Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2537
เล็กแต่หรู บูติค โฮเต็ล แบบไทย ๆ             
 


   
search resources

Hotels & Lodgings




ปรากฏการณ์อีกรูปแบบหนึ่งของโรงแรมเมืองไทยเมื่อโรงแรมไม่ใหญ่ ห้องไม่มากแต่ภายใน ตกแต่งอย่างหรูหราบริหารโดยมืออาชีพ บริการอย่างใกล้ชิดและดีเลิศ แม้จะไม่ใช่บูติคโฮเต็ลอย่างเมืองนอกเมืองนา แต่ก็ใกล้เคียงพอที่จะเรียกได้ว่าเป็นบูติคโฮเต็ลอย่างไทย ๆ

เมื่อรัฐได้กำหนดปีแห่งการท่องเที่ยวไทยขึ้น เมื่อปี...2530 ธุรกิจที่มีผลกระทบทันทีคือธุรกิจ โรงแรม น่าจะเรียกได้ว่าในช่วงนั้นเป็นปีทองของอุตสาหกรรมโรงแรม จนเป็นแรงดึงดูดโครงการ โรงแรมหลายแห่งให้ผุดขึ้นมาบนพื้นที่หลาย ๆ จุดในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพ

ปัญหาก็คือ กว่าที่โรงแรมเหล่านี้จะสร้างเสร็จและพร้อมจะให้บริการ เวลาก็ได้ล่วงเลยมาพอ สมควร จนอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้สูงอย่างเช่นในช่วงแรก ๆ ของการรณรงค์เพื่อการท่องเที่ยวไทย แต่อัตราการเพิ่มของจำนวนห้องพักกลับเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ จนทำให้อัตราการเข้าพักของแต่ละโรงแรมมีลดต่ำลง เพราะนักท่องเที่ยวกระจายไปพักตามโรงแรมต่าง ๆ

จากการวิจัยของหนังสือ COLLIERS JARDINE ในหัวข้อว่า HOTEL MARKET STUDY พบว่าในช่วงปี 2532-2536 โรงแรม 5 ดาว จำนวนห้องพักเพิ่มจาก 2,500 ห้องเป็น 3,500 ห้องอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ย ลดลงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์โรงแรมระดับ 4 ดาว มีจำนวนห้องพักเพิ่มจาก 5,000 ห้องเป็น 11,000 ห้อง แต่อัตราการเข้าพักลดลง 10-15 เปอร์เซ็นต์

การที่มีห้องว่างมาก ๆ ก็เหมือนกับการมีสินค้าแต่ขายไม่ออก พนักงานที่มีก็เหมือนกับถูกจ้าง มาเฝ้าห้องที่ไม่มีคนพักซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่าในมาตรฐานของโรงแรมระดับ 5 ดาวแล้ว จำนวนพนักงานต่อห้องจะประมาณ 2.5 คนต่อ 1 ห้อง ในขณะที่ โรงแรมระดับ 4 ดาว จะใช้พนักงาน 1.1-1.5 คน ต่อห้อง นี่เป็นเพียงต้นทุนในการดำเนินงานบางส่วนเท่านั้น ยังไม่รวมต้นทุนค่าก่อสร้างต่อห้อง

ยิ่งเป็นโรงแรมขนาดใหญ่มีห้องพักมากก็ยิ่งต้องรับภาระต้นทุนสูง ดังนั้นโรงแรมขนาดใหญ่ จึงเร่งระดมแผนทุกอย่างเพื่อเพิ่มการเข้าพักของลูกค้า

ภาพการแข่งขันที่เคยใช้การบริการเป็นกลยุทธ์ กลับแปรเปลี่ยนมาเป็นการแข่งขันทางด้านราคาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมที่มีขนาด 200-300 ห้องขึ้นไป หรือไปเพิ่มรายได้จากธุรกิจห้องอาหารและการจัดเลี้ยง รวมทั้งกิจการบันเทิงอย่างผับ ดิสโก้เธค และคาราโอเกะ

การที่โรงแรมขนาดใหญ่หันมาเน้นประเด็นเรื่องราคาจนเกินไป ทำให้โรงแรมเล็ก ๆ ระดับ 3-4 ดาว หลายแห่งกลับมีความโดดเด่นมากกว่าทางด้านการบริการ

