Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2537
ขายของแล้วไม่ได้เงินปรึกษาเอ็กซ์ซิมแบงก์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
Investment




หลังจากที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือเอ็กซ์ซิมแบงก์ เปิดดำเนินงานตั้งแต่กุมภาพันธ์ปีนี้ จวบจนกระทั่งปัจจุบัน หัวกระไดบ้านไม่เคยแห้ง ยอดผู้ขอสินเชื่อเพิ่มจำนวนเดือนละ 100 คนที่ต้องการสินเชื่อระยะสั้นเพื่อเตรียมการส่งออกและสินเชื่อระยะปานกลางสำหรับขยายการส่งออก

แต่ในโลกาภิวัฒน์การค้าเสรีที่แข่งขันกันรุนแรงทุกรูปแบบแค่สินเชื่อดังกล่าวข้างต้นยังมิใช่ข้อได้เปรียบด้านต้นทุนต่ำเพียงอย่างเดียว แต่เงื่อนไขการชำระเงินที่ให้หลักประกันว่า "ขายแล้วได้เงินแน่นอน" ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

เรื่องประกันการส่งออกนี้มีคนพูดกันนาน 20 ปีแล้ว แต่เอ็กซ์ซิมแบงก์ไทยใช้เวลาปีกว่า ๆ ศึกษาตัวอย่างจากหลายประเทศและได้ใช้แม่แบบจากไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เพราะวิถีทางการค้าคล้ายกันและเป็นคู่แข่งกับไทย

"รัฐบาลตระหนักดีว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องทำ ไม่เช่นนั้นผู้ส่งออกไทยก็เสียเปรียบ ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เพราะแบงก์จะเรียกร้องเลตเตอร์ออฟเครดิตตลอดเวลาขณะที่คู่แข่งเราเขาขยายการส่งออกด้วยตั๋วดี/เอหรือดี/พีได้อย่างสบายใจ" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการเอ็กซ์ซิมแบงก์ไทยกล่าว

ดี/พีหรือ DOCUMENT AGAINST PAYMENT เป็นเงื่อนไขการชำระเงินที่ผู้ขายจะส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินผ่านธนาคาร ซึ่งจะทำหน้าที่คนกลางแจ้งกับผู้ซื้อต่างประเทศว่า ถ้าต้องการเอกสารเรือเพื่อเอาสินค้าออกจากท่า ก็ต้องจ่ายเงินก่อนแต่ถ้าผู้ซื้อไม่จ่าย ธนาคารก็จะไม่จ่ายเงินแทน ไม่เหมือนกับกรณีแบงก์ซื้อเลตเตอร์ออฟ เครดิตจะจ่ายเงินแทน

ส่วนดี/เอ หรือ DOCUMENT ACCEPT เป็นวิธีการขายที่ให้ตั๋วซึ่งมีอายุ 90 วัน โดยธนาคารจะต้องให้ผู้ซื้อเซ็นยินยอมว่าจะจ่ายเงินหรือรับรองตั๋ว ถึงจะให้เอกสารไปออกสินค้าท่าเรือได้ แต่ถ้าผู้ซื้อเบี้ยวธนาคารก็ไม่จ่ายเงินแทนเช่นกัน

เอ็กซ์ซิมแบงก์จึงต้องเป็นที่พึ่ง โดยให้ผู้ส่งออกไทยที่ใช้เงื่อนไขชำระเงินด้วยดี/พี หรือ ดี/เอ ไปซื้อกรมธรรม์ประกันการส่งออก เพื่อความมั่นใจกรณีที่ผู้ซื้อปลายทางไม่จ่ายเงิน เอ็กซ์ซิมแบงก์จะ จ่ายให้แทนแน่นอน

"เรามีบริการรับประกันการส่งออก ก็จะทำให้พ่อค้ากล้าส่งออกแบบดี/เอหรือดี/พีมากขึ้น จากนโยบายนี้เอ็กซ์ซิมแบงก์จะเป็นผู้บริหารความเสี่ยงนี้ เหมือนบริษัทรับประกัน" นี่คือบทบาทใหม่ฐานะนายประกันอย่างที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เล่า

เงื่อนไขการซื้อกรมธรรม์ประกันนี้ ผู้ส่งออกจะต้องประกันยอดขายทั้งปี เพื่อถัวเฉลี่ยความเสี่ยงจากผู้ซื้อ โดยยังไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันเนื่องจากตอนแรก ๆ ยังไม่มีการส่งออก จึงเพียงแต่จ่ายเงิน 2,000 บาทสำหรับ "ค่าข้อมูล" ที่ซื้อจากองค์กรข้อมูล 15 แห่งที่เอ็กซ์ซิมแบงก์ไทยติดต่ออยู่ข้อมูลสำคัญนี้ จะบอกว่าผู้ซื้อในต่างประเทศมีฐานะการเงินและความน่าเชื่อถือระดับไหน

