Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2537
นักธุรกิจสารสนเทศสถาบันใหม่แห่งสังคม             
 





ในสหรัฐอเมริกา ขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าโลกได้ย่างเข้าสู่ยุคแห่ง สารสนเทศแล้วอย่างเต็มตัว แม้ว่าองค์ประกอบของยุคนี้ในส่วนต่าง ๆ ของโลกจะมีความสมบูรณ์ในระดับต่าง ๆ กันไป แต่ก็มีแนวโน้มปรากฏออกมาให้ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเส้นทางใดที่โลกจะดำเนินไป

เรารับรู้ถึงความเป็นยุคสารสนเทศของโลกพร้อม ๆ กับรู้สึกถึงอิทธิพลของข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและทันสมัย รวมถึงเทคโนโลยีทุกแขนงที่เกี่ยวข้องกับมัน เทคโนโลยีเหล่านี้ยังเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร การศึกษา และความบันเทิงเข้าด้วยกัน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเปรียบเสมือนกับสิ่งที่เข้ามาคุมวิถีชีวิต ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของเราทุกคน

การตระหนักถึงอิทธิพลของข้อมูลข่าวสารคือการตระหนักถึงอิทธิพลของผู้ที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจนี้ในสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการจับตามองบุคคลที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจเหล่านี้ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาด้วยความรู้สึกว่า นั่นคือสิ่งที่จะกำหนดความเป็นไปของประเทศ

และในเมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นที่ซึ่งมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร (ซึ่งรวมทั้งการสื่อสาร การศึกษา และความบันเทิง) เจริญก้าวหน้าที่สุดในโลกอิทธิพลของเทคโนโลยี ที่กำลังกระจายออกไปทั่วโลกและรวมโลกให้เป็นหนึ่งเดียวนี้ จึงย่อมจะมีต่อโลกโดยส่วนรวมด้วย

คณะบุคคลผู้ทรงอิทธิพลดังว่านี้ มีฐานะเสมือนหนึ่ง "สถาบัน" (ESTABLISHMENT) ซึ่งแนวความคิดและการตัดสินใจของพวกเขา ได้รับการยอมรับและมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย ทิศทางของสังคม พวกเขาขึ้นมาแทนที่ "สถาบันฟากตะวันออก" หรือ THE EAST ESTABLISHMENT ซึ่งหมายถึงกลุ่มนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจจากฝั่งตะวันออกของอเมริกา ซึ่งมีอำนาจในช่วงสงครามเย็น แต่สถาบันดั้งเดิมนี้กำลังเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ พร้อม ๆ กับการสิ้นสุดของสงครามเย็น ผู้ที่ก้าวเข้ามาแทนพวกเขาคือ คณะบุคคลในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้รับการตั้งฉายาว่าเป็น "สถาบันใหม่" หรือ THE NEW ESTABLISHMENT

ที่มาของสถาบันเก่า

ความหมายของคำว่า ESTABLISHMENT หรือ "สถาบัน" ตามที่มาของต้นแบบคือประเทศอังกฤษและโดยทั่ว ๆ ไป หมายถึงบุคคลหรือคณะบุคคล ที่มีความรอบรู้สัดทัดในสาขาต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับเชื่อถือจากประชาชนทั่วไปจนกลายเป็นสถาบัน ความเป็นสถาบันมีอยู่หลายแขนง เช่น สถาบันในสาขาศิลปะ ดนตรี วิทยาการ ฯลฯ

ในแง่ของแนวคิด "สถาบัน" ยังครอบคลุมถึงองค์กรและปัจเจกบุคคลในลำดับชั้นต่าง ๆ ซึ่งสร้างอิทธิพลต่อระเบียบความเป็นไปในสังคมของประเทศ ความหมายของสถาบันในแง่การเมือง เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 13 ตอนที่กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 ของอังกฤษยกฐานะของรัฐสภาและกฎหมายในอังกฤษ ในศตวรรษที่ 16 ตอนที่คริสต์จักรอังกฤษประกาศตนไม่ขึ้นกับกรุงโรม คริสต์จักรนั้นก็กลาย เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพลเมืองที่ "ได้รับการสถาปนา" (ESTABLISHED) และเมื่อมีการเสริมสร้างประชาธิปไตยให้กับการเมือง บรรดาสถาบันทั้งหลายก็กลายมาเป็นบริวารของนักการเมือง