ความจริงคำจำกัดความของคำว่า โรงแรมระดับ 5 ดาวหรือ 3-4 ดาว ในบ้านเราแล้วก็ยังไม่มีใครให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน แต่ละโรงแรมที่สร้างมาที่พอจะดูหรูหราหน่อยก็บอกสรรพคุณของโรงแรมว่าเป็นโรงแรม ระดับ 4 ดาวขึ้นไป ตัวแปรที่น่าจะบอกให้เราแยกระดับโรงแรมได้บ้างก็คือที่ตั้ง, การตกแต่ง, ชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงแรม

ตัวอย่างของโรงแรมโอเรียนเต็ล ความเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาวของโรงแรมนี้ก็คือภาพพจน์ ความเป็นโรงแรมเก่าแก่ การบริการดี แต่ไม่มีใครบอกเลยว่าห้องโอเรียนเต็ลดีหรือว่าห้องอาหารของ โรงแรมอร่อย

แต่สำหรับโรงแรมดุสิตธานี ก็คือการเป็นโรงแรมที่มีชื่อเสียงทางด้านอาหาร และการจัดเลี้ยง รวมถึงที่ตั้งของโรงแรมก็มีส่วนอยู่มากที่ส่งเสริมในความเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว

ตัวแปรที่ชี้ชัดถึงระดับของโรงแรมก็คือ ระดับราคาที่ลูกค้ายอมรับได้ การที่โรงแรมแห่งหนึ่งจะตั้งราคาที่ 1,500-2,000 บาทต่อคืน ราคานี้ก็คงยังไม่ถึงระดับโรงแรม 5 ดาวราคาของโรงแรมระดับ 5 ดาวน่าจะอยู่ประมาณ 3,000-4,000 บาทขึ้นไป

แต่การตั้งราคาที่สูงระดับนี้จำเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อลูกค้าพิจารณาภาพโดยรวมทั้งตัวตึกการบริหารแล้ว สามารถยอมรับระดับราคานั้นได้ จึงเรียกได้ว่าโรงแรมนั้นอยู่ในระดับ 5 ดาวได้จริง

"ลูกค้าจะเป็นคนตัดสินเองว่า โรงแรมนั้นอยู่ในระดับไหน ถ้าลูกค้ายอมซื้อก็แสดงว่าลูกค้ายอมรับเล้วว่าโรงแรมนี้เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว" สุรกาญจน์ กิจการกล่าว รองผู้จัดการโรงแรมปริ้นเซส ย่านหลานหลวง ซึ่งอยู่ในเครือดุสิตธานีกล่าว

ความยากในการแยกโรงแรมระดับ 5 ดาวอาจจะไม่ยากเท่ากับการจำแนกโรงแรมระดับ 3-4 ดาว ออกจากกันในบางพื้นที่มีโรงแรมที่ตั้งอยู่ใกล้กันแต่อยู่ในคนละระดับอย่างเช่นบริเวณสุขุมวิทซอย 5 มาจนแยกอโศก ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมอย่างเบลแอร์, เกรส, แลนด์มาร์ค, เชอราตัน หรือเดลต้า แกรนด์ เป็นการลำบากมากที่จะบอกว่าโรงแรมไหนเป็น 4 ดาวหรือ 3 ดาว

อาจกล่าวได้ว่าแต่เดิมโรงแรม 5 ดาว ต่างไปจากโรงแรม 3-4 ดาว ก็ตรงที่มีชื่อเสียงที่ดีกว่า มีการลงทุนเรื่องการตกแต่งที่สูงกว่า และยังมีการบริหารงานจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า

แต่ ณ วันนี้ โรงแรมระดับ 3-4 ดาว จะน้อยหน้าก็เพียงแต่เรื่องชื่อเสียงและภาพพจน์เท่านั้น นับตั้งแต่ความคิดที่จะสร้างโรงแรมเล็กแต่หรูเกิดขึ้นจนเรียกได้ว่าเป็น บูติคโฮเต็ลแบบไทย ๆ

