|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2537
|
|
เป็นที่คาดว่า อภิมหาเศรษฐี ผู้ซึ่งมีสินทรัพย์มูลค่าล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐคนแรกของโลก น่าจะเป็นมหาเศรษฐีชาวเอเชีย ในอีก 20 ปีข้างหน้า
Li Ka Shing มีธุรกิจเริ่มแรกคือการเป็นพ่อค้าขายดอกไม้พลาสติค ปัจจุบันครอบครัวตระกูล Li เป็นครอบครัวที่ถูกจับตามองว่า Richard Li ลูกชายของ Li Ka Shing จะเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีพันล้านที่กำลังจะกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีระดับล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ รายแรกของโลก นั่นหมายความว่าเขาจะต้องมีทรัพย์สินมากกว่า แสนล้านถึงสิบเท่า ซึ่งก็คือ 167 เท่าของทรัพย์สินของตระกูล Li ของเขา
"แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ คนที่จะอยู่ในระดับนั้นได้จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงในการทำธุรกิจ การตัดสินใจต่าง ๆ ของเขาจะต้องเป็นการตัดสินใจที่แทบจะพลาดไม่ได้" เขากล่าว
คำกล่าวของ Li นั้นน่าเชื่อถือ แต่การคำนวณครั้งนี้ของนักธุรกิจหนุ่มคนนี้อาจจะผิดก็ได้ เพราะจาการวิเคราะห์การลงทุนโดยของ Asia Inc พบว่า ในการที่จะไปยืนอยู่ในตำแหน่งมหาเศรษฐีระดับล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ของ Li ซึ่งมีอายุ 27 ปี และพี่ชายของเขา Victor อายุ 29 ปี ไม่น่าที่จะ มีความเสี่ยงใด ๆ ทั้งสิ้น
จากการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ได้สร้างมหาเศรษฐีพันล้านเป็นจำนวนมาก และน่าที่จะมีอภิมหาเศรษฐีระดับล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ของโลกเป็นคนแรก ในภูมิภาคนี้เช่นกัน ผู้ที่อยู่ในสนามแข่งขันความรวยครั้งนี้มีหลายคน (ดูตาราง) แต่ พี่น้องตระกูล Li น่าจะเป็นคนแรกที่ จะได้รับโล่รางวัลทองคำขาวนี้
ภายใน 37 ปี ทั้ง Richard และ Victor Liจะมีสินทรัพย์ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ถ้าสินทรัพย์ของครอบครัวของเขามีอัตราการเติบโต 15 เปอร์เซนต์ในแต่ละปี ในเวลานั้นทั้งคู่จะมีอายุ 60 กว่าปี ซึ่งเป็นอายุในช่วงเดียวกับพ่อของเขาทั้งสองในเวลานี้ ถ้าโชคเข้าข้างพวกเขา พวกเขาจะสามารถควบคุมอาณาจักรแห่งความมั่นคั่งนี้ ซึ่งมีมากกว่าผลิตผลมวลรวมของประเทศอังกฤษ ในขณะนี้และมากกว่า 4 เท่า ของไต้หวัน
พี่น้องตระกูล Li เปรียบเสมือนชิ้นส่วนที่แตกออกมาจากอิฐก้อนเก่า
Victor คือรองประธานกรรมการของ Cheung Kong (Holding) Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนา สินทรัพย์ชั้นยอดของฮ่องกง เขาถือหุ้นอยู่ 36 เปอร์เซนต์ ส่วน Richard นั้นเขาตั้งบริษัทของเขาเองขึ้นมา ชื่อบริษัท Pacific Century Group เพื่อที่จะทำธุรกิจทางด้านสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงและโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ Hutchinson Whampoa Group กลุ่มบริษัททางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ของผู้เป็นพ่อ เขาเป็นคนริเริ่ม Star TV ซึ่งเป็นโครงการเครือข่ายโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมคนแรกของเอเชีย หลังจากนั้นจึงขายอำนาจการควบคุมให้กับเจ้าพ่อธุรกิจสื่ออย่าง Rupert Murdorch เมื่อกรกฎาคมปี 2536 ด้วยมูลค่า 525 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
นิตยสาร Fortune และ Forbes ประมาณว่า จะมีชาวเอเชียอย่างน้อย 82 คนที่มีความมั่งคั่งระหว่าง 1 พันล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ถึง 9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
