Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545
มารู้จัก IMEI             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 





คำว่า อีมี่ IMEI เริ่มเป็นที่รับรู้มากขึ้น หลังจากที่ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (แทค) ประกาศปลดล็อกอีมี่ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2545 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นกลยุทธ์ที่แทค ใช้กู้สถานการณ์อย่างเห็นผลแล้ว ผลที่เกิดขึ้นจากการปลดล็อกอีมี่ ก็คือการพลิกโฉมหน้าใหม่ของโทรศัพท์มือถือของเมืองไทย ให้เข้าสู่กลไกใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องมาทำความ รู้จักอีมี่ IMEI กันมากขึ้น เพราะจริงๆ แล้ว อีมี่นั้นถือเป็นกลไกหนึ่งของการสร้างระบบธุรกิจโทรศัพท์มือถือของเมืองไทย

เดิมที ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในไทย ทั้งเอไอเอส และแทค มีการวางโครงสร้างธุรกิจ ด้วยการเป็นทั้งผู้ให้บริการ คือ สร้าง Network และเก็บเงินค่าใช้บริการ และเป็นผู้นำเข้าโทรศัพท์มือถือที่มีเครือข่ายระบบการจัดจำหน่ายเอง เรียกว่าทำธุรกิจกันอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง ยันปลายทาง

ผลที่ตามมา ก็คือ เมื่อซื้อเครื่องลูกข่ายของค่ายใดก็ต้องใช้กับเครือข่ายของโอเปอเรเตอร์รายนั้น ไม่สามารถนำไป ใช้กับอีกค่ายหนึ่งได้ เช่น ซื้อเครือข่ายจาก เครือข่ายจัดจำหน่ายของเอไอเอส จะใช้ได้ เฉพาะของเครือข่ายจีเอสเอ็มของเอไอเอส และไม่สามารถนำไปใช้กับระบบของแทคได้ หรือไม่สามารถนำเครื่องที่ซื้อจากต่างประเทศ หรือที่มีการลักลอบเข้ามาขายมาใช้งานได้

ในแง่ของระบบเครือข่ายเอง จึงมีล็อกระบบ หรือลงรหัสไว้ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ การล็อก IMEI ซึ่งเป็นการล็อกที่ตัวระบบหรือที่ตัวโครงข่าย และล็อก ที่ SIM Card

คำว่า IMEI ย่อมาจากคำว่า Inter-national Mobile Station Equipment Identity ซึ่งเป็นหมายเลขรหัสประจำเครื่อง ของโทรศัพท์มือถือ แต่ละเครื่องจะมีอีมี่ หมายเลขเดียว หมายเลขที่ว่านี้จะเป็น กลุ่มตัวเลข 15 หลัก เครื่องลูกข่ายทุกเครื่องที่ จะเข้ามาใช้กับเครือข่ายได้ จะต้องได้รับการลงทะเบียน หรือใส่รหัส IMEI ไว้ในโครงข่ายผู้ให้บริการก่อนจึงจะใช้งานได้

สาเหตุก็คือ นอกจากจะคุมกลไกของการทำตลาดได้แล้ว ยังเป็นการป้อง กันผู้ที่นำเครื่องเถื่อน หรือซื้อจากแหล่ง อื่นๆ ที่ไม่ใช่เครือข่ายของโอเปอเรเตอร์มาใช้ในระบบ เนื่องจากเมื่อมีการล็อก IMEI แล้ว ผู้ให้บริการ หรือโอเปอเรเตอร์ จะรู้ข้อมูลของผู้ใช้ รู้ข้อมูลการใช้งาน กรณีที่มีการแอบนำเครื่องมาใช้ ก็จะสามารถ ตรวจพบ และทำการตัดสัญญาณได้ หรืออย่างกรณีที่ผู้ใช้ทำโทรศัพท์มือถือหาย และ มีผู้แอบนำไปใช้โอเปอเรเตอร์จะตัดสัญญาณ ได้ทันที เรียกว่า เป็นการควบคุมจากตัวของระบบ

การปลดล็อก IMEI ก็คือ การเปิดให้เครื่องลูกข่ายทุกระบบ ทุกยี่ห้อ สามารถ นำเครื่องมาใช้กับระบบของตนเองได้ดัง เช่น กรณีของดีแทค

ส่วนการล็อกจากตัว SIM CARD หรือ Subscriber Identity Module ตามปกติแล้ว จะมี SIM Card แยกออกจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ ภายใน SIM Card จะบรรจุข้อมูลของผู้ใช้บริการ และมีการลงรหัสประจำตัว และข้อมูลจะถูกส่งไปยัง โครงข่าย เพื่อดูว่าผู้ใช้นั้นมีสิทธิ์ใช้บริการ ได้หรือไม่ ส่วนเครื่องลูกข่ายจะมีรหัสประจำตัวเช่นกัน

