Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2537
ฟื้นไข้หลังคลอดอย่างนักบริหาร             
โดย มฆวัน ธนะนันท์กูล
 





หลังการสมรส สตรีที่เป็นนักบริหารมักมีความคิดเกี่ยวกับการมีบุตร แบ่งออกเป็นสองประเภท พวกแรกต้องการมีทายาทสืบสกุลจึงพร้อมตั้งครรภ์หลังการสมรสทันที ขณะที่อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการตั้งครรภ์โดยเด็ดขาด ซึ่งมีเหตุผลสำคัญหลายประการ ตั้งแต่ความไม่คล่องตัวในการทำงาน ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อเด็กที่กำลังจะเกิด เนื่องจากกลัวเสียสมรรถภาพในการทำงาน แต่ผู้ที่รับผลพวงอย่าง เต็มที่คือ เด็กที่ลืมตาดูโลกในวันข้างหน้า

แม้นักธุรกิจสตรีพวกแรกที่พร้อมจะตั้งครรภ์ กลุ่มนี้จะมีความเครียดสูงมากทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ

ด้านจิตใจนั้นจากเดิมที่เคยอารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใสกลับกลายเป็นอาการเบื่อหน่ายในงาน และใน ที่สุดความเครียดจะมาเยือน

เช่นเดียวกับจิตใจ ร่างกายก็จะได้ผลกระทบจากความเครียดนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนั้นผลของความเครียดอาจไม่รุนแรง แต่อาการต่อไปนี้จะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหารอาจทำงานไม่เป็นปกติ ทำให้เกิดอาการแพ้ท้อง เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหาร ไม่ได้ ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากความผิดปกติด้านจิตใจแทบทั้งสิ้น

ที่สำคัญก็คือ ความเครียดซึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระที่ได้ยินได้ฟังมาหรือบางคนก็เผชิญด้วยตนเองจากการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ อาทิ น้ำหนักขึ้นกว่า 10 กิโลกรัม บางคนมีปัญหาบวมน้ำทำให้รูปโฉมเปลี่ยน บ้างประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังคือมีฝ้ามาก ท้องลาย หน้าท้องแตก ทั้งหมดนี้ทำให้สุภาพสตรีซึ่งรักสวยรักงามอยู่แล้วกังวลใจ กลัวจะไม่สวยเหมือนเดิม ยังไม่ต้อง พูดถึงระบบอื่น ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น ระบบทางเดินโลหิต หัวใจต้องทำงานมากขึ้น ทำให้เหนื่อยง่าย

สิ่งซึ่งว่าที่คุณแม่วิตกกังวลมากที่สุดคือความไม่แน่นอนระหว่างการคลอด หลายคนกลัวการ เจ็บปวด กังวลว่าจะเกิดอันตรายกับอวัยวะสืบพันธุ์ กระทั่งคิดเลยเถิดไปถึงว่าจะต้องตายหากคลอดยาก ถึงขึ้นผ่าตัด

ด้านที่เกี่ยวกับทารกนั้นคือ กังวลว่าทารกจะมีอาการครบสามสิบสองหรือไม่ จะประสบปัญหาด้านสมอง เกรงเด็กตายในท้อง ไปจนกระทั่งเมื่อคลอดแล้ว ตัวมารดาจะมีสุขภาพดีเหมือนเดิมหรือไม่

แม้กระทั่งหลังคลอดแล้วก็ยังมีความเครียดตามมานั่นก็คือ ภาระในการเลี้ยงลูกซึ่งต้องกระทบต่อการทำงานอย่างแน่นอน การที่เด็กกินนมแม่ก็อาจวิตกว่า ทรวงอกจะหย่อนยาน อันมีผลไปถึงความรักที่สามีมีต่อตัวเองจะไม่เหมือนเดิม


วางแผน...พิชิตความเครียด

วิธีการแก้ปัญหาความเครียดอันเกิดจากการตั้งครรภ์ก็คือต้องวางแผนก่อนการแต่งงาน กล่าวคือก่อนแต่งงานควรพบแพทย์ เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและโรคบางอย่างที่อาจมีผลกระทบรวมไปถึงโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ด้วย และที่สำคัญที่สุดคือโรคที่อาจมีผลไปถึงตัวเด็ก เช่น โรคซิฟิลิส โรคเอดส์