ในต่างประเทศ นักการตลาดได้คิดค้นคำว่า บูติค โฮเต็ล ขึ้นมาซึ่งหมายถึงลักษณะโรงแรมที่เล็ก ล้อบบี้มีขนาดไม่ใหญ่ มีห้องอาหาร ไม่กี่ห้อง ห้องพักอาจจะใหญ่ แต่จำนวนไม่มาก ความหรูหรานั้นปราณีตมาก ใช้เครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง การบริการเน้นให้เกิดการบริการในบรรยากาศแบบอยู่บ้าน มีการดูแลดีมาก ๆ พนักงานจำหน้าชื่อของลูกค้าได้เลยเพราะจำนวนไม่มาก

ลักษณะของบูติค โฮเต็ลอีกอย่างคือ มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ลักษณะการตกแต่งและเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จึงไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เปลี่ยนไป ตามกลุ่มเป้าหมาย การตกแต่ง มีสไตล์โดดเด่น

นอกจากนี้ยังใช้มือบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์การบริหารโรงแรมเข้ามาบริหารเรียกได้ว่าไม่ด้อยกว่าโรงแรมระดับ 5 ดาว ตัวอย่างเช่นโรงแรมที่ไม่เล็กไม่ใหญ่อย่างรอยัล ปรินเซส หรือ โรงแรมขนาดเล็กอย่าง โรงแรม ซอมเมอร์เซท โรงแรมหนึ่งในเครือเพนทาเคิล ซึ่งมีประกิจ ชินอมรพงษ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ

ประกิจ เข้าทำงานทางด้านโรงแรมตั้งแต่จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ในปี 2512 โดยเริ่มงาน กับโรงแรมดุสิตธานียุคเริ่มแรก เขาทำอยู่ที่นี่นาน 5 ปี ก่อนที่จะไปร่วมงานกับโรงแรมในเครือรีเจนท์ เป็นเวลา 16 ปี 2 ปีหลังเขาไปเป็นผู้จัดการให้กับโรงแรม สุโขทัย รวมเวลา 25 ปี ในวงการโรงแรม จนกระทั่งมาร่วมกับกลุ่มเพนทาเคิลซึ่งเป็นบริษัทที่รับบริหารงานโรงแรม โดยมี โรงแรมซอมเมอร์เซท เป็นโรงแรมหนึ่งของเครือ

"โรงแรมซอมเมอร์เซท อาจจะเป็นโรงแรมที่คนมองว่าเป็นโรงแรมเพียงระดับ 3 ดาวเพราะสถานที่ตั้งอยู่ในซอย มีเพียง 60 กว่าห้อง แต่การบริการและการตกแต่งแล้วเราพิถีพิถัน พยายามที่จะให้ถึงระดับ 5 ดาว เครื่องเงินที่ใช้ในร้านอาหาร เฟอร์นิเจอร์ที่ราคาแพงในล้อบบี้และห้องพัก พนักงานให้บริการอย่างมืออาชีพกับลูกค้าให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่ที่บ้านกับลูกค้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักธุรกิจในย่านสุขุมวิท" ประกิจ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แต่จะให้เมืองไทยมีบูติค โฮเต็ลอย่างเต็มรูปแบบแล้วสุรกาญจน์ ยังเห็นว่าเป็นการยากสำหรับเมืองไทย แม้กระทั่งโรงแรม ปรินเซสที่หลานหลวงเอง

"โรงแรมรอยัล ปรินเซสหลานหลวงเป็น บูติค โฮเต็ลได้เหมือนกัน แต่ก็ไม่เต็มปากเต็มคำนัก แม้ว่าโรงแรมเราจะเป็นโรงแรมที่เป็นอาคารเก่ามาซ่อม สไตล์การตกแต่งเราก็ปราณีต กลุ่มเป้าหมายชัดเจนคือกลุ่ม ข้าราชการ" สุรกาญจน์กล่าว

ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมโรงแรม ในขณะที่โรงแรม 5 ดาว กำลังมีการแข่งขันทางด้านราคาที่ต้องแบกรับภาระจำนวนพนักงานและการตกแต่งที่สูง โรงแรมในระดับรองลงมา ไม่ว่าจะเป็นสามดาว หรือ สี่ดาว ก็กำลังพัฒนาการบริการและการตกแต่ง ด้วยการใช้มืออาชีพทางด้านโรงแรมโดยเฉพาะเข้ามาบริหาร แต่การที่จะเป็นโรงแรมที่เรียกว่าเป็นบูติค โฮเต็ล นั้นต้องอาศัยส่วนผสมของเงินทุนที่สูงและการบริหารงานอย่างมืออาชีพจริง ๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us