Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2537
งานสาธารณูปโภคเมืองทองกล้าท้าพิสูจน์             
 





ความคืบหน้าทางระบบสาธารณูปโภคเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะดึงดูดให้คนเข้ามาโอนที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานีเมื่อการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค จะต้องสอดคล้องไปพร้อมกับการก่อสร้างโครงการ วันนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จเกือบ 100% งานระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ให้คน 3 แสนกว่าคน ก็น่าจะแล้วเสร็จเช่นกัน

เมืองทองธานีได้แบ่งการดำเนินการตามระบบสาธารณูปโภคเป็น 4 เฟส เฟสแรกเป็นงานสาธารณูปโภคของคอนโดอุตสาหกรรม เฟสที่ 2 เป็นสาธารณูปโภคของส่วนเลควิว คอนโดมิเนียมและวิลล่าออฟฟิศ เฟสที่ 3 จะเป็นส่วนของป๊อปปูล่าคอนโดมิเนียมทั้งหมด และเฟส 4 จะเป็นระบบการกำจัดน้ำเสียและกำจัดขยะ

เมื่อก่อสร้างงานแต่ละส่วนแล้วเสร็จก็จะมาร้อยเชื่อมโยงเป็นระบบใหญ่รองรับเมืองทองธานี ทั้งโครงการยอดเงินการลงทุนทั้งหมดเฉพาะระบบสาธารณูปโภคนี้ประมาณ 7 พันล้านบาท

ขณะนี้งานระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เสร็จแล้ว ประมาณ 90% ส่วนใหญ่จะเหลือระบบที่จะเชื่อมต่อเข้ากับตัวตึกต่าง ๆ

ชัชวาลย์ ชาครีย์วณิชย์ ผู้จัดการฝ่ายสาธารณูปโภค เปิดเผยว่า ระบบสาธารณูปโภคหลัก ๆ เช่นไฟฟ้า ขณะนี้ได้ก่อสร้างสถานีย่อยของการไฟฟ้าเสร็จสิ้นแล้ว 2 สถานี แต่ได้เตรียมพื้นที่ ๆ จะสร้างไว้ให้การไฟฟ้าถึง 7 สถานี

ส่วนของน้ำประปาขณะนี้คนที่จะอาศัยในเมืองทองธานีจะใช้น้ำจากท่อเดิมของการประปาที่มีอยู่แล้ว และท่อใหม่ขนาด 800 มิลลิเมตรที่ทางบางกอกแลนด์ เป็นผู้ลงทุนซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้การประปาในวงเงิน 14 ล้านบาท โดยรับน้ำจากโรงกรองน้ำบางเขนเข้ามา นอกจากนี้ทางบางกอกแลนด์ยังได้ประสานกับการประปานครหลวงเพื่อเตรียมการรองรับ โดยการประปานครหลวงจะต้องวางท่อขนาด 1,200 มิลลิเมตร พาดผ่านโครงการเมืองทองธานีซึ่งนอกจากจะรองรับชุมชนในเมืองทองธานีแล้ว ยังสามารถบริการในเขตอำเภอปากเกร็ดได้อีกด้วย

สำหรับเรื่องโทรศัพท์ แหล่งข่าวจากบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกล่าวว่าจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ที่เปิดบริการในเมืองทองธานีขณะนี้ มีทั้งหมดประมาณ 13,000 กว่าเลขหมาย และคาดว่าในระยะเวลาต่อไปจะเปิดบริการได้ตามกำหนด แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าท่อร้อยสายใต้ดินภายในโครงการต้องเสร็จสิ้นตามกำหนดเช่นกัน

ในเรื่องนี้ชัชวาลย์กล่าวว่า ได้มีการเตรียมการไว้เกือบเสร็จสิ้นแล้วเพราะทางโครงการต้องทำไปพร้อม ๆ กับการก่อสร้างถนน

การกำจัดขยะเป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำให้เมืองมีความสวยงามน่าอยู่อาศัย หากระบบการจัดเก็บขยะไม่ประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าเมืองนี้จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคขนาดใหญ่แน่

เมื่อทางอำเภอปากเกร็ดมีปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะ และจะต้องมีปัญหาแน่นอนเมื่อเกิดชุมชนขนาดใหญ่อย่างนี้เข้ามาเพิ่มภาระ สิ่งที่ทางบางกอกแลนด์ได้ดำเนินการไปแล้วก็คือ ซื้อที่ดินในอำเภอบางใหญ่ประมาณ 40 ไร่ให้เป็นที่ทิ้งขยะพร้อม ๆ กับมีการเตรียมแผนการไว้ว่าหากมีคนเข้ามาอยู่เป็นแสนคนเมื่อไหร่ระบบสถานีขนถ่ายขยะในเมืองทองรวมทั้งเตาเผาขยะที่ไม่สร้างมลพิษต้องเกิดขึ้น

ส่วนระบบคมนาคมในโครงการขณะนี้ได้มีการประสานงานกับทางขสมก.เพื่อที่จะสร้างอู่จอดรถขนาดใหญ่ในเมืองทองธานี แต่รถที่มีบริการอยู่แล้วในระยะแรกนี้คือ รถปรับอากาศ ปอ.5 ปอ.6 รถไมโครบัสสายปอพ. 1ก นอกจากนั้นยังมีรถซิตี้บัส ซึ่งเป็นของเมืองทองธานีเองอีก 10 คันวิ่งในโครงการและรถแท็กซี่มิเตอร์ที่วิ่งรับส่งเฉพาะในโครงการระหว่างตึกอีกจำนวนหนึ่ง

ถ้ามองภาพรวมทั้งหมดตอนนี้ การเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองทองธานีไม่น่าจะเป็นปัญหาเจ้าของได้เตรียมสิ่งต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมแล้วแต่สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ เป็นเรื่องที่ทางบางกอกแลนด์ต้องเตรียมการไว้ต่อไป

ส่วนการจัดการระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพนั้นเป็นบทบาทที่ทางเอ็มเอสเอ็ม.จะต้องเป็นผู้จัดการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า แผนสาธารณูปโภคต่าง ๆ นี้ ทางเมืองทองธานีจะต้องประสานกับคณะกรรมการของกระทรวงที่ดูแลเป็นระยะ ๆ เพื่อประสานกับทางจังหวัดนนทบุรีและเทศบาลปากเกร็ด

เพราะแน่นอนว่าหากมีคนทยอยเข้ามาอยู่นับแสนคนเมื่อไหร่ยังมีสิ่งที่จะสร้างปัญหาให้กับเมืองทองธานี และจังหวัดนนทบุรีอีกมากเป็นแน่หากขาดประสานงานที่ดีร่วมกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us