Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2537
กกท.กับงานปลุกปั้นคนสู่ความเป็นมืออาชีพ             
 


   
search resources

การกีฬาแห่งประเทศไทย
Sports




เอเชียนเกมส์เพิ่งจางจากไปไม่นาน แรงกระตุ้นที่จะให้ทุกฝ่ายหันมาสนใจเรื่องกีฬานั้นก็คึกคักไปตามฤดูกาลและก็ดูจะเงียบไปกับสายลมอีกครั้งเมื่อกีฬาระดับชาตินี้ได้จบไป ดังนั้นความหวังที่จะเห็นเอเชียเกมส์ครั้งต่อไปที่จะจัดในเมืองไทยยิ่งใหญ่เท่าเทียมกับที่ฮิโรชิมาเกมส์ที่ผ่านมาหรือจะเห็นการกีฬาเมืองไทยก้าวไปในแนวทางที่ควรจะเป็นก็คงต้องพึ่งพาหน่วยงานอย่างเช่น "การกีฬาแห่งประเทศไทย" (กกท.) เป็นเสมือนตัวกระตุ้นที่จะทำให้ความหวังที่ฝันไว้นั้น ไม่พลาดจากความเป็นจริงไปมากนัก

กกท.ก็เป็นเช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านส่งเสริมอื่น ๆ เช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งมักจะขาดเงินงบประมาณมาจุนเจือให้โครงการเดินหน้าไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ก็ดูตรงข้ามกับโครงการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในมือของกกท.ที่มีอยู่มากมายเสียจนไม่น่าเชื่อว่าหน่วยงานเล็ก ๆ อย่าง กกท.จะต้องรับศึกหนักกับโครงการเหล่านี้

โครงการแรก ที่อาจจะมีใครลืมไปแล้วก็ได้ ในระหว่างที่ทุกฝ่ายกำลังใจจดใจจ่ออยู่ว่าสปอร์ต คอมเพล็กซ์ (Sport Complex) ที่จะเป็นศูนย์รวมของความสำเร็จในการจัดเอเชียนเกมส์ในครั้งหน้าของไทย จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ในขณะที่โครงการนี้เปิดตัวมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2531 และคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นศูนย์กลางของงานเอเชียเกมส์ครั้งที่ 13 ในไทยด้วย

"สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ" เป็นโครงการดังว่า ที่ใช้เวลาก่อสร้างมาเป็นเวลาถึงเกือบ 6 ปีแล้ว พร้อมด้วยงบประมาณที่บานปลายไปถึงเกือบ 1,000 ล้านบาท ในขณะที่ตอนแรกของโครงการได้ตั้งงบประมาณเบื้องต้นไว้เพียง 630 ล้านบาทเท่านั้น สมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ ผู้ว่าการกกท. คนปัจจุบัน ซึ่งต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้งนี้มาตั้งแต่ต้น ได้อธิบายให้ฟังถึงความยากลำบากของการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งนี้ว่า

สาเหตุหลักประการสำคัญที่ทำให้โครงการนี้มีอุปสรรคที่เหนือกว่าโครงการอื่นนั้นก็คือรูปแบบของสนามกีฬาแห่งนี้ซึ่งมีการออกแบบให้โค้งตามแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ เป็น จุดลำบากที่ทำให้ต้องมีการรื้อแบบเพื่อแก้ไขบ่อยครั้ง ในขณะที่ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการนี้คือ บริษัทวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด ก็มีอุปสรรคในตัวเองที่มีประสบการณ์การก่อสร้างส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ด้วยงานโยธาทางด้านถนนเป็นหลัก ดังนั้นจึงทำให้เมื่อต้องมารับงานสนามกีฬาซึ่งเป็นงานที่แตกต่างออกไป ทางวิวัฒน์ก่อสร้างจึงต้องศึกษาและนำเอาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาเสริมด้วย

"ความยากลำบากของโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ต้นที่ต้องนำรูปแบบจำลองสนามกีฬาไปผ่านกรรมวิธีอุโมงค์ลม (Wind Tunnel) เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งของโครงสร้างสนาม ซึ่งใช้เวลากว่า 1 ปี นอกจากนั้นความยุ่งยากซับซ้อนยังเกิดมาจากเทคนิคการก่อสร้างหลังคาอัฒจันทร์ เพราะต้องใช้เทคนิคสมัยใหม่ทางด้านโครงสร้างเหล็กและคอนกรีตผสมกันและยิ่งยากขึ้นอีก เมื่อแบบกำหนดว่าโครงสร้างของสนามนี้จะไม่ยอมให้มีเสารองรับ จึงต้องมีการคำนวณเรื่องการรับน้ำหนักกันเป็นพิเศษ" ผู้ว่าการกกท.อธิบาย