ในสหรัฐฯ สถาบันไม่งอกงามเท่ากับในอังกฤษ อันเนื่องจากมีการแบ่งแยกระหว่างศาสนจักรและอาณาจักรอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการให้ความสำคัญแก่สิทธิของมลรัฐต่าง ๆ มาก ทว่าสถาบันก็อาจจะมีขึ้นมาเมื่อเกือบร้อยปีมาแล้ว หากเพิ่งจะมาถูกนิยมและระบุตัวกันในสมัยทศวรรษที่ 1960 ตอน ที่ริชาร์ด เอช. โรเวียร์ (RICHARD H. ROVERE) เปิดฉากวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยข้อเขียนชื่อเรื่อง THE AMERICAN ESTABLISHMENT ตีพิมพ์ลงในวารสารชื่อว่า AMERICAN SCHOLAR ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1961 สถาบันของโรเวียร์มีลักษณะทำนองเดียวกับของอังกฤษ อย่างที่พวกเสรีนิยมของอังกฤษวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้

หลังจากนั้น ก็มีการถกถึงสถาบันในแง่ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ถึงตอนต้นทศวรรษที่ 1970 ก็มีพวก "ซ้ายใหม่" ออกโรงต่อต้านสถาบันดะไปหมด ในขณะที่ฝ่ายผู้บริหาร ไม่ว่าจะมีความคิดทางการเมืองในแนวใด ต่างก็มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจให้ใคร มาใช้คำนี้กับตนหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตน ด้วยเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรมที่จะมาเรียกกันเช่นนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่มีใครยอมรับว่าตนเป็นสมาชิกอยู่ในสถาบัน

สถาบันเก่า

สถาบันเก่าของอเมริกา ได้ผ่านยุคแห่งความสำเร็จอย่างงดงามมาแล้ว 2 ยุค คือในช่วงปี ค.ศ. 1900-1940 ช่วงนั้น สถาบันได้ทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นรัฐสวัสดิการอุตสาหกรรมที่ทันสมัย บริษัทใหญ่ ๆ ต่างร่วมดำเนินการตามระเบียบในด้านสังคมและเศรษฐกิจของรัฐบาล ในช่วงที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1940-1965 สถาบันได้สร้างชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างระเบียบช่วงหลังสงครามขึ้น ระเบียบช่วงหลังสงครามนี้ มีสงครามเย็นกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปตะวันตกกับญี่ปุ่นเป็นเอกลักษณ์เด่น ทว่าหลังจากนั้นแล้ว สถาบันก็ดูจะลดบทบาทของตนเองลงไป สาเหตุหนึ่งก็เพราะผลของสงครามเวียดนามที่กล่าวได้ว่า เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากอุดมการณ์ของสถาบันในขณะนั้น

สถาบันมิได้เป็นพวกเชื้อสายผู้ดีหรือร่ำรวย หากเป็นชนชั้นกลางที่ได้รับความยอมรับนับถือ มีการศึกษาดี มีความสามารถ มีความน่าไว้วางใจ คนเหล่านี้ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับคนมั่งคั่ง หรือทำงานให้กับหน่วยธุรกิจที่มั่งคั่ง โดยที่ตนเองจะมีรายได้สูงมากจากงานดังกล่าว

สถาบันเก่าของสหรัฐฯ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อีสเทิร์น อีสแทบลิชเมนต์" (THE EASTERN ESTABLISHMENT) เนื่องจากมีศูนย์กลางใหญ่อยู่ทางชายฝั่งฟากตะวันออก ในสมัยหลังยุคสงครามเวียดนาม สถาบันนี้ยังดำรงอยู่ และยังมีอิทธิพลอยู่ในแวดวงสำคัญ ๆ เป็นต้นว่าตามสถาบันอุดมศึกษาเกือบทุกแห่งในวงการการเงิน การธนาคาร พิพิธภัณฑ์ สื่อมวลชนระดับชาติ ในคณะรัฐมนตรี ฯลฯ ทว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนอาทิ มีผู้หญิง คนผิวสีอื่นที่มิใช่ขาว ชาวยิว นักรณรงค์เพื่อชุมชนในด้านต่าง ๆ เป็นต้นว่า ในด้านสิ่งแวดล้อม ในด้านการควบคุมอาวุธ ฯลฯ เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันนี้ด้วย

ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือ สถาบันเก่าในสมัยนี้ไม่สามารถจะกระทำการในลักษณะที่กำหนดชะตากรรมของชาติเล็ก ๆ อย่างที่เคยทำมาได้ในอดีต

สิ่งที่ยังเหมือนเดิมนั้นก็คือ การรับบุคคลเข้ามาอยู่ในแวดวงสถาบัน คนที่จะเข้ามาได้จะต้องเป็นฝ่ายได้รับเชิญเท่านั้น จะสมัครหรือเสนอตัวเข้ามาไม่ได้เป็นอันขาด ทั้งจะแสดงตัวจนออกนอกหน้าว่าอยากจะเข้ามาอยู่ในแวดวงนี้ก็ไม่ได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำตัวให้เด่นพอที่จะได้รับเชิญด้วย

หากจะเปรียบสถาบันเป็นคณะรัฐบาล (แบบหลังฉาก) ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นประธานของสถาบันแบบเก่าในปัจจุบันนี้ คือจอห์น ซี.ไวท์เฮด (John C. WHITEHEAD) ซึ่งผู้คนที่มิได้อยู่ในสถาบันไม่ค่อยจะรู้จักกัน ไวท์เฮดเป็นอดีตประธานกรรมการร่วมของบริษัทโกลด์แมน, ซาค(GOLDMAN, SACHS & CO.) บริษัทวาณิชธนกิจที่สำคัญที่สุดของอเมริกาเขาเคยเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เคยเป็นประธานคณะกรรมการและกรรมการขององค์การและสถาบัน รวมทั้งมูลนิธิที่ได้รับการยกย่องเชื่อถืออีกหลายแห่ง

คนสำคัญ ๆ อื่น ๆ ที่ถือกันว่าอยู่ในแวดวงสถาบันแบบเก่าก็ได้แก่ เฟลิกซ์ โรฮาทิน (FELIX ROHATYN) บิล มอยเยอส์ (BILL MOYERS) เควิน พี. ฟิลิปส์ (KEVIN P. PHILLIPS) รวมทั้งอัล กอร์ ผู้ซึ่งเป็นรองประธานิธิบดีอยู่ในขณะนี้ด้วย

สถาบันแบบเก่า ยังไม่มีสัมพันธภาพกับกลุ่มบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันใหม่ซึ่งกำลังจะผงาดขึ้นมา แม้ว่าสถาบันเก่าที่เป็นพวกคนรุ่นใหม่ (อายุต่ำกว่า 50) ก็แสดงความสนใจในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศกันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีการติดต่อสัมพันธ์หรือเปิดรับคนหนึ่งคนใดในกลุ่มสถาบันใหม่ เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกด้วย

สถาบัน : ขุมอำนาจอันทรงอิทธิพล

เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บรรดาผู้บริหารของธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาและของโลก ได้เดินทางไปประชุมและพักผ่อน สังสันทน์กันที่ซัน แวลลี่ย์ ลอดจ์ บ้านแห่งหนึ่งของเฮอร์เบิร์ต เอ. แอลเลน (54) วาณิชธนกรผู้เป็นที่ปรึกษาด้าน การลงทุนชั้นนำของยุคสารสนเทศ เจ้าของบริษัท แอลเลน แอนด์ คอมปะนี (ALLEN & COMPANY LTD.) เป็นเวลา 5 วัน การประชุมเช่นนี้ มีขึ้นเป็นประจำทุกปีติดต่อกันมาเป็นปีที่ 12 แล้ว การมาพบปะกันของกลุ่มผู้นำธุรกิจระดับแนวหน้าเช่นนี้ กำลังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมในทำนองเดียวกับกลุ่มบุคคลที่เป็นสถาบันในแบบสถาบันเก่า ทว่าบุคคลเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ต่างออกไป จึงได้รับการตั้งฉายาว่าเป็นสถาบันใหม่ บทบาทและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของพวกเขาเหล่านี้ สามารถส่งผลกระทบที่อาจกำหนดความเป็นไปของสหรัฐอเมริกาและของโลกได้