ตัวอย่างเช่น ครอบครัว Mori แห่งญี่ปุ่น (6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ), ตระกูล Tsai ในไต้หวัน เจ้าของ Cathay Life Insurance Co. (8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) ครอบครัว Kwek หนึ่งในผู้ที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในสิงคโปร์ (2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ) แต่จากการวิเคราะห์แล้ว เชื่อว่าการประเมินของหนังสืออเมริกาทั้งสองนี้เป็นการประเมินที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหนี่งในบริษัทที่ปรึกษาของฮ่องกง กล่าวกับ Asia Inc. ว่า บางตระกูลในเอเซียมีทรัพย์สินถึง 100 ดอลล่าร์สหรัฐฯ แล้ว ซึ่งเท่ากับสองเท่าของผลิตผลมวลรวมของสิงคโปร์ถึงสองเท่า แต่สินทรัพย์ส่วนใหญ่มักจะถูกซ่อนไว้ในรูปของบริษัทส่วนตัว ซึ่งยากต่อการสืบค้นข้อมูล
"เราไม่สามารถที่จะล่วงรู้ถึงความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเหล่านี้ได้ เพราะว่า พวกเรามักจะพิจารณาเฉพาะสินทรัพย์ที่เป็นบริษัทมหาชนเท่านั้น" ที่ปรึกษามักจะแนะนำให้มหาเศรษฐีเหล่านี้ เคลื่อนย้ายทุนออกจากเกาะฮ่องกง ก่อนที่จะถูกครอบครองโดยจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 2540 เขากล่าวว่า เขารู้จักมหาเศรษฐีอย่างน้อย 2 คนที่มาความร่ำรวยมากกว่าบุคคลที่อยู่ในรายชื่อของคนรวยที่สุด แต่เขาก็ไม่ได้เปิดเผยชื่อ
ตัวอย่างเช่น Nina Wang ผู้นำบริษัท ChinaChem Group บริษัทพัฒนาทรัพย์สินเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีใครกล่าวถึงความมั่งคั่งของเธอเลย
ชาวเอเชียที่ถูกกล่าวขานมากที่สุดว่าเป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย และในโลกก็คือสุลต่าน Hassanal Bolkiah อายุ 48 ปี แห่งประเทศบรูไน ในประเทศเล็ก ๆ แต่มั่งคั่งไปด้วยน้ำมันบนเกาะ บอร์เนียว โดยประเมินว่าพระองค์ทรงมีทรัพย์สินประมาณ 40 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
สุลต่านเป็นผู้ที่มีความร่ำรวยมากกว่าใคร จนน่าที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ก่อนใคร ๆ หลายปี ถ้าพระราชวงศ์ของพระองค์สามารถที่จะมีอัตราการเติบโตของทรัพย์สิน 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และสุลต่านมีพระชนม์เกิน 70 พรรษา พระองค์ก็จะเป็นอภิมหาเศรษฐีภายใน 23 ปี แต่ถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนและพระราชวงศ์สุลต่านบรูไนมีอัตราการเพิ่มของสินทรัพย์ที่สูงอยู่ เจ้าชาย Al-Muhtadee Billah ซึ่งปัจจุบันมีพระชนม์ 20 ปี จะเป็นอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คนแรกของโลกในช่วงอายุ 30 กว่าปีเท่านั้น
สิ่งที่ช่วยให้พระราชวงศ์แห่งบรูไนมีความมั่งคั่งอย่างมากจากน้ำมันที่มีการขุดเจาะขึ้นมา ถึง 174,000 บาร์เรล ต่อวัน คือการไม่ต้องจ่ายภาษีรายได้ให้แก่รัฐบาล
ในขณะที่ ผู้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นคนร่ำรวยอันดับสองของโลกคือ ตระกูล Waltons ที่มีทรัพย์สินมูลค่า 23 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เจ้าของเครือข่ายร้านค้าปลีกราคาถูก Wall-Mart ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเสียภาษีในทุก ๆ แห่งในโลกที่บริษัทไปลงทุน แม้กระทั่งพระราชินี Elizabeth II แห่งประเทศอังกฤษ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุดในโลก ก็เริ่มที่จะต้องจ่ายภาษีรายได้ที่เกิดจากสินทรัพย์ 8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ของพระองค์ตั้งแต่ปีที่แล้ว
เศรษฐีพันล้านของเอเซียมีภาษีที่แตกต่างไปตามการปกครอง แต่ก็ไม่ง่ายนักในการที่จะ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีจำนวนมหาศาล ในบางครั้งพวกเขาก็จะเก็บรักษาเงินทุนส่วนใหญ่ของเขาไว้นอกประเทศ ตัวอย่างเช่น ในฮ่องกง คนฮ่องกงไม่จำเป็นต้องเสียภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นนอกประเทศ แม้กระทั่งภาษีในประเทศก็ยังต่ำเพียง 15 เปอร์เซนต์
