติมส่วนอื่นที่ขยายตัวได้ให้ขยายตัวมากขึ้นทดแทนส่วนที่ขาดไปจากผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ำมัน โดยจะต้องใช้นโยบายการเงินกระตุ้น การลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และสนับสนุนการส่งออก” ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
อย่างไรก็ตาม การประกาศตัวเลขการประมาณการเศรษฐกิจใหม่จะประกาศในการรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อสิ้นเดือนเมษายนนี้
ผู้ว่าการธปท. กล่าวต่อว่า เมื่อนโยบายของรัฐบาล รองนายกรัฐมนตรีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ขยับเป้าหมายความพยายามในการส่งออกของไทยให้อยู่ในระดับ 20% จากที่ขยายตัวสูงถึง 23-24% ในปีก่อน ธปท.ก็ต้องสนับสนุนอย่างเต็มที โดยค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องตั้งใจที่จะให้บาทอ่อนต่อไป เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นภาคการส่งออกให้ขยายตัวได้ 20% ตามเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การส่งออกจะขยายได้ถึง 20% หรือไม่นั้นยังไม่สามารถบอกได้ แต่คาดว่าจะต้องเพิ่มขึ้นมากเท่าที่จะมากได้ เพราะทุกหน่วยงานได้พยายามกันเต็มที่ ตามที่รัฐบาลต้องการให้การส่งออกเป็นตัวนำ
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงในเดือนกุมภาพันธ์นั้น มีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และมีทิศทางที่จะสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุนใหม่เพื่อรอดูทิศทางของราคาน้ำมันก่อนว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเท่าไร เพื่อปรับต้นทุนของการประกอบธุรกิจได้ ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงแล้ว การลงทุนใหม่ก็จะเริ่มเพิ่มขึ้น เพราะเท่าที่ได้รับรายงานจากธนาคารพาณิชย์พบว่ามีโครงการการขยายการลงทุนของภาคเอกชนรอการอนุมัติสินเชื่อเป็นจำนวนมาก และธนาคารพาณิชย์ก็พร้อมที่จะให้สินเชื่อ
“การลงทุนภาคเอกชนไม่ได้หายไปไหนยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่หลายฝ่ายคิดว่าจะขยายตัวลดลงในปีนี้ก็ไม่ลดลงจากเดิมที่คาดกันว่าเมื่อภาคเอกชนซื้อสินค้าคงทนไปแล้วแรงซื้อก็น่าจะลดลง แต่เท่าที่เห็นยังมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่อง ทำให้การขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในระดับ 5% ซึ่งสูงมาก เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว 6% ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ประเมินไว้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงทั้งโลก การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะขยายสูงถึง 6.2% เท่าปีที่แล้วคงเป็นไปไม่ได้ แต่เชื่อว่ายังขยายตัวได้ดี ” ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
อย่างไรก็ตาม คงต้องช่วยกันกระตุ้นเรื่องการส่งออก และการลงทุนให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ แต่หากช่วยกันแล้วดูว่าการขยายตัวยังไปได้ไม่ดี ธปท.คงต้องส่งสัญญาณให้รัฐบาลลงทุน และใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นดาบที่ 4 ดาบสุดท้าย แต่จะต้องเป็นการลงทุนที่สร้างประโยชน์ต่อประเทศ เช่น การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลเตรียมไว้ ซึ่งเดิมคาดว่าจะยังไม่มีการลงทุนในปีนี้ แต่หากภาพรวมเศรษฐกิจออกมาไม่ดี ธปท.คงต้องขอให้รัฐบาลเร่งให้เกิดการลงทุนให้เร็วขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยสามารถขยายตัวต่อได้ในระดับที่น่าพอใจ
**กสิกรไทยคาดธปท.ขึ้นดอกเบี้ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการประชุมวันที่ 20 เมษายนนี้ โยจะกำหนดทิศทางของอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบาย เป็นการประชุมครั้งที่ 3 ในรอบปีนี้ หลังจากที่ธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 4 ครั้งๆละ 0.25 %รวมเป็น 1 % ในการประชุมครั้งที่5 รอบหลังสุดหรือตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 25 สิงหาคม 2547 ทำให้อัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันอยู่ในระดับ 2.25 %ในปัจจุบัน
ทั้งนี้เชื่อว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยคงจะต้องทยอยปรับขุ้นสู่ระดับที่มีความเหมาะสมมากขึ้นในอนาคต โดยขนาดการเพิ่มขึ้นที่ 1 %ในปีนี้หรืออัตราดอกเบี้ยอาร์พี14 วัน ที่ 3 % คาดว่าจะเป็นระดับดอกเบี้ยเป้าหมายของธปท.ในปีนี้ ซึ่งหลังจากที่ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 0.25 % ในการประชุมวันที่ 19 มกราคม 2548 ทำให้ยังคงเหลือการประชุมอีก 6 รอบ ในช่วงที่เหลือของปี จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75 % โดยการประชุมวันที่ 20 เม.ย.นี้ ธปท.คงจะมีการพิจารณาปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจอย่างรอบคอบและรัดกุม เพื่อที่จะให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเป้าหมายเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่นและส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด
|
|
|
|
|