หลังจากแต่งานแล้ว ก็ต้องปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอตั้งแต่กำหนดช่วงตั้งครรภ์ว่าช่วงใดจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานน้อยที่สุด ตามด้วยการเช็กร่างกายเพื่อดูความพร้อมรวมทั้งปรึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์แพทย์จะให้คำปรึกษาถึงเรื่องผลกระทบของสิ่งเสพติดที่มีผลต่อเด็กด้วย เช่น เหล้า บุหรี่ ยานอนหลับ ซึ่งสามีภรรยาต้องเลิกสิ่งเสพติดที่ว่านี้พร้อมกัน

แพทย์ที่ควรพบประจำสม่ำเสมอ คือ สูตินรีแพทย์ซึ่งจะให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมได้ ทั้งนี้สมควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจรักษาได้ทันท่วงที

และเพื่อความสมบูรณ์แบบในการลดความเครียดควรเข้า PHASE ANTENATAL MATERAL CLASS ซึ่งเป็นชั้นเรียนอันประกอบด้วยหญิงตั้งครรภ์และสามีร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการทำคลอด คือสูตินรีแพทย์ วิสัญญีแพทย์ กุมารแพทย์ และพยาบาล

ในห้องเรียนประกอบด้วยวิธีการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ เช่นการเดิน การว่ายน้ำ การหายใน การฝึกคลอด การเบ่ง รวมถึงสาธิตให้เห็นถึงการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของแพทย์และการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม ความเครียดก็มิได้หมดไปเสียทีเดียว เพราะระหว่างคลอดนั้น ภรรยาอาจเกรงการถูกทอดทิ้ง ดังนั้นผู้เป็นสามีควรดูแลอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการให้กำลังใจในห้องคลอดซึ่งถ้าทำได้ก็ถือว่าสมบูรณ์แบบ

ระหว่างการตั้งครรภ์นั้น สิ่งที่ผู้เป็นแม่ต้องเตรียมการอย่างพรักพร้อม คืออาหารเพื่อความสมบูรณ์ของเด็ก


ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

ใน 3 เดือนแรก อาหารที่เด็กต้องการเท่ากับอาหารตามปกติที่มารดาได้รับอยู่ แต่ให้หลีกเลี่ยงยาต่าง ๆ อย่าใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะยาแก้แพ้ท้อง รวมทั้งหลีกเลี่ยงรังสีต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ เช่นเอ็กซเรย์

ช่วง 3-6 เดือน จำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมาก รวมไปถึงผัก ผลไม้ และนมสด พร้อมแร่ธาตุ เหล็ก เพื่อบำรุงโลหิตและแคลเซียมเพื่อสร้างกระดูก

ช่วง 6 เดือนถึงคลอดเด็กต้องการโปรตีนมากเป็นพิเศษมารดาควรรับประทาน เนื้อ ปลา นม ไข่ วิตามิน ผัก ผลไม้ เพื่อลดอาการท้องผูกและไม่ให้เป็นริดสีดวงทวาร


ฟื้นไข้ฉับไวหลังคลอด

หลังคลอด มารดาควรดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีที่สุดเพื่อให้มีน้ำนมสำหรับลูกได้อย่างเต็มที่ อาหารที่มารดาได้รับควรเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูงและมีวิตามินมาก เพื่อช่วยในการสร้างน้ำนม ยาบำรุงเลือด อาหารที่มีธาตุเหล็ก หรือเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่มารดาควรได้รับเพื่อให้ฟื้นไข้หลังคลอดได้รวดเร็ว

การบริหารร่างกายหลังคลอด ถ้าเป็นการคลอดแบบปกติ ให้เริ่มทำได้เบา ๆ ตั้งแต่ 1-2 วันแรกในการบริหาร แขน-ขา และหลัง หากมารดาที่คลอดโดยวิธีผ่าตัด การบริหารหน้าท้องและหลัง จะเริ่มทำได้หลังคลอด 1-2 เดือนและจะบริหารเป็นปกติในเวลาประมาณ 3 เดือน

ถ้าทำได้ทุกกระบวนการดังกล่าวมา คุณแม่นักบริหารจะมีสุขภาพดีและฟื้นคืนกลับไปบริหารงานได้อย่างมั่นใจภายในระยะเวลาไม่เกินกำหนดการลาคลอด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us