จากความล่าช้าของโครงการนี้ ทางกกท.ก็ได้มีการประชุมร่วมกันบ่อยครั้งว่า จะต้องมีการปรับ ผู้รับเหมาตามเงื่อนไขสัญญาหรือไม่ แต่จนแล้วจนรอด ด้วยความเห็นใจของกกท.ที่มีต่อผู้รับเหมา จึงทำให้ไม่มีการดำเนินการปรับผู้รับเหมาแต่อย่างใด

ดังนั้นหลังจากผ่านอุปสรรคที่แสนสาหัสมาถึง 6 ปีแล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2538 ที่จะถึงนี้ ผู้ว่าการกกท.ยืนยันอย่างเต็มที่ว่าสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติจะก่อสร้างเสร็จอย่างแน่นอนในส่วนของโครงสร้างและจะใช้เวลาอีกประมาณ 1ปีในส่วนของงานภายในสนามกีฬาทั้งลู่วิ่ง การปรับสนาม และระบบไฟฟ้า นั้นหมายถึงว่าสนามนี่จะเปิดได้ก่อนหน้าเอเชียนเกมส์ในไทยประมาณ 2 ปี

แต่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรตินี้ถือเป็นเพียงงานส่วนหนึ่งของกกท.เท่านั้น งานอีกส่วนหนึ่งคือ สปอร์ต คอมเพล็กซ์ที่ กกท.มอบหมายให้เอกชนคือกลุ่มอภิพัฒน์นครได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างหลังจากใช้กลยุทธ์ขับเคี่ยวระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่หวังจะมาก่อสร้างโครงการนี้นั้น ผู้ว่ากกท.เผยว่า หากในอนาคตมีปัญหาและอุปสรรคใดที่จะทำให้สปอร์ต คอมเพล็กซ์แห่งนี้ต้องชะงัก หรือไม่อาจก่อสร้างได้ ทางรัฐก็พร้อมที่จะเข้าดำเนินการก่อสร้างเองทันทีแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณก่อสร้างไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทก็ตาม ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องที่มีศักดิ์ศรีของประเทศไทยเป็นเรื่องค้ำคออยู่

งานหลักอีกส่วนที่เป็นความใฝ่ฝันของผู้ว่าการกกท.คนนี้เป็นอย่างมากคือ การสร้างสนามกีฬาหลักขนาดกลางให้ครบทั่วประเทศรวม 9 แห่งโดยหนึ่งสนามหลักที่กำลังเร่งรัดการก่อสร้างอยู่ขณะนี้เพื่อให้ทันกีฬาซีเกมส์ที่จัดขึ้นปีหน้าก็คือ ที่เชียงใหม่ ซึ่งใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท ในขณะนี้ความคืบหน้าของงานก่อสร้างไปได้กว่า 50-60% แล้วคาดว่าจะเสร็จได้ทันก่อนงานจะเริ่มอย่างแน่นอน

สงขลา นครราชสีมา พิษณุโลก ขอนแก่น ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา รวมถึงอีก 2 จังหวัดทางภาคใต้ซึ่งกำลังเลือกอยู่ในขณะนี้ ต่างเป็นเป้าหมายต่อไปที่จะกระจายสนามกีฬาหลักเข้าไปอยู่ในทำเลเหล่านั้น ซึ่งขณะนี้ที่สงขลา และนครราชสีมาได้ที่ดินที่จะใช้ก่อสร้างแล้วคาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างแต่ละที่ประมาณ 300-400 ล้านบาท ซึ่งแต่ละสนามนี้ได้เน้นจำนวนที่นั่งที่จะรองรับผู้เข้าชมว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 20,000 คนเป็นอย่างน้อย

ความตั้งใจจริงของผู้ว่าการคนนี้ที่จะต้องทำให้ได้คือการสร้างสนามกีฬาขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครให้ครบ 4 มุมเมือง ซึ่งเป็นสนามที่จะรองรับความต้องการของผู้อยู่แถบชานเมืองให้มีที่ออกกำลังกาย หรือเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ด้วย การดำเนินการในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหา สถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณสูงกว่าสนามกีฬาในต่างจังหวัดอยู่บ้าง แต่ก็คงไม่ มากนัก