บริษัท Boasts ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์การลงทุน ที่มีสาขาในฮ่องกง กล่าวว่า "ไม่มีประเทศไหนในโลกที่เราสามารถหารายได้มากและจ่ายภาษีต่ำเท่าในฮ่องกง"
นั่นคือเหตุผลที่ว่า รายชื่อของผู้ที่จะมาเป็นอภิมหาเศรษฐีของ Asia Inc. จึงไม่ได้มีเพียงลูกชายของมหาเศรษฐี Li Ka Shing เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเจ้าสัวฮ่องกงรายอื่น ๆ อาทิ
ครอบครัวของ Lee Shau Kee ผู้มีอายุ 66 ปี เจ้าของบริษัท Henderson Land Development Co. ผู้ซึ่งนิตยสาร Forbes กล่าวว่ามีสินทรัพย์มากกว่า 6.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ลูก ๆ ของเขา 5 คน ต่างก็ทำงานให้กับบริษัท ซึ่งมีอสังหาริมทรัพย์ในจีนแผ่นดินใหญ่ สิงคโปร์ สหรัฐฯ และแคนาดา รวมทั้งฮ่องกง
Walter, Thomas และ Raymond สามพี่น้องตระกูล Kwok ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของหุ้นส่วน 47 เปอร์เซนต์ในบริษัท Sun Hung Kai Properties การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของพวกเขาก้าวกระโดดจาก 3.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปีนี้ ถ้าการเติบโตของบริษัท ยังคงดำเนินไปในอัตรา 15 เปอร์เซนต์ต่อปี ตระกูล Kworks จะเป็นตระกูลมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2030 ซึ่งพวกเขาจะอายุประมาณ 40 กว่าปีต้น ๆ เท่านั้น
ตระกูล Ng ซึ่งมี Robert Ng แม้ว่าเขาจะอายุ 42 ปี แต่เขาก็ยังดูหนุ่มกว่าวัย เขาเป็นผู้หนึ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นอภิมหาเศรษฐีได้หากว่าเขาทำได้ เขาจะเป็นอภิมหาเศรษฐีในวัย 80 กว่าปี ด้วยอาณาจักรทรัพย์สินของเขาในฮ่องกง และสิงคโปร์ที่นำโดย Ng Teng Fong นักบริหารที่เกิดในจีนแผ่นดินใหญ่ วัย 68 ปี ผู้เป็นพ่อของเขาเป็นที่คาดว่าครอบครัว Ng สามารถที่จะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนี้ได้ในปี 2030
ไม่ใช่เพียงเศรษฐีฮ่องกงเท่านั้นที่มีความน่าจะเป็นในการก้าวไปเป็นอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่เศรษฐีญี่ปุ่นผู้ที่ครอบครองธุรกิจที่ดินและรถไฟ อย่าง Tsutsumi ยังถูกคาดว่าจะเข้าสู่ตำแหน่งที่แสดงถึงความล่ำซำนี้ภายใน 26 ปี ถ้าการเติบโตของบริษัทมีอยู่ในระดับเฉลี่ย 20 เปอร์เซนต์ทุกปี
William Rees-Mogg คอลัมนิสต์ที่มีชื่อเสียงอดีตบรรณาธิการนิตยสาร ไทม์ กล่าวว่าในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการแบ่งชนชั้นเป็นชนชั้นต่ำ ชนชั้นกลาง และชนชั้นสูง การหลีกเลี่ยงภาษี มีค่อนข้างสูง รวมทั้งหลายประเทศในเอเชีย ในขณะที่ความมั่งคั่งกำลังเอียงไปที่ภูมิภาคเอเซีย ทุนก็กำลังเอียงไปจากอำนาจศาล
"มันทำให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับสังคม" เขากล่าว
"เราได้กำหนดไว้ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ว่า การได้มาซึ่งเงินทุนต้องมีการเก็บภาษี เพื่อเป็นการกระจายผลตอบแทนสู่สังคม แต่รู้สึกว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ได้ขาดสะบั้นลงไป"
ทั้ง Rees-Mogg และ Jacob ผู้ซึ่งเป็นลูกชายของเขา ผู้ซึ่งเป็นผู้จัดการทางด้านการลงทุนของบริษัท Loyd George Management สาขาฮ่องกง เชื่อว่า หลาย ๆ คนในระดับที่เรียกว่าชั้นสูงของสังคมในประเทศเอเซีย สามารถที่จะสร้างอัตราการเติบโตของความร่ำรวยของพวกเขาถึงปีละ 20 เปอร์เซนต์ แม้ว่านักวิเคราะห์การลงทุนเชื่อว่าตัวเลขที่ 15 เปอร์เซนต์ จะเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้มากกว่า