การประชุมที่แอลเลนจัดขึ้น มีลักษณะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ด้วยพร้อมกัน ช่วงเวลาที่คั่นระหว่างเวลาที่มีการสัมนากันนั้น บรรดาผู้บริหารธุรกิจกับนักลงทุน รวมทั้งครอบครัวมีกิจกรรมเพื่อ การพักผ่อนและบันเทิงนานาชนิดทั้งเล่นกอล์ฟ ตกปลา เดินทางไกล ยิงนก ล่องแพ ฯลฯ

สำหรับในปีนี้ รายการบันเทิงในคืนวันเสาร์ ซึ่งเป็นเวลาสำคัญของงาน มีการจุดดอกไม้ไฟมูลค่า 40,000 ดอลล่าร์ และมีการแสดงลีลาสเก๊ตน้ำแข็ง โดยนักเล่นสเก๊ตน้ำแข็งระดับรางวัลเหรียญทองโอลิมปิคคือ โอ๊คซานา ไบอุล, วิคเตอร์ เปเตรน โคและ แคทารินา วิทท์

ในบรรยากาศเช่นนี้ ความสัมพันธ์และการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นที่สุดระหว่างผู้นำของธุรกิจสารสนเทศที่มาเข้าร่วมประชุม จะคลายความดุเดือดเลือดพล่านลงไปชั่วขณะ อาทิ จรัลด์ เลวิน ผู้บริหารบริษัท ไทม์ วอร์เนอร์ ได้รับมอบของขวัญเป็นแพยางเป่าลมรูปร่างเหมือนขวดไวน์ซีแกรม ซึ่งเป็นนัยหมายถึงการที่เอ็ดการ์ บรอนฟ์แมน เจ้าของบริษัทซีแกรม เข้าไปซื้อหุ้นของไทม์ วอร์เนอร์ เอาไว้มากอย่างเป็นที่น่าตกใจ หรือดังกรณีที่บรอนฟ์แมน จูบแก้มผู้บริหารไทม์ วอร์เนอร์ทั้งสองข้าง มาโลนกับเรดสโตน หาเวลามาพูดคุยกันถึงความเป็นไปได้ที่จะตกลงกันเรื่องคดีความระหว่างบริษัทของตนโอวิตซ์ โผล่เข้ามาพร้อมด้วยลิงอุรังอุตังตัวที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีที่สุดของโลก ลิงตัวนี้ ได้รับการเตรียมตัวมาอย่างพิถีพิถัน ให้มาจับไมโครโฟน และทำปากเลียนและกริยาเลียนท่าทางการพูดของ แจ็ค ชไนเดอร์ ผู้บริหารคนหนึ่งของบริษัทแอลเลน แอนด์ คอมปะนี อิงค์ ซึ่งเป็นโฆษกบนเวทีในงาน

และนี่คือทัศนะของสถาบันใหม่

เลวินแห่งไทม์ วอร์เนอร์กล่าวถึงการประชุมผู้บริหารธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศว่า "หากมองในแง่เศรษฐกิจเห็นได้ชัดว่านี่คืออนาคตของประเทศของเรา"

ขณะที่วงการอุตสาหกรรมการทหาร ที่เคยครองความเป็นใหญ่มาตลอดได้ด้อยรัศมีลง สหรัฐอเมริกาก็กำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในด้านข้อมูลข่าวสารและการบันเทิง

"มันคล้าย ๆ กับการได้เปรียบอย่างที่เฮนรี่ ฟอร์ดมีในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ" มาโลนกล่าวระบุ "มีแต่เฉพาะอเมริกาเท่านั้น ที่ใหญ่พอที่จะเป็นฐานการผลิตแบบมวลชน (MASS PRODUCTION) อย่างที่ฟอร์ดทำได้ มาช่วงท้ายศตวรรษนี้ ตลาดของเราก็เป็นตลาดเดียว ที่ใหญ่พอที่จะสร้างซอฟต์แวร์รุ่นถัดไปของไมโครซอฟต์ วินโดส์ หรือการสร้างภาพยนตร์เรื่องเทอร์มิเนเตอร์ 2 หรือเรื่องจูราสซิค พาร์คได้ ความกว้างใหญ่นี้ ทำให้เราที่อยู่ในฐานะผู้ส่งออกได้เปรียบมาก"