"สิ่งที่ขาดแคลนเป็นอย่างยิ่งของคนกรุงเทพฯนอกจากสวนสาธารณะ ทั้งขนาดย่อมและใหญ่แล้ว สนามกีฬาที่อยู่ในอาณาบริเวณใกล้เคียงเพียงพอที่ผู้คนจะสัญจรไปใช้บริการได้อย่างสะดวกนั้น ก็ยังขาดแคลนอยู่อย่างมากเช่นกัน ซึ่งหากมีจุดนี้เพิ่มขึ้นมา ก็จะทำให้ผู้คนสนใจเล่นกีฬากันมากขึ้นในขณะที่ภาวะการจราจรก็จะดีขึ้นด้วย"

อย่างไรก็ตาม การที่จะได้โครงการเหล่านี้มานั้นย่อมหมายถึงว่าทางกกท.จะต้องมีความพร้อมทางด้านงบประมาณตามสมควร เกี่ยวกับเรื่องนี้สมชายยืนยันว่างบประมาณที่กกท.ได้รับมาโดยเพิ่มขึ้นจากอดีตเมื่อเริ่มมีองค์กรแห่งนี้ใหม่ ๆ เมื่อปี 2511 ซึ่งมีอยู่เพียง 8 ล้านบาท และได้ปรับขึ้นมาเป็น 2,700 ล้านนั้น แม้ว่าจะยังไม่พอเพียง เพราะจะต้องกันงบประมาณ 40% ไว้สำหรับด้านบุคลากร และเหลือเงินประมาณ 1,000 ล้านมาใช้ในการก่อสร้างสนามกีฬาเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้จริงจังนั้น แต่ก็ยังมีความหวังว่าโครงการเหล่านี้น่าจะเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ภายใน 10 ปีข้างหน้านี้

พร้อมไปกับการสร้างสนามกีฬา ทางกกท.เองก็มีความคิดต่อเนื่องที่จะสร้างเสริมบุคลากรนั่นคือ นักกีฬาให้มีความเป็นมืออาชีพให้ได้อย่างจริงจังจากรากฐาน กว่าที่เคยทำกันมา แผนการของกกท.ที่จะสร้างเสริมให้เกิดนักกีฬามืออาชีพจึงได้เกิดขึ้น โดยกกท.พุ่งเป้าไปที่การสร้างสโมสรกีฬาในจังหวัด ต่าง ๆ ให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อที่จะปลุกปั้น "ช้างเผือก" เป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดขึ้นมาแข่งขันในระดับประเทศในโอกาสต่อไป

"ที่ผ่านมา เราสร้างนักกีฬามืออาชีพกันอย่างผิด ๆ ด้วยการรวมศูนย์สโมสรกีฬาต่าง ๆ ไว้ในกรุงเทพ แล้วก็แข่งกันภายในส่วนกลางเท่านั้นอย่างเช่นฟุตบอล ซึ่งหากเรากระจายความรับผิดชอบให้ แต่ละจังหวัดสร้างนักกีฬาขึ้นมาเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วที่เขาทำกันเราก็จะได้นักกีฬามืออาชีพขนานแท้ ซึ่งในขณะนี้เราได้ส่งเสริมให้หลายต่อหลายจังหวัดเริ่มปลุกปั้นนักกีฬากันขึ้นมาแล้วเราตั้ง เป้าว่าจะต้องทำให้ครบทั้ง 76 จังหวัด ภายในช่วง 10 ปีที่จะถึงนี้" ผู้ว่าการกกท.กล่าวเสริมด้วยว่า ได้มี การจัดงบประมาณส่งเสริมให้แต่ละจังหวัดตั้งสโมสรกีฬาขึ้นมาด้วยในอัตรก 210,000 บาทต่อปี/1 จังหวัด

ความใฝ่ฝันของผู้ว่าการสมชาย และกกท.เองเป็นสิ่งที่ไม่เกินกว่าความเป็นจริงเลย เพราะงาน เข็นครกขึ้นภูเขาอย่างสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ก็สามารถเดินหน้ามาได้จนเป็นตัวเป็นตนแล้ว

ดังนั้นหนทางไปสู่การพัฒนาการกีฬาอย่างเต็มรูปแบบและเพื่อความเป็นมืออาชีพของบุคคลากรในวงการนี้ จะได้เดินไปถูกทางเสียที หลังจากก้าวผิดมาเป็นเวลานาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us