Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2537
อุทยานวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีซิลิคอนแวลเล่ย์ในฝันของ สวทช.             
 


   
search resources

อุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ




"SCIENCE PARKS" อุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชื่อนี้คนไทย ส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคยนัก แต่สำหรับคนอเมริกัน ญี่ปุ่น หรือประเทศในทวีปยุโรปจะรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดีเพราะจะมีอยู่แทบทุกเมืองทุกอำเภอ เป็นแหล่งกำเนิดของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นมาในโลกนี้ ประเทศไทยกำลังจะมีขึ้นเป็นแห่งแรกในพื้นที่ 200 ไร่ ตรงจุดเชื่อมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิตมีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นผู้ดำเนินการ

และน้อยคนที่จะทราบว่าไมโครซอฟท์ โมโตโรล่า เอทีแอนด์ที โซนี่ โตโยต้าหรือบริเวณยักษ์ใหญ่ในโลกนี้ ต่างก็เริ่มมาจากจุดนี้เช่นกัน เพราะจุดประสงค์ของการตั้งอุทยานฯ จะคล้ายกันทั่วโลก คือเพื่อเป็นสถานที่ซึ่งให้ภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่เข้ามาใช้บริการของรัฐทั้งในด้านบุคลากรและอาคารสถานที่ มีหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและเทคโนโลยีเพื่อให้ภาคเอกชนได้เช่าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของตนโดยสามารถใช้บุคลากรและอุปกรณ์ของสวทช.ในส่วนของประเทศไทย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย นอกจากนี้ยังสามารถเช่าสถานที่เพื่อทำธุรกิจโดยทั่วไป เช่าเป็นห้องปฏิบัติการ เรือนเพาะปลูกทดลอง หรือโรงงานต้นแบบบางส่วนได้อีก

ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เมื่อมีไอเดีย มีความสามารถและต้องการผลิตหรือทำการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นทางอิเล็กทรอนิกส์หรือทางเคมี ทางฟิสิกข์ แต่ไม่มีทุน ไม่มีวัตถุดิบ ไม่มีสถานที่ ไม่รู้ว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย และเรื่องต่าง ๆ อีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างไร ทางอุทยานฯ จะเข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้ทั้งหมดและเมื่อบริษัทนั้นประสบผลสำเร็จในผลการวิจัยและตัวผลิตภัณฑ์ ทางอุทยานก็มีหน่วยช่วยเหลือด้านการตลาดให้อีก จนกว่าบริษัทนั้นสามารถจะตั้งโรงงานและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้เองซึ่งถือเป็นการช่วยให้บริษัทรายเล็ก ๆ ที่มีความคิดอ่าน อยากทำวิจัยหรือต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ มีความสามารถแต่ไม่มีทุน สามารถจะมาเริ่มต้นได้โดยไม่มีอุปสรรค และสามารถเติบโตได้ต่อไป โอกาสที่จะล้มจึงมีน้อย แต่หากให้นักวิจัย นักธุรกิจเหล่านี้ออกไปทำเอง โอกาสที่จะล้มสูง ฉะนั้นเมื่อเข้ามาอยู่ในโครงการฯมีรัฐบาลโอบอุ้มโอกาสที่จะโตก็สูง

นี่จึงเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐและเอกชนระหว่างนักวิชาการกับนักธุรกิจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การดำเนินงานของโครงการจะแยกเป็นระยะแรก 120 ไร่งบประมาณ 1,000 ล้านบาทประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ คืออาคารกลางเพื่อใช้เป็นสำนักงานของอุทยาน ฯ, ห้องสมุด, ห้องบริการคอมพิวเตอร์, ห้องประชุมสัมมนา, สำนักงานส่วนกลางสวทช.และหน่วยบ่มเพราะเทคโนโลยีเพื่อให้เอกชนเช่าทำการ, อาคารหน่วยปฏิบัติการกลางศูนย์แห่งชาติ 3 ศูนย์ขึ้นตรงกับสวทช. ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (ศว.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.) แต่ละแห่งจะมีห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาที่ทันสมัย รวมทั้งห้องปฏิบัติที่ใช้เป็นหน่วยเพาะบ่มเทคโนโลยีเพื่อให้ภาคเอกชนมาเช่า, อาคารโรงงานนำร่อง (PILOT PLANT) สำหรับการทดลองกระบวนการผลิตในระดับนำร่อง (PILOT SCALE) เพื่อสร้างเครื่องจักรต้นแบบ และมีพื้นที่บางส่วนสำหรับใช้ในงานทางด้านขบวนการวัสดุ, อาคารที่พักอาศัย สำหรับบุคลากรที่ทำงานและแขกที่มาติดต่อหรือมาอบรมประชุมสัมมนาต่าง ๆ

ส่วนระยะที่ 2 อีก 80 ไร่จะเป็นพื้นที่เพื่อสร้างอาคารให้เอกชนเช่าระยะยาว เป็นที่ทำงานและ วิจัยพัฒนา และเป็นพื้นที่เพื่อใช้สอยอาคารวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยเฉพาะทางในสาขาเทคโนโลยี ที่มีความจำเป็นในอนาคต นั่นก็หมายความว่า สวทช.และศูนย์พาณิชย์ทั้งสามที่มีสำนักงานอยู่กรุงเทพฯ จะย้ายมาอยู่ในโครงการนี้ทั้งหมด

ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอุทยานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DCIENCE PARKS PROJECT) อธิบายถึงเหตุที่มาสร้างที่บริเวณสถาบันการศึกษาเอไอทีและมธ.เพราะว่า ทั้งสองสถาบันต่างผลิตบัณฑิตออกมาปี ๆ หนึ่งไม่น้อย มีทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักโปรแกรมเมอร์ นักสร้างต่าง ๆ ที่ทำวิจัยเป็น เก่ง มีไอเดีย มีหัวคิดรู้ว่าจะทำนิวโปรดักส์ตรงไหนทว่าอาจจะไม่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเปิดบริษัทไม่เป็น ทำบัญชีไม่เป็น จัดเรื่องภาษีไม่เป็น กู้เงินไม่เป็น ทำอะไรไม่เป็นหมด สวทช. ก็ชวนมาอยู่ตรงนี้ อาจจะมีนายธนาคารเก่าแก่ที่เก่งมาอยู่ประจำ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ว่าจะตั้งอย่างไร จดทะเบียน ดูเรื่องภาษี ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ แต่ว่าทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นหน้าที่ของบัณฑิตหรือนักวิจัยเหล่านี้

การที่สวทช.มีหน่วยงานที่ขึ้นตรงอยู่ 3 ศูนย์ คือ ศช., ศว. และ ศอ.อยู่ในความดูแลโดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินการให้การสนับสนุนการวิจัย พัฒนาวิศวกรรม ในสาขาวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง 3 สาขา ที่จะอยู่ใน SCIENCE PARKS ส่วนหนึ่งเป็นการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีที่มาจากการวิจัยของ 3 ศูนย์พานิชย์นี้ได้ด้วยโดยปริยายโดยอาจจะอยู่ในรูปแบบการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีก็แล้วแต่จะตกลงกัน

ผู้อำนวยการโครงการฯ ยังกล่าวอีกว่า "เริ่มแรกคงต้องเน้นเฉพาะอุตสาหกรรมที่สวทช. ถนัด ที่สุด ซึ่งก็มีอยู่แล้ว 3 ศูนย์นี้ไปก่อน จากนั้นค่อยขยับขยายไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศหรือตามมหาวิทยาลัยต่อไป"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us