เหล่านักธุรกิจในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้ฉายาว่าเป็นสถาบันใหม่ (หากว่าจะใช้นิยามของโรเวียร์เป็นตัวกำหนด) มีการติดต่อสัมพันธ์กันอยู่เป็นประจำ บางครั้งบางคราวก็เป็นพันธมิตรกัน และบางครั้งก็เป็นคู่แข่ง ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์มีโอกาสเกิดได้เสมอ แต่ความจำเป็นอาจจะบังคับให้มีโอกาสเปลี่ยนสภาพจากการเป็นศัตรูคู่แข่งมาเป็นมิตรกันอีกได้ภายในชั่วระยะเวลาไม่นาน และอาจจะกลับเป็นศัตรูคู่แข่งกันใหม่อีก และเปลี่ยนมาเป็นพันธมิตรกันอีก

นอกจากนี้ พวกเขายังอาจมีโอกาสพบปะพูดจากันได้อย่างสม่ำเสมอด้วย ส่วนหนึ่ง เนื่องจากว่ามีส่วนถือหุ้นเป็นเจ้าของบริษัทบางบริษัทร่วมกันอยู่ และอาจเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการบริหารบริษัทเดียวกันด้วย อาทิ ผู้บริหารคนหนึ่งของบริษัทแอลเลน (ALLEN & COMPANY INC.) ไปเป็นกรรมการของบริษัท ลิเบอร์ตี้ มีเดีย (Liberty Media) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตรายการให้กับบริษัท ทีซีไอหรือ เทเล-คอมมิวนิเคชั่น (Telecommunication Inc.) ซึ่งจอห์น มาโลน ถือหุ้นใหญ่ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าของ) เท็ด เทอร์เนอร์ เป็นกรรมการบริหารบริษัททีซีไอของมาโลน เจรัลด์ เลวิน ผู้บริหารบริษัทไทม์ วอร์เนอร์ เป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการบริหารบริษัท เทอร์เนอร์ บรอดแคสติ้ง ของเทอร์เนอร์ ในขณะที่จอห์น มาโลน เจ้าของบริษัท ทีซีไอ. ก็เป็นกรรมการบริหารบริษัท เทอร์เนอร์ บรอดแคสติ้งและบริษัท คิววีซี. ในอนาคตอันใกล้ หากว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เคร็ก แม็คคอว์ เจ้าของโครงการเทเลเดซิค (TELEDESIC) ร่วมกับเกตส์ก็คงจะไปเป็นกรรมการบริหารบริษัท เอที แอนด์ ที ด้วย

บุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่อาจนับเนื่องได้ว่าเป็นสถาบันยุคใหม่นี้ มีลักษณะเด่นอยู่ที่การมองเห็นภาพรวมของสภาพในปัจจุบันและมองการณ์ไกล พร้อมกันนั้น ก็เป็นนักสร้างอาณาจักรด้วย นี่เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้ซอฟต์แวร์ปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล "เอ็มเอส-ดอส" (MR DOS) ของบริษัทไมโครซอฟต์ของบิล เกตส์ เป็นซอฟต์แวร์ที่คอมพิวเตอร์ 110 ล้านเครื่องทั่วโลกใช้ในขณะที่ซอฟต์แวร์ตัววินโดว์ (WINDOWS) ก็มีติดตั้งประจำอยู่ในคอมพิวเตอร์ 60 ล้านเครื่อง

ทว่าในขณะที่เกตส์ มักจะอุตสาหะพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อที่จะแสดงตัวออกมาอย่างที่จะให้ใคร ๆ มองว่าเขาเป็นคนประเภทสร้างสรรค์เป็นสำคัญ แต่ความสำเร็จในบั้นปลายของเขา น่าจะไปอยู่ที่ความเต็มใจที่จะอุตสาหะบากบั่นในสิ่งที่ยากที่สุดในฐานะนักธุรกิจ

เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งของเกตส์กล่าวว่า "ผมเกลียดวิธีการทำธุรกิจของเขาจริง ๆ แต่สิ่งที่ บิลได้ทำลงไป มาจากผลรวมของทีมงานระดับโลก ไม่ว่เขาจะได้มาอยู่ตรงจุดที่อยู่ในปัจจุบันนี้ด้วยวิธีการอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่เขากำลังทำอยู่ในขณะนี้ก็คือการทุ่มเงินลงไปอย่างไม่อั้น เพื่อทำให้แน่ใจว่า เขาจะได้มีสุ้มมีเสียงเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วย...คน ๆ นี้ ยังหนุ่มเกินกว่าจะเลิกนะ และเป็นนักแข่งขันมากเกินกว่าจะยอมให้มีอะไรพลาดไปได้ เขาคิดแต่จะเอาชนะอยู่เสมอ