"ต้นทุนซื้อข้อมูลที่เราคิดไว้ตอนแรกเฉลี่ย 3,000 บาทต่อราย แต่ว่าคณะกรรมการธนาคารบอกว่า ถ้าคิดราคามาก ๆ จะกระเทือนผู้ส่งออกขอให้เอ็กซ์ซิมแบงก์ยอมรับต้นทุนไว้ส่วนหนึ่ง จึงคิดแค่ 2,000 บาท ที่เหลือรับภาระแทนเพราะยังมีกำไรจากส่วนอื่นมาชดเชย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเล่าให้ฟัง

แต่เมื่อเริ่มมีการส่งออกความเสี่ยงเริ่มเกิดขึ้น ทุกครั้งที่ส่งออก ผู้ขายก็จะต้องเอาเอกสารเรือกับตั๋วเรียกเก็บดี/เอหรือดี/พี มาแจ้งที่เอ็กซ์ซิมแบงก์ ซึ่งก็จะเริ่มคิดเบี้ยประกันตามมูลค่าส่งออกแต่ละครั้ง

เบี้ยประกันโดยเฉลี่ยของเอ็กซ์ซิมแบงก์ไทยอยู่ระหว่าง 0.30-1.80 % ของมูลค่าส่งออกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของประเทศผู้ซื้อและระยะเวลาชำระเงินดังนี้

เงื่อนไขชำระเงินแบบ ดี/พี จ่ายอัตราต่ำสุด 0.30% อัตราสูงสุด 0.97% แต่ถ้าดี/พี 60 วันเขยิบอัตราต่ำสุดสูงสุดระหว่าง 0.36-1.23 % ถ้าระยะเวลา 120 วัน ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นก็จะอยู่ในอัตราระหว่าง 0.45-1.56 % แต่ถ้ายิ่งเทอมชำระเงินยาวและความน่าเชื่อถือดูมีปัญหา ก็ต้องเสียเบี้ยอัตราระหว่าง 0.55-1.80%

"ความจริงเราเสนออัตราโดยเฉลี่ยไป 1% แต่คณะกรรมการธนาคารอยากให้ผู้ส่งออกเต็มใจมาใช้มากขึ้น ทำให้ขณะนี้อัตราเบี้ยของเราโดยเฉลี่ย 0.84% ถูกกว่าระดับโลกที่เฉลี่ย 1.08% แม้ว่าจะขาดทุนช่วงนี้และเหนื่อยอีกหลายปี เพราะต้องใช้เวลา 5-6 ปีจะถึงจุดคุ้มทุน รวมทั้งต้องมีจำนวนผู้ทำประกันไม่ต่ำกว่า 1,000 รายก็ตาม" นี่คือภารกิจต่อการค้ำประกันผู้ส่งออกที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเล่าให้ฟัง

หลังจากซื้อกรมธรรม์เอ็กซ์ซิมแบงก์ก็รับภาระแทน ด้านอัตราเสี่ยงที่เกิดจากผู้ซื้อเช่นถ้าเกิดผู้ซื้อล้มละลายหรือเบี้ยวไม่จ่ายเงิน เอ็กซ์ซิมแบงก์ไทยจ่ายแทนให้ 85% ของค่าเสียหาย แต่ถ้าผู้ซื้อปฏิเสธไม่รับมอบสินค้าก็จะได้รับค่าเสียหาย 70% หลังขายทอดตลาด

นอกจากนี้หากเกิดความเสี่ยงทางการเมือง เช่น สงครามกลางเมืองหรือปฏิวัติ รัฐประหาร เอ็กซ์ซิมแบงก์ต้องชดใช้สูงสุด 90% เช่นเดียวกับกรณีที่รัฐบาลประเทศผู้ซื้อห้ามนำเข้าหรือออกกฎควบคุมห้ามโอนเงิน

เอ็กซ์ซิมแบงก์จึงต้องทำหน้าที่ "นายประกัน" รับความเสี่ยงทั้งทางการค้าและทางการเมืองให้กับผู้ส่งออกที่ต้องการความมั่นใจยามบุกเบิกขยายตลาดใหม่ ๆ กับคู่ค้าหน้าใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us