ดังนั้นการล็อก SIM ก็คือ การใส่รหัสเพื่อกำหนดว่า เครื่องลูกข่ายนี้สามารถ ใช้กับระบบเครือข่ายได้หรือไม่

ปกติแล้ว ผู้ให้บริการจะต้องมีการตกลงกับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือว่า ให้มีการล็อก SIM มาด้วย แต่ที่ผ่านมาการล็อก SIM มักจะทำเฉพาะในเครื่องรุ่นที่ได้รับความ นิยมมากๆ เท่านั้น ส่วนบางรุ่นที่ไม่ได้รับความนิยมก็ไม่มีการล็อก SIM

เมื่อรู้กลไกการทำงานของการล็อก IMEI แล้ว จะทำให้รู้ได้ว่า ผลของการปลด ล็อก IMEI ของแทค ก็เพื่อทำให้โทรศัพท์มือถือทุกรุ่น รวมทั้งเครื่องลูกข่ายที่นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถนำมาใช้กับระบบของแทคได้

สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ เนื่องจากกลไกการตลาดกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากการขยายตัวของตลาด ทำให้ราคาของเครื่องลูกข่ายลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ผู้ให้บริการไม่สามารถทำรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำจากการขายเครื่องเหมือนในอดีต มีการคาดการณ์ว่า โทรศัพท์มือถือ ในอนาคต จะสามารถใช้กับระบบใดก็ได้ ไม่มีการล็อกอีมี่ และล็อกซิม ขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจของผู้ใช้ว่าจะเลือกใช้ SIM ของ ผู้ให้บริการจากค่ายไหน นั่นหมายความว่า ผู้ให้บริการจะต้องมุ่งในเรื่องของบริการที่สมบูรณ์แบบจริงๆ

แต่ในทางปฏิบัติในช่วงนี้ยังไปไม่ถึงขั้นนั้น เนื่องจากทั้งเอไอเอส และทีเอ ออเร้นจ์ ยังไม่ได้ปลดล็อก SIM อย่างไรก็ตาม ดังนั้นหากจะนำเครื่องของเอไอเอส และทีเอ ออเร้นจ์ ไปใช้งานในระบบของแทค ก็จะต้องเสียเงินค่าจ้างปลดล็อกซิม ซึ่งมีร้านค้าตามห้างสรรพสินค้ามาบุญ ครอง คิดในอัตราราว 50-100 บาท

ทีเอ ออเร้นจ์ นั้นไม่ได้ล็อกอีมี่ ตั้งแต่เริ่มต้นให้บริการ แต่มีการล็อก SIM เนื่องจากทีเอ ออเร้นจ์ ใช้กลยุทธ์ลดราคาของเครื่องลูกข่ายมาใช้ในการรุกตลาด เพื่อ ขยายฐานลูกค้า จึงจำเป็นต้องมีการล็อก SIM เพื่อสกัดไม่ให้ลูกค้าที่ซื้อเครื่องของ ทีเอ ออเร้นจ์ และนำไปใช้กับเครือข่ายของ ดีแทค ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมมากกว่า

ขณะเดียวกันหากเครื่องลูกข่ายระบบอื่นๆ หรือนำเข้าจากต่างประเทศ สามารถนำมาใช้กับระบบของทีเอ ออเร้นจ์ ได้ โดยมีการแก้ SIM

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของทีเอ ออเร้นจ์ ยืนยันว่า จะต้องมีการปลดล็อกอีมี่แน่นอน แต่ต้องรอดูจังหวะและโอกาสของตลาด เนื่องจากเครือข่ายของทีเอ ออเร้นจ์ ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ต้องรออีกพักใหญ่

ในขณะที่เอไอเอสนั้น เป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ยังคงล็อกทั้ง IMEI และล็อก SIM ยังคงสงวนท่าทีว่า จะหาทาง ออกกับเรื่องนี้อย่างไรกับกระแสการตอบรับการปลดล็อก IMEI เนื่องจากเอไอเอส นั้นมีบริษัทลูกที่ทำรายได้จากการขายเครื่องลูกข่ายอย่างเป็นกอบเป็นกำ อยู่ถึง 2 บริษัท ที่เป็นบริษัทลูกโดยตรงของเอไอเอส คือ เอดับเบิลยูเอ็ม และบริษัทเอ็มลิงค์ ที่เป็นพันธมิตรสำคัญ จึงต้องหาทางออกที่เหมาะสม ไม่ให้กระทบ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us