สำหรับเทด เทอร์เนอร์ก็มีคลังภาพยนตร์?ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอเมริกันเก็บตุนเอาไว้ได้เป็นจำนวนมหาศาล แต่ความสำเร็จนั้นยังนับว่าน้อย เมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดมาจากรายการโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น (CNN) ที่เทอร์เนอร์เป็นเจ้าของด้วย เครก แม็คคอว์กล่าววิจารณ์เทอร์เนอร์ไว้ว่าเขา "เหมือนเด็กสี่ขวบกับผู้ใหญ่ที่อยู่ในร่างเดียวกัน เขาบริสุทธิ์...คนที่บริสุทธิ์อย่างเท็ด จำเป็นต้องทำในสิ่งที่เห็นกันชัด ๆ เพราะเมื่อถึงตอนที่มันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเต็มที่แล้ว ผู้คนก็จะอยากให้เขาทำสิ่งนั้นไปแล้ว โดยที่คนอื่น ๆ ยังไม่ได้ทำคุณต้องถามตัวเองว่าทำไม ด้วยเหตุผลอะไรได้บ้างที่ทำให้เท็ด เทอร์เนอร์ เป็นคนแรกที่ไปจัดทำเครือข่ายข่าวโทรทัศน์ ผมหมายถึงว่า นี่มันเป็นเรื่องที่นึกไปไม่ถึงเอาเสียเลย

ที่น่าสนใจก็คือเทอร์เนอร์กับแม็คคอว์ และเรย์ สมิธ ต่างมีปัญหาเรื่องด้อยความสามารถในการอ่าน แม็คคอว์เคยพูดไว้ว่า "คนแบบนี้มีแนวโน้มที่จะคิดในลักษณะที่รวมคลุมไปหมด และทำในสิ่งที่คนอื่น ๆ จะไม่เห็นว่ามันกระจ่างแจ้งอยู่เองแล้ว อาจจะเป็นได้ว่า ความบกพร่องในเรื่องนี้ เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งในแง่ของกลยุทธ" สมิธก็คิดว่าความบกพร่องนี้เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน เพราะในขณะที่คนมากมายเสียเวลากับการกังวลว่าคนอื่น ๆ คิดอย่างไร "ถ้าหากว่าคุณมีปัญหาเรื่องการอ่าน คุณก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องนั้น เพราะใคร ๆ เขาก็คิดว่าคุณโง่แล้วอยู่ดี"

"คุณเริ่มต้นด้วยความบันเทิง แล้วจากนั้นก็เพิ่มเอาการสั่งซื้อของจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทางไปร้านค้าเข้ามา เป็นการช็อปปิ้งแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ (INTERACTIVE) ที่ใช้คอมพิวเตอร์สั่งการผ่านโทรศัพท์แล้วจากนั้น คุณก็เพิ่มเกมคอมพิวเตอร์เข้าไป ...คุณได้ใช้ระบบทางหลวงข้อมูลได้อย่าง คุ้มค่า เขาเชื่อว่า เมื่อทำตลาดในสาขาเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะมีแรงจูงใจอย่างแรงกล้าในด้านการเงิน ในอันที่จะนำเอาเทคโนโลยีอันนั้นมาใช้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่กำลังจะเน่า "รายได้จากค่าตั๋วดูหนังรอบแรกในประเทศนี้ทั้งหมด รวมแล้วสัก 5,000 ล้านดอลลาร์นั่นไม่มีความหมายเลย งบประมาณการศึกษาทั้งหมดนี่ซี มันมหาศาลเสียจนกระทั่งผมยังไม่รู้ว่ามันมหาศาลแค่ไหน" ความเป็นจริงมีอยู่ว่ามันสูงกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์นั้นเกือบ 100 เท่า