ถ้าเป็นไปตามที่ Rees-Mogg คาดการณ์ไว้แสดงว่าการที่เศรษฐีที่มีสินทรัพย์ในต่างประเทศและไม่ต้องเสียภาษีแล้ว จะทำให้ความมั่งคั่งของเศรษฐีระดับล้านดอลล่าร์ กลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้านดอลล่าร์ และมหาเศรษฐีระดับพันล้าน กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์ เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่ต้องมาเสียภาษี ซึ่งประมาณ 40 เปอร์เซนต์ นั่นคือความมั่งคั่งของเขาเหล่านี้ ย่อมเพิ่มขึ้นได้ต่ำกว่า เจ้าของธุรกิจประเภทแรกอย่างแน่นอน
Dobbs-Higginson อดีตผู้บริหาร Merrill Lynch Asia ในฮ่องกง ปัจจุบันคือที่ปรึกษาธนาคารอินโดสุเอซ กล่าวถึงความง่ายดายในการเลี่ยงภาษีของมหาเศรษฐีระดับพันล้านว่า "มันเป็นการง่ายอย่างเหลือเชื่อ เพราะเราเพียงเก็บเงินทุกบาททุกสตางค์ไว้ภายใต้กฎหมายที่ไม่ต้องเสียภาษีเท่านั้น"
"รัฐบาลมักจะสามารถควบคุมบัญชีเราได้ในเรื่องของสินทรัพย์ถาวรเท่านั้น แต่จะไม่สามารถรู้ลึกไปถึงสินทรัพย์หมุนเวียนของเราได้" เขากล่าว
นอกจากนี้ มหาเศรษฐีหลาย ๆ คนมักจะแผ่กิ่งก้านสาขาแห่งอำนาจเพื่อที่จะปกคลุมสังคมและรัฐบาล ในหลายครั้งมหาเศรษฐีเหล่านี้ ได้ถูกยกย่องให้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและการ ค้าในอีกทางหนึ่ง ก็ยังมีการอุทิศเพื่อการกุศลในการแสดงความรักเพื่อนมนุษย์
Marc Faber ปรมาจารย์ทางด้านการลงทุนของฮ่องกง กล่าวว่า "บ่อยครั้งที่บริษัทมีความอำนาจมากกว่าประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกวันนี้จะเห็นว่าหลายบริษัท ต่างก็เป็นอิสระไม่ได้ขึ้นกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เราอยู่ในยุคทุนนิยมมันเป็นเรื่องธรรมดามาก ถ้าคน ๆ หนึ่งจะมีความมั่งคั่งร่ำรวยมากกว่า GDP ของบางประเทศ"
เงินเฟ้อ เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่าโลกนี้ จะมีอภิมหาเศรษฐีระดับล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คนแรกได้เร็วเท่าไหร่
Faber ได้ประมาณอัตราการคืนทุนจากการลงทุน ว่ามากกว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ประมาณ 2 เปอร์เซนต์
"ถ้าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 20 เปอร์เซนต์ ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 22-23 เปอร์เซนต์ ประเทศ ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง ๆ อย่างบราซิล หรือเยอรมัน มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ภายใต้เงินภาวะเฟ้ออย่างมาก"
แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่สูงนัก แต่ปัจจัยการขึ้นลงของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราก็เป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่ผลในการประเมินทรัพย์สินสูงขึ้นหรือต่ำลง
ตัวอย่างเช่น ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นที่สูงขึ้นได้ทำให้ธุรกิจในญี่ปุ่นหลายอย่างกลายเป็นธุรกิจ พันล้านดอลล่าร์ไปในปีนี้
2 อุปสรรคในการที่จะก้าวขึ้นแท่นอภิมหาเศรษฐีที่เห็นอยู่ราง ๆ ก็คือความสามารถในการบริหารของลูกหลานเศรษฐีพันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งไปสู่หลักล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และยังมีปัจจัยแห่งความผันผวนทางการเมืองที่มีให้เห็น อย่างเช่นในประเทศจีน
แม้ว่าครอบครัวของมหาเศรษฐีจะมีลูกหลานมากน้อย หรือ มีความสามารถอย่างไรในบางครอบครัว การบริหารส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในมือของผู้ก่อตั้งรุ่นแรก ตัวอย่างเช่น ในฮ่องกงธุรกิจของ Li Ka Shing นั้นผู้บริหารรุ่นแรกยังไม่ได้วางมือ แม้ว่าในรุ่นที่สองของตระกูลจะได้รับดีกรีทางด้านการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยจากประเทศตะวันตก
"ถ้าคุณลองพิจารณาประวัติศาสตร์ธุรกิจของครอบครัวที่มีความมั่งคั่ง คุณจะพบว่าความร่ำรวยของครอบครัวจะลดลงในรุ่นที่สามเพราะเขาเหล่านั้นมักจะใช้ มากกว่ารักษาหรือเสริมสร้างความร่ำรวย" ที่ปรึกษาธนาคารอย่าง Dobbs-Higginson ให้ข้อสังเกต
เศรษฐีพันล้านรุ่นที่สองของครอบครัวบางคนก็ต้องการที่จะทำอะไรที่ต่างไปจากธุรกิจเดิม ที่เคยทำมาในรุ่นแรก Richard Li เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นที่พยายามหาธุรกิจใหม่ ๆ ที่แยกไปจากธุรกิจหลักของครอบครัวของเขา
ลูกทั้ง 10 คน ของ Y.C. Wang มหาเศรษฐีชาวไต้หวัน วัย 78 ปี ผู้ก่อตั้ง Formosa Plastics Group (FPG) ต่างก็แยกออกไปเริ่มธุรกิจใหม่ของตน Charlene Wang อายุ 45 ปี เธอตั้งบริษัท First International Computer เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เพื่อเป็นบริษัทประกอบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน บริษัทของเธอเรียกได้ว่าเป็นบริษัทประสบความสำเร็จบริษัทหนึ่ง น้องสาวของ Charlene คือ Cher อายุ 36 ปี ก็แยกตัวเองออกไปบริหารงานให้กับบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ครอบครัวของเธอไปซื้อกิจการไว้เมื่อปีที่แล้ว มูลค่า 2.3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
ด้วยอายุของ Cher และกิจการของครอบครัวตระกูล Wang เธอเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะสามารถก้าวไปสู่การเป็นอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ได้ เพราะลำพังบริษัทของพ่อของเธอก็มีมูลค่าประมาณ 2.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นอกจากนี้บริษัทอีกหลายบริษัทที่มีเหลือ อยู่ก็ยังเป็นบริษัทที่ถูกประเมินมูลค่าต่ำกว่าความน่าจะเป็น แต่รายได้ของบริษัทยังอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลล่าร์ ไม่มีขึ้นหรือลงไปจากนี้มากนัก ตั้งแต่ปี 2534
ตำแหน่งที่แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งนี้จะเป็นของเธอ ถ้าเธอมีความสามารถในการบริหารเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทางด้านผลิตภัณฑ์ทางด้านอิเลคโทรนิคส์และคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น
เงื่อนไขทั่ว ๆ ไป ที่ทำให้คนเราต้องสูญเสียความมั่นคั่งไปก็คือการเวนคืนหรือการเข้าครอบครองกิจการจากรัฐบาล และสงคราม
"ตัวอย่างเช่นในประเทศจีนปี 2492 หรือในรัสเซีย ในปี 2460 ผู้คนต่างต้องสูญเสียความมั่งคั่งไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการระบอบปกครอง" Faber กล่าวแสดงความคิดเห็น
และนี่ก็จะเป็นอีกครั้งหนึ่งในความไม่แน่นอนในประเทศจีน เพราะผู้นำจีนอย่างเติ้ง เสี่ยว ผิง ปัจจุบันเขามีอายุมากถึง 90 ปี ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว
Dobbs-Higginson ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Asia Pacific: A View on Its Role in the New World Disorder กล่าวว่า "ผมคิดว่ามันจะต้องเกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในจีน และถ้ามันเกิดขึ้นธุรกิจต่าง ๆ ก็จะต้องมีการล้มระเนระนาดอย่างแน่นอน"
แม้จะมีความสงสัยอยู่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของอภิมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เขาก็ยังให้ความเห็นว่า "ในลักษณะของการขยายครอบครัวของคนจีนแล้ว เป็นไปได้ว่า พวกเขาจะสามารถรักษาความมั่งคั่งนี้ไปได้นานจนถึง 50 ปีข้างหน้า"
กลับมาที่ห้องทำงานของ Richard Li อีกครั้ง หลังจากที่เขาลองตรวจสอบอีกครั้ง เขาก็กล่าวว่า "มันน่าจะเกิดมหาเศรษฐีล้านล้านดอลล่าร์ขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะเพียงคนเอเซียเท่านั้น ไม่ว่าใคร เขาก็สามารถที่จะสร้างความมั่งคั่งจากภูมิภาคเอเซียได้ด้วยกันทั้งนั้น"
|
|
|
|
|