กอร์ดอน ครอว์ฟอร์ด นักลงทุนในธุรกิจสื่อสารรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง พยากรณ์ไว้ว่า หากว่า "สิ่งที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อสร้างเส้นทางอีเล็คโทรนิคนี้เป็นโทรศัพท์แล้วละก็" สมิธก็จะเป็นผู้ใช้โอกาสนี้มากที่สุด บริษัท เบล แอตแลนติค ของสมิธ เป็นบริษัทโทรศัพท์แห่งแรก ที่ได้สิทธิในการให้บริการเคเบิลทีวี. ถึงปลายปี 1998 บริการแบบอินเตอร์แอ๊คทีฟของสมิธ จะมีไปถึงบ้านเรือน 5.5 ล้านหลังคาเรือน

เรย์ สมิธ แห่งบริษัทเบล แอตแลนติค พูดถึงความเป็นระบบเปิดของเทคโนโลยีสารสนเทศและเจรัลด์ เลวินแห่งไทม์ วอร์เนอร์ พูดถึงลักษณะที่มีอำนาจของเทคโนโลยีใหม่ แต่คนที่อยู่ในวงการนี้ล้วนแต่กำลังเล่นเกมเก้าอี้ดนตรีกันอยู่ โดยที่จำนวนเก้าอี้นั้นจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ

ครอว์ฟอร์ด กล่าวไว้ว่า "ถ้าหากสำรวจการซื้อขายกิจการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่า มีบริษัทเล็ก ๆ มากมายหายหน้าไป เห็นได้ชัดว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ก็คือการผลักดันไปสู่การรวมตัวกันในแนวตั้ง ผู้ผลิตถูกผลักดันให้ต้องไปเป็นเจ้าของธุรกิจ การจัดจำหน่ายหรือ ควบคุมช่องทางในการจัดจำหน่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และนั่นคือสิ่งที่ผลักดันคนเหล่านี้อยู่ นั่นคือสิ่งที่ผลักดันซัมเนอร์ เรดสโตน (แห่งบริษัท เวียคอม) ผลักดันเจอร์รี่ เลวิน (ไทม์ วอร์เนอร์) และผลักดันแบรี่ ดิลเลอร์ (พาราเมท์)"

เรดสโตนกล่าวว่า "งานของเราคือการใช้สิทธิบัตรของเราในทุกรูปแบบ โดยผ่านระบบการจัดจำหน่ายที่กว้างขวางที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแพร่ภาพออกอากาศ โทรทัศท์ เคเบิ้ล จะเรียกว่าทางหลวงข้อมูลหรืออะไรก็ได้ เราไม่แคร์ทั้งนั้น"

ความสำเร็จของระบบการจัดจำหน่ายนั้น จะอยู่ที่ว่าอะไรคือสิ่งที่จำหน่าย อาจจะเป็นได้ว่าด้วยเหตุนี้ ไมเคิล ไอสเนอร์ (แห่งบริษัทวอลต์ ดิสนี่ย์ คอมปะนี) รักษาพลังของรายการออกอากาศของตนเอาไว้ได้ด้วยการเน้นที่ความบันเทิงสำหรับครอบครัว ไอสเนอร์กล่าวว่า "จะมีการคิดโครงการต่าง ๆ ออกไปในเร็ววันนี้" โดยจะทำให้รู้สึกถึงความหวือหวาน่าตื่นเต้นของทางหลวงข้อมูล แต่การจะเอาทุกอย่างเข้ามารวมกันได้ จะต้องมีการปรับโครงสร้างของวิธีการทำสิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ใหม่อย่างมโหฬาร" แม้กระทั่งไอส์เนอร์ ตอนนี้ก็รู้สึกแล้วว่าตัวเองจำเป็นจะต้องเข้ามาอยู่ในเวทีอินเตอร์แอ๊คทีฟ แล้วก็เริ่มดำเนินการเพื่อจัดบริการส่งวิดีโอตามสาย

เจรัลด์ เลวิน มีวิธีการในเชิงรุกมากกว่า เขาพยายามที่จะทำให้เทคโนโลยีใช้การได้เหมาะกับงานของบริษัทไทม์ วอร์เนอร์ที่เขาบริหารอยู่แทนที่ จะปรับงานของบริษัทให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว

เลวิน อธิบายถึงการทดลองที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์รวมสื่อ (มัลติมีเดีย) ว่า "ระบบนี้มันไม่มีอะไรเหมือน มันไม่ใช่ระบบโทรศัพท์ มันไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยมีมาก่อน ลูกค้าจะเป็นผู้สร้างสิ่งที่ตนได้รับอยู่...มันไม่ใช่เครือข่ายดิจิตอลหรือการรับสัญญาณโทรทัศน์ 500 ช่อง หรือกี่ช่อง ๆ ก็ตาม มันเป็นช่องเดียวที่สร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง มันคือตัวเรา" และวิธีการของเขาก็คือ "เราจะดึงลูกค้าให้เข้ามาอยู่ในปริมณฑลของระบบดิจิตอล ในลักษณะที่จะบีบให้ต้องมีการพิมพ์หนังสือและการสร้างภาพยนตร์และการสร้างดนตรี การจับจ่ายซื้อของหรืออะไรก็ตามในรูปแบบใหม่ ๆ"

ไม่มีใครทราบแน่ว่า ภาพรวมของเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีลักษณะอย่างไร ในท้ายที่สุด หลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของยุคแห่งข่าวสารข้อมูลนี้ ก็คือหลักการที่เรียกว่า "คนสองคนในอู่จอดรถ" ตามอู่จอดรถที่ไหนสักแห่ง หรือหลาย ๆ แห่ง จะมีคนสองคนที่กำลังช่วยกันสร้างสิ่งแปลกใหม่ ขึ้นมาตามแต่จินตนาการและความคิดฝันของตนจะพาไป เทคโนโลยีดิจิตอลอาจจะเป็นพื้นฐานสำหรับฉากอนาคตทุกบททุกตอนที่จะเกิดขึ้น จอห์น มาโลนแห่งบริษัททีซีไอ. กล่าวว่ารองประธานาธิบดีอัล กอร์ มองระบบทางหลวงข้อมูลในลักษณะของความเป็นโลกแห่งระบบดิจิตอล

"จริง ๆ แล้ว มันหมายความว่าคอมพิวเตอร์จะเข้ามาแทนที่การขนส่งและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารรวมไปจนถึงการเสนอภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ ทุกอย่างจะเข้าอยู่ในระบบดิจิตอล"

แต่ใครจะรู้ได้ สิ่งใหม่หรือที่มีอยู่แล้วบางสิ่งอาจจะเข้ามาแทนที่ระบบดิจิตอล" รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกก็ได้ เหมือนอย่างที่เทคโนโลยีดิจิตอลนี้ เข้ามาเบียดบังโทรทัศน์ระบบความคมชัดสูง แม้ผู้บริหารที่มีสายตาไกลที่สุดก็ยังไม่อาจจะพยากรณ์ถึงอนาคตในส่วนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ ไมเคิล ไอวิตซ์ วาณิชธนกรผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการธุรกิจเทคโนโลยีข่าวสารพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "นั่นคือสิ่งที่ทำให้มันสนุกเราไม่รู้เลยว่า ต่อไปจะมีอะไรมา"

ในเรื่องนี้ เรย์ สมิธ แห่งบริษัท เบลล์ แอตแลนติค นำมาโยงกับตนเองว่า บริษัทของเขาอาจจะได้ชื่อว่าเกรย์ แอตแลนติค (GRAY ATLANTIC) แทนที่จะเป็นเบลล์ แอตแลนติค (BELL ATLANTIC) ก็ได้ เพราะอเล็ก แซนเดอร์ เกรแฮม เบลล์ กับเอลิชา เกรย์ ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมาได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ทว่าสองคนนี้มองสิ่งประดิษฐ์อย่างเดียวกันนี้ แต่เห็นเป็นคนละอย่าง เกรย์มองเห็นว่ามันเป็นโทรเลขแบบมัลติเพิล ในขณะที่เบลล์มองเห็นว่ามันเป็นโทรเลขชนิดที่พูดได้ ... หรืออีกนัยหนึ่งโทรศัพท์

ลักษณะการมองเช่นนี้ คือตัวกำหนดสภาพความเป็นไปในกาลข้างหน้า ดังที่โทรศัพท์กลายมาเป็นในปัจจุบัน สิ่งที่กำหนดความแตกต่างระหว่างความเป็นชัยชนะกับผู้แพ้ คือสายตาที่จะมองเห็น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us